นายกิตติพงษ์ ณ ระนอง…
นายกิตติพงษ์ ณ ระนอง เอกอัครราชทูตไทยประจำสหราชอาณาจักรระบุอียูห้ามติดต่อระดับการเมืองกับไทยนับตั้งแต่เกิดปัญหาการเมืองในประเทศ ทำให้การเจรจาเอฟทีเอหยุดชะงัก นักธุรกิจเสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ระบุตนเองต้องการประชาธิปไตยและเชื่อว่าคนไทยต้องการเช่นเดียวกัน แต่ยังมีเงื่อนไขที่ต้องใช้เวลาในการแก้ไข
นายกิตติพงษ์ ให้สัมภาษณ์บีบีซีไทยถึงการทำหน้าที่เอกอัครราชทูตภายใต้สถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบันว่า จุดที่ยากคือกฎระเบียบของสหภาพยุโรป (อียู) ที่กำหนดไม่ให้มีการติดต่อในระดับการเมืองกับไทย ทำให้เกิดข้อจำกัดโดยเฉพาะเรื่องการค้าการลงทุนที่น่าจะขยายตัวในอัตราที่เร็วขึ้นกว่าปัจจุบัน “กรณีเอฟทีเอ (การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี) กับอียู พอเกิดปัญหาทางการเมืองในบ้านเราเขาก็หยุดคุย จนกว่าเราจะกลับสู่ประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึงจะต้องมีการเลือกตั้ง เมื่อเป็นแบบนี้ก็เดินหน้าไม่ได้ คนเสียประโยชน์คือนักธุรกิจของทั้งสองฝ่าย”
นายกิตติพงษ์ กล่าวโดยยกตัวอย่างการเดินทางเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของนายเดวิด คาเมรอน เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยไม่ได้เยือนไทย ทำให้นักธุรกิจของสหราชอาณาจักรนับร้อยคนที่ร่วมคณะของนายคาเมรอนไม่ได้ไปไทยด้วย หรือบางรายต้องแยกตัวเดินทางไปเองต่างหาก
เมื่อถามถึงบทบาทของไทยในอาเซียนกำลังจะเลือนหายไปใช่หรือไม่ นายกิตติพงษ์เห็นว่าการระบุเช่นนี้ถือว่าไม่เป็นธรรม เพราะประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ มีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ทั้งเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เขาตั้งคำถามว่าจะมีกี่ประเทศใน 10 ประเทศ ที่ไม่มีปัญหาสิทธิมนุษยชน ส่วนประเทศตะวันตกที่นำเรื่องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยมาวัดกับไทยนั้นได้ใช้บรรทัดฐานเดียวกันหรือไม่ “ไม่มีใครเป็นผู้นำอาเซียนหรอก ทุกคนมีดีแตกต่างกัน ต้องอาศัยความร่วมมือซึ่งกันและกันจึงเดินหน้าได้”
นายกิตติพงษ์ ซึ่งออกตัวในระหว่างการให้สัมภาษณ์ว่าเขาเป็นคนหนึ่งที่ร่วมขบวนการนักศึกษาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยทั้งในเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา บอกบีบีซีไทยด้วยว่า เขาเป็นผู้ต้องการประชาธิปไตย และเชื่อว่าหากมีการสำรวจประชามติในไทย ทุกคนคงต้องการประชาธิปไตยทั้งสิ้น “แต่มันหมายความว่าอย่างไร มันมากกว่าการเลือกตั้งใช่ไหม กรณีของเรามีเงื่อนไขในประเทศที่ต้องใช้เวลาแก้ไข ไม่เช่นนั้นก็จะติดอยู่ในวงเวียนเช่นนี้ไม่หนีไปไหน ผมเองมีเพื่อนสนิทตายหน้าธรรมศาสตร์ตอน 6 ตุลา จะว่าไม่ได้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย อย่างน้อยผมก็ต้องอธิบายก่อนว่าตัวเองต้องการประชาธิปไตย แต่ความเป็นจริงของชีวิตเป็นอีกแบบ มีเงื่อนไขบางอย่างต้องเข้าใจก่อน”
นายกิตติพงษ์ ณ ระนอง…
นายกิตติพงษ์ ณ ระนอง เอกอัครราชทูตไทยประจำสหราชอาณาจักรระบุอียูห้ามติดต่อระดับการเมืองกับไทยนับตั้งแต่เกิดปัญหาการเมืองในประเทศ ทำให้การเจรจาเอฟทีเอหยุดชะงัก นักธุรกิจเสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ระบุตนเองต้องการประชาธิปไตยและเชื่อว่าคนไทยต้องการเช่นเดียวกัน แต่ยังมีเงื่อนไขที่ต้องใช้เวลาในการแก้ไข
นายกิตติพงษ์ ให้สัมภาษณ์บีบีซีไทยถึงการทำหน้าที่เอกอัครราชทูตภายใต้สถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบันว่า จุดที่ยากคือกฎระเบียบของสหภาพยุโรป (อียู) ที่กำหนดไม่ให้มีการติดต่อในระดับการเมืองกับไทย ทำให้เกิดข้อจำกัดโดยเฉพาะเรื่องการค้าการลงทุนที่น่าจะขยายตัวในอัตราที่เร็วขึ้นกว่าปัจจุบัน “กรณีเอฟทีเอ (การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี) กับอียู พอเกิดปัญหาทางการเมืองในบ้านเราเขาก็หยุดคุย จนกว่าเราจะกลับสู่ประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึงจะต้องมีการเลือกตั้ง เมื่อเป็นแบบนี้ก็เดินหน้าไม่ได้ คนเสียประโยชน์คือนักธุรกิจของทั้งสองฝ่าย”
นายกิตติพงษ์ ให้สัมภาษณ์บีบีซีไทยถึงการทำหน้าที่เอกอัครราชทูตภายใต้สถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบันว่า จุดที่ยากคือกฎระเบียบของสหภาพยุโรป (อียู) ที่กำหนดไม่ให้มีการติดต่อในระดับการเมืองกับไทย ทำให้เกิดข้อจำกัดโดยเฉพาะเรื่องการค้าการลงทุนที่น่าจะขยายตัวในอัตราที่เร็วขึ้นกว่าปัจจุบัน “กรณีเอฟทีเอ (การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี) กับอียู พอเกิดปัญหาทางการเมืองในบ้านเราเขาก็หยุดคุย จนกว่าเราจะกลับสู่ประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึงจะต้องมีการเลือกตั้ง เมื่อเป็นแบบนี้ก็เดินหน้าไม่ได้ คนเสียประโยชน์คือนักธุรกิจของทั้งสองฝ่าย”
นายกิตติพงษ์ กล่าวโดยยกตัวอย่างการเดินทางเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของนายเดวิด คาเมรอน เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยไม่ได้เยือนไทย ทำให้นักธุรกิจของสหราชอาณาจักรนับร้อยคนที่ร่วมคณะของนายคาเมรอนไม่ได้ไปไทยด้วย หรือบางรายต้องแยกตัวเดินทางไปเองต่างหาก
เมื่อถามถึงบทบาทของไทยในอาเซียนกำลังจะเลือนหายไปใช่หรือไม่ นายกิตติพงษ์เห็นว่าการระบุเช่นนี้ถือว่าไม่เป็นธรรม เพราะประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ มีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ทั้งเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เขาตั้งคำถามว่าจะมีกี่ประเทศใน 10 ประเทศ ที่ไม่มีปัญหาสิทธิมนุษยชน ส่วนประเทศตะวันตกที่นำเรื่องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยมาวัดกับไทยนั้นได้ใช้บรรทัดฐานเดียวกันหรือไม่ “ไม่มีใครเป็นผู้นำอาเซียนหรอก ทุกคนมีดีแตกต่างกัน ต้องอาศัยความร่วมมือซึ่งกันและกันจึงเดินหน้าได้”
นายกิตติพงษ์ ซึ่งออกตัวในระหว่างการให้สัมภาษณ์ว่าเขาเป็นคนหนึ่งที่ร่วมขบวนการนักศึกษาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยทั้งในเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา บอกบีบีซีไทยด้วยว่า เขาเป็นผู้ต้องการประชาธิปไตย และเชื่อว่าหากมีการสำรวจประชามติในไทย ทุกคนคงต้องการประชาธิปไตยทั้งสิ้น “แต่มันหมายความว่าอย่างไร มันมากกว่าการเลือกตั้งใช่ไหม กรณีของเรามีเงื่อนไขในประเทศที่ต้องใช้เวลาแก้ไข ไม่เช่นนั้นก็จะติดอยู่ในวงเวียนเช่นนี้ไม่หนีไปไหน ผมเองมีเพื่อนสนิทตายหน้าธรรมศาสตร์ตอน 6 ตุลา จะว่าไม่ได้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย อย่างน้อยผมก็ต้องอธิบายก่อนว่าตัวเองต้องการประชาธิปไตย แต่ความเป็นจริงของชีวิตเป็นอีกแบบ มีเงื่อนไขบางอย่างต้องเข้าใจก่อน”
เมื่อถามถึงบทบาทของไทยในอาเซียนกำลังจะเลือนหายไปใช่หรือไม่ นายกิตติพงษ์เห็นว่าการระบุเช่นนี้ถือว่าไม่เป็นธรรม เพราะประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ มีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ทั้งเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เขาตั้งคำถามว่าจะมีกี่ประเทศใน 10 ประเทศ ที่ไม่มีปัญหาสิทธิมนุษยชน ส่วนประเทศตะวันตกที่นำเรื่องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยมาวัดกับไทยนั้นได้ใช้บรรทัดฐานเดียวกันหรือไม่ “ไม่มีใครเป็นผู้นำอาเซียนหรอก ทุกคนมีดีแตกต่างกัน ต้องอาศัยความร่วมมือซึ่งกันและกันจึงเดินหน้าได้”
นายกิตติพงษ์ ซึ่งออกตัวในระหว่างการให้สัมภาษณ์ว่าเขาเป็นคนหนึ่งที่ร่วมขบวนการนักศึกษาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยทั้งในเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา บอกบีบีซีไทยด้วยว่า เขาเป็นผู้ต้องการประชาธิปไตย และเชื่อว่าหากมีการสำรวจประชามติในไทย ทุกคนคงต้องการประชาธิปไตยทั้งสิ้น “แต่มันหมายความว่าอย่างไร มันมากกว่าการเลือกตั้งใช่ไหม กรณีของเรามีเงื่อนไขในประเทศที่ต้องใช้เวลาแก้ไข ไม่เช่นนั้นก็จะติดอยู่ในวงเวียนเช่นนี้ไม่หนีไปไหน ผมเองมีเพื่อนสนิทตายหน้าธรรมศาสตร์ตอน 6 ตุลา จะว่าไม่ได้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย อย่างน้อยผมก็ต้องอธิบายก่อนว่าตัวเองต้องการประชาธิปไตย แต่ความเป็นจริงของชีวิตเป็นอีกแบบ มีเงื่อนไขบางอย่างต้องเข้าใจก่อน”
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar