ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์
สืบพยานต่อ คดีคนงานชุมนุมเกินสิบคน-ก่อความวุ่นวาย สมัยอภิสิทธิ์
(28 พ.ค.56) ที่ห้องพิจารณาคดี 707 ศาลอาญา รัชดา มีการสืบพยานจำเลย ในคดีที่พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.บุญรอด สายวงศ์ นายสุนทร บุญยอด และ น.ส.จิตรา คชเดช ในความผิดฐานมั่วสุมกันก่อการวุ่นวายในบ้านเมือง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 และ 216 ว่าด้วยการชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไป จากกรณีการชุมนุมของคนงานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2552
จิตรา คชเดช จำเลยที่ 3 เบิกความต่อศาลว่า กล่าวว่า ในช่วงเกิดเหตุ ตนเองเป็นเจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ โดยมีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาสหภาพแรงงาน ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ เมื่อบริษัทบอดี้แฟชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายชุดชั้นในและชุดว่ายน้ำไทรอัมพ์ ประกาศเลิกจ้างคนงาน 1,595 คน ในเดือน มิ.ย.52 โดยจะมีผลในวันที่ 29 ส.ค.52 สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ จึงเข้าช่วยเหลือ โดยได้ยื่นหนังสือต่อหน่วยงานต่างๆ รวมถึงนายอภิสิทธิ์ นายกฯ ในขณะนั้น ผ่านนายสุธรรม ลิ้มสุวรรณเกษม รองเลขาธิการนายกฯ และเมื่อใกล้กำหนดจะถูกเลิกจ้าง จึงตัดสินใจไปถามความคืบหน้าจากนายกฯ อีกครั้ง โดยชวนองค์กรแรงงานต่างๆ ที่ประสบปัญหาเข้าร่วมด้วย ได้แก่ สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสมาชิกคือ คนงานบริษัทเอนีออนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถูกเลิกจ้าง 300-400 คนและคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ซึ่งมีสมาชิกคือ คนงานบริษัทเวิลด์เวลล์การ์เม้นท์ที่ถูกเลิกจ้าง 100 คน
ในวันเกิดเหตุ คนงานนัดกันเดินจากหน้าบ้านพิษณุโลกไปหน้าทำเนียบ แต่ไม่มีใครออกมารับหนังสือ และได้รับแจ้งว่าฝ่ายการเมืองไปประชุมกันที่รัฐสภา องค์กรแรงงานจึงมีมติไปที่รัฐสภา โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยให้ ขณะที่การจราจรยังเป็นไปตามปกติ ต่อมาระหว่างประสานงานเพื่อยื่นหนังสือต่อประธานวิปฝ่ายค้านและชี้แจงกับผู้ชุมนุม ตำรวจได้เปิดเครื่องเสียงรบกวนการสื่อสาร ซึ่งต่อมาทราบภายหลังว่าคือเครื่อง LRAD โดยตำรวจให้สัมภาษณ์ผ่านทีวีว่านำมาทดลองใช้กับคนงาน ทั้งนี้ ขณะอยู่ในรัฐสภา เพื่อรอเข้าพบประธานวิปฝ่ายค้าน พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ได้เข้ามาต่อว่า พร้อมขู่ว่าจะออกหมายจับพวกตนด้วย จากนั้น ตัวแทนคนงานได้ยื่นหนังสือต่อประธานวิปฝ่ายค้านและรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ก่อนจะออกมาชี้แจงกับผู้ชุมนุมและแยกย้ายกันกลับในเวลาประมาณ 17.00น.
จิตรา ระบุว่า ตนเองไม่ใช่ผู้นำการชุมนุมและไม่มีอำนาจสั่งการผู้ชุมนุม เพราะมากันจากหลายองค์กร พร้อมยืนยันว่าเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญโดยเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงความเห็นและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การมายื่นหนังสือต่อนายกฯ ก็เพื่อให้ช่วยแก้ปัญหาการถูกเลิกจ้าง และที่ต้องอยู่จนถึงเย็น เพราะไม่มีใครมารับหนังสือ
ด้านบุญรอด สายวงศ์ จำเลยที่ 1 เบิกความว่า ขณะเกิดเหตุ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ ทำหน้าที่ประสานงานองค์กร จัดประชุม และดูแลกรณีการเลิกจ้าง เช้าวันเกิดเหตุ ขณะรวมตัวตั้งขบวนหน้าบ้านพิษณุโลก มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาถามว่าจะไปไหน เมื่อแจ้งว่าจะไปหน้าทำเนียบ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ช่วยอำนวยความสะดวกให้ และเมื่อไปถึงหน้าทำเนียบพบว่าตำรวจนำแผงเหล็กมากั้นไว้ก่อนแล้ว รวมถึงตำรวจได้นำแผงเหล็กมาปิดขบวนหลังจากเดินลงสะพานชมัยมรุเชษฐ์ด้วย โดยวันดังกล่าว มีคนงานไทรอัมพ์ราว 1,200 คน เนื่องจากได้ขอให้คนงานซึ่งมี 57 ไลน์การผลิตส่งคนงานเข้าชุมนุม ไลน์ละ 20 คน ทั้งนี้ ขณะอยู่หน้าทำเนียบ พล.ต.ต.วิชัย ได้ขอให้ตนเองพาคนขึ้นบนฟุตบาท แต่ตนเองตอบว่าไม่สามารถสั่งใครได้ เพราะมากันจากหลายที่ พร้อมขอให้ พล.ต.ต.วิชัย ช่วยประสานงานให้คนมารับหนังสือ เมื่อยื่นแล้วก็จะกลับ
บุญรอด กล่าวว่า ต่อมา เมื่อเดินทางจากหน้าทำเนียบมาถึงหน้ารัฐสภา พบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำแผงเหล็กมากั้นไว้ก่อนแล้ว โดยที่รถยังเข้าออกที่ประตู 2 ได้ ต่อมา ประมาณ 14.00น. ตำรวจได้เปิดเครื่องเสียงเสียงดัง จนผู้ชุมนุมติดต่อประสานงานกันไม่ได้ จากเสียงดังกล่าว ทำให้มีคนงานหูชั้นกลางอักเสบอย่างรุนแรง 5 คน โดยทราบภายหลังว่า เครื่องเสียงดังกล่าว คือเครื่อง LRAD จากการให้สัมภาษณ์ของ พล.ต.ต.วิชัย ทางรายการข่าวสามมิติ ทางช่อง 3
บุญรอด ระบุว่า ระหว่างชุมนุม มีการปราศรัยถึงความเดือดร้อนจากการถูกเลิกจ้าง แต่ไม่มีการชักชวนให้ทำร้าย ประทุษร้าย หรือก่อความวุ่นวายใดๆ ทั้งนี้ ตลอดการชุมนุม ไม่มีใครสั่งให้เลิกชุมนุมแต่อย่างใด
สำหรับคดีนี้ จะมีการสืบพยานจำเลยที่เหลืออีก 8 ปากในวันที่ 29 และ 30 พ.ค. ที่ศาลอาญา รัชดา
จิตรา คชเดช จำเลยที่ 3 เบิกความต่อศาลว่า กล่าวว่า ในช่วงเกิดเหตุ ตนเองเป็นเจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ โดยมีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาสหภาพแรงงาน ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ เมื่อบริษัทบอดี้แฟชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายชุดชั้นในและชุดว่ายน้ำไทรอัมพ์ ประกาศเลิกจ้างคนงาน 1,595 คน ในเดือน มิ.ย.52 โดยจะมีผลในวันที่ 29 ส.ค.52 สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ จึงเข้าช่วยเหลือ โดยได้ยื่นหนังสือต่อหน่วยงานต่างๆ รวมถึงนายอภิสิทธิ์ นายกฯ ในขณะนั้น ผ่านนายสุธรรม ลิ้มสุวรรณเกษม รองเลขาธิการนายกฯ และเมื่อใกล้กำหนดจะถูกเลิกจ้าง จึงตัดสินใจไปถามความคืบหน้าจากนายกฯ อีกครั้ง โดยชวนองค์กรแรงงานต่างๆ ที่ประสบปัญหาเข้าร่วมด้วย ได้แก่ สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสมาชิกคือ คนงานบริษัทเอนีออนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถูกเลิกจ้าง 300-400 คนและคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ซึ่งมีสมาชิกคือ คนงานบริษัทเวิลด์เวลล์การ์เม้นท์ที่ถูกเลิกจ้าง 100 คน
ในวันเกิดเหตุ คนงานนัดกันเดินจากหน้าบ้านพิษณุโลกไปหน้าทำเนียบ แต่ไม่มีใครออกมารับหนังสือ และได้รับแจ้งว่าฝ่ายการเมืองไปประชุมกันที่รัฐสภา องค์กรแรงงานจึงมีมติไปที่รัฐสภา โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยให้ ขณะที่การจราจรยังเป็นไปตามปกติ ต่อมาระหว่างประสานงานเพื่อยื่นหนังสือต่อประธานวิปฝ่ายค้านและชี้แจงกับผู้ชุมนุม ตำรวจได้เปิดเครื่องเสียงรบกวนการสื่อสาร ซึ่งต่อมาทราบภายหลังว่าคือเครื่อง LRAD โดยตำรวจให้สัมภาษณ์ผ่านทีวีว่านำมาทดลองใช้กับคนงาน ทั้งนี้ ขณะอยู่ในรัฐสภา เพื่อรอเข้าพบประธานวิปฝ่ายค้าน พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ได้เข้ามาต่อว่า พร้อมขู่ว่าจะออกหมายจับพวกตนด้วย จากนั้น ตัวแทนคนงานได้ยื่นหนังสือต่อประธานวิปฝ่ายค้านและรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ก่อนจะออกมาชี้แจงกับผู้ชุมนุมและแยกย้ายกันกลับในเวลาประมาณ 17.00น.
จิตรา ระบุว่า ตนเองไม่ใช่ผู้นำการชุมนุมและไม่มีอำนาจสั่งการผู้ชุมนุม เพราะมากันจากหลายองค์กร พร้อมยืนยันว่าเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญโดยเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงความเห็นและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การมายื่นหนังสือต่อนายกฯ ก็เพื่อให้ช่วยแก้ปัญหาการถูกเลิกจ้าง และที่ต้องอยู่จนถึงเย็น เพราะไม่มีใครมารับหนังสือ
ด้านบุญรอด สายวงศ์ จำเลยที่ 1 เบิกความว่า ขณะเกิดเหตุ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ ทำหน้าที่ประสานงานองค์กร จัดประชุม และดูแลกรณีการเลิกจ้าง เช้าวันเกิดเหตุ ขณะรวมตัวตั้งขบวนหน้าบ้านพิษณุโลก มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาถามว่าจะไปไหน เมื่อแจ้งว่าจะไปหน้าทำเนียบ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ช่วยอำนวยความสะดวกให้ และเมื่อไปถึงหน้าทำเนียบพบว่าตำรวจนำแผงเหล็กมากั้นไว้ก่อนแล้ว รวมถึงตำรวจได้นำแผงเหล็กมาปิดขบวนหลังจากเดินลงสะพานชมัยมรุเชษฐ์ด้วย โดยวันดังกล่าว มีคนงานไทรอัมพ์ราว 1,200 คน เนื่องจากได้ขอให้คนงานซึ่งมี 57 ไลน์การผลิตส่งคนงานเข้าชุมนุม ไลน์ละ 20 คน ทั้งนี้ ขณะอยู่หน้าทำเนียบ พล.ต.ต.วิชัย ได้ขอให้ตนเองพาคนขึ้นบนฟุตบาท แต่ตนเองตอบว่าไม่สามารถสั่งใครได้ เพราะมากันจากหลายที่ พร้อมขอให้ พล.ต.ต.วิชัย ช่วยประสานงานให้คนมารับหนังสือ เมื่อยื่นแล้วก็จะกลับ
บุญรอด กล่าวว่า ต่อมา เมื่อเดินทางจากหน้าทำเนียบมาถึงหน้ารัฐสภา พบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำแผงเหล็กมากั้นไว้ก่อนแล้ว โดยที่รถยังเข้าออกที่ประตู 2 ได้ ต่อมา ประมาณ 14.00น. ตำรวจได้เปิดเครื่องเสียงเสียงดัง จนผู้ชุมนุมติดต่อประสานงานกันไม่ได้ จากเสียงดังกล่าว ทำให้มีคนงานหูชั้นกลางอักเสบอย่างรุนแรง 5 คน โดยทราบภายหลังว่า เครื่องเสียงดังกล่าว คือเครื่อง LRAD จากการให้สัมภาษณ์ของ พล.ต.ต.วิชัย ทางรายการข่าวสามมิติ ทางช่อง 3
บุญรอด ระบุว่า ระหว่างชุมนุม มีการปราศรัยถึงความเดือดร้อนจากการถูกเลิกจ้าง แต่ไม่มีการชักชวนให้ทำร้าย ประทุษร้าย หรือก่อความวุ่นวายใดๆ ทั้งนี้ ตลอดการชุมนุม ไม่มีใครสั่งให้เลิกชุมนุมแต่อย่างใด
สำหรับคดีนี้ จะมีการสืบพยานจำเลยที่เหลืออีก 8 ปากในวันที่ 29 และ 30 พ.ค. ที่ศาลอาญา รัชดา
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar