fredag 26 juni 2015

มาทำความรู้จักศาลทหาร



เพจ ประชาไท


เหตุผลที่อ้างว่าต้องมีศาลทหาร
1.หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา
2.ความเป็นระเบียบวินัยของทหาร
3.ความสงบเรียบร้อย รวดเร็ว เด็ดขาด
.
สังกัด
-กระทรวงกลาโหม
.
ประเภทของศาลทหาร
1.ศาลทหารในเวลาปกติ
2.ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ **ขณะนี้ท่านอยู่ที่นี่**
3.ศาลอาญาศึก
.
ลักษณะของศาลทหารในเวลาไม่ปกติ
-บุคคลที่ต้องถูกพิจารณาจะเป็นทั้งทหารและพลเรือน ที่กระทำความผิดในคดีอาญาที่มีการประกาศให้ต้องขึ้นศาลทหารเพิ่มเติมในเวลาไม่ปกติ
.
การแต่งตั้งถอดถอนตุลาการศาลทหาร
1.กษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอน ตุลาการศาลทหารสูงสุดและศาลทหารกลาง
2.ผู้บังคับบัญชาทหารและรัฐมนตรีกลาโหม เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนตุลาการในศาลทหารชั้นต้น
.
คุณสมบัติตุลาการ
1.”ตุลาการพระธรรมนูญ” ต้องเป็นนายทหารสัญบัตร จบนิติศาสตร์
2. “ตุลาการ” เป็นนายทหารสัญบัตร มียศสูงหรือเท่าจำเลย ไม่ต้องจบนิติศาสตร์
.
สัดส่วนผู้พิพากษา
ชั้นต้น = ตุลาการพระธรรมนูญ 1 นาย+ตุลาการ 2 นาย **ท่านอยู่ที่นี่**
ชั้นกลาง=ตุลาการพระธรรมนูญ 2 นาย+ตุลาการ 3 นาย
ศาลทหารสูงสุด = ตุลาการพระธรรมนูญ 3 นาย+ตุลาการ 2 นาย
.
วิธีการพิจารณาความ
1.การควบคุม
-ผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งควบคุมตัว “บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหร ที่กระทำผิดคดีอาญาทั้งที่อยู่ และไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหารได้ 90 วัน (กำลัพยายามให้อำนาจนี้ใช้กับการควบคุมตัว “พลเรือน” ได้ด้วยในร่างแก้ไข **ท่านกำลังจะอยู่ที่นี่**)
.
2.การสอบสวน
-สอบสวนโดยนายทหารพระธรรมนูญหรืออัยการทหาร รวมทั้งนายทหารสัญบัตรอื่นๆ ตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา
-ไม่ถูกจำกัดให้อยู่เฉพาะเขตพื้นที่
.
3.การฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา
-อัยการทหารเท่านั้นที่จะป็นโจทก์ได้
-คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา อัยการทหารเรียกร้องให้คืนทรัพย์หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รัฐบาลเท่านั้น
.
4.การพิจารณาคดี
-จำเลยแต่งทนายู้คดีในศาลทหารได้ ยกเว้นศาลอาญาศึก
-พิจารณาลับหลังจำเลยได้ ถ้าจำเลยรับสารภาพหรือไม่ติดใจฟัง
.
5.การอุทธรณ์/ฎีกา
-อุทธรณ์ฎีกาได้เฉพาะศาลทหารในเวลาปกติ ฉะนั้น เวลานี้เป็นศาล
-ทหารในเวลาไม่ปกติจึงไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาได้ **ท่านอยู่ที่นี่**
ผู้มีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาคือ คู่ความ ภายใน 15 วัน และผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการหรือผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ ภายใน 30 วัน

(ขอบคุณข้อมูลจากสาวตรี สุขศรี)

อ่านรายละเอียดเข้มข้นได้ที่
http://www.prachatai.com/journal/2015/03/58472

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar