เขื่อนแม่วงก์กับโครงการ ธ ประสงค์ใด
ตั้งแต่เมื่อวาน ประเด็นที่ผมต้องการเสนอคือ ในเมืองไทย ถ้าคุณอยากสร้างเขื่อนไม่ให้คนค้านเยอะ ๆ ต้องเป็น “เขื่อนหลวง” ต้องเป็นโครงการที่ลงท้ายด้วย “อันเนื่องมาจากพระราชดำริ”
ส่วนโครงการเขื่อนใหญ่อย่างอื่น โดนต่อต้านหนัก โดยเฉพาะเขื่อนแม่วงก์ ซึ่งไม่มีวลีนี้ต่อสร้อย (ดูลิงก์จากเว็บไซต์ของกรมชลประทานด้านล่างนะครับ “โครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์” เฉย ๆ ไม่มี “อันเนื่องมาจากพระราชดำริ”) ส่วนเรื่องพระราชดำรัสเกี่ยวแน่ แต่ไม่เกี่ยว “อย่างเป็นทางการ”
ความจริงในรอบ 20 ปีมานี้ โครงการเขื่อนเพื่อชลประทานและ “บรรเทาอุทกภัย” ขนาดใหญ่ในภาคกลางเหล่านี้ สร้างมาแล้วหลายแห่งโดยเฉพาะ “โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ลพบุรี” (เขื่อนป่าสัก) และ “โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นครนายก” (เขื่อนท่าด่าน) ส่วนเขื่อนแม่วงก์ เป็นไปตาม “ข้อเสนอแนะ” จากผลจากการศึกษาของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตาม "โครงการจัดทำกรอบและประสานการบริหารจัดการและทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา" ("โครงการ ธ ประสงค์ใด") ตั้งแต่หลายปีก่อน
งานศึกษาของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 30 ตุลาคม 2544 เรื่อง “อนุมัติในหลักการโครงการจัดทำกรอบและประสานการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา” สมัยคุณทักษิณเป็นนายกฯ ปีแรกนั่นแหละครับ เป็นที่มาของชุดเขื่อนจำนวนมาก (รวมทั้งเขื่อนแก่งเสื้อเต้นด้วย) ลองอ่านรายละเอียดดู (มติชน) และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ได้สร้างเขื่อนเฉพาะเมืองไทย แต่เคยมีหุ้นถึง 10% อยู่ในบริษัท MDX (สุบิน ปิ่นขยันเป็นประธานกรรมการ และผู้ก่อตั้ง) ซึ่งสร้างเขื่อนในอินโดจีน และพม่า
ครั้งหนึ่งเมื่อปี 1995 มีข่าวว่า MDX ที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ถือหุ้นจะจ้างทหาร “เขมรแดง” เข้าไปสร้างเขื่อนที่เกาะกงด้วย (ดู The Phnom Penh Post) อันนี้ยังไม่นับกรณีที่ธนาคารไทยอย่างธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้ให้กู้รายใหญ่กับโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ในลาว อย่างเขื่อนไซยะบุรีอีก แล้วใครถือหุ้นใหญ่ใน SCB?
ทั้งหมดอยากชี้ให้เห็นคร่าว ๆ ซึ่งคงอธิบายไม่ได้มากไปกว่านี้ว่า สถาบันเบื้องบนมีความกระตือรือร้นสนใจในการพัฒนาโครงการด้านน้ำขนาดใหญ่มากน้อยแค่ไหน การเข้ามาเกี่ยวข้องของสถาบันเบื้องบนมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของฝ่ายบริหารว่าจะเอาหรือไม่เอาโครงการเหล่านี้มากน้อยเพียงใด ส่วนตัวผมคิดว่ามีอิทธิพล ซึ่งทำให้การดำเนินงานผ่านฉลุย และมีการตรวจสอบน้อยว่าปรกติ ทั้งในแง่ผลกระทบด้านต่าง ๆ และคอร์รัปชันการจ่ายค่าชดเชยที่ดิน
มติครม. 30 ตุลาคม 2544
http://www.eppo.go.th/admin/cab/cab-2544-10-30.html#9
http://www.cabinet.thaigov.go.th/pol44_1030.htm
โครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์
http://kromchol.rid.go.th/lproject/2010/index.php/2011-05-02-14-11-54/59-2011-05-08-14-36-21/159-2011-05-17-06-29-39
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ลพบุรี
http://kromchol.rid.go.th/lproject/2010/index.php/2011-05-02-14-11-54/60-2011-05-08-14-36-40/260-2011-10-29-07-54-16
โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นครนายก
http://kromchol.rid.go.th/lproject/2010/index.php/2011-05-02-14-11-54/60-2011-05-08-14-36-40/483-2013-07-09-09-00-23
โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี
http://kromchol.rid.go.th/lproject/2010/index.php/2011-05-02-14-11-54/58-2011-05-08-14-35-37/150-2011-05-17-06-17-24
เปิดเอกสารสำนักงานทรัพย์สินฯ วางแผน3ระยะ สั้น-กลาง-ยาว แก้ปัญหาน้ำ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321065977&grpid=01&catid=01
กรณีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นใน MDX สร้างเขื่อนเทินหุนบุนในลาว
http://www.adbi.org/working-paper/2010/09/02/4056.national.regional.investors.financing.infrastructure.asia/crossborder.investment.projects.in.asia.review.of.selected.case.studies/
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นใน MDX รายงานประจำปี 2549 ของ MDX
“บริษัท จี เอ็ม เอส เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ได้ก่อตั้งบริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ ลาว จำกัด ขึ้นในปี 2537 โดยร่วมทุนกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อลงทุนพัฒนาโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าเอกชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว (ลาว)”
http://www.mdx.co.th/textfile/report/AR%20MDX%2049.pdf
กรณีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นใน MDX เพื่อสร้างเขื่อนในกัมพูชา
http://www.phnompenhpost.com/national/thai-dam-builders-say-they-will-hire-kr
ความจริงในรอบ 20 ปีมานี้ โครงการเขื่อนเพื่อชลประทานและ “บรรเทาอุทกภัย” ขนาดใหญ่ในภาคกลางเหล่านี้ สร้างมาแล้วหลายแห่งโดยเฉพาะ “โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ลพบุรี” (เขื่อนป่าสัก) และ “โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นครนายก” (เขื่อนท่าด่าน) ส่วนเขื่อนแม่วงก์ เป็นไปตาม “ข้อเสนอแนะ” จากผลจากการศึกษาของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตาม "โครงการจัดทำกรอบและประสานการบริหารจัดการและทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา" ("โครงการ ธ ประสงค์ใด") ตั้งแต่หลายปีก่อน
งานศึกษาของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 30 ตุลาคม 2544 เรื่อง “อนุมัติในหลักการโครงการจัดทำกรอบและประสานการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา” สมัยคุณทักษิณเป็นนายกฯ ปีแรกนั่นแหละครับ เป็นที่มาของชุดเขื่อนจำนวนมาก (รวมทั้งเขื่อนแก่งเสื้อเต้นด้วย) ลองอ่านรายละเอียดดู (มติชน) และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ได้สร้างเขื่อนเฉพาะเมืองไทย แต่เคยมีหุ้นถึง 10% อยู่ในบริษัท MDX (สุบิน ปิ่นขยันเป็นประธานกรรมการ และผู้ก่อตั้ง) ซึ่งสร้างเขื่อนในอินโดจีน และพม่า
ครั้งหนึ่งเมื่อปี 1995 มีข่าวว่า MDX ที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ถือหุ้นจะจ้างทหาร “เขมรแดง” เข้าไปสร้างเขื่อนที่เกาะกงด้วย (ดู The Phnom Penh Post) อันนี้ยังไม่นับกรณีที่ธนาคารไทยอย่างธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้ให้กู้รายใหญ่กับโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ในลาว อย่างเขื่อนไซยะบุรีอีก แล้วใครถือหุ้นใหญ่ใน SCB?
ทั้งหมดอยากชี้ให้เห็นคร่าว ๆ ซึ่งคงอธิบายไม่ได้มากไปกว่านี้ว่า สถาบันเบื้องบนมีความกระตือรือร้นสนใจในการพัฒนาโครงการด้านน้ำขนาดใหญ่มากน้อยแค่ไหน การเข้ามาเกี่ยวข้องของสถาบันเบื้องบนมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของฝ่ายบริหารว่าจะเอาหรือไม่เอาโครงการเหล่านี้มากน้อยเพียงใด ส่วนตัวผมคิดว่ามีอิทธิพล ซึ่งทำให้การดำเนินงานผ่านฉลุย และมีการตรวจสอบน้อยว่าปรกติ ทั้งในแง่ผลกระทบด้านต่าง ๆ และคอร์รัปชันการจ่ายค่าชดเชยที่ดิน
มติครม. 30 ตุลาคม 2544
http://www.eppo.go.th/admin/cab/cab-2544-10-30.html#9
http://www.cabinet.thaigov.go.th/pol44_1030.htm
โครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์
http://kromchol.rid.go.th/lproject/2010/index.php/2011-05-02-14-11-54/59-2011-05-08-14-36-21/159-2011-05-17-06-29-39
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ลพบุรี
http://kromchol.rid.go.th/lproject/2010/index.php/2011-05-02-14-11-54/60-2011-05-08-14-36-40/260-2011-10-29-07-54-16
โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นครนายก
http://kromchol.rid.go.th/lproject/2010/index.php/2011-05-02-14-11-54/60-2011-05-08-14-36-40/483-2013-07-09-09-00-23
โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี
http://kromchol.rid.go.th/lproject/2010/index.php/2011-05-02-14-11-54/58-2011-05-08-14-35-37/150-2011-05-17-06-17-24
เปิดเอกสารสำนักงานทรัพย์สินฯ วางแผน3ระยะ สั้น-กลาง-ยาว แก้ปัญหาน้ำ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321065977&grpid=01&catid=01
กรณีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นใน MDX สร้างเขื่อนเทินหุนบุนในลาว
http://www.adbi.org/working-paper/2010/09/02/4056.national.regional.investors.financing.infrastructure.asia/crossborder.investment.projects.in.asia.review.of.selected.case.studies/
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นใน MDX รายงานประจำปี 2549 ของ MDX
“บริษัท จี เอ็ม เอส เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ได้ก่อตั้งบริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ ลาว จำกัด ขึ้นในปี 2537 โดยร่วมทุนกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อลงทุนพัฒนาโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าเอกชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว (ลาว)”
http://www.mdx.co.th/textfile/report/AR%20MDX%2049.pdf
กรณีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นใน MDX เพื่อสร้างเขื่อนในกัมพูชา
http://www.phnompenhpost.com/national/thai-dam-builders-say-they-will-hire-kr
ข่าวจาก ThaiE- New
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar