måndag 8 februari 2016

"อวสานโลกสวย:วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 "



Prachatais foto.
รับชมการถ่ายทอดสดงานเสวนา "อวสานโลกสวย:วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 " ได้ที่ลิงก์ด้านล่างในเวลา 16.30 น. นี้
คลิกดู-http://livestream.com/accounts/16392196/events/4797719
Prachatais foto.
"การที่เราออกแบบอำนาจ Impeachment ไปให้กับ ศาลรัฐธรรมนูญ จะเป็นปัญหาอย่างมากหากถูกนำไปใช้จริงๆ นั้นแปลว่าคุณดึงเอาศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาเป็นคู่ขัดเเย้งอย่างเต็มตัว และต่อไปเวลาตุลาการมีคำวินิจฉัยจะเป็นปัญหาทันที เพราะถูกดึงมาเป็นคู่ขัดแย้ง ฝ่ายการเมืองก็จะไม่ยอมรับในคำตัดสิน และหากเป็นอย่างนั้นประเทศก็จะล่มสลาย ตัวอย่างมีให้เห็นในหลายประเทศ ในลาตินอเมริกา"
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการที่รัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ออกแบบอำนาจในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยกำหนดให้เป็นไปตามการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จากเดิมเป็นอำนาจของวุฒิสภา
โดยกล่าวในงาน เวทีเสวนาวิชาการ หัวข้อ อวสานโลกสวย: วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 ณ ห้องประชุมชั้น 13 ตึกเกษม อุทยานิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2559
Prachatais foto.
เราร่างรัฐธรรมนูญ เพียงเพื่อไม่ต้องการให้คนขี้โกงเข้ามาได้
"เราพยายามที่จะไม่ให้นักการเมืองที่ทุจริตเข้ามา หรือถ้าได้เข้ามาแล้วก็ต้องหาวิธีให้เขาออกไป จึงมีการเพิ่มอำนาจให้กับ กกต. มี กรธ. ท่านหนึ่งเป็นอดีต กกต. ไปพบการทุจริตในการเลือกตั้ง ตอนนับคะเเนนบัตรหมาย 5 แต่คนนับคะแนนออกเสียงว่า 2 กตต. เห็นแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ด้วยกลไกจะต้องกลับมานั่งประชุมกันก่อน 5 คน แต่สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือ ถ้าอาจารย์พิชญ์ เป็นกกต. เดินไปเห็นคนโกง อาจารย์สั่งให้ยกเลิกการเลือกตั้งได้เลย
เราเพิ่มอำนา...จให้ กกต. เพียงเพื่อไม่ให้คนขี้โกงเข้ามาได้"

ศุภชัย ยาวะประภาษ กรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ และอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงาน เวทีเสวนาวิชาการ หัวข้อ อวสานโลกสวย: วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 ณ ห้องประชุมชั้น 13 ตึกเกษม อุทยานิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2559
Prachatais foto.

"คำถามคือประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คืออะไร ศาลรัฐธรรมนูญจะตีความเรื่องนี้อย่างไร และอีกคำถามคือ ฐานความชอบธรรมของศาลรัฐธรรมนูญที่จะมาวินิจฉัยมาจากไหน ถ้าศาลวินิจฉัยไปแล้วไม่มีคนทำตาม นั้นจะกลายเป็นการทำให้เกิดวิกฤติรอบใหม่หรือไม่"
สิริพรรณ นกสวน สวัสดี กล่าวถึงการมอบอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามมาตรา 7 (เดิมในรัฐธรรมนูญ 2550) รัฐธรรมนูญฉบับมีชัยระบุเรื่องดังกล่าวไว้ใน มาตรา207 โดยระบุให้ในกรณีที่ไม่มีบทญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่จะยกมาปรับแก่กรณีใด ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีนั้นตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
โดยกล่าวในงาน เวทีเสวนาวิชาการ หัวข้อ อวสานโลกสวย: วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 ณ ห้องประชุมชั้น 13 ตึกเกษม อุทยานิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2559
Prachatais foto.
Prachatais foto.




อ่านรายละเอียดการเสวนาทั้งหมด -http://prachatai.org/journal/2016/02/63949 ‪#‎อวสานโลกสวย













Inga kommentarer:

Skicka en kommentar