คลิก-บีบีซีไทย - BBC Thai
ทัศนะนักศึกษาบางส่วนจากหลากสถาบันกรณีจับกุมนักศึกษากลุ่มดาวดินและผู้ประท้วงหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
บีบีซีไทยพูดคุยกับนักศึกษาจาก ม.ธรรมศาสตร์ จุฬาฯ และนักศึกษาไทยในกรุงลอนดอน ที่เห็นว่านักศึกษาที่ถูกจับกุมเป็นกระบอกเสียงให้นักศึกษาคนอื่นที่ยังขลาดกลัว ชี้การเคลื่อนไหวของนักศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นของสังคม วอนอย่าใช้วัยมาเป็นเครื่องตัดสินและกีดกันนักศึกษาออกไปจากการเมือง ทั้งนี้ ยอมรับว่ายังมีนักศึกษาบางส่วนที่มีความเห็นต่าง
นายโชติพัฒน์ เล้าพูนพิทยะ นักศึกษาคณะเศรษฐศา...สตร์ ภาคภาษาอังกฤษ ม.ธรรมศาสตร์ เห็นว่ากลุ่มนักศึกษาที่ถูกจับกุมถือได้ว่าเป็นกระบอกเสียงให้นักศึกษาอีกจำนวนมากที่แม้จะไม่เห็นด้วยกับการก่อรัฐประหาร แต่ก็ไม่กล้าแสดงความเห็น เพราะกังวลว่าจะถูกควบคุมตัว และเกรงว่าพ่อแม่จะไม่อนุญาต
“ผมกล้ายอมรับเลยว่าตัวเองก็ไม่กล้าทำอย่างที่นักศึกษาที่ถูกจับทำ แม้ผมจะเห็นว่ารัฐบาลควรมาจากการเลือกตั้ง ประชาชนไม่ว่ายากดีมีจนต้องมีหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงเท่ากัน เมื่อเลือกตั้งแล้วผลออกมาเป็นอย่างไร ผมยอมรับได้ แต่อำนาจที่ได้มาจากการก่อรัฐประหารเป็นอำนาจที่หลายคนไม่ยอมรับ มันน่าขันที่คิดว่านักศึกษาเหล่านี้มีผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ทุกคนบรรลุนิติภาวะแล้ว สามารถคิดและตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง”
ด้าน น.ส.กันตพร วรพรรุจี นักศึกษาชั้นปีหนึ่ง จาก Goldsmiths University of London บอกว่า การจับกุมนักศึกษากลุ่มดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมาย โดยส่วนตัวเห็นว่านักศึกษาต้องมีส่วนร่วมทางการเมืองหรือสิ่งใดก็ตามที่เกี่ยวกับสังคม เพราะนักศึกษาจะต้องเข้าไปมีบทบาทในสังคมเหล่านั้นในอนาคต
น.ส.กันตพร เห็นว่าขบวนการนักศึกษาอ่อนแอลงนับตั้งแต่การศึกษาไทยเน้นรูปแบบในเชิงพาณิชย์ทำให้เบี่ยงเบนความสนใจของนักศึกษาไปจากการเมือง ขณะเดียวกันเชื่อว่าคงมีนักศึกษาที่มีความเห็นแต่ไม่กล้าแสดงออก เพราะเกรงจะได้รับการตอบรับที่ไม่ดีจากครอบครัว และเพื่อนที่เห็นต่าง
ด้านนายธนวัฒน์ ศิลาพร อดีตประธานชมรมไทยแห่ง School of Oriental and African Studies (SOAS) มหาวิทยาลัยแห่งลอนดอน มองการเคลื่อนไหวของนักศึกษาทั้งสองกลุ่มว่า เป็นผลมาจากการไม่เห็นความชอบธรรมของรัฐบาลและ คสช. ในการเข้ามาปฏิรูปประเทศและกระบวนการประชาธิปไตยของไทย การปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ทั้งในเรื่องการเมืองและเรื่องอื่นๆ รวมไปถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การใช้ศาลทหารตัดสินคดีอาญาต่างๆ
“ส่วนตัวผมเห็นว่าการออกมาเคลื่อนไหวเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะถึงแม้ว่าการชุมนุมต่างๆจะไม่มีผลกระทบในวงกว้าง จากการบังคับใช้มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว แต่มันก็แสดงให้รัฐบาลและ คสช. เห็นว่าพวกเขาควรจะระลึกไว้เสมอว่ายังมีคนอีกมากที่ไม่ได้เห็นด้วยกับสิ่งที่พวกเขาทำอยู่”
ด้าน น.ส.ธนภรณ์ สาลีผล นักศึกษาชั้นปีที่สาม คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เห็นว่า การแสดงออกของนักศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ และไม่ควรกันนักศึกษาออกไปจากการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพการณ์ปัจจุบันที่นักศึกษาถูกลดฐานะให้กลายเป็นเด็ก ซึ่งต่างจากในอดีตที่นักศึกษาเป็นแกนหลัก และเป็นผู้นำทางความคิดในสังคม
“ไม่ว่าใครออกมาประท้วง หรือเห็นต่าง หรือเห็นว่ารัฐประหารไม่ชอบธรรม คสช.ก็จะมองว่าถูกหนุนหลัง สำหรับนักศึกษานั้นดิฉันคิดว่าสังคมควรเลิกการตัดสินกันที่วัย นักศึกษาแม้อายุน้อยแต่ไม่ได้หมายความว่าไม่สามารถแยกแยะความผิดชอบชั่วดีได้ อย่าเอาเรื่องของวัยมาลดความน่าเชื่อถือของนักศึกษา”
ด้าน น.ส.กันตพร วรพรรุจี นักศึกษาชั้นปีหนึ่ง จาก Goldsmiths University of London บอกว่า การจับกุมนักศึกษากลุ่มดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมาย โดยส่วนตัวเห็นว่านักศึกษาต้องมีส่วนร่วมทางการเมืองหรือสิ่งใดก็ตามที่เกี่ยวกับสังคม เพราะนักศึกษาจะต้องเข้าไปมีบทบาทในสังคมเหล่านั้นในอนาคต
น.ส.กันตพร เห็นว่าขบวนการนักศึกษาอ่อนแอลงนับตั้งแต่การศึกษาไทยเน้นรูปแบบในเชิงพาณิชย์ทำให้เบี่ยงเบนความสนใจของนักศึกษาไปจากการเมือง ขณะเดียวกันเชื่อว่าคงมีนักศึกษาที่มีความเห็นแต่ไม่กล้าแสดงออก เพราะเกรงจะได้รับการตอบรับที่ไม่ดีจากครอบครัว และเพื่อนที่เห็นต่าง
ด้านนายธนวัฒน์ ศิลาพร อดีตประธานชมรมไทยแห่ง School of Oriental and African Studies (SOAS) มหาวิทยาลัยแห่งลอนดอน มองการเคลื่อนไหวของนักศึกษาทั้งสองกลุ่มว่า เป็นผลมาจากการไม่เห็นความชอบธรรมของรัฐบาลและ คสช. ในการเข้ามาปฏิรูปประเทศและกระบวนการประชาธิปไตยของไทย การปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ทั้งในเรื่องการเมืองและเรื่องอื่นๆ รวมไปถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การใช้ศาลทหารตัดสินคดีอาญาต่างๆ
“ส่วนตัวผมเห็นว่าการออกมาเคลื่อนไหวเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะถึงแม้ว่าการชุมนุมต่างๆจะไม่มีผลกระทบในวงกว้าง จากการบังคับใช้มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว แต่มันก็แสดงให้รัฐบาลและ คสช. เห็นว่าพวกเขาควรจะระลึกไว้เสมอว่ายังมีคนอีกมากที่ไม่ได้เห็นด้วยกับสิ่งที่พวกเขาทำอยู่”
ด้าน น.ส.ธนภรณ์ สาลีผล นักศึกษาชั้นปีที่สาม คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เห็นว่า การแสดงออกของนักศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ และไม่ควรกันนักศึกษาออกไปจากการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพการณ์ปัจจุบันที่นักศึกษาถูกลดฐานะให้กลายเป็นเด็ก ซึ่งต่างจากในอดีตที่นักศึกษาเป็นแกนหลัก และเป็นผู้นำทางความคิดในสังคม
“ไม่ว่าใครออกมาประท้วง หรือเห็นต่าง หรือเห็นว่ารัฐประหารไม่ชอบธรรม คสช.ก็จะมองว่าถูกหนุนหลัง สำหรับนักศึกษานั้นดิฉันคิดว่าสังคมควรเลิกการตัดสินกันที่วัย นักศึกษาแม้อายุน้อยแต่ไม่ได้หมายความว่าไม่สามารถแยกแยะความผิดชอบชั่วดีได้ อย่าเอาเรื่องของวัยมาลดความน่าเชื่อถือของนักศึกษา”
คลิกดูพิ่ม-Visa översättning
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar