fredag 14 september 2012

ประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ของมนุษย์ชาติคือประวัติศาสตร์ของการเคลื่อนไหวของสังคม ทุกสังคมจะไม่มีการหยุดนิ่งจะต้องเคลื่อนไหวและพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ถ้าไม่มีแรงกดดันที่มากพอจากมวลชนมากระตุ้นรัฐบาล รัฐบาลก็จะไม่ทำอะไรมากไปกว่าการขอให้เป็นรัฐบาลไปได้นานที่สุดเท่านั้นเอง ถ้าประชาชนไม่ต่อสู้ก็จะไม่ได้อะไร นี่คือสัจธรรมของการต่อสุ้เพื่อให้ได้มาในสิ่งทีเราคาดหวังและเราต้องการ ในสังคมประชาธิปไตยก็มีการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อความยุติธรรม เพื่อสิทธิเสรีภาพและ ความเท่าเทียมกันอยู่ตลอดเวลา... (หมายเหตุ- เห็นด้วยกับอาจารย์สมศักดิ์เรื่องประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม แต่ที่ อ.สมศักดิ์ พูดถึงการทำงานของรัฐบาลที่ยังทำงานภายใต้กฎหมายเผด็จการของประเทศตอแลแลนด์มันไม่ง่ายเหมือนกัน เราหวังว่าอาจารย์คงเข้าใจสถานการณ์และขอขอบคุณอาจารย์ที่กล้าพูดกล้าเสนอข้อเท็จจริง ความคิดที่เห็นต่างเป็นสิ่งที่ดีเพราะจะทำให้คนรู้จักคิดแล้วหาจุดร่วมที่ถูกต้องซึ่งจะนำไปสู่การได้ประชาธิปไตยที่แท้จริง.).....

ที่มา facebook


ในฐานะคนศึกษาประวัติศาสตร์ ต้องบอกว่า ไม่มีประวัติศาสตร์ของสังคมไหน ที่หลักการที่ถูกต้องที่ดีที่สุดจะชนะ และได้ผลเป็นจริง ในทันที

ในความเป็นจริงของประวัติศาสตร์ทั้งหมดที่ผ่านมา สิ่งที่ได้มาจริงๆ จากการต่อสู้คร้้งหนึ่งๆ มักจะไม่ตรงกับหลักการหรือข้อเรียกร้องที่ดีที่สุดเสมอ

ไม่วาจะเป็นการปฏิวัติใหญ่ๆ อย่าง อังกฤษ อเมริกัน ฝรั่งเศส รัสเซีย จีน มาจนถึงกรณีอย่าง 2475, 14 ตุลา ฯลฯ ของไทย

ที่ชนะ ที่ได้

มาจริงๆ จะ (ตามสำนวนฝรั่ง) fall far short (ไปไม่ถึงอีกเยอะ) จากหลักการหรือข้อเรียกร้องที่ดีที่สุดเสมอ

(เช่นตัวอย่างการปฏิวัติที่ยกมาเมื่อ ครู่ พูดแบบง่ายๆคือ ไม่มีอันไหน นำมาซึ่งประชาธิปไตยจริงๆ แม้แต่เรื่องพื้นๆที่เราเข้าใจ "ประชาธิปไตย" ในปัจจุบัน ในแง่ สิทธิเลือกผู้นำของพลเมืองทุกคน ไม่ต้องพูดถึง อำนาจในการควบคุมผู้นำในอำนาจ)


ในแง่นี้ ก็อาจจะบอกว่า การต่อสู้ใน 5-6 ปีที่ผ่านมา สุดท้าย ก็มา "ลงเอย" ที่ได้แค่ระดับ รัฐบาล เพื่อไทย ที่แทบไม่ทำอะไร ในแง่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการปฏิบัติทางการเมืองกฎหมายให้เป็นประชาธิปไตย นอกจากพยายามรักษาอำนาจไว้เท่านั้น (สถาบันกษัตริย์ไม่แตะ ทหารไม่แตะ ระบบตุลาการไม่แตะ ระบบการศึกษา ปลูกฝังอุดมการณ์กษัตริย์นิยม ไม่แตะ)


พูดง่ายๆคือ ผลที่ได้ ห่วย กว่าชีวิต ร่างกาย และเรี่ยวแรง ที่คนทั้งหลาย "ลง" ไปเยอะ (fall far short)


ก็ไมใช่เรื่องประหลาดอะไร


แต่ทำไม จึงยังต้องยืนยันในหลักการที่ถูกต้อง ที่ดีที่สุด แล้วใช้หลักการนั้น เป็นบรรทัดฐาานมาวิจารณ์ สิ่งที่เป็นจริง ที่ห่วย กว่าหลักการนั้นๆ


ทำไม จึงยังต้องเรียกร้องให้มีการทำในสิ่งที่ถูกต้องกับหลักการที่ดีที่สุด ที่ถูกต้องที่สุด?


คำตอบคือ ถ้าไม่ทำเช่นนี้ ถ้า "ปล่อยๆ ปลงๆ" ไป อ้างว่า "หลักการทำไม่ได้ๆๆ ในทางปฏิบัติทำได้แค่นี้"


ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็จะยิ่งห่วยกว่านี้


ในขณะที่เราต้อง "ยอมรับ" และ "เข้าใจ" โลก และประวัติศาสตร์ ที่เป็นจริง (ต้อง realistic) พอ ที่จะบอกว่า ไม่มีผู้มีอำนาจไหนในโลก ไม่ว่าจะมาจากการต่อสู้ที่มีทิศทางหรือเป้าหมายดียังไง


จะสามารถทำตามหลักการที่ดี่ได้ทั้งหมด


แต่มีหลักการหลายอย่างแน่ๆ ที่พวกเขาควรจะทำได้ แต่ไม่ทำ ยกเว้นแต่จะมีแรงกดดันที่มากพอ

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar