söndag 20 december 2015

" ราชภักดิ์-รธน." 2ปมร้อนพอกัน.."เงื่อนปมซับซ้อน" ยังเป็นเรื่องน่าสงสัย ที่สังคมต้องจับตาเฝ้าระวัง ต่อไป


วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เวลา 00:01 น.
ถูกกระแส "ราชภักดิ์" เบียดตกขอบไปพักใหญ่
ล่าสุดทีมงาน นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. ตั้งเป้าหมายภายในวันที่ 8 มกราคม 2559 ต้องยกร่างรัฐธรรมนูญให้หมดครบทุกมาตรา


จากนั้นในการประชุมนอกสถานที่ 11-17 มกราคม ที่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี



กรธ .จะนำร่างมาพิจารณาเรียงตามมาตรา เพื่อดูว่าต้องเพิ่มอะไรเข้า ต้องตัดอะไรออก ก่อนเปิดร่างแรกออกสู่สายตาสาธารณชนวันที่ 29 มกราคม 2559

ทั้งนี้ทั้งนั้น ความคืบหน้าในการร่างรัฐธรรมนูญถือว่าอยู่ในกรอบโรดแม็ป สูตร 6-4-6-4 ที่แบ่งเป็น 4 ห้วงเวลา เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นมาโดย 6 เดือนแรกเป็นเรื่องของกรธ. ต้องร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จอย่างช้าภายในเดือนมีนาคม 25594 เดือนถัดมาเป็นการเข้าสู่กระบวนการจัดทำประชามติ คาดว่าจะมีขึ้นในราวเดือนกรกฎาคม 2559หากประชามติผ่าน 6 เดือนต่อมาก็จะเป็นขั้นตอนการจัดทำกฎหมายลูกที่จะไปสิ้นสุดเดือนมกราคม 2560 
จากนั้นก็ถึง 4 เดือนสุดท้ายของโรดแม็ปที่ทุกฝ่ายรอคอย คือ การเปิดไฟเขียว ปลดล็อกให้พรรคการเมืองจัดทัพจัดแถวลงสนามหาเสียง เตรียมตัวเลือกตั้งในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2560
เท่ากับว่านับจากนี้ไปอีก 1 ปีครึ่ง ประเทศไทยจะกลับเข้าสู่ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์????เว้นเสียแต่ร่างรัฐธรรมนูญจะไม่ผ่านในชั้นการทำประชามติ  ที่ผ่านมาไม่เคยมีคำตอบที่ชัดเจนจากรัฐบาลและคสช.ว่า ถ้าร่างรัฐธรรมนูญทำประชามติ ไม่ผ่าน แล้วจะเดินหน้าประเทศอย่างไรต่อ ในขณะที่มีหลายทางให้เลือกทางแรก กลับไปนับหนึ่งยกร่างกันใหม่ รอบที่ 3หรือยอมกัดฟันหยิบเอารัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งในอดีตมาปรับปรุง แล้วประกาศใช้ชั่วคราวไปก่อนเพื่อไปสู่การเลือกตั้ง   เสร็จแล้วค่อยไปว่ากันใหม่อีกทีเมื่อได้ รัฐสภาและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นที่เรียบร้อย  
แต่โดยสรุปแล้ว ไม่ว่าเลือกทางไหนย่อม ส่งผลให้การเมืองพลิกโฉมไปอีกแบบ  ส่วนพลิกโฉมแล้วไปเข้าทางใคร


เป็นเรื่องที่สังคมต้องจับตาเฝ้าระวัง ต่อไปเกี่ยวกับสถานการณ์ร่างรัฐธรรมนูญ จะเห็นได้ว่าคำตอบของประชาชนที่ส่งผ่านการออกเสียงทำประชามติ เป็นเงื่อนไขมีความสำคัญต่ออนาคตการเมืองไทยมากที่สุด  การคาดเดาผลว่าผ่านหรือไม่ผ่าน อาจต้องย้อนกลับไปดูตัวอย่างร่างฉบับ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ที่ถูกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือสปช.ในตอนนั้น โหวตฆ่าตัดตอน ไม่ทันได้ทำประชามติ


เป็นจุดกำเนิดที่มาของกรธ.ชุดนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ในปัจจุบันตอนนั้นมีการวิจารณ์กันมากว่า ไม่ว่าร่างฉบับบวรศักดิ์ หรือฉบับมีชัย เนื้อหาที่ออกมาไม่น่ามีอะไรแตกต่าง เนื่องจากมีที่มาจากคสช.แต่งตั้ง เช่นเดียวกัน   แต่ที่ไม่เหมือนคือร่างฉบับบวรศักดิ์ต้องผ่านความเห็นชอบของสปช.   ส่วนร่างฉบับมีชัย เพียงแต่รับฟังข้อเสนอแนะจากครม. สนช. สปท. และคสช. นำกลับมาทบทวน   เสร็จแล้วส่งไปทำประชามติได้ทันทีโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากแม่น้ำสายใดทั้งสิ้น   เป็นที่รับรู้ว่าประเด็นใหญ่ทำให้ร่างฉบับบวรศักดิ์ถูกสปช.ตีตกก็คือ   การยัดไส้กำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ขึ้นมาเป็นองค์กรมีอำนาจเหนือฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ  
ขณะที่ร่างฉบับมีชัย เตรียมเสนอให้การผ่าทางตันวิกฤตการเมือง เป็นหน้าที่ประธาน 3 ศาล ได้แก่ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา และประธานศาลปกครองสูงสุด หาทางออกร่วมกัน   ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาทันทีว่า กรธ.มีเจตนาต้องการให้ 3 ประธานศาลมาทำหน้าที่แทนคปป.หรือไม่ ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลอ้างว่าข้อเสนอดังกล่าวเป็นแค่การโยนหินถามทาง ยังไม่ใช่ข้อสรุปกับอีกปมสำคัญที่เชื่อกันว่าเป็นตัวชี้เป็นชี้ตาย ร่างฉบับนายมีชัยว่าจะผ่านหรือไม่ผ่านประชามติ ยังอยู่ตรงการเขียนเปิดช่องให้คนนอกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้


ซึ่งขัดแย้งกับหลักประชาธิปไตย ไม่เชื่อมโยงกับอำนาจในมือประชาชน และข้อครหาเรื่องการสืบทอดอำนาจการออกแบบกระบวนการได้มาซึ่งนายกฯ หลังเลือกตั้งครั้งหน้ากำหนดให้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ทุกพรรคการเมืองต้องประกาศชื่อนายกฯ ไม่เกิน 5 ชื่อ ซึ่งจะเป็นส.ส.หรือไม่เป็นส.ส.ก็ได้ ให้ประชาชนได้รับทราบ   กรธ.อ้างว่าเพื่อให้เกิดความโปร่งใสตั้งแต่เริ่มกระบวนการ


ส่วนที่กลัวกันว่าจะได้นายกฯ คนนอกที่มีทหารหนุนหลัง ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ถือเป็นความรับผิดชอบของพรรคการเมืองที่เสนอชื่อ ต้องตอบคำถามสังคมเอาเอง ไม่เกี่ยวกับกรธ.ซึ่งการชี้แจงเช่นนี้ถูกต้องแค่ครึ่งเดียว ส่วนอีกครึ่งที่สังคมยังหวาดระแวงกันก็คือ มีความเป็นไปได้ที่
กรธ.ซึ่งมีคสช.เป็นผู้ให้กำเนิดจะรู้กันอยู่ก่อนกับบางพรรคการเมืองอย่างเช่น เมื่อเร็วๆ นี้มีข่าวแกนนำม็อบที่มีจุดยืนอยู่ข้างคสช.มาตลอดอยู่ระหว่างเจรจาดึงตัวแกนนำพรรคใหญ่ ที่กำลังมีเรื่องแตกแยกกันภายใน ออกมาตั้งพรรคการเมืองของตัวเอง โดยมีทุนสนับสนุน 3-4 พันล้านบาท
ทำให้เกิดการ"มโน"กันว่า มีแนวโน้มพรรคดังกล่าวตั้งขึ้นมาเพื่อเสนอชื่อคนนอกที่ทหารหนุนหลังเข้ามา เป็นนายกฯ ซึ่งเป็นหนทางทำได้ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน  เพียงแต่อาศัยการประสานงานกันอย่างลงตัวระหว่างผู้มีอำนาจ คนร่างกติกาและนักการเมืองปีกตรงข้ามประชาธิปไตย

ตรงจุดนี้เองทำให้หลายคนเชื่อว่าร่างฉบับนายมีชัย อาจมีชะตากรรมไม่ต่างกับฉบับบวรศักดิ์บวกกับสถานการณ์ของคสช.ในเวลานี้ โครงการอุทยานราชภักดิ์ กลายเป็นปัญหา ขว้างงูไม่พ้นคอการกวาดล้างจับกุมคุมขังกลุ่มคนที่เห็นต่าง ทำให้รัฐบาลเริ่มมีปัญหากับกลุ่มนักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิเสรีภาพ ตลอดจนองค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งในไทยและต่างประเทศ   นโยบายสร้างความปรองดอง ยังขัดแย้งกับภาพที่เกิดขึ้นในขณะนี้ท่ามกลางวิกฤตต่างๆ เหล่านี้ร่างรัฐธรรมนูญจะเดินหน้าไปถึงขั้นตอนการทำประชามติได้หรือไม่ยังเป็นเรื่องน่าสงสัย

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar