พูดให้เห็นว่าประเทศไทยมันชวนหมดหวังขนาดไหน ("มองโลกในแง่ร้ายอย่างมีสติ" ๕๕๕)
หลังจากพูดถึงการขาดคนรักเจ้าที่มองการณ์ไกลและกล้าหาญในสองกระทู้ก่อนหน้านี้ (ใครยังไม่อ่าน อยากให้อ่านนะ) ขอพูดถึงอีกข้าง
คือมันเป็น irony หรือตลกร้ายมากๆเหมือนกัน ที่พลังที่เหมือนจะเป็นตัวแทนของพลังใหม่ ค่ายทักษิณ-เพื่อไทย-เสื้อแดง ซึ่งในบางด้านมีลักษณะใหม่กว่าจริง (เช่นเข้าใจเรื่องความเป็นไปของโลกภายนอกมากกว่า พวกโครงการโน่นนี่ที่ฝายนี้เป็นฝ่ายริเริ่ม) เอาเข้าจริงในหลายๆด้าน มีลักษณะ "โบราณ" มากๆ
ความสัมพันธ์ภายในของฝ่ายนี้ ในลักษณะเหมือน "เจ้าพ่อ" ตั้งแต่ระดับสูงสุด (ในหมู่เสื้อแดง มีคำเรียกทักษิณแบบ "นิคเนม" ว่า "นายใหญ่" ความจริงมันสะท้อนอะไรที่ตรงมากกว่าที่เสื้อแดงคิดหรือยอมรับกัน) ถึงระดับล่างๆลงมา (มีลักษณะ "เจ้าพ่อ" เล็กๆตามลงมาในขบวน) ลักษณะพรรคการเมืองแบบครอบครัว ("บริษัทชินวัตรการเมืองจำกัด" - "ชิน-ดา-วงศ์") ไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างมวลชนกับผู้นำและนักการเมือง ที่มีลักษณะทีผมพูดตั้งแต่หลายปีก่อนว่ามัน unhealthy หรือสุขภาพไม่ดี ในลักษณะที่แย่กว่าความสัมพันธ์ระหว่างมวลชนอีกฝ่ายกับนักการเมืองของตน (เช่นในค่าย ปชป) แต่มีลักษณะเหมือนความสัมพันธ์แบบเดิมระหว่างเจ้ากับมวลชน - โดยรวมๆคือมีลักษณะ "ระบบอุปถัมภ์" แบบเก่าเยอะมากๆ ยังไม่ต้องพูดถึงลักษณะคอนเซอเวทีพทางความคิดความเชื่ออีกบางอย่างในระดับมวลชนเสื้อแดง (ที่ ดร.ไชยันต์ รัชกูล เรียกว่าเป็นพวก conservative radicals ในขณะที่ฝ่ายเหลืองเป็น radical conservatives) ฯลฯ ฯลฯ
คือเป็นพลัง"ใหม่"ที่ ไม่ได้ "ใหม่" จริงๆหลายอย่าง ...
..................................
สมศักดิ์ เจียม
วิกฤติสิบปี: consensus, moral authority และ strategic mistake ของในหลวง
ประเด็นหนึ่งที่ผมคิดเยอะในระยะหลังๆคือ เป็น irony หรือตลกร้ายที่ว่า วิกฤติประเทศไทยในลักษณะนี้ (ความขัดแย้ง แตกเป็นสองขั้ว ระหว่างภาค, ระหว่างชนชั้น, ระหว่างพรรคการเมืองใหญ่ ฯลฯ) ที่มีลักษณะทั่วประเทศ แพร่ขยายและซึมลึกไปทั่ว ถ้าเป็นเมื่อหลายๆปีก่อน จะมีอยู่คนเดียวที่สามารถแก้ได้คือในหลวง
คือในหลวงเป็นคนเดียวที่มี moral authority ที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ การจะแก้วิกฤติในลักษณะนี้ ปัญหาใจกลางคือจะต้องมี consensus หรือฉันทามติร่วมในบางอย่าง บางองค์กร บางกฎหมาย หรือบางคน ที่มี authority ที่ทุกฝ่ายยอมรับ (เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ ระบบศาล ระบบเลือกตั้ง หรือตัวบุคคลก็แล้วแต่ ที่ทุกฝา่ยเห็นตรงกันหรือยอมรับได้ คือเป็นกฎหมาย องค์กร หรือบุคคลที่มี authority เหนือทุกฝ่ายได้)
ที่พูดว่าในหลวงเป็นคนเดียว(ถ้าเป็นเมื่อหลายๆปีก่อน) ที่มี authority ที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ เป็นการพูดในเชิง fact หรือข้อเท็จจริง แน่นอนไม่ใช่หมายความว่าผมเห็นด้วยกับการมี authority นั้น เอาเข้าจริง ข้อเท็จจริงหรือความเป็นจริงนี้แหละ (ที่ว่าในหลวงเป็นคนเดียวที่มี authority ที่ทุกฝ่ายยอมรับ) เป็นปัญหาใหญ่ทีทำให้วิกฤติทุกวันนี้ยิ่งหนักหน่วงแก้ไม่ได้ และมองไม่เห็นการลงเอยของวิกฤติ
คือมันเป็นปัญหาในด้านกลับอย่างใหญ่หลวงเลยทีว่า ในเมื่อสังคมการเมืองไทยในหลายสิบปีก่อนหน้านั้น ทำให้ authority หรือ consensus สูงสุดไปผูกอยู่กับบุคคลเดียวคือในหลวง ถ้าบุคคลนั้นทำความผิดพลาดหรือก้าวพลาดขึ้นมา แล้ว authority เดียว(ที่ผูกกับบุคคลนั้น)ที่มีอยู่ เกิดพังลงมา คราวนี้ก็จะแก้วิกฤติไม่ได้หรือจะไม่มีหนทางแก้แล้ว กลายภาวะที่ไม่มี consensus หรือ authority ใหญ่ใจกลางที่ทุกฝ่ายยอมรับได้
ผมคิดว่าในหลวง made strategic mistake หรือทำพลาดทางยุทธศาสตร์ ที่ไม่ใช้ authority ที่มีอยู่แก้วิกฤตินี้ตั้งแต่ประมาณปีแรกๆ ... ผมนั่งทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นสิบปีที่ผ่านมา คิดว่า น่าจะประมาณ 2550-2551 ที่ถ้าในหลวงใช้ moral authority ที่มีอยู่อย่างชาญฉลาด อาจจะพอหยุดวิกฤติได้ ไม่ทำให้ลามปามมาจนสิบปี
ผมพูดถึงปี 2550-2551 ไม่ได้พูดในแง่มีจุดใดจุดหนึ่งหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์เดียว ที่ว่าเป็น strategic mistake ของในหลวง - หลายคนอาจจะนึกถึงการไปงานศพน้องโบว์ของพระราชินี ผมคิดว่านั่นก็เป็นอันหนึ่ง - แต่ผมมองในแง่เป็น "ซีรีส์" ของเหตุการณ์ คือผมคิดว่า ประมาณปี 2550-2551 ยังมีโอกาสที่ในหลวงจะใช้ authority หาทางออกที่แฟร์กับทุกฝ่าย และนำไปสู่การสร้าง consensus ใหม่ได้ ที่เรียกว่า strategic mistake คือ ในช่วงราวปีหรือปีเศษที่ว่านั้น ในหลวงถ้าไม่วางมือในบางกรณี(ปล่อยให้ความขัดแย้งลุกลาม) ก็เรียกว่า throw his weight behind หรือให้น้ำหนักสนับสนุน (ภาษาบ้านๆคือ "เข้าข้าง" หรือ "หนุนหลัง") ฝ่ายหนึ่ง ผลรวมๆก็คือทำให้ authority ของในหลวงเอง (ซึ่งเป็น authority เพียงหนึ่งเดียวที่ประเทศไทยมีในตอนนั้น) พังทลายหรือ breakdown ลง
(การที่ในหลวง"เปิดสวิทช์" ทำให้เกิด "ตุลาการภิวัฒน์" ที่จะครบรอบ 10 ปีในไม่กี่สัปดาห์นี้ ผมมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของ strategic mistake นี้ คือในระยะสั้น ในหลวงคิดว่าใช้วิธีนี้แก้ปัญหาได้ แต่ความจริงมองในระยะยาวออกไป การเปิดสวิทช์ให้ตุลาการเป็นเครื่องมือการเมืองที่ออกมาในลักษณะเล่นงานฝ่ายหนึ่ง เป็นอะไรที่ทำให้ authority ทั้งของในหลวงและของระบบตุลาการทั้งระบบพัง ซึ่งยิ่งกลายเป็นวิกฤติที่แก้ไม่ได้)
หลังจากนั้นไม่นานตัวในหลวงเองก็เริ่มป่วยใหญ่เป็นครั้งสุดท้าย คือป่วยแบบนับถอยหลังไปสู่การสวรรคต แล้ว prospect หรืออนาคตที่พระบรมฯจะเป็นกษัตริย์แทนในเร็ววัน ก็ยิ่งไปเสริมวิกฤติอีก (เพราะดังที่รู้กันว่าพระบรมฯไม่มี moral authority ใดๆทั้งสิ้น มิหนำซ้ำในไม่กี่ปีหลัง ยังทำให้การไม่มีนั้น แย่ลงไปอีกด้วยการกวาดล้างใหญ่ ทำให้มีคน "ติดเชื้อในกระแสเลือดตาย" "ผูกคอตาย" หรือตายแบบสาบสูญอีก 3-4 คน)*
*[กรณีพระบรมฯ อาจจะเรียกได้ว่าเป็น strategic mistake สำคัญของในหลวงอีกอันหนึ่งก็ได้ แต่เป็นเรื่องที่ย้อนหลังไปตั้งแต่ก่อนวิกฤตินี้ คือผมเห็นมานานว่า ที่จริง ถ้าในหลวงฉลาด มองการณ์ไกลพอ ควรลาออกหรือสละราชย์ตั้งแต่หลายปีก่อน แล้วทำหน้าที่เป็น "ที่ปรึกษา" คืออาศัย authority ของตนช่วยเป็น "พี่เลี้ยง" ให้พระบรมฯที่เป็นกษัตริย์แทน แต่ในหลวงคอนเซอเวทีฟเกินไปกว่าที่จะพิจารณาอ๊อฟชั่นนี้]
ผลรวมของ strategic mistake ของในหลวงในช่วงนั้น (2550-2551) นอกจากทำให้ authority ของพระองค์พังลง และทำให้วิกฤติอยู่ในภาวะที่แก้ไม่ได้ มีแต่จะยิ่งแย่ลงจนทุกวันนี้แล้ว ยัง endanger หรือทำให้เกิดอันตรายต่อสถาบันกษัตริย์ทั้งสถาบันเอง - อนาคตของการที่สถาบันจะไม่มีเกินกว่ารัชกาลที่ 10 ทีเคยเป็นเพียงแต่คำทำนายลอยๆ เลยกลายมาเป็น real possibility หรือความเป็นไปได้ที่เป็นได้จริงๆแล้วในขณะนี้
..................
ปัญหาว่าทำไมในหลวงจึง made strategic mistake หรือทำพลาดทางยุทธศาสตร์ เป็นเรื่องที่ต้องอภิปรายกันยืดยาวซับซ้อนเกินกว่ากระทู้สั้นๆนี้ คือจะต้องมองย้อนหลังวิเคราะห์ไปถึงในแง่ "อัตวิสัย" หรือตัวในหลวงเอง (เช่น ไม่ได้ทรงฉลาด หรือมองการณ์ไกลแบบที่โฆษณากัน) ไปจนถึงที่สำคัญ ปริบทของสังคมการเมืองที่เปลี่ยนไป (ซึ่งในแง่ "อัตวิสัย" ของในหลวงเอง ไม่ทรงตระหนักพอ) เช่น การที่พรรคการเมืองมี "ฐานมวลชน" สนับสนุนที่เป็นจริง ที่ระดมได้ ไม่เหมือนอดีต การมีกลุ่มมวลชนที่ไม่ขึ้นต่อรัฐโดยตรงออกมาเคลื่อนไหวผลักดันสถานการณ์กันเอง (ไม่เหมือนกระทิงแดง นวพล ลูกเสือชาวบ้าน ที่ขึ้นต่อรัฐ) เช่นกรณีการเคลื่อนไหวใหญ่ของพันธมิตรปี 2551 ความจริงในหลวงไม่ชอบหรือหมั่นไส้สนธิอยู่ แต่ไม่รู้หรือไม่สามารถดีลกับการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ได้ พระราชินีก็ยิ่งไปทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก แล้วเลยเป็นปัจจัยทำให้ขบวนมวลชนของอีกฝั่ง - "เสื้อแดง" - ตามมา ซึ่งในหลวงยิ่งไม่รู้จะดีลกับปรากฏการณ์เหล่านี้ ซึ่งต่างออกไปจากสมัยก่อน อย่างไรอีก ฯลฯ ฯลฯ
.......................................
สมศักดิ์ เจียม
หลังจากพูดถึงการขาดคนรักเจ้าที่มองการณ์ไกลและกล้าหาญในสองกระทู้ก่อนหน้านี้ (ใครยังไม่อ่าน อยากให้อ่านนะ) ขอพูดถึงอีกข้าง
คือมันเป็น irony หรือตลกร้ายมากๆเหมือนกัน ที่พลังที่เหมือนจะเป็นตัวแทนของพลังใหม่ ค่ายทักษิณ-เพื่อไทย-เสื้อแดง ซึ่งในบางด้านมีลักษณะใหม่กว่าจริง (เช่นเข้าใจเรื่องความเป็นไปของโลกภายนอกมากกว่า พวกโครงการโน่นนี่ที่ฝายนี้เป็นฝ่ายริเริ่ม) เอาเข้าจริงในหลายๆด้าน มีลักษณะ "โบราณ" มากๆ
ความสัมพันธ์ภายในของฝ่ายนี้ ในลักษณะเหมือน "เจ้าพ่อ" ตั้งแต่ระดับสูงสุด (ในหมู่เสื้อแดง มีคำเรียกทักษิณแบบ "นิคเนม" ว่า "นายใหญ่" ความจริงมันสะท้อนอะไรที่ตรงมากกว่าที่เสื้อแดงคิดหรือยอมรับกัน) ถึงระดับล่างๆลงมา (มีลักษณะ "เจ้าพ่อ" เล็กๆตามลงมาในขบวน) ลักษณะพรรคการเมืองแบบครอบครัว ("บริษัทชินวัตรการเมืองจำกัด" - "ชิน-ดา-วงศ์") ไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างมวลชนกับผู้นำและนักการเมือง ที่มีลักษณะทีผมพูดตั้งแต่หลายปีก่อนว่ามัน unhealthy หรือสุขภาพไม่ดี ในลักษณะที่แย่กว่าความสัมพันธ์ระหว่างมวลชนอีกฝ่ายกับนักการเมืองของตน (เช่นในค่าย ปชป) แต่มีลักษณะเหมือนความสัมพันธ์แบบเดิมระหว่างเจ้ากับมวลชน - โดยรวมๆคือมีลักษณะ "ระบบอุปถัมภ์" แบบเก่าเยอะมากๆ ยังไม่ต้องพูดถึงลักษณะคอนเซอเวทีพทางความคิดความเชื่ออีกบางอย่างในระดับมวลชนเสื้อแดง (ที่ ดร.ไชยันต์ รัชกูล เรียกว่าเป็นพวก conservative radicals ในขณะที่ฝ่ายเหลืองเป็น radical conservatives) ฯลฯ ฯลฯ
คือเป็นพลัง"ใหม่"ที่ ไม่ได้ "ใหม่" จริงๆหลายอย่าง ...
..................................
สมศักดิ์ เจียม
วิกฤติสิบปี: consensus, moral authority และ strategic mistake ของในหลวง
ประเด็นหนึ่งที่ผมคิดเยอะในระยะหลังๆคือ เป็น irony หรือตลกร้ายที่ว่า วิกฤติประเทศไทยในลักษณะนี้ (ความขัดแย้ง แตกเป็นสองขั้ว ระหว่างภาค, ระหว่างชนชั้น, ระหว่างพรรคการเมืองใหญ่ ฯลฯ) ที่มีลักษณะทั่วประเทศ แพร่ขยายและซึมลึกไปทั่ว ถ้าเป็นเมื่อหลายๆปีก่อน จะมีอยู่คนเดียวที่สามารถแก้ได้คือในหลวง
คือในหลวงเป็นคนเดียวที่มี moral authority ที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ การจะแก้วิกฤติในลักษณะนี้ ปัญหาใจกลางคือจะต้องมี consensus หรือฉันทามติร่วมในบางอย่าง บางองค์กร บางกฎหมาย หรือบางคน ที่มี authority ที่ทุกฝ่ายยอมรับ (เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ ระบบศาล ระบบเลือกตั้ง หรือตัวบุคคลก็แล้วแต่ ที่ทุกฝา่ยเห็นตรงกันหรือยอมรับได้ คือเป็นกฎหมาย องค์กร หรือบุคคลที่มี authority เหนือทุกฝ่ายได้)
ที่พูดว่าในหลวงเป็นคนเดียว(ถ้าเป็นเมื่อหลายๆปีก่อน) ที่มี authority ที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ เป็นการพูดในเชิง fact หรือข้อเท็จจริง แน่นอนไม่ใช่หมายความว่าผมเห็นด้วยกับการมี authority นั้น เอาเข้าจริง ข้อเท็จจริงหรือความเป็นจริงนี้แหละ (ที่ว่าในหลวงเป็นคนเดียวที่มี authority ที่ทุกฝ่ายยอมรับ) เป็นปัญหาใหญ่ทีทำให้วิกฤติทุกวันนี้ยิ่งหนักหน่วงแก้ไม่ได้ และมองไม่เห็นการลงเอยของวิกฤติ
คือมันเป็นปัญหาในด้านกลับอย่างใหญ่หลวงเลยทีว่า ในเมื่อสังคมการเมืองไทยในหลายสิบปีก่อนหน้านั้น ทำให้ authority หรือ consensus สูงสุดไปผูกอยู่กับบุคคลเดียวคือในหลวง ถ้าบุคคลนั้นทำความผิดพลาดหรือก้าวพลาดขึ้นมา แล้ว authority เดียว(ที่ผูกกับบุคคลนั้น)ที่มีอยู่ เกิดพังลงมา คราวนี้ก็จะแก้วิกฤติไม่ได้หรือจะไม่มีหนทางแก้แล้ว กลายภาวะที่ไม่มี consensus หรือ authority ใหญ่ใจกลางที่ทุกฝ่ายยอมรับได้
ผมคิดว่าในหลวง made strategic mistake หรือทำพลาดทางยุทธศาสตร์ ที่ไม่ใช้ authority ที่มีอยู่แก้วิกฤตินี้ตั้งแต่ประมาณปีแรกๆ ... ผมนั่งทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นสิบปีที่ผ่านมา คิดว่า น่าจะประมาณ 2550-2551 ที่ถ้าในหลวงใช้ moral authority ที่มีอยู่อย่างชาญฉลาด อาจจะพอหยุดวิกฤติได้ ไม่ทำให้ลามปามมาจนสิบปี
ผมพูดถึงปี 2550-2551 ไม่ได้พูดในแง่มีจุดใดจุดหนึ่งหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์เดียว ที่ว่าเป็น strategic mistake ของในหลวง - หลายคนอาจจะนึกถึงการไปงานศพน้องโบว์ของพระราชินี ผมคิดว่านั่นก็เป็นอันหนึ่ง - แต่ผมมองในแง่เป็น "ซีรีส์" ของเหตุการณ์ คือผมคิดว่า ประมาณปี 2550-2551 ยังมีโอกาสที่ในหลวงจะใช้ authority หาทางออกที่แฟร์กับทุกฝ่าย และนำไปสู่การสร้าง consensus ใหม่ได้ ที่เรียกว่า strategic mistake คือ ในช่วงราวปีหรือปีเศษที่ว่านั้น ในหลวงถ้าไม่วางมือในบางกรณี(ปล่อยให้ความขัดแย้งลุกลาม) ก็เรียกว่า throw his weight behind หรือให้น้ำหนักสนับสนุน (ภาษาบ้านๆคือ "เข้าข้าง" หรือ "หนุนหลัง") ฝ่ายหนึ่ง ผลรวมๆก็คือทำให้ authority ของในหลวงเอง (ซึ่งเป็น authority เพียงหนึ่งเดียวที่ประเทศไทยมีในตอนนั้น) พังทลายหรือ breakdown ลง
(การที่ในหลวง"เปิดสวิทช์" ทำให้เกิด "ตุลาการภิวัฒน์" ที่จะครบรอบ 10 ปีในไม่กี่สัปดาห์นี้ ผมมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของ strategic mistake นี้ คือในระยะสั้น ในหลวงคิดว่าใช้วิธีนี้แก้ปัญหาได้ แต่ความจริงมองในระยะยาวออกไป การเปิดสวิทช์ให้ตุลาการเป็นเครื่องมือการเมืองที่ออกมาในลักษณะเล่นงานฝ่ายหนึ่ง เป็นอะไรที่ทำให้ authority ทั้งของในหลวงและของระบบตุลาการทั้งระบบพัง ซึ่งยิ่งกลายเป็นวิกฤติที่แก้ไม่ได้)
หลังจากนั้นไม่นานตัวในหลวงเองก็เริ่มป่วยใหญ่เป็นครั้งสุดท้าย คือป่วยแบบนับถอยหลังไปสู่การสวรรคต แล้ว prospect หรืออนาคตที่พระบรมฯจะเป็นกษัตริย์แทนในเร็ววัน ก็ยิ่งไปเสริมวิกฤติอีก (เพราะดังที่รู้กันว่าพระบรมฯไม่มี moral authority ใดๆทั้งสิ้น มิหนำซ้ำในไม่กี่ปีหลัง ยังทำให้การไม่มีนั้น แย่ลงไปอีกด้วยการกวาดล้างใหญ่ ทำให้มีคน "ติดเชื้อในกระแสเลือดตาย" "ผูกคอตาย" หรือตายแบบสาบสูญอีก 3-4 คน)*
*[กรณีพระบรมฯ อาจจะเรียกได้ว่าเป็น strategic mistake สำคัญของในหลวงอีกอันหนึ่งก็ได้ แต่เป็นเรื่องที่ย้อนหลังไปตั้งแต่ก่อนวิกฤตินี้ คือผมเห็นมานานว่า ที่จริง ถ้าในหลวงฉลาด มองการณ์ไกลพอ ควรลาออกหรือสละราชย์ตั้งแต่หลายปีก่อน แล้วทำหน้าที่เป็น "ที่ปรึกษา" คืออาศัย authority ของตนช่วยเป็น "พี่เลี้ยง" ให้พระบรมฯที่เป็นกษัตริย์แทน แต่ในหลวงคอนเซอเวทีฟเกินไปกว่าที่จะพิจารณาอ๊อฟชั่นนี้]
ผลรวมของ strategic mistake ของในหลวงในช่วงนั้น (2550-2551) นอกจากทำให้ authority ของพระองค์พังลง และทำให้วิกฤติอยู่ในภาวะที่แก้ไม่ได้ มีแต่จะยิ่งแย่ลงจนทุกวันนี้แล้ว ยัง endanger หรือทำให้เกิดอันตรายต่อสถาบันกษัตริย์ทั้งสถาบันเอง - อนาคตของการที่สถาบันจะไม่มีเกินกว่ารัชกาลที่ 10 ทีเคยเป็นเพียงแต่คำทำนายลอยๆ เลยกลายมาเป็น real possibility หรือความเป็นไปได้ที่เป็นได้จริงๆแล้วในขณะนี้
..................
ปัญหาว่าทำไมในหลวงจึง made strategic mistake หรือทำพลาดทางยุทธศาสตร์ เป็นเรื่องที่ต้องอภิปรายกันยืดยาวซับซ้อนเกินกว่ากระทู้สั้นๆนี้ คือจะต้องมองย้อนหลังวิเคราะห์ไปถึงในแง่ "อัตวิสัย" หรือตัวในหลวงเอง (เช่น ไม่ได้ทรงฉลาด หรือมองการณ์ไกลแบบที่โฆษณากัน) ไปจนถึงที่สำคัญ ปริบทของสังคมการเมืองที่เปลี่ยนไป (ซึ่งในแง่ "อัตวิสัย" ของในหลวงเอง ไม่ทรงตระหนักพอ) เช่น การที่พรรคการเมืองมี "ฐานมวลชน" สนับสนุนที่เป็นจริง ที่ระดมได้ ไม่เหมือนอดีต การมีกลุ่มมวลชนที่ไม่ขึ้นต่อรัฐโดยตรงออกมาเคลื่อนไหวผลักดันสถานการณ์กันเอง (ไม่เหมือนกระทิงแดง นวพล ลูกเสือชาวบ้าน ที่ขึ้นต่อรัฐ) เช่นกรณีการเคลื่อนไหวใหญ่ของพันธมิตรปี 2551 ความจริงในหลวงไม่ชอบหรือหมั่นไส้สนธิอยู่ แต่ไม่รู้หรือไม่สามารถดีลกับการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ได้ พระราชินีก็ยิ่งไปทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก แล้วเลยเป็นปัจจัยทำให้ขบวนมวลชนของอีกฝั่ง - "เสื้อแดง" - ตามมา ซึ่งในหลวงยิ่งไม่รู้จะดีลกับปรากฏการณ์เหล่านี้ ซึ่งต่างออกไปจากสมัยก่อน อย่างไรอีก ฯลฯ ฯลฯ
.......................................
สมศักดิ์ เจียม
ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ลดจำนวนนายพลและนายทหารระดับสูงลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
จะมีพรรคการเมืองไหน มีความกล้าหาญพอจะเสนอนี่เป็นนโยบายไหม?
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar