lördag 12 september 2020

นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์บีบีซีไทยหลังติดต่อขอคำชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องนี้

เหมืองทองอัครา : "คิงส์เกต" บริษัทแม่ของอัครา ระบุ เป็นท่าทีเชิงบวกที่รัฐบาลไทยอนุญาตเอากากแร่ทองและเงินออกขายได้

นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์บีบีซีไทย หลังกรณีที่ บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด จำกัด เผยแพร่เอกสารเมื่อวันที่ 10 ก.ย. ที่ระบุว่า รัฐบาลไทยอนุญาตให้บริษัทนำกากตะกอนที่ประกอบด้วยทองคำประมาณ 4,750 ออนซ์และเงิน 34,800 ออนซ์ รวม 42,550 ออนซ์ ออกไปขายได้ โดยมีมูลค่าราว 14 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือราว 320 ล้านบาท เมื่อประเมินจากราคาทองคำ ณ วันที่ 9 ก.ย.

ในเอกสารนี้ ประธานคณะกรรมการบริหารบริษัทคิงส์เกต นายรอสส์ สมิธ-เคิร์ก ระบุว่า นี่เป็นสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นนานแล้ว เป็น "ก้าวเล็ก ๆ แต่ก็เป็นเชิงบวก" ทำให้เห็นว่ารัฐบาลไทยตั้งใจที่จะเจรจายุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้น

ย้อนไปเมื่อปี 2559 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในสมัยรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 สั่งระงับการประกอบกิจการเหมืองแร่ชาตรี ซึ่งดำเนินการโดยอัครารี ซอร์สเซส บริษัทลูกของคิงส์เกต ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ปี 2560

เรื่องยืดเยื้อเรื่อยมาหลังทางสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้จนปลายปีนั้นเองที่ บริษัท คิงส์เกต ตัดสินใจนำเรื่องนี้เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ โดยบอกว่าการสั่งปิดเหมืองเป็นการละเมิดข้อตกลงการค้าเสรี ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA)

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ปลายเดือน ส.ค. ปีนี้ แฮกแท็ก #เหมืองทองอัครา ติดอันดับยอดนิยมบนทวิตเตอร์ในไทยหลังมีการเผยแพร่เอกสารงบประมาณปี 2564 ที่ระบุว่า ต้องมีค่าใช้จ่ายราว 111 ล้านบาทสำหรับดำเนินการระงับข้อพิพาทระหว่างไทย กับ บริษัท คิงส์เกต จากประเทศออสเตรเลีย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้านตั้งคำถามว่าเหตุใดเงินที่ต้องใช้จัดการกับปัญหาต้องมาจากภาษีประชาชนในเมื่อย้อนไปเมื่อปี 2562 พล.อ.ประยุทธ์ เคยลั่นว่า "ผมรับผิดชอบเอง เพราะเป็นผู้ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ต้น" โดยอ้างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า ตำแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไม่ถือว่าเป็น "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" นั่นหมายความว่า พล.อ.ประยุทธ์ ต้องรับผิดชอบเรื่องที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองหรือไม่

เว็บไซต์ข่าวประชาชาติธุรกิจระบุว่า นอกจากค่าใช้จ่ายราว 111 ล้านบาทสำหรับดำเนินการระงับข้อพิพาทจากงบประมาณปี 2564 ยังมีงบประมาณที่ใช้ดำเนินเรื่องเดียวกันจากปี 2561-62 จำนวน 217 ล้านบาท และ 60 ล้านบาท ตามลำดับ และหากแพ้คดี ไทยอาจต้องจ่ายค่าเสียหายสูงถึงราว 3 หมื่นล้านบาท

 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar