lördag 12 december 2015

ชอบกดไลน์ ใช่กดแชร์ แห่ติดคุก? ผิดพ.ร.บ.คอมฯ?.อัตรายๆๆ!!! โปรดระมัดระวังตัว ตั้งสติก่อนกดไลน์กดแชร์...



                                                         
มีรายงานว่าผู้ที่แชร์ภาพหรือแม้แต่กดไลค์ผังอุทยานราชภักดิ์ เจ้าหน้าที่กำลังพิจารณาว่ามีแนวโน้มเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังตรวจสอบในเพจกลุ่มที่มีเนื้อหาทางการเมืองโดยระบุว่าพบการกระทำความผิดตามมาตรา 112 และให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบติดตาม (คลิกอ่านข่าวเพิ่มเติม)

การพิจารณาข้อกฎหมายว่าด้วยการกระทำต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์กลายเป็นข้อสงสัยต่อเนื่องมาอีกทีมข่าวMatiTalk พูดคุยกับ รศ.คณาธิป ทองรวีวงศ์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ประเด็นกดไลค์กับการกระทำผิดกฎหมายในบริบทการตีความกฎหมายในไทย


http://www.matichon.co.th/online/2015/12/14498921371449900466l.jpg
กดไลค์-แชร์-แสดงความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์ผิดกฎหมายอย่างไร
เราพูดกันตลอดว่า"ชอบกดไลค์ใช่กดแชร์"แต่อย่าแห่ติดคุกอันดับแรกต้องดูก่อนว่าสิ่งที่เรากลัวว่าจะติดคุกจะผิดด้วยกฎหมายอะไรเพราะมีกฎหมายหลายฉบับตั้งแต่ตัวแรกที่พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ความผิดที่สำคัญคือมาตรา14และ มาตรา 16 สำหรับม.14 องค์ประกอบสำคัญคือนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งปลอมหรือเท็จ และมีองค์ประกอบอื่นอีก แต่หลักๆคือแค่นี้ก่อน
การนำเข้าข้อมูลกว้างมากคือ ภาพ ตัวอักษร คลิป ทุกอย่างถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์หมด สิ่งที่กดเล่นตามสื่อสังคมออนไลน์ เราต้องเป็นผู้นำเข้าสู่ระบบ นำเข้าสู่ระบบคือผู้นำสิ่งที่อยู่นอกระบบคอมพิวเตอร์ใส่เข้าไป ถ่ายภาพและอัพโหลดลงระบบ อย่างนี้ถ้าเนื้อหาผิดกฎหมาย ผู้นำเข้าผิดแน่นอน
กรณีอื่นคือไม่ได้นำเข้าสู่ระบบโดยตรง เห็นของที่มีอยู่แล้วในคอมพิวเตอร์แล้วกดไลค์ กดแชร์ ก่อนอื่นต้องดูฐานความผิด การนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลปลอมหรือเท็จเป็นที่เสียหายต่อประชาชนหรือเกิดความไม่สงบ หรือลามก ต่อไปต้องดูว่าคนที่แชร์ต่อ มาตรา 14 (5) บอกว่า การแชร์อยู่ในความหมายว่ารู้อยู่ว่าเป็นความผิดและส่งต่อ ตรงนี้ถือว่าผิดเหมือนคนที่นำเข้าระบบ 
ถามว่า "แชร์ - ไลค์ - คอมเมนท์" เป็นอย่างไร คอมเมนท์เองถือว่าผิดแน่นอน เพราะนำเข้าระบบเอง ตรงนี้ไม่ค่อยมีปัญหา แชร์ก็ค่อนข้างชัดเจน การแชร์ทำให้ข้อมูลที่ส่งต่อไปปรากฎต่อหน้าแสดงผลของผู้อื่นโดยเจตนา ถ้ารู้อยู่ว่าเป็นข้อมูลลามกหรือเท็จ ตรงนี้มีโทษเท่ากับผู้นำเข้าระบบคนแรก แต่ กรณีผู้เล่นไลน์พบข้อมูลเรื่องอาหารที่ผลิตโดยบริษัทหนึ่งมีสารพิษและตกใจรีบแชร์ไปให้ลูกหลานโดยไม่รู้ว่าเป็นเรื่องเท็จการแชร์ยังสามารถต่อสู้ได้ว่าไม่รู้
ส่วนที่มีปัญหาคือการกดไลค์มีลักษณะเฉพาะของโซเชียลมีเดียบางชนิดอย่างเฟซบุ๊กการกดไลค์ต้องแยกเจตนา อันดับแรกคือคนที่มีเจตนา พ.ร.บ.คอมฯเป็นกฎหมายที่มีโทษอาญา ต้องมีเจตนา ม.14คือ เจตนาที่รู้อยู่ว่าเป็นข้อมูลปลอมหรือเท็จ สมมติว่ารู้อยู่ว่าปลอมหรือเท็จแล้วยังกดไลค์และรู้ด้วยว่าการกดไลค์คืออะไร รู้ว่าการกดไลค์ทำให้ข้อมูลปรากฎบนหน้าแสดงผลของผู้ใช้งานที่เป็นเพื่อนอยู่ ตรงนี้อาจตีความได้ว่ารู้อยู่ว่าการไลค์ทำให้ส่งต่อกระจายไปยังเพื่อนของเราให้รับทราบ ตรงนี้มีความเสี่ยงมีความผิด
แต่อีกกรณีที่คิดว่าน่าสนใจว่าจะตีความอย่างไร กรณีที่เราไม่รู้ เชื่อว่าหลายๆ ท่านอย่าง เช่น ผู้สูงอายุที่ไม่รู้การทำงานของระบบในสื่อสังคมออนไลน์ว่าการกดไลค์ทำให้ปรากฎอะไรบ้าง เขาก็คิดว่าแค่กดไป หรือบางคนคิดว่าการไลค์ไม่ได้คือ "การชอบ" แต่เหมือนการทักทายรับรู้ว่ามีข้อมูลนี้อยู่แค่นั้น และอาจไม่รู้ว่ากดไลค์จะกระจายข้อมูลในหน้าฟีดให้คนอื่นรู้ตรงนี้มองว่ากลุ่มนี้ขาดเจตนา เขาไม่รู้ 

นอกจากเจตนาแล้ว เจตนาการรู้ว่าข้อมูลปลอมหรือเท็จก็สำคัญ เพราะข้อมูลออนไลน์เยอะมากไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าจริงหรือเท็จ และกฎหมายนี้ไม่ได้เอาผิดที่การประมาทเพราะดูเจตนา ถ้าเกิดไม่รู้ว่าการกดไลค์จะทำให้เกิดสภาพอะไรในระบบบ้าง ตรงนี้อาจต่อสู้ได้ว่าขาดเจตนา แต่ไม่สามารถอ้างว่าไม่รู้ว่าไม่มีกฎหมาย
-ประเทศอื่นมีกฎหมายที่สามารถดำเนินคดีผู้กดไลค์ได้หรือไม่
กฎหมายที่มีปัญหาเกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมฯนี้แยกเป็น2กลุ่มของเรามีกฎหมายกลุ่มแรกคือทางเทคนิกตัวมาตราต่างๆของพ.ร.บ.คอมฯเช่นการแฮ็คเจาะระบบตรงนี้หลายประเทศมีกฎหมายไซเบอร์แต่อีกส่วนที่มีในกฎหมายไทยคือม.14และม.16ตรงนี้เป็นกลุ่มกฎหมายด้านเนื้อหาเมื่อก่อนมีกฎหมายนี้แต่อยู่ในกฎหมายหมิ่นประมาทซึ่งยอมความได้ ตกลงได้ ในต่างประเทศทำแบบนี้ เขามีฟ้องแต่ไปอยู่ในกฎหมายอื่น

ในพ.ร.บ.คอมฯ หรือกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของบางประเทศมีเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับทางเทคนิก เช่น การแฮ็กโจมตีระบบหลอกโอนเงินลักษณะแบบนี้ แต่ไม่มีเรื่องนำเข้าข้อมูลปลอมหรือเท็จแต่ความผิดเหล่านี้ไปอยู่ในกฎหมายฉบับอื่น กฎหมายลักษณะหมิ่นประมาทละเมิดเป็นลักษณะแพ่งบ้าง เรื่องอาญาแต่ยอมความกันได้บ้าง แต่ของเราพออยู่ในพ.ร.บ.คอมฯมาตรา 14 และ16 ทำให้สิ่งที่เป็นเรื่องหมิ่นประมาทซึ่งเดิมทียอมความได้กลายเป็นความผิดต่อแผ่นดินซึ่งยอมความไม่ได้ทำให้เกิดความหวาดวิตกต่อประชาชนทั่วไป

http://www.matichon.co.th/online/2015/12/14498921371449900555l.jpg

-เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในไทยแสดงให้เห็นถึงปัญหาในตัวกฎหมาย?
ปี2550-2551ในบริบทกฎหมายที่เพิ่งออกมาเฟซบุ๊กยังไม่ใช้กว้างขวางขนาดนี้สื่อสังคมออนไลน์แต่ละชนิดมีรูปแบบแตกต่างกันกฎหมายจะไปร่างให้คลุมคงยากในหลักกฎหมายในปัจจุบันสามารถนำมาปรับใช้ได้ถ้าตีความให้สอดคล้องเช่นรู้อยู่แล้วว่าผิดและส่งต่อคำว่า"รู้อยู่"กฎหมายคงไม่สามารถเขียนได้ว่า ผู้ใช้ตั้งค่าในระบบแล้วหรือยัง มันขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง ในกรณีกดไลค์ กดแชร์ ถ้าตีความดีๆ "รู้อยู่แล้วส่งต่อ" ต้องใช้องค์ประกอบเยอะมากในการตีความ ในการพิจารณาปรับฐานความผิดตรงนี้ 
ถามว่าตัวเฟซบุ๊ก ในไลน์ มีองค์ประกอบการตีความพวกนี้ดูว่าคุณรู้แค่ไหน และลักษณะการใช้งานเป็นอย่างไร เช่นตั้งค่าไหม หรือไม่เคยตั้งค่าเลย ไม่รู้จักเรื่องตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเลย โพสต์อะไรทุกคนรู้หมด ใครโพสต์อะไรฉันก็รู้หมด ถ้าอย่างนี้แสดงว่าเขาไม่ได้มีความระมัดระวัง 
ถ้าบางคนเขาพยายามสร้างกลุ่มปิดแล้ว พยายามคุยในเรื่องส่วนตัวแล้ว อย่างม.14 (4) เกี่ยวกับการลามกเห็นได้ชัดเจนเพราะกฎหมายบอกว่าเผยแพร่สื่อลามกอนาจารทางคอมพิวเตอร์ต้องลักษณะ "ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้" คำนี้สำคัญมาก กฎหมายไม่ได้บอกว่ากี่คนถ้าดูโดยลักษณะแล้วสมมติว่าคุยกันในกลุ่มปิด3-4คน และโพสต์ภาพลามกลงไป ถามว่าประชาชนเข้าถึงไหม จากเจตนาของคนที่พยายามตั้งกลุ่มปิดไม่ให้คนเข้าแล้ว ถ้าผมมองก็ไม่มีเจตนาและไม่สามารถทำให้ประชาชนเข้าถึงด้วย ต้องดูองค์ประกอบและพฤติกรรมการใช้งานของผู้นั้นประกอบว่าต้องการเผยแพร่ในวงกว้างหรือแค่ใช้ลักษณะกลุ่มปิด
-ถ้ากดไลค์ในกลุ่มปิด มีแนวโน้มมาใช้ต่อสู้ได้หรือไม่
ถ้าการกดไลค์หรือทำอะไรก็ตามโดยมีเจตนาไม่ได้อยากให้ออกเป็นวงกว้างก็ต้องมาต่อสู้ในม.14ที่สำคัญคือเราไม่ได้รู้อยู่แล้วส่งต่อการรู้คือรู้ว่าข้อมูลนั้นปลอมหรือเท็จและต้องดูองค์ประกอบอื่นด้วยถ้าภาพลามกค่อนข้างชัดว่าส่งต่อภาพลามกโดยที่ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้ถ้าต่อสู้ว่าภาพลามกนี้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงไม่ได้คิดว่ามีโอกาสไม่มีความผิดตามม.14 
แต่ถ้ากรณีอื่นเป็นข้อมูลเท็จที่กระทบต่อความมั่นคงกฎหมายไม่ได้บอกชัดเจนว่าประชาชนทั่วไปเข้าถึงหรือไม่ถ้าเผยแพร่ในระบบคอมพิวเตอร์ก็มีความเสี่ยงที่จะมีความผิด
ถือเป็นช่องโหว่ที่อาจต้องพิจารณาปรับกฎหมายให้ชัดเจนและรัดกุมมากขึ้นหรือไม่
ตอนนี้น่าจะมีปรับอยู่คิดว่าควรปรับให้ประชาชนที่ไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์จะผิดเพราะองค์ประกอบมันกว้างมากคำว่าข้อมูลปลอมหรือเท็จอะไรก็พร้อมที่จะปลอมหรือเท็จได้ง่ายๆคิดว่าเป็นความเสี่ยงในระดับผู้ใช้งานทั่วไป
-ผู้ดูแลระบบสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆมีโอกาสเข้าข่ายผิดกฎหมายในฐานะผู้ดูแลระบบด้วยหรือไม่
ในกฎหมายใช้คำว่าผู้ให้บริการมีในมาตรา15ผู้ให้บริการใดซึ่งจงใจหรือยินยอมว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและยังละเลยตรงนี้มีความผิดไปด้วยผู้ให้บริการตามกฎหมายคือผู้ให้บริการเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นก็คือเว็บไซต์หรือเว็บบอร์ดหรือโซเชียลมีเดียต่างๆเก็บภาพเก็บข้อมูลคือผู้ให้บริการข้อมูลถ้าเกิดเขาจงใจหรือยินยอมรู้อยู่ว่ามีข้อมูลพวกนี้อยู่ในระบบก็มีความผิดด้วยได้แต่ต้องมาต่อสู้กันอีกถ้าเป็นผู้ดูแลเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งบอกว่าพยายามดูแลแล้วและไม่ได้ยินยอมด้วย แต่มันหลุดลอดไปตรงนี้ก็เป็นข้อต่อสู้ได้เหมือนกัน
http://www.matichon.co.th/online/2015/12/14498921371449895239l.jpg

-เป็นไปได้ไหมที่หมายถึงเฟซบุ๊กจะกลายเป็นผู้ผิดไปด้วย
ในทางทฤษฎีเป็นไปได้เพราะม.17บอกว่าเป็นคนนอกราชอาณาจักรก็ดำเนินการได้แต่นั่นคือทฤษฎีแต่ในหลักกฎหมายในการบังคับใช้กฎหมายเราจะไปจับตัวมาร์คซัคเคอร์เบิร์กมาลงโทษไหมมันก็ต้องพิสูจน์ว่าเขาจงใจหรือยินยอมละเลยหรือไม่อาจเป็นปัญหาในทางการใช้กฎหมาย
แต่ขอเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกา คือเขามีพ.ร.บ.คอมฯ เขายกเว้นชัดเจนให้ผู้ให้บริการ แต่ของไทยไม่มี เรามีแต่ม. 15 ผู้ให้บริการใดซึ่งจงใจหรือยินยอมว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและยังละเลยตรงนี้มีความผิด แต่ของอเมริกายกเว้นผู้ให้บริการถ้าเฉพาะเป็นเรื่องความผิดเกี่ยวกับเนื้อหาและเกิดจากบุคคลที่ 3 มาโพสต์เขายกเว้นให้  เพราะถ้าเฟซบุ๊กหรือกรณีอื่นๆเขาเป็นแค่ผู้ดูแลระบบและประชาชนมาโพสต์ด่ากันเอง เขายกเว้นเพื่อให้เศรษฐกิจไปได้ เพราะไม่อย่างนั้นคนก็ไม่กล้าทำระบบหรือให้บริการออนไลน์
-พ.ร.บ.คอมฯ มักถูกนำมาใช้โจมตีฝ่ายตรงข้ามโดยพ่วงกฎหมายอื่นไปด้วย จริงๆแล้วพ.ร.บ.คอมฯทำงานตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริงแล้วหรือไม่
ตรงนี้แล้วแต่มุมมองผมมองว่าข้อเท็จจริงเกิดขึ้นก้อนหนึ่งต้องถามว่าเกี่ยวข้องกับกฎหมายอะไรบ้างกฎหมายแต่ละตัวองค์ประกอบไม่เหมือนกันถ้าคนวิจารณ์รัฐบาลใช้พ.ร.บ.คอมฯจับว่าเป็นข้อมูลเท็จหรือเอาม.116มาจับถ้าเข้าองค์ประกอบตรงนี้ขึ้นกับผู้ตั้งข้อหาว่าเข้าองค์ประกอบอะไรบ้างถามว่าวัตถุประสงค์จริงๆตามหลักสากล พ.ร.บ.คอมฯหรืออาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออาชญากรรมที่กระทำทางเทคนิกคอมพิวเตอร์ เช่น โจมตีระบบ แฮ็คข้อมูล วัตถุประสงค์หลักคืออย่างนั้น แต่ของไทยก็ต้องยอมรับว่ามีม. 14 และ 16 ซึ่งเป็นเรื่องเนื้อหาไม่เหมาะสมแทรกเข้ามาด้วย ถ้าถามว่าเป็นวัตถุประสงค์ของพ.ร.บ.คอมฯหรือไม่ ผมมองว่าไม่ใช่ แต่เมื่อมันมีอยู่เราก็ต้องระมัดระวัง ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย

http://www.matichon.co.th/online/2015/12/14498921371449895318l.jpg

-คนที่จะกดไลค์ในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆมีข้อควรระวังอย่างไรไม่ให้ทำผิดกฎหาย

เมื่อกฎหมายวันนี้ค่อนข้างกว้างองค์ประกอบค่อนข้างเปิดความผิดให้กว้างมากแชร์หรือกดไลค์ก็อาจถูกตั้งข้อหาแต่ทางปฏิบัติเราอาจต่อสู้ว่าไม่มีเจตนาแต่เพื่อความปลอดภัยคิดว่าเราระมัดระวังถ้าแชร์ก่อนเรามีความเสี่ยงก่อนเพราะไม่รู้ว่าสิ่งที่อยู่ในระบบออนไลน์จริงหรือเท็จถ้ามั่นใจว่าโพสต์เรื่องทั่วไปเช่นกินข้าวดูหนังและมั่นใจว่าที่โพสต์เป็นข้อมูลของเราก็โพสต์โดยไม่มีปัญหา 

ผมคิดว่าโพสต์เรื่องที่คิดว่าไม่ปลอมหรือเท็จและไม่กระทบคนอื่นความเสี่ยงจะลดลงผมคิดว่าโดยเฉพาะการกดไลค์เมื่อดูแนวโน้มการบังคับใช้กฎหมายมีมุมมองว่าการกดไลค์เป็นการ"รู้อยู่และเผยแพร่ส่งต่อ"ซึ่งอีกฝ่ายอาจมองได้ว่าระบบที่ใช้งานมันเป็นอย่างนั้น

แต่คิดว่าก่อนที่จะกดไลค์กดแชร์ให้คิดผ่านภาษิตว่า"ชอบกดไลค์ ใช่กดแชร์ แห่ติดคุก" คือต้องใจเย็นก่อนกดอะไร เราดูก่อน บางคนไม่ดูกดไลค์เลย เห็นอะไรกดเลยเพราะมีอะไรให้เลื่อนดูอีกเยอะ ควรใจเย็นๆแล้วค่อยๆดูอย่าไลค์ไปก่อน
 


Inga kommentarer:

Skicka en kommentar