söndag 3 april 2016

Somsak Jeamteerasakul



รูปภาพของ Somsak Jeamteerasakul


ภาพประกอบนี้ ไม่ใช่เรื่องที่ผมจะพูดถึงโดยตรง แต่บังเอิญเพิ่งเห็นภาพนี้จากฝีดของ "มิตรสหายท่านหนึ่ง" ก็เลยถือโอกาสยืมมาโพสต์ เพราะเรื่องที่จะพูดเกี่ยวกัน แต่กว้า...งกว่าประเด็นข่าววันนี้
ผมคิดว่า ปัญหาใหญ่ทีทุกคนต้องช่วยกันคิดให้หนักคือ
ทำไมรัฐบาลทหารแบบมาเฟีย ซึ่งปกครองแบบมาเฟีย อย่างรัฐบาลนี้ จึงสามารถ "อยู่ยาว" ได้นานขนาดนี้ และไม่มีทีท่าจะพังในเร็วๆวัน (ดังที่พวก "แดงใต้ดิน" มโนกัน ซึ่งไม่จริงหรอก และเป็นอะไรที่ "มึนชามวลชน" อย่างทีผมเขียนในกระทู้ก่อน)
คือ ไม่ว่าจะมองในเชิงปริบทประวัติศาสตร์ไทย การที่รัฐบาลมาเฟียแบบนี้ อยู่มาได้เกือบ ๒ ปีเต็ม เป็นอะไรที่ผิดปกติมากๆ ครั้งสุดท้าย ทีรัฐบาลที่ปกครองทำนองนี้อยู่นานขนาดนี้ คือเมื่อกว่า ๔๐ ปีก่อน (ต้องย้อนหลังไปที่ รบ.ถนอม-ประภาส ระหว่าง ๒๕๑๔-๑๖ หรือ รบ.สฤษดิ์-ถนอม ๒๕๐๐-๒๕๑๑ - มีช่วง "เบรค" เลือกตั้่ง ๒ ปีระหว่าง ๒๕๑๒-๑๔ )
หลังจากนั้น ตลอด ๔๐ กว่าปีที่ผ่านมา รัฐบาลทหารหรือรัฐบาลอำนาจนิยม "พัง" ในเวลาไม่เกินประมาณปีเดียว (ธานินทร์ ๒๕๑๙-๒๐, รสช สุจินดา ๒๕๓๔-๓๕ เอาเข้าจริง สุจินดาอยู่แค่ไม่กี่เดือนด้วยซ้ำ ขนาด คมช ขึ้นมาจาก รปห ๑๙ กันยา ก็ไม่สามารถเป็นรัฐบาลอำนาจนิยมได้เต็มที่ และอยู่จริงๆประมาณปีเดียวเช่นกัน)
ในปริบทสากล ผมเห็นวันก่อนบทความฝรั่งชิ้นหนึ่งกล่าวว่า ตอนนี้ คสช เป็นรัฐบาลทหารเต็มรูปรัฐบาลเดียวในโลก ผมไม่แน่ใจ ไม่มีเวลาเช็ค แต่ที่แน่ๆคือ มีน้อยมากหรือแทบไม่มีในทางสากลปัจจุบัน ที่จะยังมีรัฐบาลทหารแบบนี้
ผมพอมีข้อเสนอคำอธิบายที่พยายามตอบคำถาม "ทำไม" นี้อยู่ ขอไว้โอกาสอื่นจะค่อยๆทยอยเขียน อยากเขียนสั้นๆในที่นี้ให้คิดเพียงว่า ผมเชื่อว่า ปัจจัยสำคัญมากอย่างหนึ่ง ที่มีส่วนทำให้รัฐบาลมาเฟียอยู่ได้นานและมันคงขนาดนี้ ก็เพราะฝ่ายที่เรียกว่า "ประชาธิปไตย-เลือกตั้ง" ที่เป็นกำลังหลัก (พรรคเพื่อไทย-เสื้อแดง นั่นแหละ) มีปัญหาจุดอ่อนสำคัญบางอย่างจริง นีเป็นอะไรที่ผมคิดว่า คนทีคิดว่าตัวเองต้องการประชาธิปไตย ‪#‎หลีกเลี่ยงไม่ยอมเผชิญหน้า‬(และหาทางแก้)กัน .. พูดแบบง่ายๆคือ เอาแต่ด่า คสช หรือ "อีกฝ่าย" (ด่าพวกที่เรียกว่า "สลิ่ม" - กรณีหลังนี้เป็นอะไรที่ผมมองว่ามีส่วนเป็นความผิดพลาดอยู่ การด่า "คสช" เป็นอะไรที่ถูก แต่การด่า "สลิ่ม" ส่วนใหญ่ทีด่าๆกัน ผมมองว่า ไม่มีประโยชน์และหลายอันผิดด้วย)

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar