"การปฏิรูปของประเทศไทย คือการกระชับและสืบทอดอำนาจของชนชั้นผู้ดีสมัยใหม่ (modern aristocratic class).... พวกอภิชนใหม่ (modern aristocrats) ...ความพยายามของพวกเขาที่จะครอบงำชนชั้นการเมืองและประชาสังคมจะนำไปสู่ความขัดแย้งและการเผชิญหน้ามากขึ้นไปอีก..."
หุหุ ทายซิครับ นี่คือคำของใคร?
.................
เฉลย: ของ กษิต ภิรมย์ ในบทความที่เพิ่งเผยแพร่ทางเว็บของ นสพ. นิเคอิ เอเซียนรีวิว Nikkei Asian Review - ไม่แน่ใจว่า ฉบับพิมพ์ของ นสพ จะมีบทความนี้หรือไม่? ใครต้องการอ่านต้นฉบับเต็มภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่ยาวนัก เสิร์ชชื่อนี้ Thai conservatives risk chaos in pursuit of power (พวกอนุรักษ์นิยมไทยเสี่ยงต่อความปั่นป่วนวุ่นวายเพื่อแสวงอำนาจ)
กษิต นี่ บทจะเขียนหรือพูดดี ก็พูดได้ดีทีเดียว อย่างทีผมเคยเขียนถึงมาก่อน #ถ้านับเฉพาะนักการเมืองด้วยกัน ในรอบ 10 ปีของวิกฤตินี้ กษิตเป็นคนที่เคยพูดเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่ดีทีสุด ไม่มีนักการเมืองคนไหน รวมทั้งฝั่งเพื่อไทย come close หรือเคยพูดได้ใกล้เคียงระดับที่เขาพูดที่ มหาวิทยาลัยจอห์น ฮ้อปกิ้นส์ เมื่อ 12 เมษายน 2553 - เอามาให้ดู "เตือนความจำ" อีกครั้ง:
".... ผมคิดว่า เราต้องพูดเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ [ว่า] สถาบันกษัตริย์จะต้องปฏิรูปตัวเองอย่างไรให้สอดคล้องกับโลกยุคโลกาภิวัฒน์สมัยใหม่ เช่นเดียวกับที่สถาบันกษัตริย์อังกฤษ, สถาบันกษัตริย์เนเธอแลนด์, เดนมาร์ค, ลิชเต็นสไตน์ ต้องผ่านอะไรมาบ้าง เพื่อปรับตัวเองเข้ากับโลกสมัยใหม่ ...."
".... ผมคิดว่า เราต้องกล้าพอที่จะผ่านสิ่งเหล่านี้ และพูดกันแม้แต่ในประเด็น 'ต้องห้าม' เรื่องสถาบันกษัตริย์. เราต้องทำให้เหมือน ลิชเก็นสไตน์ หรือ ลักเซ็มเบิร์ก ที่ต้องผ่านสิ่งเหล่านั้น. ทุกวันนี้ ทุกสิ่งทุกอย่าง [ควร] จะกลายเป็นเรื่องเปิด เพื่อที่จะได้ไม่เป็นอะไรที่ถูกซ่อนไว้ใน 'ยาฮู' หรือ 'กูเกิ้ล' อะไรแบบนั้น ไม่จำกัดเป็นแค่เรื่องถกเถียงกันใต้ดิน ใต้โต๊ะ อะไรแบบนั้น เราต้องซื่อตรงต่อกันและกัน ขอให้เรามาอภิปรายกันในเรื่องเหล่านี้ ...."
............
แน่นอน ปัญหาของกษิตคือ ในบรรดาการพูด - สมมุติว่าสัก 100 ครั้งใน 10 ปีนี้ 98-99 ครั้งล้วนเป็นการพูดที่ห่วยแตก จะมี "หลุด" พูดได้ดีแบบกรณีการพูดที่จอห์น ฮ้อปกิ้นส์ หรือในบทความล่าสุดใน นิเคอิ เอเชียนรีวิว สัก 1-2 ครั้ง แล้วพอหลังจาก "หลุด" แบบใช้ได้นี่ออกมาแล้ว ก็ไม่มีอะไรตามมา คือไม่มีความกล้าหาญทางความเชื่อ (courage of conviction) ที่จะพูดและทำต่อ หันกลับไปพูดอะไรห่วยแตกอีก 99 ครั้งอะไรทำนองนั้น (กรณีการพูดทีจอห์น ฮ้อปกิ้นส์ หลายคนคงจำได้ว่า พอเป็นข่าวขึ้นมา กษิต ก็รีบออกมาพูดในลักษณะ "ถอนคำพูด" หรือปฏิเสธเป็นพัลวัน)
ขอให้สังเกตด้วยว่า ในบทความ นิเคอิ เอเชียนรีวิว กษิตจงใจใช้คำว่า "ชนชั้นผู้ดี" หรือ "อภิชน" (aristocrats) ซึ่งมีนัยยะในเชิงแบบคำไทยๆว่า "อำมาตย์" "ศักดินา" อะไรประมาณนั้นด้วย
หุหุ ทายซิครับ นี่คือคำของใคร?
.................
เฉลย: ของ กษิต ภิรมย์ ในบทความที่เพิ่งเผยแพร่ทางเว็บของ นสพ. นิเคอิ เอเซียนรีวิว Nikkei Asian Review - ไม่แน่ใจว่า ฉบับพิมพ์ของ นสพ จะมีบทความนี้หรือไม่? ใครต้องการอ่านต้นฉบับเต็มภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่ยาวนัก เสิร์ชชื่อนี้ Thai conservatives risk chaos in pursuit of power (พวกอนุรักษ์นิยมไทยเสี่ยงต่อความปั่นป่วนวุ่นวายเพื่อแสวงอำนาจ)
กษิต นี่ บทจะเขียนหรือพูดดี ก็พูดได้ดีทีเดียว อย่างทีผมเคยเขียนถึงมาก่อน #ถ้านับเฉพาะนักการเมืองด้วยกัน ในรอบ 10 ปีของวิกฤตินี้ กษิตเป็นคนที่เคยพูดเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่ดีทีสุด ไม่มีนักการเมืองคนไหน รวมทั้งฝั่งเพื่อไทย come close หรือเคยพูดได้ใกล้เคียงระดับที่เขาพูดที่ มหาวิทยาลัยจอห์น ฮ้อปกิ้นส์ เมื่อ 12 เมษายน 2553 - เอามาให้ดู "เตือนความจำ" อีกครั้ง:
".... ผมคิดว่า เราต้องพูดเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ [ว่า] สถาบันกษัตริย์จะต้องปฏิรูปตัวเองอย่างไรให้สอดคล้องกับโลกยุคโลกาภิวัฒน์สมัยใหม่ เช่นเดียวกับที่สถาบันกษัตริย์อังกฤษ, สถาบันกษัตริย์เนเธอแลนด์, เดนมาร์ค, ลิชเต็นสไตน์ ต้องผ่านอะไรมาบ้าง เพื่อปรับตัวเองเข้ากับโลกสมัยใหม่ ...."
".... ผมคิดว่า เราต้องกล้าพอที่จะผ่านสิ่งเหล่านี้ และพูดกันแม้แต่ในประเด็น 'ต้องห้าม' เรื่องสถาบันกษัตริย์. เราต้องทำให้เหมือน ลิชเก็นสไตน์ หรือ ลักเซ็มเบิร์ก ที่ต้องผ่านสิ่งเหล่านั้น. ทุกวันนี้ ทุกสิ่งทุกอย่าง [ควร] จะกลายเป็นเรื่องเปิด เพื่อที่จะได้ไม่เป็นอะไรที่ถูกซ่อนไว้ใน 'ยาฮู' หรือ 'กูเกิ้ล' อะไรแบบนั้น ไม่จำกัดเป็นแค่เรื่องถกเถียงกันใต้ดิน ใต้โต๊ะ อะไรแบบนั้น เราต้องซื่อตรงต่อกันและกัน ขอให้เรามาอภิปรายกันในเรื่องเหล่านี้ ...."
............
แน่นอน ปัญหาของกษิตคือ ในบรรดาการพูด - สมมุติว่าสัก 100 ครั้งใน 10 ปีนี้ 98-99 ครั้งล้วนเป็นการพูดที่ห่วยแตก จะมี "หลุด" พูดได้ดีแบบกรณีการพูดที่จอห์น ฮ้อปกิ้นส์ หรือในบทความล่าสุดใน นิเคอิ เอเชียนรีวิว สัก 1-2 ครั้ง แล้วพอหลังจาก "หลุด" แบบใช้ได้นี่ออกมาแล้ว ก็ไม่มีอะไรตามมา คือไม่มีความกล้าหาญทางความเชื่อ (courage of conviction) ที่จะพูดและทำต่อ หันกลับไปพูดอะไรห่วยแตกอีก 99 ครั้งอะไรทำนองนั้น (กรณีการพูดทีจอห์น ฮ้อปกิ้นส์ หลายคนคงจำได้ว่า พอเป็นข่าวขึ้นมา กษิต ก็รีบออกมาพูดในลักษณะ "ถอนคำพูด" หรือปฏิเสธเป็นพัลวัน)
ขอให้สังเกตด้วยว่า ในบทความ นิเคอิ เอเชียนรีวิว กษิตจงใจใช้คำว่า "ชนชั้นผู้ดี" หรือ "อภิชน" (aristocrats) ซึ่งมีนัยยะในเชิงแบบคำไทยๆว่า "อำมาตย์" "ศักดินา" อะไรประมาณนั้นด้วย
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar