tisdag 7 maj 2013

....“คู่ชิงชัย”.....หนึ่งนั้นคือฝ่ายที่ชอบธรรมตามข้อกำหนด ส่วนอีกหนึ่งนั้นคือฝ่ายที่ต้องการรักษาสถานะเดิม อำนาจ ผลประโยชน์ ความมัวเมา ความลุ่มหลง ไม่เคยเข้าใครออกใคร ประชาชนอย่าเป็นได้เพียงหญ้าแพรกในทุ่งยุทธหัตถี ที่รอวันจะแหลกราญ


เมื่อถึงคราที่ช้างสารต้องชนกัน ฤ จะเป็นหญ้าแพรกที่แหลกลาญ
Tuesday, 13 October 2009 14:05 | Author: ม้าน้ำ |

[IMG]

จากคำกล่าวของ เหมา เจ๋อ ตง ที่ว่าด้วยการสงครามยึดเยื้อ “สงครามคือความต่อเนื่องของการเมือง
นั่นก็คือ การใช้กุศโลบายตามวิถีทางการเมืองในการขจัดอุปสรรคทางการเมืองในชั้นแรก
เป็นการดำเนินการที่ใช้ระยะเวลายึดเยื้อยาวนาน ด้วยวิธีการที่หลากหลายและรอบด้าน
เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าประสงค์ทางการเมืองและเมื่ออุปสรรคถูกขจัดให้หมดสิ้นไป หรือบรรลุผลตามที่ต้องการแล้ว ก็เป็นอันยุติ
ซึ่งการใช้แนวทางในด้านการเมืองนั้น เป็นวิธีการเพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรง หรือการเผชิญหน้ากันด้วยกองกำลังและอาวุธ
แต่เมื่อได้ใช้กุศโลบายหรือวิถีทางการเมืองอย่างถึงที่สุดแล้ว
ยังไม่สามารถขจัดอุปสรรคหรือไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่ต้องการได้
สงครามจะกลับกลายมาเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะใช้เป็นเครื่องมือหรือวิธีการที่จะใช้ในการดำเนินการต่อเนื่องเพื่อใช้ขจัดอุปสรรค
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองตามที่ตนต้องการต่อไป

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า "การเมืองคือสงครามที่ไม่มีการหลั่งเลือด แต่สงครามนั้นเป็นการเมืองที่จะต้องหลั่งเลือด"
ตามคำกล่าวของ เหมา เจ๋อ ตง ดังที่ได้เคยกล่าวเอาไว้แล้วนั่นเอง

ด้วยเหตุที่ว่ามี “สัญญาณ” หรือ “นัย” บ่งชี้บางอย่างบางประการเกิดขึ้นกับ “ตำแหน่ง” หรือ “จุด” ที่ทรงอำนาจ
และอุดมไปด้วยผลประโยชน์รอบด้าน ซึ่งมีผู้หมายปองหลายคน
การที่ผู้หมายปองเหล่านั้นจะให้ได้มาซึ่งตำแหน่งหรือจุดที่ตนต้องการได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการขจัดอุปสรรคหรือปัญหา
ซึ่งก็คือ “คู่แข่ง” เพื่อให้ขึ้นไปสู่จุดมุ่งหมาย หรือตำแหน่งที่ตนหมายปอง
และถ้าไม่มีฝ่ายใดยอมหลีกทางให้ ย่อมจะต้องมีการกดดันกันด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา รวมถึงการแสดงแสนยานุภาพบั่นทอน
เพื่อให้คู่ต่อสู้ได้เป็นที่ประจักษ์และเกิดความกริ่งเกรงจนยอมสยบและหลีกทางให้
และอาจมีการเข้าร่วมเป็นฐานอำนาจให้กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่ยอมรับสมประโยชน์เข้าด้วยกัน
ทำให้ผู้หมายปองลดลง คู่แข่งขันที่แท้จริงจะค่อย ๆ ปรากฏชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ
และเมื่อดำเนินการกดดันด้วยวิธีการปกตินั้นไร้ผล กลายเป็นสถานการณ์ที่ตั้งยันกันอยู่
ซึ่งในสถานการณ์แบบนี้ ถ้ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเพลี่ยงพล้ำแม้แต่นิดเดียว ก็อาจทำให้เกิดการพลิกผันมีผลไปถึงการแพ้ชนะขึ้นได้
แต่ถ้าผลแพ้ชนะไม่เกิดให้ห้วงเวลาตั้งยันกันนี้
สถานการณ์ย่อมนำพาไปสู่การใช้กำลังพลและอาวุธที่ต่างฝ่ายต่างมีอยู่ในมือเข้าทำการโรมรันกันเพื่อช่วงชิงเอาชัย
อันเป็นสถานการณ์ที่เรียกกันว่า “สงคราม” ในท้ายที่สุด
ซึ่งการเปิดสงครามเข้าใส่กันนั้น ต่างฝ่ายต่างก็ต้องประเมินกำลังกันแล้ว และคิดว่าฝ่ายตนได้เปรียบเหนือกว่า
จึงจะนำกำลังเข้าทำการห้ำหั่นกันดังนั้น ระยะเวลาและความสูญเสีย จึงขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละฝ่ายเป็นสำคัญ

และเมื่อจะเปิดสงครามกันนั้นตำราพิชัยสงครามของซุนวู ได้กล่าวเอาไว้ว่า
อันการสงครามนั้นเป็นเรื่องสำคัญของประเทศชาติ เป็นแหล่งแห่งความเป็นความตาย
เป็นเหตุแห่งการดำรงอยู่หรือดับสูญ จักไม่พินิจพิเคราะห์มิได้” นี่ย่อมแสดงให้เห็นแล้วว่า
เมื่อเกิดการปะทะห้ำหั่นกันแล้ว ย่อมจะมีฝ่ายหนึ่งที่พ่ายแพ้ย่อยยับไปพร้อมกับการดับสูญ
และฝ่ายที่เหนือกว่าดำรงอยู่บนชัยชนะ(ภายใต้ซากปรักหักพัง)

ดังนั้น สถานการณ์ภายในประเทศ ณ ปัจจุบันนี้นั้น อยู่ในขั้นไหน ขึ้นอยู่กับข้อมูลและการวิเคราะห์ การประเมินและติดตามเหตุการณ์ของแต่ละบุคคล
แต่สำหรับม้าน้ำแล้วนั้น เมื่อมองดูแล้วเห็นว่า น่าจะเหลืออยู่เพียง “สองฝ่าย”(แต่ละฝ่ายมีแนวทางแยกย่อย) ที่กำลังเร่งเร้ากันอยู่
หนึ่งนั้นคือฝ่ายที่ชอบธรรมตามข้อกำหนด ส่วนอีกหนึ่งนั้นคือฝ่ายที่ต้องการรักษาสถานะเดิม
และทั้งคู่จะกลายมาเป็น“คู่ชิงชัย”กันในท้ายที่สุด

อำนาจ ผลประโยชน์ ความมัวเมา ความลุ่มหลง ไม่เคยเข้าใครออกใคร

แล้ว “คุณ” ล่ะ!!! จะเลือกหรือไม่เลือก “ข้าง” หรือจะยืนอยู่ ณ จุดใด “ภายใต้หรือเหนือ” ความขัดแย้งนี้

จงใช้สติและปัญญาที่ตั้งอยู่บนสามัญสำนึกในหนทางที่คุณเฝ้าใฝ่ฝันหาให้จงหนัก ว่าภายใต้สถานการณ์เหล่านี้นั้น

มีขั้นตอนใดบ้างที่ยังประโยชน์ต่อระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงบ้าง

อย่าเป็นได้เพียงหญ้าแพรกในทุ่งยุทธหัตถี ที่รอวันจะแหลกราญ
.
..
การปฏิวัติแบบไทย ๆ
บทความ โดย ม้าน้ำ (ตามรอยเกวียน)

ในมุมมองส่วนตัวของม้าน้ำองค์ประกอบสำหรับการปฏิวัติ "น่าจะ" ครบแล้ว
รอเพียง "สถานการณ์สำคัญ" เท่านั้น นั่นก็คือ "การแตกดับของผู้ยิ่งใหญ่"
ซึ่งจะนำไปสู่การแสดงตัวตนและเงื่อนไขที่ชัดเจนของแต่ละฝ่าย
อันจะนำไปสู่การ "แตกหัก" เพื่อเข้ายึดกุมสภาพให้ได้โดยเร็วที่สุด
ซึ่งฝ่ายที่ยืนยันจะเดินต่อไปบน "แนวทางเดิม" จะเป็นฝ่ายที่เสียเปรียบ
เพราะเป็นเส้นทางที่ "ตีบตัน" ทั้งต่อกระแสโลกและกระแสภายในประเทศเอง
เพราะปัจจุบัน คำว่า "อำมาตย์" เปรียบได้กับ "ปลวก"
ที่คอยกัดแทะทำลายทั้ง "สถาบันและประชาธิปไตย"
ดังนั้น ถ้ามีฝ่ายใดที่เสนอแนวทางใหม่ออกมา เป็นต้นว่า "แนวทางของญี่ปุ่น"
ซึ่งถือได้ว่าเป็นการชูขึ้นไปให้ลอยอยู่เหนือสถานการณ์ใด ๆ ก็แล้วแต่
ที่จะดึงสถาบันมาเป็นข้ออ้างในการกระทำการที่ขัดต่อแนวทางประชาธิปไตย
และเป็นการตัดวงจรของฝ่ายอำมาตย์ที่คอยเกาะกินแสวงหาประโยชน์ออกไป
และด้วยสภาพตามความเป็นจริงในสังคมไทย ณ ปัจจุบัน

แนวทางหลังนี้ ดูจะเป็นแนวทางที่ทำให้คนไทย "รู้สึก" ว่ายอมรับได้และอะลุ้มอะล่วย
ไม่เป็นการ "ล้มล้าง" แต่เป็นการ "ปกป้อง" และ "ปลดเปลื้อง" ภาระที่สถาบันมีต่อเหล่าอำมาตย์
ดังนั้นการ ""ชูสถาบันตามแนวทางของญี่ปุ่น" ม้าน้ำถือว่าเป็นการ "ปฏิวัติ" ในระดับหนึ่ง

และจากมุมมองตรงนี้ ม้าน้ำจึงมองว่าคุณทักษิณไม่ใช่ผู้นำในการปฏิวัติคราวนี้
"พรรคเพื่อไทย" ก็ไม่ใช่พรรคปฏิวัติ ส่วนด้าน "กองกำลัง" ก็ยังไม่สามารถกำหนดได้อย่างชัดเจน
และยิ่งกับ "คนเสื้อแดง" ก็ยังไม่ใช่มวลชนปฏิวัติได้อย่างเพียงพอ
ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงท่ามกลางสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน
เพราะอย่าลืมว่ากิจกรรมหลักของส่วนที่ผมกล่าวไปนั้น
ส่วนนำหลัก” ยังเป็นกิจกรรม "เชิดชูสถาบัน" อยู่อย่างเข้มข้นในทุกโอกาส
รวมถึงรูปแบบของการต่อสู้เรียกร้อง ที่มุ่งเน้นไปที่กิจกรรมทางการเมือง
ตามแนวทางของการกดดันเพียงเพื่อให้เกิดการรักษา "ขั้วอำนาจทางการเมือง"
และเพื่อที่จะได้เป็นผู้กุมอำนาจรัฐให้ยึดยาวออกไปเท่านั้น

ส่วนการเน้นตามแนวทาง "สันติ อหิงสา"
ทำให้มองอย่างไรก็ไม่เห็นหนทางที่จะนำไปสู่แนวทางปฏิวัติได้
เพราะเป็นทิศทางที่ไม่สามารถทำให้ครบองค์ประกอบของการปฏิวัติ

ดังนั้นถ้าจะทำให้ส่วนที่ได้กล่าวไปแล้ว
สามารถยกระดับให้เป็นการเดินไปสู่หนทางปฏิวัตินั้น "หนทางยังอยู่อีกไกล"
เพราะถ้าจะยกระดับไปสู่การปฏิวัติได้นั้น
จะต้องมี "สถานการณ์สำคัญ" ที่ฝ่ายอำมาตย์กระทำต่อฝ่ายคนเสื้อแดง
จนทำให้เกิด "การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง" ต่อแกนนำและมวลชนคนเสื้อแดง
จนนำไปสู่ความโกลาหลวุ่นวายขยายตัวลุกลามออกไป
เกินกว่าที่ "แกนนำ" จะสามารถควบคุมได้ จนนำไปสู่ "สงครามกลางเมือง"

อันจะเป็นสถานการณ์ที่จะทำให้สามารถพัฒนาไปสู่ขั้นตอนการปฏิวัติในรูปแบบอื่นได้
แต่อย่าลืมว่า กว่าจะเกิดเหตุการณ์ในระดับที่ว่านั้นได้
"ความสูญเสีย" ในฝ่ายมวลชนคนเสื้อแดงนั้นจะมีอย่างมากมายมหาศาล
และกินระยะเวลายาวนานกว่าจะสามารถทำให้ "รุกกลับ" ได้
และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ คนเสื้อแดงยังต้องการให้แกนนำ
ที่มี "ภาพ" ของนักการเมืองที่ดี ที่ยังคงมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ทางการเมืองภายใต้โครงสร้างของอำนาจปัจจุบัน
เป็น "ผู้ชี้นำ" ทิศทางของการเคลื่อนไหวอยู่
และสิ่งที่จะต้องตระหนักให้มากก็คือ
ในสถานการณ์ที่ว่านี้ UN อาจจะแสดงตนเข้าทำการแทรกแซง
ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ของฝ่ายประชาธิปไตยเลวร้ายลงไปอีก

เพราะอย่าลืมว่าอเมริกานั้น สมประโยชน์กับฝ่ายอำมาตย์ไทยมาช้านานแล้ว

จึงทำให้การปฏิวัติในรูปแบบอื่น
เช่น ฝรั่งเศส หรือ เนปาล
เป็นไปได้อยากหรืออาจจะเรียกว่าเป็นไปไม่ได้เลย

แต่ถ้าเป็นการ "ชูสถาบันตามแนวทางญี่ปุ่น" นี่คือข้อที่ 1 ที่จะใช้เป็นอุดมการณ์ปฏิวัติ
และส่วนที่ 2 ผู้ที่ชอบธรรมจากที่มีความสัมพันธ์อันดีตามลำดับชั้นกับกระบวนการของคนเสื้อแดง
คือผู้นำที่จะแสดงตนว่าจะนำพาประเทศชาติไปสู่ทิศทางนี้
ข้อ 3 พรรค ไม่ใช่นโยบาย พท แต่เป็นการใช้แนวร่วมทั้งประเทศในการ "เชิดชูสถาบัน" ซึ่งจาก 3 เงื่อนไขนี้
จะทำให้ได้ส่วนที่ 4 มวลชนปฏิวัติ ที่หนาแน่นและครอบคลุมอย่างกว้างขวางเกินกว่าคำว่า "คนเสื้อแดง"
เพราะอย่าลืมว่ายังมีคนไทยที่อยู่ในหลายภาคส่วนทั้งที่เลือกสีและไม่เลือกสี
แต่รอดูความชัดเจนว่า "การเปลี่ยนผ่าน" จะมีทิศทางมุ่งไปในแนวทางใด
และองค์ประกอบที่ 5 กองกำลังปฏิวัติ ถ้าได้คนในข้อ 2 เดินนำธงปฏิวัติพร้อมกับ “ชูสถาบันตามแนวทางญี่ปุ่น
จะทำให้สังคมไทยในทุก ๆ ภาคส่วน และ “คนในกองทัพ” ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
ถึงแม้วาในช่วงเวลาที่ผ่านมาอำมาตย์ที่อยู่ในฝ่ายตรงกันข้ามของข้อ 2 ได้ "ปล่อยของ" เพื่อทำลายภาพพจน์
แต่โดยความเป็นจริงแล้ว คนไทยส่วนใหญ่ "เข้าใจ" ตามสามัญสำนึกอยู่แล้วว่า "ใคร" คือ "คนต่อไป"
การ "ปล่อยของ" จึงไม่เกิดผลกระทบมากนักหากแสดงเจตจำนงว่า “พร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่สถานะที่มั่นคง” กว่าแต่เก่า
ยิ่งถ้าเป็นผู้ที่ "ชูธงนำ” ก็จะยิ่งทำให้ประชาชนตัดสินใจง่ายขึ้นไปอีก

(ตรงนี้ม้าน้ำอาจจะเสนอไม่ตรงกับใจใครหลาย ๆ คน แต่ตามมุมมองส่วนตัว ม้าน้ำว่ามันควรจะเป็นอย่างนี้)

ซึ่งเมื่อมวลชนมองเห็นประโยชน์ของส่วนรวมที่จะได้รับจากแนวทางที่เห็นผลดีเป็นตัวอย่างอยู่ก่อนแล้ว คือ “ญี่ปุ่น
จะทำให้ "แรงต้าน" ในส่วนของภาคประชาชนและเหล่าทัพ "ลดลง"
ซึ่งเป็นการ "ลดความสูญเสีย" อันอาจเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ขัดแย้งนี้
และ เป็นการ "ร่น" ระยะเวลาเพื่อเดินไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยให้เร็วขึ้น
เพราะเป็นการกำหนดช่วงเวลาไปที่แน่นอน นั่นก็คือ เมื่อเกิดการ "แตกดับ"
ซึ่งเป็นการ "ปลดชนวนสงครามกลางเมือง" ไปได้ในระดับหนึ่ง
เพราะเป็นการ "จำกัด" พื้นที่ความขัดแย้งให้แคบลง
กล่าวคือ "ภาระ" จะไหลตกไปอยู่ในส่วนที่เป็น "วงใน" จริง ๆ เท่านั้น รวมถึง "กองทัพ" ที่เลือกข้างแล้ว
ซึ่งหากเกิดความดึงดันไม่สยบยอมกันง่าย ๆ และเกิดการปะทะกันด้วยอาวุธจริง ๆ
"หน้าที่" ก็จะตกอยู่กับคนในกองทัพของแต่ละฝ่าย

แต่ถ้าเป็นการเปลี่ยนผ่านเพียงในด้านองค์บุคคลแล้วก้าวเดินไปในแนวทางเดิม

ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามที่ขึ้นสู่อำนาจใหม่นี้ได้ ก็ตีตั๋วรอไปเที่ยวฝรั่งเศสกันได้เลย
.
..กล่าวโดยสรุปก็คือ
.การปฏิวัติในแต่ละยุคแต่ละสมัยล้วนแล้วแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะเป็นของตนเองทั้งนั้น

เงื่อนไข สถานการณ์ ห้วงเวลา ความลงตัว ล้วนเป็นสถานการณ์จำเพาะ
แต่สิ่งที่จะซ้ำรอยนั่นก็คือ “ความเปลี่ยนแปลง” ต่างหาก

และหากการศึกษาประวัติศาสตร์เพียงเพื่อที่จะ “ลอกเลียนแบบ” โอกาสที่การปฏิวัติจะประสบความสำเร็จได้นั้นจึงยากเย็นยิ่งนัก


ดังนั้น ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ปฏิวัติไทยจึงต้องร่วมกันช่วยกันระดมความคิด เพื่อ “ค้นหา” สิ่งที่ว่านี้

เงื่อนไขใดเปิดโอกาสให้ กำหนดสถานการณ์ให้ลงตัว คิดค้นวิธีการที่เหมาะสม

แสวงหาแนวทางที่เป็นไปได้ร่วมกันบนความเป็นจริงตามที่โอกาสอำนวย
และสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นจริงได้ ความสำเร็จจะบังเกิดขึ้นได้

การ “ระดมความคิด” เท่านั้น จึงจะทำให้เราค้นพบแนวทางที่แท้จริงได้
.
.

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar