กอ.รมน.เผยจับผู้ต้องสงสัยได้ 8 คนแล้ว กรณีก่อเหตุหลายจุดที่เจาะไอร้อง
วันนี้ (1 เม.ย.) ทางกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ให้ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กเพจของหน่วยงาน กล่าวถึงความคืบหน้าของการติดตามคดีเมื่อวันที่ 13 มี.ค.ที่ผ่านมาที่มีกลุ่มบุคคลใช้โรงพยาบาลเจาะไอร้องเป็นฐานยิงโจมตีฐานปฏิบัติการกองร้อยทหารพรานที่ 4816 และลอบวางระเบิดที่สะพานบ้านยานิง รวมทั้งลอบยิงชุดรปภ.สถานีรถไฟกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษนราธิวาส 31 ว่า ล่าสุดสามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยตามข้อมูลที่ได้จากการขยาย...ผลการสอบสวนรวมแล้ว 8 คน
วันนี้ (1 เม.ย.) ทางกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ให้ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กเพจของหน่วยงาน กล่าวถึงความคืบหน้าของการติดตามคดีเมื่อวันที่ 13 มี.ค.ที่ผ่านมาที่มีกลุ่มบุคคลใช้โรงพยาบาลเจาะไอร้องเป็นฐานยิงโจมตีฐานปฏิบัติการกองร้อยทหารพรานที่ 4816 และลอบวางระเบิดที่สะพานบ้านยานิง รวมทั้งลอบยิงชุดรปภ.สถานีรถไฟกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษนราธิวาส 31 ว่า ล่าสุดสามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยตามข้อมูลที่ได้จากการขยาย...ผลการสอบสวนรวมแล้ว 8 คน
กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้ากล่าวว่า ในบรรดาผู้ที่ถูกจับกุม หนึ่งในนั้นต้องสงสัยว่าทำหน้าที่ประสานงานและควบคุมการปฏิบัติ มีผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ อีกหนึ่งคนเป็นผู้ซ้อนท้าย ใช้ปืนกลเบาอูซี่ยิงโจมตีชุดรปภ.สถานีรถไฟและหน่วยปฏิบัติการพิเศษนราธิวาส 31 รวมทั้งมีผู้ต้องสงสัยว่าทำหน้าที่ดูแลต้นทางอีก 3 คน
นอกจากนั้น ผลการซักถามคนกลุ่มนี้ได้ให้การซัดทอดและนำไปสู่การจับกุมผู้ต้องสงสัยเพิ่มเติมอีกสองคน ว่าได้นำจักรยานยนต์ไปดัดแปลงเพื่อทำลายหลักฐาน ซึ่งเจ้าหน้าที่ติดตามจับกุมได้และผู้ถูกจับต่างยอมรับสารภาพว่าได้กระทำการดังกล่าวจริง
กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้ายังระบุอีกว่า ผู้ถูกจับกุมยังได้ให้การเพิ่มเติม ทำให้ได้รายชื่อผู้ร่วมก่อเหตุอีกสามคน ทั้งผู้ขับขี่และซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์คันที่สองรวมทั้งคนที่นำคันแรกไปซุกซ่อน ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังพยายามติดตามหาตัวอยู่
ก่อนหน้านี้กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าให้ข่าวว่า ปฏิบัติการโจมตีในวันเวลาดังกล่าว เฉพาะกลุ่มที่ก่อเหตุโจมตีชุดรปภ.สถานีรถไฟ หน่วยปฏิบัติการพิเศษนราธิวาส 31 มีจำนวนสี่คน ใช้รถมอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะสองคัน แต่ละคันมีผู้ซ้อนท้ายที่เป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงโจมตี การดำเนินงานในเรื่องนี้ของเจ้าหน้าที่เป็นการทำงานของคณะทำงานพิเศษเฉพาะกิจที่ติดตามกรณีดังกล่าว ซึ่งตั้งขึ้นตามคำสั่งของแม่ทัพภาคที่ 4 และยังขอความร่วมมือประชาชนให้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ด้วยการให้ข้อมูลข่าวสารด้วย
นอกจากนั้น ผลการซักถามคนกลุ่มนี้ได้ให้การซัดทอดและนำไปสู่การจับกุมผู้ต้องสงสัยเพิ่มเติมอีกสองคน ว่าได้นำจักรยานยนต์ไปดัดแปลงเพื่อทำลายหลักฐาน ซึ่งเจ้าหน้าที่ติดตามจับกุมได้และผู้ถูกจับต่างยอมรับสารภาพว่าได้กระทำการดังกล่าวจริง
กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้ายังระบุอีกว่า ผู้ถูกจับกุมยังได้ให้การเพิ่มเติม ทำให้ได้รายชื่อผู้ร่วมก่อเหตุอีกสามคน ทั้งผู้ขับขี่และซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์คันที่สองรวมทั้งคนที่นำคันแรกไปซุกซ่อน ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังพยายามติดตามหาตัวอยู่
ก่อนหน้านี้กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าให้ข่าวว่า ปฏิบัติการโจมตีในวันเวลาดังกล่าว เฉพาะกลุ่มที่ก่อเหตุโจมตีชุดรปภ.สถานีรถไฟ หน่วยปฏิบัติการพิเศษนราธิวาส 31 มีจำนวนสี่คน ใช้รถมอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะสองคัน แต่ละคันมีผู้ซ้อนท้ายที่เป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงโจมตี การดำเนินงานในเรื่องนี้ของเจ้าหน้าที่เป็นการทำงานของคณะทำงานพิเศษเฉพาะกิจที่ติดตามกรณีดังกล่าว ซึ่งตั้งขึ้นตามคำสั่งของแม่ทัพภาคที่ 4 และยังขอความร่วมมือประชาชนให้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ด้วยการให้ข้อมูลข่าวสารด้วย
พลเมืองเน็ตชี้คดี อ.ส.ฟ้องผู้ใช้เฟซบุ๊คหมิ่นเป็นเรื่องยาก เพราะแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะตามหาตัวจริง หากตามเรื่องไปถึงสหรัฐฯ ต้องให้ศาลที่นั่นตัดสินว่าข้อความหมิ่นจริงหรือไม่
กลุ่มอาสาสมัครรักษาดินแดน (อ.ส.) อำเภอจะนะ จ.สงขลา จำนวน 258 นาย เข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธร อ.จะนะ เมื่อ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อเอาผิดผู้ใช้เฟซบุ๊คชื่อ “สทิงพระ บ้านเรา” ในคดีหมิ่นประมาทและกระทำผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์) หลังผู้ใช้เฟซบุ๊คดังกล่าวเผยแพร่ข้อความพาดพิงถึงกลุ่ม อ.ส.ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคใต้
คดีนี้เป็นคดีแรกที่บุคลากรจำนวนมากภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานรัฐแจ้งความดำเนินคดีผู้ใช้เฟซบุ๊คโดยตรง โดยผู้กระทำผิดคดีหมิ่นประมาทมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ขณะที่ผู้กระทำผิดคดีที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับเป็นเงินไม่เกิน 100,000 บาท
นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen) กลุ่มผู้สนับสนุนสิทธิพลเมืองออนไลน์ ให้สัมภาษณ์บีบีซีในวันนี้ (1 เม.ย.) ว่าตนและผู้ที่สนับสนุนด้านสิทธิไม่เห็นด้วยกับการนำ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาใช้ฟ้องร้องในเรื่องนี้ แต่ขณะเดียวกันก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดชอบว่าจะตัดสินกรณีที่เกิดขึ้นว่าเป็นการกระทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์หรือไม่ หากเจ้าหน้าที่มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความผิดตามมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็อาจจะมีการใช้มาตรา 18 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เพื่อขอข้อมูลจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในไทย เพื่อตามหาตัวผู้ใช้เฟซบุ๊คว่าเป็นใคร แต่โอกาสที่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะระบุตัวผู้ใช้เฟซบุ๊คได้อย่างถูกต้องมีความเป็นไปได้น้อย โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ใช้เฟซบุ๊คไม่ได้ใช้ชื่อจริง ผู้ที่จะรู้ข้อมูลดังกล่าวมีแต่ผู้ให้บริการเฟซบุ๊ค แต่เฟซบุ๊คมีกฎการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ การขอข้อมูลจากทางเฟซบุ๊คต้องได้รับความเห็นชอบจากกระบวนการยุติธรรมในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของเฟซบุ๊คด้วย
ในกรณี อ.ส.ฟ้องผู้ใช้เฟซบุ๊ครายนี้ ถ้ามีการขอประสานความร่วมมือจากทางไทยไปถึงสหรัฐฯ ศาลหรือกระบวนการยุติธรรมสหรัฐฯ จะเป็นฝ่ายตัดสินว่าการกล่าวหากันแบบนี้เป็นการกลั่นแกล้งกันหรือไม่ เนื้อหาที่พูดเป็นการแสดงออกตามเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหรือไม่ ถ้าศาลสหรัฐฯ ตัดสินว่าการกระทำดังกล่าวไม่ถือเป็นความผิดตามกฎหมายสหรัฐฯ ก็จะไม่ออกหมายศาลให้ และทางเฟซบุ๊คสามารถปฏิเสธไม่ให้ข้อมูลกับทางการไทยได้
ส่วนการดำเนินคดีที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์แก่ผู้ใช้เฟซบุ๊คในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมา เป็นการสอบสวนด้วยวิธีการอื่นๆ แทนการประสานงานไปยังเฟซบุ๊คเพื่อขอข้อมูลผู้ใช้โดยตรง เช่น การสอบปากคำผู้ที่เคยติดต่อสนทนากับผู้ใช้เฟซบุ๊ค รวมถึงการยึดคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือเพื่อนำมาตรวจสอบข้อมูลประวัติการใช้งานอินเตอร์เน็ต
ขณะที่นายสมศักดิ์ ชูศรี ปลัดอำเภอฝ่ายป้องกัน อำเภอจะนะ จ.สงขลา ผู้นำกลุ่ม อ.ส.เข้าแจ้งความ ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีว่าขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังสืบหาตัวผู้ถูกกล่าวหา และระบุว่าหากประชาชนมีเรื่องร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ของ อ.ส. สามารถติดต่อยื่นเรื่องได้โดยตรงที่ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอหรือจังหวัดทุกแห่ง แต่ไม่ควรเผยแพร่ผ่านช่องทางสาธารณะ และระบุว่าผู้ใช้เฟซบุ๊คชื่อ “สทิงพระ บ้านเรา” ได้โพสต์ข้อความกล่าวหากลุ่ม อ.ส.ว่ากร่างและวางอำนาจหลังมีมาตรา 44 โดยระบุว่าที่จริงพวกเขาเป็นชาวบ้านธรรมดาซึ่งไร้หนทางไปทำงานอื่น ไม่มียศและหนทางก้าวหน้า ที่ภาคใต้จึงตายบ่อยเพราะโง่ ฝึกมาน้อย
กลุ่มอาสาสมัครรักษาดินแดน (อ.ส.) อำเภอจะนะ จ.สงขลา จำนวน 258 นาย เข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธร อ.จะนะ เมื่อ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อเอาผิดผู้ใช้เฟซบุ๊คชื่อ “สทิงพระ บ้านเรา” ในคดีหมิ่นประมาทและกระทำผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์) หลังผู้ใช้เฟซบุ๊คดังกล่าวเผยแพร่ข้อความพาดพิงถึงกลุ่ม อ.ส.ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคใต้
คดีนี้เป็นคดีแรกที่บุคลากรจำนวนมากภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานรัฐแจ้งความดำเนินคดีผู้ใช้เฟซบุ๊คโดยตรง โดยผู้กระทำผิดคดีหมิ่นประมาทมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ขณะที่ผู้กระทำผิดคดีที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับเป็นเงินไม่เกิน 100,000 บาท
นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen) กลุ่มผู้สนับสนุนสิทธิพลเมืองออนไลน์ ให้สัมภาษณ์บีบีซีในวันนี้ (1 เม.ย.) ว่าตนและผู้ที่สนับสนุนด้านสิทธิไม่เห็นด้วยกับการนำ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาใช้ฟ้องร้องในเรื่องนี้ แต่ขณะเดียวกันก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดชอบว่าจะตัดสินกรณีที่เกิดขึ้นว่าเป็นการกระทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์หรือไม่ หากเจ้าหน้าที่มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความผิดตามมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็อาจจะมีการใช้มาตรา 18 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เพื่อขอข้อมูลจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในไทย เพื่อตามหาตัวผู้ใช้เฟซบุ๊คว่าเป็นใคร แต่โอกาสที่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะระบุตัวผู้ใช้เฟซบุ๊คได้อย่างถูกต้องมีความเป็นไปได้น้อย โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ใช้เฟซบุ๊คไม่ได้ใช้ชื่อจริง ผู้ที่จะรู้ข้อมูลดังกล่าวมีแต่ผู้ให้บริการเฟซบุ๊ค แต่เฟซบุ๊คมีกฎการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ การขอข้อมูลจากทางเฟซบุ๊คต้องได้รับความเห็นชอบจากกระบวนการยุติธรรมในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของเฟซบุ๊คด้วย
ในกรณี อ.ส.ฟ้องผู้ใช้เฟซบุ๊ครายนี้ ถ้ามีการขอประสานความร่วมมือจากทางไทยไปถึงสหรัฐฯ ศาลหรือกระบวนการยุติธรรมสหรัฐฯ จะเป็นฝ่ายตัดสินว่าการกล่าวหากันแบบนี้เป็นการกลั่นแกล้งกันหรือไม่ เนื้อหาที่พูดเป็นการแสดงออกตามเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหรือไม่ ถ้าศาลสหรัฐฯ ตัดสินว่าการกระทำดังกล่าวไม่ถือเป็นความผิดตามกฎหมายสหรัฐฯ ก็จะไม่ออกหมายศาลให้ และทางเฟซบุ๊คสามารถปฏิเสธไม่ให้ข้อมูลกับทางการไทยได้
ส่วนการดำเนินคดีที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์แก่ผู้ใช้เฟซบุ๊คในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมา เป็นการสอบสวนด้วยวิธีการอื่นๆ แทนการประสานงานไปยังเฟซบุ๊คเพื่อขอข้อมูลผู้ใช้โดยตรง เช่น การสอบปากคำผู้ที่เคยติดต่อสนทนากับผู้ใช้เฟซบุ๊ค รวมถึงการยึดคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือเพื่อนำมาตรวจสอบข้อมูลประวัติการใช้งานอินเตอร์เน็ต
ขณะที่นายสมศักดิ์ ชูศรี ปลัดอำเภอฝ่ายป้องกัน อำเภอจะนะ จ.สงขลา ผู้นำกลุ่ม อ.ส.เข้าแจ้งความ ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีว่าขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังสืบหาตัวผู้ถูกกล่าวหา และระบุว่าหากประชาชนมีเรื่องร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ของ อ.ส. สามารถติดต่อยื่นเรื่องได้โดยตรงที่ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอหรือจังหวัดทุกแห่ง แต่ไม่ควรเผยแพร่ผ่านช่องทางสาธารณะ และระบุว่าผู้ใช้เฟซบุ๊คชื่อ “สทิงพระ บ้านเรา” ได้โพสต์ข้อความกล่าวหากลุ่ม อ.ส.ว่ากร่างและวางอำนาจหลังมีมาตรา 44 โดยระบุว่าที่จริงพวกเขาเป็นชาวบ้านธรรมดาซึ่งไร้หนทางไปทำงานอื่น ไม่มียศและหนทางก้าวหน้า ที่ภาคใต้จึงตายบ่อยเพราะโง่ ฝึกมาน้อย
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar