tisdag 3 november 2015

ใครปิดประเทศกันแน่?

 โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์








คำว่า "ปิดประเทศ" กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาอีกครั้งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่นายกรัฐมนตรี ซึ่งมีตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐประหารด้วยนั้นกล่าวขึ้นมาท่ามกลางการประชุมแม่น้ำห้าสาย หรือพูดง่ายๆ ก็คือ บรรดาคณะทำงานทั้งห้าชุดที่คณะรัฐประหารได้ตั้งขึ้นมาให้ร่วมปกครองประเทศด้วยในเวลานี้

เนื่องจากการประชุมในครั้งนี้ไม่ใช่การประชุมลับ ย่อมมีการนำเอาสาระสำคัญของการประชุมออกมารายงานสู่สาธารณะโดยสื่อมวลชนทั้งหลาย ประเด็นก็คือ การพูดเรื่องการปิดประเทศนั้น เป็นการพูดในลักษณะของการแจ้งให้ทราบ กับบรรดาทีมงานของคณะรัฐประหาร หรือเป็นการส่งสัญญาณถึงประชาชนกันแน่?

ประการต่อมา เราควรจะมองว่าเรื่องการปิดประเทศนั้น เป็นเรื่องของการพูดเล่นๆ หรือ พูดจริงจัง? หรือที่ลึกซึ้งไปกว่านั้นอีกก็คือ ที่พูดทั้งหมดเป็นการลงทุนสร้างปฏิบัติการจิตวิทยาโดยหัวหน้ารัฐบาลเสียเองหรือเปล่า?

แต่จะว่าไปแล้ว ไม่ว่าจะพูดจริงจังหรือไม่ ประเด็นที่ควรจะนำมาพิจารณาก่อนก็คือ การปิดประเทศนั้น หมายถึงอะไรกันแน่? เพราะการพูดถึงการปิดประเทศในวันนี้กลายเป็นเรื่องที่มีการพูดมาแล้ว ไม่ใช่น้อย ทั้งขบวนการแช่แข็งประเทศ ขบวนการปิดกรุงเทพฯ (ซึ่งไม่ใช่แค่พูด แต่ทำจริงๆ มาแล้ว) หรือที่เคยไปปิดสนามบินก็มี

ที่เขียนเช่นนี้ไม่ใช่พยายามจะชี้ให้เห็นว่าผู้พูดสามกลุ่มนี้เป็นคนกลุ่มเดียวกัน หรือ พรรคพวกกัน แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า ตกลงความหมายของการปิดประเทศคืออะไร? และไอ้ที่มีการทั้งขู่ทั้งปิดที่ผ่านมาของแต่ละกลุ่มพอที่จะทำให้เห็นเป็นตัวอย่างได้ไหม? หรือว่าปิดประเทศมันคงหมายถึงอะไรแบบนั้น (ที่สำคัญ ปิดประเทศแบบที่ผ่านมานั้นเสียหายแค่ไหน และผิดไหม ต้องถูกลงโทษไหม)

ท่ามกลางเสียงที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการปิดประเทศรอบล่าสุด บางท่านกล่าวว่า ที่ท่านหัวหน้าคณะรัฐประหารพูดนั้นไม่มีอะไรมากไปกว่าการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปเรื่อยๆ แทนที่จะมีขึ้นในอีกสองปีข้างหน้า ทั้งหมดนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจ แต่เป็นประเด็นเรื่องการเมืองเท่านั้นเอง เพื่อขู่ไม่ให้สังคมแตกแยกไปมากกว่านี้ หรือยังไม่หยุดแตกแยกเสียที

คำถามก็คือ ถ้าการปิดประเทศหมายถึงเพียงแค่ไม่มีการเลือกตั้ง ทำไมไม่ใช้คำว่าไม่มีการเลือกตั้ง หรือไม่มีประชาธิปไตยไปเสียเลย ทำไมต้องใช้คำว่าปิดประเทศ?

หรือว่า ลึกๆ แล้ว ความเชื่อในหมู่ผู้มีอำนาจในวันนี้ก็เข้าใจอยู่แล้วว่า ถ้าไม่มีการเลือกตั้ง ก็หมายความว่าประเทศนั้นถูกปิด แต่การปิดประเทศแบบนี้คนที่ปิดนั้นไม่ใช่คณะผู้มีอำนาจในประเทศ

แต่เป็นคนข้างนอกประเทศต่างหากที่ปิดประเทศพวกเขาใส่เรา

ความเข้าใจเช่นนี้เป็นความเข้าใจที่ไม่เข้าใจกัน หรือ เป็นความเข้าใจที่ "เข้าใจไม่ได้" ในหมู่กองเชียร์รัฐประหาร และในหมู่หน่วยปฏิบัติการด้านจิตวิทยามวลชนที่แทรกตัวเองเข้ามาในบทสนทนาสาธารณะตามหน้าเว็บเพื่อสนับสนุนให้มีการปิดประเทศ ทั้งพวกที่เชื่อและสนับสนุนว่า การปิดประเทศหมายถึงความเฉียบขาดของผู้นำที่จะไม่ยอมอ่อนข้อให้พวกที่สร้างความแตกแยกให้กับบ้านเมือง ไปจนถึงการปิดประเทศนั้นหมายถึงประเด็นการปิดประเทศทางเศรษฐกิจจริงๆ โดยเชื่อว่าต้องหัดปิดประเทศซะบ้าง เพราะประเทศเรามีดีพอที่คนอื่นจะต้องมาง้อให้เปิดประเทศอยู่ดี

รวมไปถึงความเชื่อที่ว่าการปิดประเทศนั้นเป็นเสมือนยุทธศาสตร์ของการพัฒนาเศรษฐกิจ มากกว่าเป็นเพียงปฏิกริยาต่อความวุ่นวายที่เกิดขึ้น เพราะเชื่อว่าถ้าเราปิดประเทศสักระยะแล้ว เมื่อเปิดประเทศอีกครั้งประเทศเราก็จะมีความพร้อมในการพัฒนา เฉกเช่นประเทศจีน หรือ ญี่ปุ่น

กล่าวคือ เมื่อพูดคำว่า "ปิดประเทศ" นั้นสิ่งที่ต้องถามคือ "ใครปิด" นั่นแหละครับ

เรามักจะมองว่าการปิดประเทศนั้นเป็นการตัดสินใจที่เฉียบขาดของผู้นำ



Inga kommentarer:

Skicka en kommentar