tisdag 18 september 2012

วิเคราะห์บทความ..".ต้นเหตุของความขัดแย้ง..." ที่เขียนโดยคุณ ม้าน้ำ "ในอินเตอร์เนตฟรีดอม."....

โดย  Sealand

1. ต้นเหตุของความขัดแย้ง : ความไม่ราบรื่นในการเปลี่ยนผ่าน

2. พัฒนาการของความขัดแย้ง : ความสุดขั้วของสองฝ่าย

3. อนาคตที่จะต้องเผชิญ : สงครามภายใน 2 ครั้งใหญ่

4. ทางออก : ร่วมกันเปลี่ยนผ่านไปสู่รัชสมัยใหม่ด้วยรูปแบบที่เป็นสากล
................เพื่อกระชับพื้นที่แนวปะทะขยายแนวร่วม

5. บทสรุป : ไม่มีวันที่สังคมไทยจะกลับไปเหมือนเดิม

บทวิเคราะห์:  โดย  แสงจันทร
ขออภัยคุณ Sealand  ที่ไม่ได้เอาบทความของคุณลงทั้งหมด 
๑. ต้นเหตุของความขัดแย้ง-ความไม่ราบรื่นในการเปลี่ยนผ่าน

- เหตุการณ์ก่อนรัฐประหาร ความนิยมในสถาบันกษัตริย์ตกต่ำลงมากในสังคมไทย  สถาบันไม่ได้รับความนิยมเหมือนในอดีตที่ผ่านมาที่ประชาชนไม่กล้าแตะต้องเหมือนเทพเจ้า
 -การทำรัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๒๕๔๙ อำมาตย์คาดการณ์ผิดคิดว่าจะง่ายเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา  ทางวังต้องการมีรัฐบาลที่ควบคุมได้ทำงานภายใต้คำสั่งของอำมาตย์เท่านั้น.
-ในช่วงการบริหารประเทศของรัฐบาลทักษิณ  ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี  มีสิทธิเสรีภาพในการอยู่ร่วมกันในสังคมมาตรฐาณเดียวกัน  ไม่สองมาตรฐาณเหมือนสังคมภายใต้รัฐบาลของอำมาตย์เผด็จการ
-เรื่องราวความจริงต่างๆที่ถูกปกปิดมายาวนานเกี่ยวกับครอบครัวกษัตริย์ได้ถูกประชาชนนำมาเปิดเผยทำให้คนในสังคมรู้ความจริงตาสว่างมากขึ้น

๒. พัฒนาการของความขัดแย้ง : ความสุดขั้วของสองฝ่าย

-ถึงท่านผู้ต่อสู้เพื่อความถูกต้องเพื่อประชาธิปไตยและผู้รักความยุติธรรมทั้งหลายจงก้าวข้ามผ่านเรื่อง "การเลือกฝ่ายเลือกขั้ว"  "การเปลี่ยนผ่าน" อย่าให้สิ่งเหล่านี้มาเป็นเครื่องขัดขวางเวลาในการต่อสู้เรียกร้องเพื่อให้ได้ประชาธิปไตยที่แท้จริง.

๓.อนาคตที่จะต้องเผชิญ : สงครามภายใน 2 ครั้งใหญ่

-สงครามแย่งอำนาจของชนชั้นสูง   ไม่ใช่เรื่องของประชาชนจะไปเกี่ยวข้อง  มันเป็นคนละเรื่องกับการต่อสู้เรียกร้องเพื่อประชาธิปไตย    จากอดีตจนถึงปัจจุบันการต่อสู้ไม่มีวันสิ้นสุด   กระแสคลื่นการสู้ของมวลมนุษย์ชาติต้องมีการพัฒนาไปข้างหน้าไม่มีวันหมุนกลับเปรียบเหมือนกระแสน้ำ   ขอให้ประชาชนมีจิตใจที่เข้มแข็งมุ่งมั่นแน่วแน่ในการต่อสู้  ไม่มีอำนาจใดจะมาต้านทานอำนาจความต้องการของประชาชนได้.

๔.ทางออก : ร่วมกันเปลี่ยนผ่านไปสู่รัชสมัยใหม่ด้วยรูปแบบที่เป็นสากล
................เพื่อกระชับพื้นที่แนวปะทะขยายแนวร่วม

-ทางออก : เวลานี้โอกาสทองมาถึงแล้ว   ประชาชนทั้งประเทศ ทุกเพศ ทุกวัย  ทุกอาชีพ  ทุกหมู่เหล่า
มีโอกาสช่วยกันตัดสินใจ   เลือกเอาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์หรือไม่มีกษัตริย์เป็นประมุข    ตัวอย่างของประเทศประชาธิปไตยทั่วโลกที่มีกษัตริย์เป็นสัญญาลักษณ์มีเหลืออยู่ไม่กี่ประเทศและกษัตริย์ของประเทศเหล่านั้นต้องปรับตัวอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญของประเทศซึ่งมาจากประชาชน.

๕.บทสรุป : ไม่มีวันที่สังคมไทยจะกลับไปเหมือนเดิม

(หมายเหตุ-  ขอนำข้อเขียนตอนที่ ๕ ทั้งหมดของSealand มาลงให้อ่าน....ก่อนอ่านบทวิเคราะห์ )

สังคมไทยจะไม่มีวันกลับไปเป็นเหมือนเดิมอีกแล้ว

เหตุเพราะการรับรู้ของสังคมนั้นไปไกลและลึกซึ้งถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริง ผ่านการสื่อสารไร้พรหมแดนในยุคโลกาภิวัฒน์ ดังนั้น การดึงดันมุ่งแต่จะรักษาอำนาจและผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มเฉพาะตน ย่อมนำไปสู่หายนะที่ไม่อาจเรียกกลับมาเหมือนเดิมได้อีก สิ่งที่ควรทำที่สุดคือ “การเปลี่ยนแปลง” ไปสู่สิ่งที่เป็นสากล แต่จะมีวิธีการใดที่จะสามารถทำให้การเปลี่ยนแปลงอย่างที่ว่านี้ เป็นไปได้อย่างนุ่มนวลที่สุด จำกัดวงการเผชิญหน้าให้เหลือแคบที่สุด เพื่อลดความสูญเสียที่ไม่อาจประเมินได้นี้ให้ลดลงเหลือน้อยที่สุด

การระดมความคิดเห็นอย่างเปิดกว้างและจริงจังเท่านั้น จึงจะทำให้สังคมไทยเผชิญวิกฤติปัญหาได้อย่างเท่าทัน

การจมจ่อมอยู่แต่กับอดีตและปัจจุบัน อาจจะทำให้เรามืดบอดต่ออนาคตที่เปิดรอท่าเราอยู่ก็เป็นได้

บารมีของทักษิณที่ใช้ตัวแทนผ่านในระบบบรัฐสภา
เป็น "บารมีในระบบ" ที่ทั้งถูกต้องและชอบธรรม
แต่เป็นอุปสรรคที่อำนาจของชนชั้นสูงกำจัดได้อยากที่สุด
เพราะทั้งการรัฐประหารและการใช้กระบวนการทางศาลนั้น
เป็นเรื่องที่โจ่งแจ้งเกินไปในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ก็ไม่ใช่ว่าทั้งสองกรณีจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นอีก
และการไม่ปล่อยให้มีสภาในสภาพปกติ
คือวิธีการ "กำจัดอำนาจในระบบของทักษิณ" ได้อย่างทรงประสิทธิภาพที่สุด
เพราะไม่ว่าจะเป็นอำนาจในรูปแบบของ "รัฐบาล หรือ ฝ่ายค้าน"
ต่างก็เป็นอุปสรรคต่อทิศทางการเปลี่ยนผ่านรัชสมัยที่กำลังจะเกิดขึ้น
ดังนั้น การไม่ปล่อยโอกาสให้มีสภาปกติได้
ในท่ามกลางของสถานการณ์ในปัจจุบันนี้มีอยู่ทางเดียวที่เอื้ออำนวยมากที่สุด
คือ "ยับยั้งกระบวนการที่จะทำให้เกิดสภาปกติด้วยวิธีพิเศษ"
ซึ่งจะต้องมี "สถานการณ์พิเศษ" เพื่อให้มีเหตุผลรองรับในการกำเนิด "รัฐบาลพิเศษ"
และ “การแตกดับ” คือสถานการณ์พิเศษ เพื่อให้มี “รัฐบาลพิเศษ” ที่ว่านี้
เรากำลังอยู่ในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านในช่วงปลายรัชกาล...


วิเคราะห์บทสุดท้าย

-เราขอให้มวลชนทั้งประเทศเป็นผู้ตัดสินใจเลือกอนาคตของตนเอง     ไม่ใช่อำนาจพิเศษจากบุคคนใดๆมากำหนดหรือยัดเยียดความคิดเห็นให้ทำตาม    ทุกคนต้องมีส่วนกำหนดอนาคตของประเทศเพื่อลูกหลานในอนาคต  เราคิดว่ามวลชนทั้งประเทศคงไม่อยากเห็นรัฐบาลที่เขาเลือกมาให้เป็นตัวแทนพวกเขาไปทำหน้าที่ใช้สิทธิใช้เสียงในสภาเพื่อแก้ไขปัญหาของสังคมของประเทศชาติ    แล้วใช้ระบอบสภาแก้ปัญหาให้ครอบครัวอำมาตย์ซึ่งไม่ใช่ปัญหาของประชาชนและปัญหาของชาติแต่อย่างใด   รัฐบาลอย่าลืมว่าพลังมวลชนคือตัวกำหนด   พวกเขาได้รับบทเรียนจากอดีตโดยเฉพาะพวกเขาได้ติดตามข่าวคราวศึกษาหาความรู้ติดอาวุธทางปัญญาให้ตัวเอง   คงไม่ตกเป็นเหยื่อน้ำลายของใครอีกต่อไป    พร้อมจะไม่ให้ถูกทหารยิงตายและจับเข้าคุกเหมือนที่ผ่านมาอีกต่อไป
-เราคิดว่าประชาชนทั้งประเทศและทั่วโลก  ได้มีการเตรียมการเฝ้าระวังสถานการณ์  พร้อมที่จะเข้า"ยับยั้งกระบวนการที่จะทำให้เกิดสภาไม่ปกติด้วยสถานการณ์พิเศษ"และไม่ให้มี"รัฐบาลพิเศษ" อย่างแน่นอน!

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar