สวิตเซอร์แลนด์ติดอันดับหนึ่งประเทศที่มีความโปร่งใสทางการเงินน้อยที่สุด ส่วนปานามาไม่มีชื่อติด 10 อันดับแรก
ข่าวการรั่วไหลของเอกสารลับ “ปานามา เปเปอร์ส” ของบริษัทกฎหมายมอสแซค ฟอนเซกา ในปานามา เผยให้เห็นว่า ดินแดนที่เป็นแหล่งหลบเลี่ยงภาษี หรือที่เรียกว่า “tax haven” ได้ถูกบรรดามหาเศรษฐีใช้ในการซุกซ่อนความร่ำรวยของตน
อย่างไรก็ตาม องค์กรด้านความโปร่งใสทางการเงินหลายแห่งเตือนว่าแหล่งหลบเลี่ยงภาษีเหล่านี้ไม่ได้มีเฉพาะที่หมู่เกาะขนาดเล็กในแถบอเมริกากลางเท่านั้น ทว่าประเทศในยุโรป อเ...มริกาเหนือ และเอเชีย ถือเป็นแหล่งที่คนรวยนิยมใช้ในการหลบเลี่ยงภาษีเช่นกัน โดยข้อมูลจากเครือข่ายเพื่อความเป็นธรรมด้านภาษี (TJN) เผยว่า สวิตเซอร์แลนด์ เป็นประเทศที่มีความโปร่งใสทางการเงินน้อยที่สุดในโลก ขณะที่ปานามาซึ่งกำลังตกเป็นข่าวในขณะนี้กลับไม่มีชื่อติด 10 อันดับแรกของการจัดอันดับ นี่จึงช่วยอธิบายว่าเหตุใดจึงมีชาวอเมริกันเพียงไม่กี่คนที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในปานามา เปเปอร์ส
TJN ซึ่งเป็นองค์กรอิสระได้จัดทำดัชนีประเทศที่มีความโปร่งใสทางการเงินน้อยที่สุดประจำปี 2558 โดยอันดับ 1 คือ สวิตเซอร์แลนด์ ตามมาด้วย ฮ่องกง, สหรัฐฯ, สิงคโปร์, หมู่เกาะเคย์แมน, ลักเซมเบิร์ก, เลบานอน, เยอรมนี, บาห์เรน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
เล็กซ์ ค็อบแฮม จาก TJN ระบุว่า ประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่งให้การสนับสนุนหรือมีกฎหมายที่ทำให้เกิดความไม่โปร่งใสทางการเงิน โดยสวิตเซอร์แลนด์มีระบบการธนาคารที่มีธรรมเนียมปฏิบัติเป็นความลับและยากที่จะตรวจสอบได้แม้จะถูกกดดันจากนานาชาติก็ตาม
ส่วนฮ่องกง ก็สร้างความวิตกในเรื่องนี้ไม่แพ้กัน เพราะยอมให้มีระบบหุ้นแบบไม่ระบุชื่อผู้ถือ ซึ่งเอื้อให้สามารถทำธุรกรรมต่างๆของกองทุนได้โดยไม่ต้องระบุตัวเจ้าของเงินที่แท้จริง ซึ่งในปานามา เปเปอร์ส พบว่า ธุรกิจเกือบ 1 ใน 3 ของมอสแซค ฟอนเซกา มาจากสำนักงานในฮ่องกงและจีน ทำให้จีนเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่สุดของบริษัท
ในฟากของสหรัฐฯ ก็พบว่า รัฐเดลาแวร์ เป็นแหล่งหลบเลี่ยงภาษีที่ได้รับความนิยมอีกแห่ง โดยพบว่ามีบริษัทจดทะเบียนในรัฐนี้ราว 945,000 บริษัท หรือมีสัดส่วนเทียบเท่ากับ 1 บริษัทต่อประชากรในรัฐ 1 คน ทั้งนี้ เดลาแวร์ เป็น 1 ใน 4 รัฐ (เนวาดา, แอริโซนา และไวโอมิง) ที่ถูกวิจารณ์ว่ามีข้อบังคับด้านการเงินที่ไม่เข้มงวด ทำให้มีการจดทะเบียนบริษัทบังหน้าเป็นจำนวนมาก ขณะที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติระบุว่า รัฐเดลาแวร์ เป็นเหมือน“สรวงสวรรค์ของกลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติ”
ส่วนดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรก็ถือเป็นแหล่งหลบเลี่ยงภาษียอดนิยมของเหล่าคนรวยเช่นกัน โดยหมู่เกาะเคย์แมน เป็นสถานที่ยอดนิยมที่กลุ่มผู้ต้องการหลบเลี่ยงภาษีเข้าไปจดทะเบียนตั้งบริษัทบังหน้า เช่นเดียวกับหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน ที่เป็นสถานที่จดทะเบียนของบริษัทจำนวนมากที่มีชื่อปรากฏอยู่ในปานามา เปเปอร์ส และถือว่ามากเป็นสองเท่าของบริษัทประเภทนี้ที่จดทะเบียนในปานามา #PanamaPapers
เล็กซ์ ค็อบแฮม จาก TJN ระบุว่า ประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่งให้การสนับสนุนหรือมีกฎหมายที่ทำให้เกิดความไม่โปร่งใสทางการเงิน โดยสวิตเซอร์แลนด์มีระบบการธนาคารที่มีธรรมเนียมปฏิบัติเป็นความลับและยากที่จะตรวจสอบได้แม้จะถูกกดดันจากนานาชาติก็ตาม
ส่วนฮ่องกง ก็สร้างความวิตกในเรื่องนี้ไม่แพ้กัน เพราะยอมให้มีระบบหุ้นแบบไม่ระบุชื่อผู้ถือ ซึ่งเอื้อให้สามารถทำธุรกรรมต่างๆของกองทุนได้โดยไม่ต้องระบุตัวเจ้าของเงินที่แท้จริง ซึ่งในปานามา เปเปอร์ส พบว่า ธุรกิจเกือบ 1 ใน 3 ของมอสแซค ฟอนเซกา มาจากสำนักงานในฮ่องกงและจีน ทำให้จีนเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่สุดของบริษัท
ในฟากของสหรัฐฯ ก็พบว่า รัฐเดลาแวร์ เป็นแหล่งหลบเลี่ยงภาษีที่ได้รับความนิยมอีกแห่ง โดยพบว่ามีบริษัทจดทะเบียนในรัฐนี้ราว 945,000 บริษัท หรือมีสัดส่วนเทียบเท่ากับ 1 บริษัทต่อประชากรในรัฐ 1 คน ทั้งนี้ เดลาแวร์ เป็น 1 ใน 4 รัฐ (เนวาดา, แอริโซนา และไวโอมิง) ที่ถูกวิจารณ์ว่ามีข้อบังคับด้านการเงินที่ไม่เข้มงวด ทำให้มีการจดทะเบียนบริษัทบังหน้าเป็นจำนวนมาก ขณะที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติระบุว่า รัฐเดลาแวร์ เป็นเหมือน“สรวงสวรรค์ของกลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติ”
ส่วนดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรก็ถือเป็นแหล่งหลบเลี่ยงภาษียอดนิยมของเหล่าคนรวยเช่นกัน โดยหมู่เกาะเคย์แมน เป็นสถานที่ยอดนิยมที่กลุ่มผู้ต้องการหลบเลี่ยงภาษีเข้าไปจดทะเบียนตั้งบริษัทบังหน้า เช่นเดียวกับหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน ที่เป็นสถานที่จดทะเบียนของบริษัทจำนวนมากที่มีชื่อปรากฏอยู่ในปานามา เปเปอร์ส และถือว่ามากเป็นสองเท่าของบริษัทประเภทนี้ที่จดทะเบียนในปานามา #PanamaPapers
-ปปง. เผยพบรายชื่อ 16 คนไทยในเอกสาร “ปานามา เปเปอร์ส”
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) แถลงข่าวกรณีสื่อมวลชนรายงานข่าว 21 คนไทยมีส่วนเอี่ยวใน “ปานามา เปเปอร์ส” ตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว พบคนไทย 16 รายชื่อ ทั้งนักการเมือง อดีตนักการเมือง และนักธุรกิจ
เช้านี้ พ.ต.อ สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ระบุว่าหลังจากที่มีการเปิดเผยเอกสาร “ปานามา เปเปอร์ส” ซึ่งเป็นเอกสารลับของบริษัทด้านกฎหมายแห่งหนึ่งในปานามา ที่ช่วยเหลือลูกค้าทั่...วโลกในการฟอกเงินและหนีภาษีออกมาเมื่อวันที่ 3 เม.ย. ทาง ปปง. ได้ตรวจสอบไปยังฐานข้อมูลของเครือข่ายผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนนานาชาติ (ไอซีไอเจ) และซุสดอยเชอร์ ไซตุง ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่ พบชื่อคนไทย 16 ราย เกี่ยวพันกับบริษัทที่จดทะเบียนต่างประเทศในลักษณะหุ้นส่วน ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง หรือผู้ที่อยู่เบื้องหลังของบริษัทที่มีการจดทะเบียนในต่างประเทศ
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) แถลงข่าวกรณีสื่อมวลชนรายงานข่าว 21 คนไทยมีส่วนเอี่ยวใน “ปานามา เปเปอร์ส” ตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว พบคนไทย 16 รายชื่อ ทั้งนักการเมือง อดีตนักการเมือง และนักธุรกิจ
เช้านี้ พ.ต.อ สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ระบุว่าหลังจากที่มีการเปิดเผยเอกสาร “ปานามา เปเปอร์ส” ซึ่งเป็นเอกสารลับของบริษัทด้านกฎหมายแห่งหนึ่งในปานามา ที่ช่วยเหลือลูกค้าทั่...วโลกในการฟอกเงินและหนีภาษีออกมาเมื่อวันที่ 3 เม.ย. ทาง ปปง. ได้ตรวจสอบไปยังฐานข้อมูลของเครือข่ายผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนนานาชาติ (ไอซีไอเจ) และซุสดอยเชอร์ ไซตุง ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่ พบชื่อคนไทย 16 ราย เกี่ยวพันกับบริษัทที่จดทะเบียนต่างประเทศในลักษณะหุ้นส่วน ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง หรือผู้ที่อยู่เบื้องหลังของบริษัทที่มีการจดทะเบียนในต่างประเทศ
พ.ต.อ สีหนาท กล่าวเพิ่มเติมว่า ปปง.ยังไม่สามารถเข้าตรวจสอบทรัพย์สินหรือความผิดฐานฟอกเงินกับบุคคล 16 รายที่เป็นหุ้นส่วน ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง หรือผู้ที่อยู่เบื้องหลังของบริษัทที่มีการจดทะเบียนในต่างประเทศได้ เพราะจะต้องมีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐาน หรือความผิดฐานฟอกเงิน แต่จะดำเนินการสืบสวนในทางลับซึ่งไม่สามารถเปิดเผยขั้นตอนวิธีได้
โดย ปปง. ได้ยื่นจดหมายไปยังเครือข่ายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินข้ามชาติทั่วโลกกว่า 150 ประเทศ เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงแล้ว และได้รับการตอบรับจากมาบ้าง อาทิ ปปง.ปานามา ที่ระบุว่ากำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ แต่ในส่วนเรื่องการหนีภาษีนั้น ทาง ปปง. จะไม่เกี่ยวข้องเนื่องจากต้องให้สรรพากรเป็นผู้ตรวจสอบ
โดย ปปง. ได้ยื่นจดหมายไปยังเครือข่ายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินข้ามชาติทั่วโลกกว่า 150 ประเทศ เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงแล้ว และได้รับการตอบรับจากมาบ้าง อาทิ ปปง.ปานามา ที่ระบุว่ากำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ แต่ในส่วนเรื่องการหนีภาษีนั้น ทาง ปปง. จะไม่เกี่ยวข้องเนื่องจากต้องให้สรรพากรเป็นผู้ตรวจสอบ
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar