รัชกาลที่
๓
กษัตริย์ผู้ฆ่าพระราชบิดา
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เป็นเพียงโอรสของเจ้าจอมมารดาเรียมและประสูตินอกเศวตฉัตร มีความทะเยอทะยานอยากเป็นกษัตริย์แทนเจ้าฟ้ามงกุฎมานานแล้ว ประจวบกับปลายรัชกาลที่ ๒ พระองค์ทรงหมกมุ่นอยู่กับการกวีและกามารมณ์ จึงปล่อยให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทำงานแทนพระเนตรพระกรรณร่วม ๒๐ ปี จึงใกล้ชิดรัชกาลที่ ๒ มากกว่าโอรสองค์อื่นๆ และจากพงศาวดารทำให้ทราบว่า ความจริงรัชกาลที่ ๒ ไม่ได้ประชวรมากนัก แต่เพราะเสวยพระโอสถที่จัดถวายโดยเจ้าจอมมารดาเรียม พระอาการจึงทรุดหนักและสวรรคตโดยปัจจุบันทันด่วน ก่อนหน้านี้ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์สั่งให้ทหารล้อมวัง ห้ามเข้าออก รัชกาลที่ ๒ จึงหมดโอกาสมอบบัลลังก์ให้เจ้าฟ้ามงกุฎ ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎเองต้องรีบร้อนออกบวชก่อนหน้านี้เพียง ๒ เดือน ราวกับทรงทราบว่ามหันตภัยสำหรับพระองค์กำลังจะคืบคลานเข้ามาหากไม่ละจากพระราชวัง แต่ก็ทรงจากไปด้วยภาวะ “ร้อนผ้าเหลือง” และก็ต้องร้อนไปเป็นเวลานาน เพราะไม่สามารถสะสมกำลังอย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม
แม้ว่ากรมหมื่นเจษฎาบดินทร์จะกดเจ้าฟ้ามงกุฎลงใต้บาทได้
ก็หาใช่จะห้ามไม่ให้ศักดินาอื่นสะสมกำลังเพื่อความมักใหญ่ใฝ่สูงได้
กรมหลวงรักษ์รณเรศ โอรสรัชกาลที่ ๑ “หน่อพุทธางกูร” องค์นี้
เริ่มสะสมไพร่พลมากขึ้นๆทุกที จนรัชกาลที่ ๓ ทนไม่ได้ จึงด่ากรมหลวงรณเรศว่า
“เป็นพืชพันธุ์ลูกอียายเดนเกือก เป็นคนอุบาทว์บ้านเมือง...” (๑) และว่า
“อย่าว่าแต่มนุษย์จะให้กรมฯรักษ์รณเรศเป็นกษัตริย์เลย
แม้แต่สัตว์เดรัจฉานมันก็ไม่ยอม” (๒) แล้วจึงให้จับกรมฯรักษ์รณเรศ
ยัดเข้าถุงแดงและให้ใช้ไม้ทุบจนตาย ทั้งนี้มีข้ออธิบายว่าที่ต้องฆ่าในถุงสีแดงนั้น
ก็เพราะความเจ้ายศเจ้าอย่างของพวกศักดินานั้นเอง ด้วยถือว่าเลือดพวกเจ้า
เป็นเลือดเทวดา พระโพธิสัตว์ เป็นของขลัง หากตกถึงแผ่นดิน
ปฐพีจะลุกขึ้นเป็นไฟและใช้ปลูกอะไรไม่ได้(๓)
จึงต้องฆ่าให้ตายในถุงสีแดง
นอกจากนี้รัชกาลที่ ๓
ก็เกิดขัดแย้งกับวังหน้าของพระองค์ คือกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์อีก
เรื่องนี้รัชกาลที่ ๕ เล่าว่าความสัมพันธ์ระหว่างวังหน้าและวังหลวงไม่ใคร่จะดีนัก
เหตุเพราะคราวหนึ่ง วังหน้าจะไปรบกับลาว กษัตริย์พระนั่งเกล้าไม่ไว้วางพระทัย
จึงบังคับให้วังหน้าดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเสียก่อน หลังจากนั้นมาไม่นาน
วังหน้าจะสร้างปราสาทมียอดขึ้นในวังของตน แต่รัชกาลที่ ๓ ทรงทราบจึงห้ามไว้
เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ทำให้วังหน้าน้อยพระทัยมาก(๔) ถ้าวังหน้าไม่สวรรคตไปก่อน
ความขัดแย้งระหว่างรัชกาลที่ ๓
กับวังหน้าจะต้องรุนแรงกว่านี้อย่างแน่นอน
มีข้อน่าสังเกตว่า การที่รัชกาลที่ ๓ ทรงอุปการะพระพุทธศาสนาเป็นพิเศษ อีกทั้งสร้างวัดวาอารามและเจดีย์ที่มีชื่อเสียงไว้มากมายนั้น เหตุผลสำคัญที่น่าสนใจคือ เพราะพระองค์ทรงปิตุฆาตจึงสร้างไว้เพื่อไถ่บาป(๕)
มีข้อน่าสังเกตว่า การที่รัชกาลที่ ๓ ทรงอุปการะพระพุทธศาสนาเป็นพิเศษ อีกทั้งสร้างวัดวาอารามและเจดีย์ที่มีชื่อเสียงไว้มากมายนั้น เหตุผลสำคัญที่น่าสนใจคือ เพราะพระองค์ทรงปิตุฆาตจึงสร้างไว้เพื่อไถ่บาป(๕)
ข้อความอ้างอิง
๑. ล้อม เพ็งแก้ว “ฟ้าอาภร(แปลกพักตร์ อาลักษณ์เดิม)” วารสารศิลปวัฒนธรรม
ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๘ เดือน มิ.ย. ๒๔ หน้า ๖๕
๒. เรื่องเดิม หน้า ๖๕
๓. มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เรื่องเดิม หน้า ๒๕
๔. ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เล่ม ๑ (แพร่พิทยา, ๒๕๑๖) หน้า ๖๕๙-๖๖๐
๕. ส.ธรรมยศ พระเจ้ากรุงสยาม (โรงพิมพ์ ส.สง่า ๒๔๙๕) หน้า ๑๐๑
๒. เรื่องเดิม หน้า ๖๕
๓. มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เรื่องเดิม หน้า ๒๕
๔. ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เล่ม ๑ (แพร่พิทยา, ๒๕๑๖) หน้า ๖๕๙-๖๖๐
๕. ส.ธรรมยศ พระเจ้ากรุงสยาม (โรงพิมพ์ ส.สง่า ๒๔๙๕) หน้า ๑๐๑
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar