söndag 13 december 2015

กฎหมายว่าด้วยพืช GMOs ."สงครามการค้า" ของพวกประเทศมหาอำนาจ พืช GMOs ที่ประเทศกลุ่ม อียู ต่อต้านปฏิเสธไม่ให้นำเข้าประเทศ กำลังขยายตัวเข้าสู่ประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนารวมทั้งไทยที่เป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตรกรรมรายใหญ่ พืช GMOs นับเป็นอันตรายต่อทั้งประชาชนไทยและมวลมนุษย์ชาติทั้งโลก ไม่แพ้สงครามที่ใช้อาวุธประหัดประหารกัน...

GMOs ผลประโยชน์นี้เพื่อใคร ?


คอลัมน์ชั้น 5 ประชาชาติ โดย กฤษณา ไพฑูรย์
การถล่มกันด้วยเครื่องบินรบกรณีความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับตุรกี และซีเรีย ได้สร้างความหวาดวิตกให้กับผู้คนทั่วโลก เพราะความรุนแรงของสงครามนำไปสู่ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมิอาจประมาณค่า
การถล่มกันด้วยเครื่องบินรบกรณีความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับตุรกี และซีเรีย ได้สร้างความหวาดวิตกให้กับผู้คนทั่วโลก เพราะความรุนแรงของสงครามนำไปสู่ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมิอาจประมาณค่า 
แต่ในอีกด้านหนึ่งยังมีสิ่งที่น่ากลัว ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอานุภาพของการใช้อาวุธ นั่นคือ การเปิดฉาก "สงครามการค้า" ของประเทศมหาอำนาจอย่างอเมริกากับประเทศทั่วโลก 

ส่งผ่านตลาดการค้าในหลากหลายรูปแบบ การประกาศกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศใหม่ ๆ การแฝงตัวผ่านมาทางตลาดเงิน ตลาดทุน ผ่านการลงทุนของบริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่ ค่อย ๆ ชอนไช !! กลืนกิน !! ลิดรอนสิทธิ์ !! ผูกขาด !!

ล่าสุดได้มีความพยายามในการ "เปลี่ยนสถานะ" ของประเทศไทย ผ่านร่างพระราชบัญญัติ ความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. ...ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นผู้เสนอ

ท่ามกลางความกังวลขององค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) รวมถึงหน่วยงานราชการอย่างกระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่เกรงว่า การอนุญาตให้ปลูกพืชหรือสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมจะกระทบต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและการส่งออกสินค้าของประเทศไทยโดยเฉพาะสินค้าอาหารซึ่งประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 9 แสนล้านบาทต่อปี

รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้กล่าวในการเสวนา การวิเคราะห์ร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งจัดโดยสภาเกษตรกรแห่งชาติ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข้อสังเกตต่าง ๆ ที่น่าสนใจยิ่งว่า ร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพฉบับนี้กำลังจะ "เปลี่ยนแปลงสถานะของประเทศไทย" ไปเป็นสถานะของประเทศที่อนุญาตให้มีการนำเข้าพืช GMOs อนุญาตให้มีการเพาะปลูกพืช GMOs ขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม

การเปลี่ยนแปลงสถานะแบบนี้ กฎหมายฉบับนี้จำเป็นต้องมีความรอบคอบ จำเป็นต้องมีการพิจารณาอย่างดี แต่จากการพิจารณาเบื้องต้นพบว่า กฎหมายฉบับนี้หลายมาตรามี "ข้อบกพร่อง" ค่อนข้างมาก การมีส่วนร่วมของผู้ที่ได้รับผลกระทบ ไม่ได้รับการยอมรับ จึงเห็นว่า จำเป็นต้อง "ทบทวน" กระบวนการของกฎหมาย จะต้องพิจารณาในเรื่องความปลอดภัยของมนุษย์ ความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของความหลากหลายของสารพันธุกรรม

ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับกฎหมาย GMOs ว่า ปัจจุบันฐานทางพันธุกรรมของประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพที่ดีมาก เหมือนมีอัญมณีทางพันธุกรรมมีพืชชนิดต่าง ๆ ที่ปู่ย่าตายายสะสมรวบรวมพันธุ์ไว้ที่หลายประเทศอิจฉา ไม่มีเหมือนไทย ถือเป็นรากฐานทางวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แต่การผ่านร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ ถือเป็นการทำลายอัญมณีทางพันธุกรรมที่มีอยู่เพียงชั่วข้ามคืน ซึ่งไม่สมควร

"ผมคิดว่าเราควรมองให้ไกล เมื่อเทียบกับผลประโยชน์จากพืช GMOs มันน้อยมาก และเมื่ออนุญาตให้ปลูกแล้วไม่มีใครควบคุมได้ มีบทเรียนให้เห็นในหลายประเทศ ไทยเอง ฝ้าย และมะละกอ ยังปนเปื้อนอยู่ ฐานทางทรัพยากรของประเทศไทยจะเสียหายไปทันที และจะย้อนกลับไม่ได้ ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่ทุกวันนี้หลายคนกำลังหลงประเด็น"

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ได้แสดงความกังวลต่อกรณีดังกล่าวว่า หากกฎหมายมีผลบังคับใช้ส่งผลกระทบทันทีต่อการส่งออกผัก และผลไม้ของไทย โดยเฉพาะตลาดส่งออกหลักอย่างยุโรป และญี่ปุ่นต้องให้ทำใบรับรองว่า สินค้าที่ส่งออกไปปลอด GMOs จากปัจจุบันสุ่มตรวจเพียงบางลอต ต่อไปคงจะตรวจทุกลอต 100% ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มผลไม้รวม และข้าวโพดหวาน เพราะเป็นสินค้าที่มีการทำ GMOs ในต่างประเทศมาก่อนแล้ว

ดังนั้น รัฐต้องชั่งน้ำหนักให้ดีว่าคุ้มค่าหรือไม่ กับตลาดสินค้า GMOs ที่จะขายได้ ที่สำคัญหากรัฐบาลจะมีนโยบายส่งเสริมพืช GMOs ต้องหามาตรการควบคุมแปลงทดลองให้ชัดเจน และแสดงความมั่นใจว่าไม่ปนเปื้อนมาภายนอก กระทบกับพืชปลอด GMOs และสามารถส่งออกพืชปลอด GMOs ได้ตามปกติ

อย่างไรก็ตามยังมีเสียงสะท้อนจากเกษตรกรผู้ปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ ผู้ส่งออกข้าว และผู้คนในอีกหลายแวดวง ที่พยายามสะท้อนให้เห็นถึงบทเรียนอันเจ็บปวดที่หลายประเทศเปิดรับพืช GMOs เพราะนอกจากจะไม่มีหนทางควบคุมได้แล้ว "เกสร" ที่ปลิวไปตกยังสวน และไร่ของเกษตรกรที่ไม่ได้ปลูกพืช GMOs ยังสร้างความเดือดร้อนให้เจ้าของสวน ถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายว่าไปละเมิดปลูกพืช GMOs โดยไม่ได้รับอนุญาต

"เมล็ดพันธุ์พืช" ที่จะถูกผูกขาดจากยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่รายเป็นเรื่องที่ต้องระวังให้ดี ดังนั้นจึงอยากให้ทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่ามองแค่ผลประโยชน์เฉพาะหน้า แต่ให้ตระหนักถึงผลประโยชน์ระยะยาวของประเทศไทยเป็นสำคัญ อียู และญี่ปุ่นเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ได้ไกลกว่าไทย โดยไม่ต้องเปิดรับ GMOs


Inga kommentarer:

Skicka en kommentar