เพียงแค่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ของมีชัย ฤชุพันธุ์ โยนสูตรใหม่ คือสูตรเลือกตั้งแบบ "จัดสรรปันส่วนผสม" เปิดโอกาสให้นำคะแนนผู้ที่แพ้เลือกตั้งมาคำนวณเป็นคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อ
เพียงเท่านี้ กรธ.ก็กลายเป็นตำบลกระสุนตก ถูกวิจารณ์จากนักการเมืองทุกขั้วทุกพรรค
ชัดเจนว่า ระบบเลือกตั้งกลายเป็นเผือกร้อนของผู้ร่างรัฐธรรมนูญทุกยุค ตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ถูกคลอดออกมา พร้อมกับระบบเลือกตั้งแบบพวงใหญ่เรียงเบอร์ ถูกครหาว่าต้องการทำลายความเข้มแข็งของพรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่สืบทอดจากพรรคไทยรักไทย
ทว่าการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 พรรคพลังประชาชนก็เอาชนะ “คู่แข่งขันทางการเมือง” อย่างพรรคประชาธิปัตย์ชนิดถล่มทลาย ด้วยจำนวน ส.ส. 233 ที่นั่ง ต่อ 164 ที่นั่ง ระบบเลือกตั้งย้อนกลับมาเป็นเขตเดียว เบอร์เดียวอีกครั้ง ก่อนการเลือกตั้งในปี 2554
หลังการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 ถึงแม้ว่าจะใช้ระบบเลือกตั้งสัดส่วนคล้ายกับเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งให้ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ก้าวขึ้นเบอร์ 1 ตึกไทยคู่ฟ้าได้ หลังใช้เวลาเพียง 42 วัน นำพรรคเพื่อไทยที่แปลงร่างจากพรรคพลังประชาชน กำชัยในสนามเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 265 ที่นั่ง แบ่งเป็น ส.ส.เขต 205 ที่นั่ง และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 60 ที่นั่ง
ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้จำนวน ส.ส.ทั้งหมด 159 ที่นั่ง แบ่งเป็น ส.ส.เขต 114 ที่นั่ง และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 45 ที่นั่ง จาก จำนวน ส.ส.ทั้งสภา 500 คน แบ่งเป็น ส.ส.เขต 375 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 125 คน
เป็นจุดเริ่มต้น-จุดจบของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เมื่อพรรคเพื่อไทยผลักดัน “วาระทางการเมือง” ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย-เหมาเข่ง จนถูกประทับตราว่าเผด็จการรัฐสภาหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คำครหาเรื่องเผด็จการรัฐสภา ก็ถูกนำมาตั้งเป็นโจทย์สำหรับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ของ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ไปคิดว่าทำอย่างไรไม่ให้เกิดวิกฤตการเมืองได้อีก
แล้วหวยมาลงล็อกด้วยระบบการเลือกตั้งสูตร “เยอรมันโมเดล” หรือ ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม (Mixed-Member Proportional : MMP) เมื่อนำจำนวน ส.ส.จากผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ในระบบการเลือกตั้ง “แบบสัดส่วน” มาเป็นตุ๊กตาคิดคำนวณ-เปรียบเทียบว่าใครได้-ใครเสีย จากระบบการเลือกตั้ง "แบบสัดส่วนผสม" ฉบับนายบวรศักดิ์
ปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยจะได้เก้าอี้ ส.ส.จำนวนลดลงเหลือ 242 ที่นั่ง แบ่งเป็น ส.ส.เขต 205 ที่นั่ง และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 37 ที่นั่ง อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์กลับมีคะแนนเพิ่มขึ้นจาก 159 ที่นั่ง เป็น 176 ที่นั่ง แบ่งเป็น ส.ส.เขต 114 ที่นั่ง และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 62 ที่นั่ง
เพียงเท่านี้ กรธ.ก็กลายเป็นตำบลกระสุนตก ถูกวิจารณ์จากนักการเมืองทุกขั้วทุกพรรค
ชัดเจนว่า ระบบเลือกตั้งกลายเป็นเผือกร้อนของผู้ร่างรัฐธรรมนูญทุกยุค ตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ถูกคลอดออกมา พร้อมกับระบบเลือกตั้งแบบพวงใหญ่เรียงเบอร์ ถูกครหาว่าต้องการทำลายความเข้มแข็งของพรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่สืบทอดจากพรรคไทยรักไทย
ทว่าการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 พรรคพลังประชาชนก็เอาชนะ “คู่แข่งขันทางการเมือง” อย่างพรรคประชาธิปัตย์ชนิดถล่มทลาย ด้วยจำนวน ส.ส. 233 ที่นั่ง ต่อ 164 ที่นั่ง ระบบเลือกตั้งย้อนกลับมาเป็นเขตเดียว เบอร์เดียวอีกครั้ง ก่อนการเลือกตั้งในปี 2554
หลังการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 ถึงแม้ว่าจะใช้ระบบเลือกตั้งสัดส่วนคล้ายกับเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งให้ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ก้าวขึ้นเบอร์ 1 ตึกไทยคู่ฟ้าได้ หลังใช้เวลาเพียง 42 วัน นำพรรคเพื่อไทยที่แปลงร่างจากพรรคพลังประชาชน กำชัยในสนามเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 265 ที่นั่ง แบ่งเป็น ส.ส.เขต 205 ที่นั่ง และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 60 ที่นั่ง
ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้จำนวน ส.ส.ทั้งหมด 159 ที่นั่ง แบ่งเป็น ส.ส.เขต 114 ที่นั่ง และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 45 ที่นั่ง จาก จำนวน ส.ส.ทั้งสภา 500 คน แบ่งเป็น ส.ส.เขต 375 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 125 คน
เป็นจุดเริ่มต้น-จุดจบของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เมื่อพรรคเพื่อไทยผลักดัน “วาระทางการเมือง” ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย-เหมาเข่ง จนถูกประทับตราว่าเผด็จการรัฐสภาหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คำครหาเรื่องเผด็จการรัฐสภา ก็ถูกนำมาตั้งเป็นโจทย์สำหรับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ของ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ไปคิดว่าทำอย่างไรไม่ให้เกิดวิกฤตการเมืองได้อีก
แล้วหวยมาลงล็อกด้วยระบบการเลือกตั้งสูตร “เยอรมันโมเดล” หรือ ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม (Mixed-Member Proportional : MMP) เมื่อนำจำนวน ส.ส.จากผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ในระบบการเลือกตั้ง “แบบสัดส่วน” มาเป็นตุ๊กตาคิดคำนวณ-เปรียบเทียบว่าใครได้-ใครเสีย จากระบบการเลือกตั้ง "แบบสัดส่วนผสม" ฉบับนายบวรศักดิ์
ปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยจะได้เก้าอี้ ส.ส.จำนวนลดลงเหลือ 242 ที่นั่ง แบ่งเป็น ส.ส.เขต 205 ที่นั่ง และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 37 ที่นั่ง อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์กลับมีคะแนนเพิ่มขึ้นจาก 159 ที่นั่ง เป็น 176 ที่นั่ง แบ่งเป็น ส.ส.เขต 114 ที่นั่ง และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 62 ที่นั่ง
คลิกอ่านต่อทั้งหมด-เทียบระบบเลือกตั้ง 3 ยุค สูตรใหม่ "มีชัย" ได้คะแนนแฟร์ทุกพรรค
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar