ความเห็นของจักรภพ เพ็ญแขต่อ ศาล ตลก รฐน
ความขัดแย้งเกี่ยวกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขณะนี้ เป็นปัญหาที่แก้ยากที่สุดเรื่องหนึ่งของสังคมไทยปัจจุบัน มองจากมุมเสื้อแดง ก็ไม่เห็นศาลใดๆ เลย นอกจากเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งของระบอบอำนาจเก่าในการทำลายฝ่ายตรงข้ามโดยอ้างความศักดิ์สิทธิ์ของความเป็นศาล มองมุมเสื้อเหลืองก็เห็นว่าเครื่องมือชิ้นท้ายๆ ของตนในการคานอำนาจกับฝ่ายอดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกรัฐประหาร กำลังถูกท้าทายและทำลายโดยมวลชนฝ่ายแดง และอาจโดยผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ แต่ถ้ามองอย่างจนถึงที่สุดแล้ว นับเป็นความขัดแย้งที่ควรค่าที่สุดครั้งหนึ่งนับแต่วิกฤติการเมืองหลังพ.ศ.๒๕๔๙ เป็นต้นมาเพราะทำให้คนไทยทุกสีถามคำถามพื้นฐานกับตนเองว่าท้ายที่สุดแล้วตนต้องการระบอบอะไรกันแน่
ลองถามผู้พิพากษาชาวไทยคนใดในศาลไหนก็ได้ จะได้รับคำตอบว่าคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมิใช่ศาล จึงใช้คำว่า ตุลาการ แทน ผู้พิพากษา มาตั้งแต่ต้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนขณะนี้ก็ไม่เคยเป็นผู้พิพากษามาก่อนเลยในชีวิต นั่นคืออดีตเอกอัครราชทูตเฉลิมพล เอกอุรุและอดีตเอกอัครราชทูตสุพจน์ ไข่มุกด์ มีแต่ในห้วงหลังการยึดอำนาจรัฐประหาร ซึ่งคนส่วนใหญ่ของประเทศเห็นว่าเป็นความผิดสถานหนักทางการเมืองเท่านั้น ที่มีคำสั่งของคณะรัฐประหารให้ใช้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมาทำหน้าที่เป็น “ศาลรัฐธรรมนูญ” ชั่วคราว แต่แล้วกลับสร้างเงื่อนไขทางกฎหมายระดับต่างๆ ให้ดูประหนึ่งว่าเป็นศาลกับเขาด้วย อาจเพราะรู้อยู่ในใจดีว่าแต่ละคนรับภารกิจอะไรจากอำนาจนอกระบบมาทำ ทำแล้วจะสร้างความโกรธแค้นชิงชังขนาดไหนในหมู่ประชาชน จึงเร่งสร้างเครื่องมือทางกฎหมายป้องกันตนเองราวกับเป็นศาลจริงๆ
เมื่อไม่ใช่ศาล ไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ที่จะกล่าวอ้างกันแบบขู่เข็ญได้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็คือคนเดินดินระดับเดียวกับคนไทยทั่วไป ที่คนเขาจะเชื่อก็ได้หรือไม่เชื่อก็ได้ ที่สำคัญคือ ไม่มีสิทธิและความชอบธรรมทางการเมืองที่จะทำลายหรือลบล้างองค์กรทางการเมืองที่ประชาชนเลือกตั้งเข้ามาอย่างถูกต้อง ต้องไม่มีอำนาจที่นำไปสู่การยุบพรรคการเมือง ล้มล้างรัฐบาล หรือถอดถอนบุคคลสาธารณะที่ถูกถ่วงดุลและตรวจสอบอยู่แล้วในระบบอื่นๆ อย่างที่เคยมีพฤติกรรมมา ยิ่งหลุดปากยอมรับถึงความฉ้อฉลที่เกิดขึ้นภายในกระบวนการของตน อย่างครั้งที่คุณวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์หลุดออกมาในกรณีถอดถอนคุณสมัคร สุนทรเวชจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพราะรับค่าตอบแทนจากรายการโทรทัศน์ ยิ่งมองไม่เห็นคุณธรรมใดๆ ที่จะกล่าวอ้างได้เลยว่าทำไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม จึงเข้าใจได้ไม่ยากว่าเหตุใดมวลชนจำนวนมากจึงโกรธแค้นไม่พอใจและเกิดหมดความเกรงใจต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาอย่างฉับพลัน จนกระทั่งเกิดมีวันนี้ขึ้น
ผมขอให้กำลังใจต่อมวลชนที่กำลังเกิดความไม่พอใจดังกล่าวมา ณ ที่นี้ ท่านมีเสรีภาพที่จะแสดงออกในเรื่องนี้เต็มที่ เพียงเลือกวิธีการให้เหมาะควร อย่าหลงกลฝ่ายตรงข้ามที่อยากให้เราใช้ความรุนแรงและเตรียมจะระบายสีพวกท่านให้เป็นฝูงชนบ้าคลั่งเพื่อหาเหตุเข้าปราบปราม แบบที่มวลชนแดงราชประสงค์เคยถูกเข่นฆ่าตามความประสงค์ของผู้สั่งฆ่ามาแล้วเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๓ ควรปราศรัยให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนผู้เดินทางไปร่วมแสดงสิทธิที่นั่น หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเองก็ให้ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายในการให้ข้อมูลด้วย บางท่านทำงานอยู่ในนั้นเพราะเกิดได้งานในนั้นมาก่อน ไม่ใช่ว่ามีอุดมการณ์ร่วมไปกับผู้บังคับบัญชาของเขา เราอย่าถือเขาเป็นศัตรูใดๆ ควรปราศรัยเผื่อแผ่ไปถึงเขาด้วย เหมือนที่เราได้แนวร่วมเป็นเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ฝ่ายข่าวกรองที่ถูกส่งมาเป็นฝ่ายตรงข้ามเราในอดีตนั่นเอง ทุกคนต่างมีสมองและหัวใจของเขาเอง ถ้าเขาได้ยินได้ฟังสิ่งที่เป็นความถูกต้องชอบธรรม เขาก็เปลี่ยนใจมาช่วยสนับสนุนเราได้ครับ
หากมีใครถามขึ้นมาว่า หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสิ้นสภาพไปในวันหนึ่งใครเล่าจะทำหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ท่านตอบเขาได้เลยว่าผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญมีอยู่แล้ว ๒ องค์กรคือปวงชนชาวไทยและศาลฎีกาของประเทศ ปวงชนชาวไทยออกมาแสดงสิทธิได้ในฐานะมวลชนตามวาระและโอกาสอันควร และศาลฎีกาเป็นผู้ประทับตราในทางกฎหมายและความเป็นทางการ ปวงชนนั้นเราไม่สงสัย แต่เราจะเชื่อศาลฎีกาได้หรือ อดีตที่ผ่านมาเราก็เคยรู้รสแห่งความไม่ยุติธรรมมาแล้วบ้างมิใช่หรือ หลายท่านมีคำถามเช่นนี้อยู๋ในใจ เราคงตอบได้ว่า ก็เพราะ “เขา” ใช้ศาลฎีกาอย่างผิดๆ มานานหลายปี จนขณะนี้เริ่มมีผู้พิพากษาที่มีหิริโอตัปปะแข็งข้อขึ้นหรือใช้วิธี “ลางาน” เพื่อหลบสภาพความเป็นผู้พายเรือให้โจรนั่งมากขึ้นเรื่อยๆ บวกการทำงานในระบบคณะกรรมการตุลาการและการพิพากษาเป็นองค์คณะที่ทำให้การฉ้อฉลกระทำได้ยากขึ้น เราจึงควรหวนกลับมาเสริมสรรพกำลังให้กับศาลฎีกาอีกครั้ง เพื่อให้เตรียมเป็นศาลฎีกาแห่งอนาคตที่จะประกันระบอบประชาธิปไตยได้อย่างมั่นคงไม่แพ้ใครอื่น วันนี้อาจจะยังไม่ดีถึงที่สุด แต่ถ้าเริ่มในวันนี้อาจจะวิวัฒนาการขึ้นมาได้ทันการณ์.
ลองถามผู้พิพากษาชาวไทยคนใดในศาลไหนก็ได้ จะได้รับคำตอบว่าคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมิใช่ศาล จึงใช้คำว่า ตุลาการ แทน ผู้พิพากษา มาตั้งแต่ต้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนขณะนี้ก็ไม่เคยเป็นผู้พิพากษามาก่อนเลยในชีวิต นั่นคืออดีตเอกอัครราชทูตเฉลิมพล เอกอุรุและอดีตเอกอัครราชทูตสุพจน์ ไข่มุกด์ มีแต่ในห้วงหลังการยึดอำนาจรัฐประหาร ซึ่งคนส่วนใหญ่ของประเทศเห็นว่าเป็นความผิดสถานหนักทางการเมืองเท่านั้น ที่มีคำสั่งของคณะรัฐประหารให้ใช้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมาทำหน้าที่เป็น “ศาลรัฐธรรมนูญ” ชั่วคราว แต่แล้วกลับสร้างเงื่อนไขทางกฎหมายระดับต่างๆ ให้ดูประหนึ่งว่าเป็นศาลกับเขาด้วย อาจเพราะรู้อยู่ในใจดีว่าแต่ละคนรับภารกิจอะไรจากอำนาจนอกระบบมาทำ ทำแล้วจะสร้างความโกรธแค้นชิงชังขนาดไหนในหมู่ประชาชน จึงเร่งสร้างเครื่องมือทางกฎหมายป้องกันตนเองราวกับเป็นศาลจริงๆ
เมื่อไม่ใช่ศาล ไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ที่จะกล่าวอ้างกันแบบขู่เข็ญได้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็คือคนเดินดินระดับเดียวกับคนไทยทั่วไป ที่คนเขาจะเชื่อก็ได้หรือไม่เชื่อก็ได้ ที่สำคัญคือ ไม่มีสิทธิและความชอบธรรมทางการเมืองที่จะทำลายหรือลบล้างองค์กรทางการเมืองที่ประชาชนเลือกตั้งเข้ามาอย่างถูกต้อง ต้องไม่มีอำนาจที่นำไปสู่การยุบพรรคการเมือง ล้มล้างรัฐบาล หรือถอดถอนบุคคลสาธารณะที่ถูกถ่วงดุลและตรวจสอบอยู่แล้วในระบบอื่นๆ อย่างที่เคยมีพฤติกรรมมา ยิ่งหลุดปากยอมรับถึงความฉ้อฉลที่เกิดขึ้นภายในกระบวนการของตน อย่างครั้งที่คุณวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์หลุดออกมาในกรณีถอดถอนคุณสมัคร สุนทรเวชจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพราะรับค่าตอบแทนจากรายการโทรทัศน์ ยิ่งมองไม่เห็นคุณธรรมใดๆ ที่จะกล่าวอ้างได้เลยว่าทำไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม จึงเข้าใจได้ไม่ยากว่าเหตุใดมวลชนจำนวนมากจึงโกรธแค้นไม่พอใจและเกิดหมดความเกรงใจต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาอย่างฉับพลัน จนกระทั่งเกิดมีวันนี้ขึ้น
ผมขอให้กำลังใจต่อมวลชนที่กำลังเกิดความไม่พอใจดังกล่าวมา ณ ที่นี้ ท่านมีเสรีภาพที่จะแสดงออกในเรื่องนี้เต็มที่ เพียงเลือกวิธีการให้เหมาะควร อย่าหลงกลฝ่ายตรงข้ามที่อยากให้เราใช้ความรุนแรงและเตรียมจะระบายสีพวกท่านให้เป็นฝูงชนบ้าคลั่งเพื่อหาเหตุเข้าปราบปราม แบบที่มวลชนแดงราชประสงค์เคยถูกเข่นฆ่าตามความประสงค์ของผู้สั่งฆ่ามาแล้วเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๓ ควรปราศรัยให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนผู้เดินทางไปร่วมแสดงสิทธิที่นั่น หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเองก็ให้ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายในการให้ข้อมูลด้วย บางท่านทำงานอยู่ในนั้นเพราะเกิดได้งานในนั้นมาก่อน ไม่ใช่ว่ามีอุดมการณ์ร่วมไปกับผู้บังคับบัญชาของเขา เราอย่าถือเขาเป็นศัตรูใดๆ ควรปราศรัยเผื่อแผ่ไปถึงเขาด้วย เหมือนที่เราได้แนวร่วมเป็นเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ฝ่ายข่าวกรองที่ถูกส่งมาเป็นฝ่ายตรงข้ามเราในอดีตนั่นเอง ทุกคนต่างมีสมองและหัวใจของเขาเอง ถ้าเขาได้ยินได้ฟังสิ่งที่เป็นความถูกต้องชอบธรรม เขาก็เปลี่ยนใจมาช่วยสนับสนุนเราได้ครับ
หากมีใครถามขึ้นมาว่า หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสิ้นสภาพไปในวันหนึ่งใครเล่าจะทำหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ท่านตอบเขาได้เลยว่าผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญมีอยู่แล้ว ๒ องค์กรคือปวงชนชาวไทยและศาลฎีกาของประเทศ ปวงชนชาวไทยออกมาแสดงสิทธิได้ในฐานะมวลชนตามวาระและโอกาสอันควร และศาลฎีกาเป็นผู้ประทับตราในทางกฎหมายและความเป็นทางการ ปวงชนนั้นเราไม่สงสัย แต่เราจะเชื่อศาลฎีกาได้หรือ อดีตที่ผ่านมาเราก็เคยรู้รสแห่งความไม่ยุติธรรมมาแล้วบ้างมิใช่หรือ หลายท่านมีคำถามเช่นนี้อยู๋ในใจ เราคงตอบได้ว่า ก็เพราะ “เขา” ใช้ศาลฎีกาอย่างผิดๆ มานานหลายปี จนขณะนี้เริ่มมีผู้พิพากษาที่มีหิริโอตัปปะแข็งข้อขึ้นหรือใช้วิธี “ลางาน” เพื่อหลบสภาพความเป็นผู้พายเรือให้โจรนั่งมากขึ้นเรื่อยๆ บวกการทำงานในระบบคณะกรรมการตุลาการและการพิพากษาเป็นองค์คณะที่ทำให้การฉ้อฉลกระทำได้ยากขึ้น เราจึงควรหวนกลับมาเสริมสรรพกำลังให้กับศาลฎีกาอีกครั้ง เพื่อให้เตรียมเป็นศาลฎีกาแห่งอนาคตที่จะประกันระบอบประชาธิปไตยได้อย่างมั่นคงไม่แพ้ใครอื่น วันนี้อาจจะยังไม่ดีถึงที่สุด แต่ถ้าเริ่มในวันนี้อาจจะวิวัฒนาการขึ้นมาได้ทันการณ์.
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar