สงครามเย็นยุคใหม่ กับสภาวะแห่งความป่าเถื่อน
ว่าด้วยการก่อการร้ายในฐานะเครื่องมือด้านการต่างประเทศ
โดย ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร
คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การแถลงท่าทีของสหรัฐอเมริกาต่อประเด็นการก่อการร้ายอย่างหนักแน่นของ บารัค โอบามา
ใน วันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมานั้น ทำให้การครุ่นคิดเรื่องประเด็นการก่อร้ายในการเมืองระดับโลกนั้นกลับมากลาย เป็นประเด็นร้อนแรงขึ้นอีกครั้ง
อาจกล่าวได้ว่านี่คือกระแสตอบกลับ การสั่นคลอนเสถียรภาพด้านความมั่นคงระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่องหลัง เหตุการณ์กลุ่มก่อการร้ายไอเอสบุกเข้าโจมตีกรุงปารีส ของฝรั่งเศส
คำถามหลักที่เกิดขึ้นนั่นคือ "โลกจะหมุนย้อนเข้าสู่ยุคการทำสงครามต่อต้านการก่อร้ายเหมือนดังเช่นหลังเหตุการณ์ 9/11 ด้วยหรือไม่"
การพิจารณาประเด็นปัญหาเหล่านี้นั้นย่อมมีความซับซ้อนและสร้างความอึดอัดแก่พลเมืองโลกอย่างถ้วนหน้า
อย่างไรก็ตาม การใช้วิธีการตอบคำถามเหล่านี้ด้วยการเน้นย้ำว่ามหาอำนาจทุกประเทศย่อมมี ความตั้งใจอย่างแน่วแน่ในการปราบปรามการก่อการร้ายนั้น ดูเหมือนจะล้าหลังและการขาดการเข้าใจบริบทการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเรื่องผล ประโยชน์ซ่อนเร้นของหลายๆ ส่วนที่เข้ามามีส่วนร่วมต่อประเด็นการก่อการร้ายไปอย่างน่าเสียดาย
ตามธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติเดิม การก่อการร้ายถูกจัดวางอยู่ในฐานะภัยคุกคามต่อความมั่นคงภายในประเทศ ระหว่างประเทศ หรือแม้แต่กระทั่งความมั่นคงของมนุษยชาติเลยก็ว่าได้
ด้วยเหตุว่าการสร้างความรุนแรงชนิดนี้ขึ้นมามิได้มีความมุ่งหวังสร้างแรงกดันทาง การเมืองต่อปรปักษ์ที่เป็นฝ่ายติดอาวุธของกลุ่มเป้าหมาย หากแต่เป็นการสร้างความรุนแรง "แบบตีวัวกระทบคราด" กล่าวคือ มุ่งโจมตีเป้าหมายที่อ่อนแอโดยเฉพาะพลเรือนเพื่อสร้างความเจ็บช้ำหรือแรงกด ดันทางการเมืองให้กับฝ่ายรัฐหรือผู้มีอำนาจในเขตอาณาบริเวณของรัฐนั้นๆ ผู้บริสุทธิ์จึงกลายเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบทางตรงและทางอ้อมไม่ว่าจะสูญ เสียชีวิต พิการ หรือแม้แต่กระทั่งสูญเสียบุคคลรอบข้าง
ยิ่งการก่อ การร้ายมุ่งสร้างแรงกดดันต่อรัฐมากขึ้นเท่าไหร่ ผู้บริสุทธิ์ย่อมได้รับความสูญเสียมากขึ้นเท่านั้น การคาดคะเนความมุ่งหวังสร้างกระแสกดดันของกลุ่มก่อการร้ายสามารถพิจารณาได้ ตามรูปแบบการสร้างความรุนแรง เช่น การวางระเบิดธรรมดา อาวุธเคมี อาวุธชีวภาพ
หรือแม้แต่กระทั่งการสร้างความรุนแรงที่ลงทุนน้อยผ่านการใช้เพียงอาวุธปืนธรรมดาเข้ากราดยิงฝูงชนในที่สาธารณะต่างๆ ก็ตาม
ความ มุ่งหมายหลักต่อพลเรือนที่อ่อนแอเช่นนี้ทำให้การก่อการร้ายเป็นประเด็นปัญหา ความมั่นคงที่รัฐต้องทำหน้าที่ในการปกป้องและเป็นภารกิจที่ไม่สามารถหาเหตุ มาปฏิเสธได้เพราะนี่ถือว่า "สภาวะแห่งความป่าเถื่อนก่อนการถือกำเนิดขึ้นของรัฐและชุมชนการเมืองได้วน เวียนมากำเนิดขึ้นอีกครั้ง หากรัฐไม่สามารถแก้ไขสภาวะเช่นนี้ได้ การถือกำเนิดของรัฐและชุมชนการเมืองจึงไม่ได้มีความหมายต่อการดำรงอยู่ของ มนุษย์อีกต่อไป"
ภารกิจที่หนักแน่นเช่นนี้จึงทำให้เห็นความพยายาม จากรัฐในการเข้าปราบปรามและป้องกันพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ในรูปแบบการก่อ การร้ายในหลายลักษณะ เช่น ด้านการข่าวกรองและการต่อต้านการก่อการร้ายโดยอาศัยกลไกรัฐในหลากหลายรูปแบบ
หรือแม้แต่กระทั่งการประสานความร่วมมือระหว่างรัฐด้วยกันเองเพื่อ กำจัดการขยายวงมิให้ความรุนแรงและการแพร่กระจายในลักษณะนี้ส่งผลกระเทือนไป ยังความมั่นคงของระบบรัฐในระบบการเมืองโลกอีกด้วย
ภายหลังจากสิ้นสุดสงครามเย็น การวาดภาพโลกในฝันได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นโลกที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสงบสุขไม่มีสงครามต่อกัน เพราะการสิ้นสุดของสงครามเย็นในฐานะของความแตกต่างของอุดมการณ์ที่แบ่ง ฝักฝ่ายขั้วอำนาจโลกที่ได้สุดลง มนุษย์ก็ไม่ได้มีความขัดเคืองเรื่องอื่นใดที่ต้องเข่นฆ่าบีฑากันอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ 9/11 กลับทำลายโลกในฝันพังครืน พร้อมกันกับการตอกย้ำการทำนายความขัดแย้งทางอารยธรรมว่าจะกลายเป็นเงื่อนไข ใหม่ที่ทำให้โลกต้องกลับเข้าสู่การเผชิญหน้าครั้งใหม่
สิ่งที่ต้อง สนใจเป็นพิเศษคือ การเผชิญหน้าครั้งใหม่นี้ การก่อการร้าย มิได้เป็นเพียงภัยต่อความมั่นคงระหว่างประเทศตามที่นักวิชาการโลกตะวันตก กล่าวถึงเท่านั้น
หากแต่ได้ขยายวงกว้างไปถึงการสร้างเป็นประเด็น ความมั่นคงในรูปแบบใหม่ๆ โดยเฉพาะการกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ก่อให้เกิดสงครามหรือความขัดแย้ง ระหว่างรัฐมาใหม่ด้วยหรือไม่? ซึ่งคำถามเช่นนี้จะกลายเป็นสมมุติฐานและเป้าประสงค์หลักของรัฐต่างๆ ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศด้านความมั่นคงต่อไปในอนาคต
ฉะนั้น การแกะรอยเงื่อนไขที่กล่าวในข้างต้นนี้จึงสำคัญอย่างยิ่งยวดและประเด็นที่ ท้าทายเป็นอย่างมากโดยเฉพาะภายหลังความขัดแย้งในซีเรียในห้วงปีที่ผ่านมาได้ สะท้อนถึงนัยยะที่สำคัญยิ่งของการก่อการร้ายว่ามิได้อยู่ในรูปแบบขององค์กร ทางการเมืองที่ใช้รูปแบบความรุนแรงเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ทางการเมืองหรือ อุดมการณ์ที่แต่ละฝ่ายยึดถือแต่เพียงอย่างเดียว
หากแต่การก่อการ ร้ายได้มีการผสมผสานเรื่องความเชื่อเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติชุดใหม่ขึ้นมา นั่นคือ การก่อการร้ายนอกจากจะกลายเป็นภัยของรัฐแล้ว ยังสามารถถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อรัฐได้อีกด้วย
ซึ่ง ประเด็นดังกล่าวนี้เกิดจากมูลเหตุหลักจากการตีความและขยายขอบเขตการให้ความ สนใจเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติที่สามารถพัฒนาไปโดยปราศจากการยั้งคิด ปรากฏการณ์เช่นนี้ยังสามารถเห็นได้จากความพยายามของรัฐใหญ่น้อย หรือแม้แต่รัฐมหาอำนาจต่างๆ เข้าไปเกี่ยวข้องและเกี่ยวพันกับขบวนการก่อการร้ายต่างๆ แบบสนิทชิดเชื้อมากยิ่งขึ้น ทั้งในรูปแบบการสนุนการโค่นล้ม "รัฐ/ระบอบการเมือง/รัฐบาล" ที่มหาอำนาจหรือรัฐข้างเคียงไม่พึงประสงค์, ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจอันเกิดจากการสนับสนุนการก่อการร้ายในรัฐที่มั่งคั่ง ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ
หรือแม้แต่กระทั่ง การสนับสนุนการก่อการร้ายในฐานะที่เป็นพันธมิตรร่วมในการธำรงไว้ซึ่งความได้ เปรียบในการต่อรองระหว่างขั้วอำนาจการเมืองโลกก็ตาม
ความหวาดวิตกประการหนึ่งก็คือ การเผชิญหน้าระหว่างรัฐว่าด้วยผลประโยชน์หรือการใช้เครื่องมือจากการก่อการ ร้ายนั้นมิได้ปรากฏผ่านการเผชิญหน้ากันอย่างตรงไปตรงมาระหว่างคู่ขัดแย้ง แต่การก่อการร้ายจะกลายเป็นรูปแบบหนึ่งของข้ออ้างและการทำสงครามแบบตัวแทน กล่าวคือ การก่อการร้ายได้มีการย้อนกลับมาเกิดขึ้นใหม่ในรูปลักษณ์ของสงครามเย็น ความน่าสะพรึงกลัวและความไม่ไว้วางใจกันระหว่างรัฐทั้งในรูปแบบการปราบปราม และสนับสนุนการก่อการร้ายจึงกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญต่อปัญหาความมั่นคง ระหว่างประเทศ
หรืออีกนัยหนึ่ง ฐานะของการก่อการร้ายแบบเดิมได้พัฒนาไปอยู่ในขั้นการมีพันธมิตร หรือแม้แต่กระทั่งการสามารถเรียกสิ่งเหล่านี้ได้ว่า "กลุ่มก่อการร้ายที่มีเจ้าของ" ซึ่งเจ้าของ ณ ที่นี้ก็คือ "รัฐ" นั่นเอง
การพิจารณาการเปลี่ยนแปลงในสภาวะข้างต้นที่กล่าวมานี้ ท้ายที่สุดแล้วจึงย้อนกลับเข้ามาสู่คำถามขั้นพื้นฐานหลักของรัฐว่า การทำหน้าที่ในการปลดเปลื้องพันธนาการความป่าเถื่อนที่ถือกำเนิดก่อนการเกิด ขึ้นชุมชนการเมืองนั้นยังสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
หาก รัฐเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสภาวะความป่าเถื่อนเหล่านั้นให้เกิด ขึ้นเสียเอง การต่างประเทศหรือความมั่นคงของระบบรัฐกำลังถูกท้าทายจากคำถามเหล่านี้นับ ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1449830480
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar