นักวิชาการไทยและต่างประเทศชี้ร่างรัฐธรรมนูญขาดความสมดุลและกระบวนการร่างไม่โปร่งใส ระบุแม้จะมีการทำประชามติก็ไม่ได้ช่วยให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ด้านกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญยอมรับไม่ชอบธรรมแต่ยังหาทางออกไม่ได้จึงต้องทำประชามติเพื่อหาความชอบธรรม
ในโอกาสครบรอบ 800 ปี การตรามหากฎบัตรแมกนา คาร์ตา ซึ่งถือเป็นรากฐานของกฎหมายที่ใช้ในอังกฤษและอีกหลายประเทศทั่วโลก บีบีซีไทยและไทยพีบีเอส จัดการสนทนาในหัวข้อ 800 ปี แมกนา คาร์ตา 83 ปี ประชาธิปไตยไทย
ดร.ลี โจนส์ จากคณะรัฐศาสตร์ ควีน...แมรี มหาวิทยาลัยลอนดอน กล่าวตอนหนึ่งว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้ร่างขึ้นเพื่อการคงอยู่ของประชาธิปไตย แต่กลับทำให้หมดสภาพ และมีจุดประสงค์ในการจำกัดเจตจำนงของประชาชน “นายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง พรรคที่ได้รับความนิยมจะถูกลดที่นั่งในสภา ขณะที่พรรคที่ไม่ได้รับความนิยมจะได้รับที่นั่งมากขึ้น จะมีกลุ่มคนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเข้ามาแทรกแซงการเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายตุลาการ กลุ่มข้าราชการ องค์กรกำกับจริยธรรม จะมีอำนาจแทรกแซงกระบวนการทางการเมือง ฉะนั้นนโยบายหรือสถาบันที่ไม่ได้สนับสนุนชนชั้นนำจะถูกกำจัด ซึ่งแสดงว่ารัฐธรรมนูญนี้ไม่สนับสนุนประชาธิปไตย และผมไม่คิดว่ามีเหตุผลอะไรที่ประชาชนชาวไทยต้องรักษารัฐธรรมนูญที่เนื้อหาส่วนใหญ่เพิกเฉยประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ”
ดร.ลี โจนส์ จากคณะรัฐศาสตร์ ควีน...แมรี มหาวิทยาลัยลอนดอน กล่าวตอนหนึ่งว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้ร่างขึ้นเพื่อการคงอยู่ของประชาธิปไตย แต่กลับทำให้หมดสภาพ และมีจุดประสงค์ในการจำกัดเจตจำนงของประชาชน “นายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง พรรคที่ได้รับความนิยมจะถูกลดที่นั่งในสภา ขณะที่พรรคที่ไม่ได้รับความนิยมจะได้รับที่นั่งมากขึ้น จะมีกลุ่มคนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเข้ามาแทรกแซงการเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายตุลาการ กลุ่มข้าราชการ องค์กรกำกับจริยธรรม จะมีอำนาจแทรกแซงกระบวนการทางการเมือง ฉะนั้นนโยบายหรือสถาบันที่ไม่ได้สนับสนุนชนชั้นนำจะถูกกำจัด ซึ่งแสดงว่ารัฐธรรมนูญนี้ไม่สนับสนุนประชาธิปไตย และผมไม่คิดว่ามีเหตุผลอะไรที่ประชาชนชาวไทยต้องรักษารัฐธรรมนูญที่เนื้อหาส่วนใหญ่เพิกเฉยประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ”
ด้าน ดร.คาร์โล โบนูระ จากคณะรัฐศาสตร์ School of Oriental and African Studies (SOAS) กล่าวว่ากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญมีความซับซ้อนมาก และมีปัจจัยทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องหลายอย่าง รวมทั้งการที่ตัวแทนจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สามารถเสนอมาตราที่ต้องการถอดออกจากรัฐธรรมนูญได้ จึงไม่เป็นประชาธิปไตย และแม้จะมีการทำประชามติ แต่กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่โปร่งใสอย่างที่ควรจะเป็น
รศ.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผอ.สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาฯ กล่าวว่าหลักการโดยรวมในรัฐธรรมนูญ ยังไม่สมดุล ไม่ครอบคลุมถึงประชากรส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่โปร่งใส หากไม่มีการแก้ไขและทำให้รัฐธรรมนูญนี้สมดุลเราจะประสบปัญหามากขึ้น รศ.ฐิตินันท์ เห็นว่า การร่างรัฐธรรมนูญของไทยที่ผ่านมาไม่ได้คงไว้ซึ่งหลักการเบื้องต้นของประชาธิปไตย หลักนิติธรรม ซึ่งหมายความว่าทุกคนต้องเท่าเทียมกันโดยกฎหมายและการได้รับการยอมรับให้ปกครอง การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของไทยต้องเริ่มต้นใหม่ทุกครั้งจนทำให้เมืองไทยกลายสภาพเป็นสุสานรัฐธรรมนูญ
ด้าน รศ.เจษฏ์ โทนะวณิก กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยอมรับว่า ในภาพรวมกรรมาธิการยกร่างทั้ง 36 คนยังไม่พอใจกับรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่ การที่ระบุว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้ยังไม่มีความชอบธรรมเป็นคำพูดที่มีเหตุผล แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถหาทางออกได้ ดังนั้นจึงหาความชอบธรรมด้วยการทำประชามติ ทั้งนี้ รัฐบาลไม่เคยชี้นำหรือออกคำสั่งว่าควรร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร แต่ความที่เป็นฉบับชั่วคราว รัฐบาลมีสิทธิแสดงความเห็น และได้แสดงมาแล้ว 110 เรื่อง คณะกรรมาธิการฯ จะรับฟังความคิดเห็นเหล่านี้
รศ.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผอ.สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาฯ กล่าวว่าหลักการโดยรวมในรัฐธรรมนูญ ยังไม่สมดุล ไม่ครอบคลุมถึงประชากรส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่โปร่งใส หากไม่มีการแก้ไขและทำให้รัฐธรรมนูญนี้สมดุลเราจะประสบปัญหามากขึ้น รศ.ฐิตินันท์ เห็นว่า การร่างรัฐธรรมนูญของไทยที่ผ่านมาไม่ได้คงไว้ซึ่งหลักการเบื้องต้นของประชาธิปไตย หลักนิติธรรม ซึ่งหมายความว่าทุกคนต้องเท่าเทียมกันโดยกฎหมายและการได้รับการยอมรับให้ปกครอง การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของไทยต้องเริ่มต้นใหม่ทุกครั้งจนทำให้เมืองไทยกลายสภาพเป็นสุสานรัฐธรรมนูญ
ด้าน รศ.เจษฏ์ โทนะวณิก กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยอมรับว่า ในภาพรวมกรรมาธิการยกร่างทั้ง 36 คนยังไม่พอใจกับรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่ การที่ระบุว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้ยังไม่มีความชอบธรรมเป็นคำพูดที่มีเหตุผล แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถหาทางออกได้ ดังนั้นจึงหาความชอบธรรมด้วยการทำประชามติ ทั้งนี้ รัฐบาลไม่เคยชี้นำหรือออกคำสั่งว่าควรร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร แต่ความที่เป็นฉบับชั่วคราว รัฐบาลมีสิทธิแสดงความเห็น และได้แสดงมาแล้ว 110 เรื่อง คณะกรรมาธิการฯ จะรับฟังความคิดเห็นเหล่านี้
รัฐบาลสั่งห้ามจัดเสวนามาตรา 112
สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ออกแถลงการณ์ยกเลิกการจัดงานเสวนาเกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือกฎหมายว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 17 มิ.ย.นี้ หลังได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งได้รับคำสั่งมาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
FCCT ได้รับแจ้งว่า หากยังเดินหน้าจัดงานเสวนาต่อไป ทหารจะส่งกำลังไปปิดล้อมอาคาร มณียาเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสมาคมฯ โดยจดหมายขอความร่วมมือจากตำรวจที่ส่งไปยังสมาคมฯ เมื่อสั...ปดาห์ก่อน ระบุว่า งานเสวนาดังกล่าวจะก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคมไทย อีกทั้งยังเป็นการยุยงให้คนทำผิดกฎหมาย และสร้างความวุ่นวายในสังคม
พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก และโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ บอกกับบีบีซีไทยว่า ยังไม่ทราบข้อมูล และจะชี้แจงเรื่องนี้ในวันพรุ่งนี้
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar