fredag 27 september 2013

....ระบอบประชาธิปไตย ...."ภูฐาน."..ประเทศเล็กๆที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพรู้จักคิดตัดสินใจได้เองอยู่กับความเป็นจริง ไม่หลงไหลได้ปลื้มกับการพัฒนาแบบเศรษฐกิจแบบ"พอเพียง" ผู้คนยึด"ความสุข" และ ที่สำคัญคือ กษัตริย์"ภูฐาน"ไม่สั่งให้ทหารยึดอำนาจเมื่อแพ้เลือกตั้งเหมือนประเทศไทย ปล่อยให้"ชาวภูฐาน"มีสิทธฺิเสรีภาพเลือกอนาคตของตัวเอง นี่คือระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง กษัตริย์ไทยควรดูเป็นตัวอย่าง......


โลกสวยล่มคนภูฎานเลิกพอเพียงเทเสียงให้ฝ่้ายค้าน
 
ข่าวจากThai E- News
 

ประเทศในนิทาน-กษัตริย์รูปงาม ราชินีผู้เลอโฉม ปกครองดินแดนแห่งความสุข ซึ่งบรรดาโลกสวยชาวไทยเพ้อฝัน กำลังจะเป็นตำนาน เมื่อผลการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยออกมาล่าสุดว่า พลเมืองประเทศนั้นได้ปฏิเสธมันแล้ว






GNH vs GDP ช่วงหลายปีมานี้ แนวโลกสวยบ้านเรามักขายฝัน “ภูฏาน” ว่าเป็นประเทศ “พอเพียง” ผู้คนยึด “ความสุข” (GNH) เป็นหลักมากกว่า “ความร่ำรวย” (GDP) 

และตอนที่ภูฏานจัดเลือกตั้งครั้งแรกตามพระดำริของกษัตริย์หนุ่มรูปงามขวัญใจสลิ่มไทยเมื่อปี 2008 ปรากฏว่าพรรค DPT ที่มีกษัตริย์หนุนหลังชนะขาดลอยได้ไป 45 (จาก 47) ที่นั่ง 
 
แต่จากการเลือกตั้งล่าสุดเมื่ก.ค.ที่ผ่านมา พรรคฝ่ายค้านเดิมหรือ People's Democratic Party (PDP) พลิกล็อกเป็นฝ่ายชนะครับ ได้ที่นั่งไป 32 ส่วนพรรคกษัตริย์ได้ไปแค่ 15 ที่นั่ง

พรรค PDP มีนายTshering Togbay เป็นหัวหน้าพรรค เขาจบปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากฮาวาร์ด เขาบอกว่าที่พรรคเขาชนะเลือกตั้ง และเขาได้เป็นนายกฯ คนใหม่แทน เป็นเพราะเขาประกาศว่าจะเลิกใช้แนวทางพัฒนาแบบเศรษฐกิจ “พอเพียง” น่ะสิครับ เขาบอกว่ามันเป็นเพียง “empty slogan” ประเทศเสียเวลาให้กับการแสวงหา “ความสุข” มากเกินไป จนหนี้สินท่วมหัว คนว่างงานกันเยอะแยะไปหมด เขาหวังว่าจะกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวให้มากขึ้น และพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางการสร้าง GDP แบบที่นานาอารยประเทศเขาทำกัน ประชาชนเห็นด้วยกับเขาจึงโหวตเขาเข้ามา

ข่าวนี้ประกาศให้บรรดาโลกสวยได้ทราบกันนะครับ เผื่อจะได้เลือกไป “พอเพียง” ในประเทศอื่นบ้าง (ปล. ข่าวนี้ผมอ่านจากบทความของอ.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ในมติชน แต่เดี๋ยวนี้เขาไม่ปล่อยให้อ่านกันฟรี เลยต้องสรุปความใหม่ก็แล้วกัน)

http://thediplomat.com/the-pulse/2013/07/18/bhutan-election-results-a-marker-of-gross-national-unhappiness/


โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์


ราช อาณาจักรภูฏานเป็นประเทศเล็กๆ ไม่มีทางออกทะเล ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยล้อมรอบด้วยประเทศยักษ์ใหญ่ทั้ง 2
แห่งทวีปเอเชียคือ อินเดียทางใต้และจีนทางเหนือ ซึ่งการรักษาเอกราชของประเทศ จึงเป็นเรื่องที่ยากลำบากยิ่ง  ในขณะที่ประเทศ ทิเบตที่ตั้งอยู่ทางเหนือพรมแดนติดกับภูฏานก็ถูกจีนยึดครองใน พ.ศ.2493 และประเทศสิกขิมที่อยู่ทางทิศตะวันตก
พรมแดนติดกับภูฏานเช่นกันก็ถูกอินเดีย ยึดครองไปใน พ.ศ.2518
ภูฏานเป็นภาษาสันสกฤตแปลว่า "แผ่นดินบนที่สูง" แต่คนภูฏานเรียกดินแดนของพวกเขาว่า "ดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า"

ภูฏานมีเนื้อที่ประมาณ 38,394 ตารางกิโลเมตร (ใหญ่

ขนาดจังหวัดนครราชสีมากับอุบลราชธานีรวมกันเท่นั้นแหละ)

มีประชากรประมาณ 750,000 คน ภูฏานเป็นประเทศที่ถูกจัดโดยสหประชาชาติว่าเป็นประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (Least developed country-LDC)
ที่มีอยู่ 14 ประเทศในทวีปเอเชียโดยวัดจากความยากจน, ทรัพยากรมนุษย์ที่อ่อนแอทางด้านโภชนาการ, สุขภาพ, การศึกษากับจำนวนผู้รู้หนังสือ
และความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจที่ขึ้นอยู่กับผลิตผลทางการเกษตรที่มีราคาปรวน แปรสูง เป็นต้น
ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของภูฏานเริ่มขึ้นใน พ.ศ.2450 เมื่อราชวงศ์วังชุกขึ้นเถลิงอำนาจเป็นพระราชาธิบดีปกครองภูฏานแบบสมบูรณาญา สิทธิราชย์
การปกครองภูฏานภายใต้พระราชาธิบดีทั้ง 2 รัชกาลสงบราบรื่นดี หลังจากนั้น พระราชาธิบดีจิกมี ดอร์จิ วังชุก กษัตริย์รัชกาลที่ 3 ของราชวงศ์วังชุก
พระองค์ทรงเป็นผู้นำสมัยใหม่ นำความทันสมัยของโลกมาสู่ภูฏาน ทรงปรับปรุงประเทศจนได้รับสมญานามว่า "พระบิดาแห่งภูฏานยุคใหม่"
พระองค์ทรงนำภูฏานเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติได้สำเร็จใน พ.ศ.2514 (สำคัญมากนะครับสำหรับประเทศเล็กๆ ที่จะต้องเป็นสมาชิกสหประชาชาติ
เพื่อป้องกันการถูกรุกรานหรือถูกผนวกเข้า เป็นส่วนหนึ่งของประเทศยักษ์ใหญ่ ประเทศไทยของเราเองก็ดิ้นรนเข้าเป็นสมาชิกของสหประชาติเมื่อ พ.ศ.2489
และโมนาโกก็พยายามเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติจนสำเร็จใน พ.ศ.2536 เช่นเดียวกับภูฏานนั่นเอง)

พระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย นัมเกล วังชุก ขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2517 เป็นพระราชาธิบดี องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์วังชุก

ทรงนำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบ ประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

เมื่อปี พ.ศ.2541 สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย นัมเกล วังชุก ได้ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารราชการแผ่นดินจากแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โดยให้มีหัวหน้ารัฐบาลและสภาคณะมนตรีทำหน้าที่บริหารประเทศ ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจการปกครองและลดการรวมศูนย์

ที่พระมหากษัตริย์เพียง พระองค์เดียว
ภูฏานร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกแล้วเสร็จเมื่อต้นปี พ.ศ.2548 โดยศึกษารัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศ รวมทั้งของไทยด้วย เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาการเมือง

ให้มีความเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นโดยรัฐ ธรรมนูญภูฏานกำหนดอำนาจหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ และอำนาจบริหารประเทศของคณะรัฐมนตรี ระบบรัฐสภาประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 75 คน

และวุฒิสภา 25 คน ส่วนพรรคการเมืองนั้นกำหนดให้มีเพียง 2 พรรคเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังกำหนดวาระการครองราชย์ของพระราชาธิบดีให้อยู่ในตำแหน่งจนถึงอายุ 65 พรรษา ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ภูฏานต้องการลดบทบาทของพระราชาธิบดี

และต้องการให้พรรคการเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศในระบอบ ประชาธิปไตยมากขึ้น
ประเทศภูฏานจัดการเลือกตั้งภายใต้ระบอบ ประชาธิปไตยเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2550 ซึ่งจะเป็นวาระที่ภูฏานมีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ครบ 100 ปี
พระ ราชาธิบดีจิกมี ซิงเย นัมเกล วังชุก ยังเป็นผู้เสนอและนำแนวทางของความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness, GNH)

เป็นการมองการพัฒนาประเทศที่ไม่ได้เน้นตัวเลขในการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Gross Domestic Product, GDP) แต่เน้นมุมมองเรื่อง "ความสุข" ที่แท้จริงของสังคมเป็นหลัก

ปัจจุบันแนวคิด GNH กำลังได้รับความสนใจจากนักวิชาการและนักกิจกรรมทางสังคมในหลายๆ ประเทศ เนื่องจากเล็งเห็นว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มี GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ)

เป็นเกณฑ์นั้นมักนำมาซึ่งผลกระทบในทางลบมากขึ้นทุกที
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2548 ซึ่งเป็นวันชาติภูฏาน สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย นัมเกล วังชุก ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ไปเป็นระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญและประกาศจะ ทรงสละราชบัลลังก์ให้กับมกุฎราชกุมาร จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ในปี พ.ศ.2549
ภูฏานจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นครั้งแรกในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2551 มีพรรคการเมืองสองพรรคคือพรรคภูฏานสันติภาพและรุ่งเรือง (DPT) ซึ่งเป็นพรรคอนุรักษนิยมได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น

เหนือพรรคประชาธิปไตย ประชาชน (PDP) ซึ่งเป็นพรรคเสรีนิยมด้วยที่นั่งในรัฐสภา 45:2 ซึ่งในช่วง 4 ปีของการบริหารงานของพรรค DPT จึงเน้นเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติ (GNH) มาก

และได้เผยแพร่ออกไปทั่วโลก
แต่ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่สอง ของภูฏานในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2513 ปรากฏว่าเกิดการพลิกล็อกครั้งใหญ่เนื่องจากว่าพรรค PDP ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน

ได้รณรงค์หาเสียงที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตามแนวทุน นิยมนั่นคือ การเน้นการเจริญเติบโตของรายได้ประชาชาติ (GDP) มากกว่าความสุขมวลรวมประชาชาติ (GNH)
ปรากฏว่าพรรค PDP ได้รับที่นั่งในรัฐสภา 32 ที่นั่ง ส่วนพรรค DPT ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลเดิมได้รับที่นั่งในรัฐสภาเพียง 15 ที่นั่งเท่านั้น
นายก รัฐมนตรีคนใหม่ของภูฏานคือ นายซีริง โทบเก อายุ 47 ปี ผู้จบปริญญาตรีทางวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งพิตสเบิร์กและปริญญาโท ทางรัฐประศาสนศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

เคยรับราชการเป็นอธิบดีกรมอาชีวศึกษา ก่อนที่จะมาเล่นการเมืองโดยเป็นหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านในรัฐสภามาตลอด 4 ปี ก่อนที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีในปีนี้เอง
นายซีริง โทบเก ได้ให้สัมภาษณ์สำนักข่าว AFP อย่างชัดแจ้งว่า GDP ต้องมาก่อน GNH เพราะว่าการเสียเวลาพูดถึงความสุขมวลรวมประชาชาติมากๆ โดยไม่ทำงานนั้น

ทำให้ประเทศภูฏานไม่ใส่ใจในปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าคือ หนี้สาธารณะของภูฏานได้เพิ่มขึ้นรวดเร็วมากจนเกิดการขาดแคลนเงินตราระหว่างประเทศ

อัตราการว่างงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการว่างงานของคนหนุ่มสาวและการคอร์รัปชั่น ที่เริ่มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งปัญหาหลัก 4 ประการนี้ ทางการภูฏานต้องเร่งจัดการเป็นการเร่งด่วน
ยิ่งกว่านั้น นายกรัฐมนตรี ซีริง โทบเก ยังกล่าวอย่างประชดประชันว่า GNH คือ "Government Needs Help" ต่างหาก

ขอขอบคุณ บทความดีดี จากอ.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์  นสพ. มติชนรายวัน 25 ก.ย. 2556

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar