อันที่จริงพระองค์เจ้าอานันทมหิดลและพระองค์เจ้าภูมิพล
มีพ่อคือกรมหลวงสงขลานครินทร์กับนางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ ซึ่งเป็นหญิงสามัญชน
ลูกพ่อค้าจีนขายก๋วยเตี๋ยวอยู่แถวท่าช้าง
(ที่เขียนเช่นนี้มิได้มีเจตนาลบหลู่คนจีนหรืออาชีพชาวบ้าน เพียงแต่ชี้ให้เห็นว่า
แท้จริงพวกเขาก็เป็นคนสามัญชนทั่วๆไปอย่างเราท่าน-ผู้เขียน)
ลูกที่เกิดมาจึงมีศักดิ์เป็นเพียงหม่อมเจ้าเท่านั้น
แต่เนื่องจากกรมหลวงสงขลาฯเป็นบิดาทางการแพทย์ สร้างคุณงามความดีไว้มาก รัชกาลที่ ๗
จึงโปรดเกล้าฯให้ลูกของกรมหลวงสงขลาเลื่อนฐานันดรศักดิ์เป็นพระองค์เจ้า
เพื่อตอบแทนที่กรมหลวงสงขลาฯต้องสิ้นพระชนม์ในวัยหนุ่มฉกรรจ์ในการบุกเบิกการแพทย์ไทย
เมื่อครั้งที่พระองค์เจ้าอานันทมหิดลเป็นกษัตริย์
พระองค์มีอายุเพียง ๙ พรรษาเท่านั้นและกำลังศึกษาอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์ รัชกาลที่ ๘
เมื่อทรงพระเจริญวัยขึ้น ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมามาก
โดยเฉพาะความรู้ทางด้านการปกครอง ถึงแม้พระองค์จะได้ชื่อว่ามีเชื้อสายกษัตริย์
แต่ก็มีพระราชประสงค์ให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีการปกครองตนเอง
อีกทั้งได้รับอิทธิพลจากการสละราชบัลลังก์ของรัชกาลที่ ๗
จึงมีพระราชดำริที่จะสละราชสมบัติและเลิกล้มระบบกษัตริย์
เพราะเห็นว่ายุคนี้การเป็นกษัตริย์นั้น เป็นการเอาเปรียบประชาชน
และผู้ปกครองประเทศควรมาจากการเลือกตั้ง
โดยพระองค์จะลงเล่นการเมืองในระบอบประชาธิปไตยด้วยตนเอง
เรื่องนี้ทำให้พระชนนีไม่พอพระทัยมาก
จึงขัดแย้งกันขึ้น
เหตุการณ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ รัชกาลที่ ๘ ทรงเห็นด้วยกับความคิดในการปรับปรุงประเทศของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเคยเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อยู่ระยะหนึ่ง โดยเฉพาะเค้าโครงเศรษฐกิจของชาติที่มีเนื้อหาการจัดระบบสหกรณ์ และการปฏิรูปที่ดินอย่างขนานใหญ่ทั่วประเทศ และเรื่องนี้กระทบกระเทือนผลประโยชน์ของพวกศักดินาอย่างรุนแรง เพราะพวกศักดินาเป็นเจ้าของที่ดินส่วนใหญ่ของประเทศไทย พวกศักดินาจึงใส่ร้ายหาว่า ดร.ปรีดี เป็นคอมมิวนิสต์
เหตุการณ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ รัชกาลที่ ๘ ทรงเห็นด้วยกับความคิดในการปรับปรุงประเทศของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเคยเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อยู่ระยะหนึ่ง โดยเฉพาะเค้าโครงเศรษฐกิจของชาติที่มีเนื้อหาการจัดระบบสหกรณ์ และการปฏิรูปที่ดินอย่างขนานใหญ่ทั่วประเทศ และเรื่องนี้กระทบกระเทือนผลประโยชน์ของพวกศักดินาอย่างรุนแรง เพราะพวกศักดินาเป็นเจ้าของที่ดินส่วนใหญ่ของประเทศไทย พวกศักดินาจึงใส่ร้ายหาว่า ดร.ปรีดี เป็นคอมมิวนิสต์
เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์หนุ่มที่เลือดรักชาติแรงกล้าและเห็นใจประชาชนเป็นพื้น
จึงทรงออกนั่งตุลาการด้วยตนเอง ทั้งยังออกเยี่ยมประชาชนอยู่เนืองๆ เช่น
คนจีนที่สำเพ็ง ซึ่งปรากฏว่าชาวจีนถวายความนับถือและจงรักภักดีมาก
การออกเยี่ยมตามที่ต่างๆทำให้พระองค์ได้สัมผัสกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างแท้จริง
ทำให้ความคิดของพระองค์ยิ่งขัดแย้งกับพวกศักดินามากขึ้นเป็นลำดับ
หม่อมสังวาลย์ อดีตนางพยาบาลที่ปรนนิบัติกรมหลวงสงขลาฯจนได้แต่งงานกัน
มีความหลงใหลในเกียรติยศชื่อเสียงของตน นึกไม่ถึงว่าจะได้เป้นพระราชชนนี
ซึ่งหมายถึงแม่ของกษัตริย์ ประมุขสูงสุดของประเทศ
นางจึงขัดแย้งมากและยอมไม่ได้ที่รัชกาลที่ ๘ จะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์
อันหมายถึงเกียรติยศชื่อเสียงและผลประโยชน์จำนวนมหาศาล
ที่จะดลบันดาลความสุขสบายแก่ตนเองและวงศ์ตระกูลไปตลอดชาติต้องอันตรธานในพริบตา
นอกจากนี้ยังมีความขัดแย้งอื่นๆระหว่างแม่ลูกคู่นี้อีก
กล่าวคือกรมหลวงสงขลาฯได้สิ้นพระชนม์ไปขณะนางสังวาลย์ยังสาวอยู่
นางจึงดำริจะแต่งงานใหม่ แต่ทว่ารัชกาลที่ ๘ ไม่เห็นด้วย
อย่างไรก็ตามด้วยความต้องการทางเพศอันเป็นปกติของร่างกายในวัยสาว
นางจึงได้มีสัมพันธ์สวาทกับฝรั่งชาติกรีกนายหนึ่งอย่างลึกซึ้ง และเมื่อรัชกาลที่ ๘
ทรงทราบเข้าก็เกิดการถกเถียงอย่างหนักในเรื่องนี้
ซึ่งเป็นที่รู้กันในหมู่คนไทยที่ใกล้ชิดในเมืองโลซาน
เรื่องนี้ทำให้นางสังวาลย์ไม่พอใจมาก
โดยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อลูกคนใดคนหนึ่งเกิดความขัดแย้งกับพ่อหรือแม่
ก็จะมีลูกอีกคนหนึ่งเกิดความไม่พอใจกับลูกที่ขัดแย้งนี้ นี่ก็เช่นเดียวกัน
ภูมิพลได้เข้าข้างแม่และไม่พอใจพี่ชาย หาว่ารัชกาลที่ ๘
เป็นลูกอกตัญญูประกอบกับตนเองมีปมด้อยทางร่างกายและอยู่ในวัยรุ่นด้วย
จึงมีความคิดละอารมณ์วู่วาม ขาดความยั้งคิด
ต้องการเด่นดังมีหน้ามีตาอย่างพี่ชายของตนบ้าง
อีกทั้งได้แรงยุจากแม่ในเรื่องที่ขัดแย้งกับรัชกาลที่ ๘
ภูมิพลซึ่งเดิมเป็นเด็กที่อยู่ในโอวาท ขี้ประจบ หัวอ่อน
ก็กลับกลายเป็นผู้ที่มีอารมณ์วู่วาม
รุนแรงในบางครั้งกับคนที่ตนไม่พอใจ
โดยปกติวิสัยของรัชกาลที่ ๘ ชอบสะสมปืนมาก และมีปืนของรัชกาลที่ ๘ อยู่กระบอกหนึ่งซึ่งไกปืนอ่อนมาก ขณะเดียวกับภูมิพลชอบเอาปืนของรัชกาลที่ ๘ มาเล่น เช่น ไปจี้คนนั้นคนนี้ บางครั้งเอาปืนมาจ่อรัชกาลที่ ๘ ทำท่ายิงเล่นๆ จนผู้คนในวังเห็นเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว แต่แล้วสิ่งที่ไม่มีใครคาดฝันก็ได้เกิดขึ้น
โดยปกติวิสัยของรัชกาลที่ ๘ ชอบสะสมปืนมาก และมีปืนของรัชกาลที่ ๘ อยู่กระบอกหนึ่งซึ่งไกปืนอ่อนมาก ขณะเดียวกับภูมิพลชอบเอาปืนของรัชกาลที่ ๘ มาเล่น เช่น ไปจี้คนนั้นคนนี้ บางครั้งเอาปืนมาจ่อรัชกาลที่ ๘ ทำท่ายิงเล่นๆ จนผู้คนในวังเห็นเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว แต่แล้วสิ่งที่ไม่มีใครคาดฝันก็ได้เกิดขึ้น
เมื่อเวลา ๘.๓๐ น. ของวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ ...........
เสียงปืนดังขึ้น ๑ นัด จากห้องบรรทม ชั้นบนของพระที่นั่งบรมพิมาน
ต่อจากนั้นอีกไม่กี่นาที นายชิต ยามมหาดเล็ก วิ่งหน้าตื่นไปทูลพระราชชนนีว่า
“ในหลวงทรงยิงพระองค์”การสิ้นพระชนม์ของรัชกาลที่ ๘ นั้น ศาลอาญา,
ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา สรุปตรงกันว่า เกิดโดยการลอบปลงพระชนม์ มิใช่การปลงพระชนม์เอง
เพราะว่าแผลที่ทำให้พระองค์สวรรคตอยู่ที่หน้าผาก กระสุนทะลุออกทางท้ายทอย
ซึ่งแสดงว่าไม่ใช่การฆ่าตัวตาย เพราะผู้ที่อัตตวินิบาตกรรม
ส่วนมากจะยิงขมับและหัวใจเท่านั้น นอกจากนี้ นายแพทย์ใช้ ยูนิพันธ์
ยังให้ความเห็นว่า แผลของพระองค์เกิดจากการอัตตวินิบาตกรรมไม่ได้
เพราะวิถีกระสุนเฉียงลง รัชกาลที่ ๘ ผู้ที่ยิงตนเอง ต้องยกด้ามปืน
หันปากกระบอกปืนลง เป็นของทำได้ยาก
นอกจากนี้แผลยังแสดงว่าอุบัติเหตุที่เกิดโดยรัชกาลที่ ๘ เอง
ก็ไม่มีทางเป็นไปได้เช่นกัน
เพราะวิถีกระสุนมีลักษณะที่เห็นชัดว่าเกิดจากการตั้งใจทำของผู้ที่ยิง
ก่อนบอกว่าใครฆ่ารัชกาลที่ ๘ ต้องดูข้อมูลต่างๆดังนี้
ก่อนบอกว่าใครฆ่ารัชกาลที่ ๘ ต้องดูข้อมูลต่างๆดังนี้
๑. ผู้ที่ฆ่า มิใช่บุคคลอื่นที่อยู่นอกวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
พระที่นั่งบรมพิมาน เพราะว่าได้มีการจัดทหาร ตำรวจวัง
ล้อมรอบพระที่นั่งอย่างเข้มงวด ตั้งแต่ประตูวังถึงองค์พระที่นั่ง คือถ้าเป็นกลางวัน
ณ ที่ประตูเหล็กทางเข้าพระที่นั่งจะมีทหารยามรักษาการณ์
ส่วนพระที่นั่งชั้นบนมียามมหาดเล็ก ๓ จุด
สำหรับชั้นล่างมียามตำรวจหลวงและยังมีทหารยามเฝ้าอยู่ที่เชิงบันไดส่วนที่จะขึ้นพระที่นั่งอีก(๑)
เฉพาะที่บันไดใหญ่ทางขึ้นพระที่นั่งมียามถึง ๔-๕ คน(๒)
ส่วนในเวลากลางคืนจะมียามอยู่ที่ชั้นบนตรงตำแหน่งที่สำคัญ ๒ จุดๆละ ๒ คน
นอกจากนี้ยังมียามที่ชั้นล่างอีก(๓)
ตัวพระที่นั่งมีทางขึ้นชั้นบนที่ประทับของรัชกาลที่ ๘ อยู่ ๓ บันได ในจำนวนนี้อนุญาตให้คนขึ้น ลงตลอดวันเพียง ๑ บันได ปิดตาย ๑ บันได ส่วนอีก ๑ บันได เปิดเฉพาะเวลากลางวัน สำหรับบันไดที่เปิดตลอดเวลานั้น จะมียามเฝ้าในเวลากลางคืน(๔) ยามเหล่านี้ล้วนเป็นมหาดเล็กที่คัดเลือกกันมาตามตระกูล ที่เชื่อได้ว่าจงรักภักดี สามารถสละชีพเพื่อกษัตริย์ได้ (ขนาดช่างตัดผมของรัชกาลที่ ๙ ทุกวันนี้ ก็ตัดผมกษัตริย์มาตั้งแต่บรรพบุรุษ) ย่อมไม่มีวันยินยอมปล่อยให้ผู้ร้ายภายนอก หลงหูหลงตาขึ้นไปชั้นบนพระที่นั่งเป็นอันขาด
จะเห็นได้ว่าถ้าไม่ใช่คนในพระที่นั่งบรมพิมานแล้วจะฆ่ารัชกาลที่ ๘ ไม่ได้เลย เพราะนอกจากไม่สามารถเล็ดลอดยามจำนวนมากขึ้นไปบนพระที่นั่ง ยังไม่สามารถหนีไปได้พ้นเมื่อยิงแล้ว เพราะเป็นที่ยอมรับกันว่า รัชกาลที่ ๘ สิ้นพระชนม์ในเวลา ๙ โมงเศษ ซึ่งในเวลานั้นจะมีผู้คนพลุกพล่านบนพระที่นั่งแล้ว เพราะอย่างน้อยที่สุด ชาววังจะทำความสะอาดตั้งแต่ ๖-๘ โมงเช้า(๕) ผู้ร้ายภายนอกจะไม่มีทางวิ่งหนีลงไปจากพระที่นั่งได้ เพราะเมื่อเสียงปืนดังสนั่นขึ้นแล้ว ทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกยามย่อมรู้ว่ามีเหตุร้าย จะคอยสังเกตดูความผิดปกติ แต่ปรากฏว่าพยานทุกคนที่เป็นยามให้การกับศาลว่า ไม่ปรากฏว่าผู้ใดเห็นร่องรอยผู้ร้ายวิ่งลงมาจากพระที่นั่งเลย
ตัวพระที่นั่งมีทางขึ้นชั้นบนที่ประทับของรัชกาลที่ ๘ อยู่ ๓ บันได ในจำนวนนี้อนุญาตให้คนขึ้น ลงตลอดวันเพียง ๑ บันได ปิดตาย ๑ บันได ส่วนอีก ๑ บันได เปิดเฉพาะเวลากลางวัน สำหรับบันไดที่เปิดตลอดเวลานั้น จะมียามเฝ้าในเวลากลางคืน(๔) ยามเหล่านี้ล้วนเป็นมหาดเล็กที่คัดเลือกกันมาตามตระกูล ที่เชื่อได้ว่าจงรักภักดี สามารถสละชีพเพื่อกษัตริย์ได้ (ขนาดช่างตัดผมของรัชกาลที่ ๙ ทุกวันนี้ ก็ตัดผมกษัตริย์มาตั้งแต่บรรพบุรุษ) ย่อมไม่มีวันยินยอมปล่อยให้ผู้ร้ายภายนอก หลงหูหลงตาขึ้นไปชั้นบนพระที่นั่งเป็นอันขาด
จะเห็นได้ว่าถ้าไม่ใช่คนในพระที่นั่งบรมพิมานแล้วจะฆ่ารัชกาลที่ ๘ ไม่ได้เลย เพราะนอกจากไม่สามารถเล็ดลอดยามจำนวนมากขึ้นไปบนพระที่นั่ง ยังไม่สามารถหนีไปได้พ้นเมื่อยิงแล้ว เพราะเป็นที่ยอมรับกันว่า รัชกาลที่ ๘ สิ้นพระชนม์ในเวลา ๙ โมงเศษ ซึ่งในเวลานั้นจะมีผู้คนพลุกพล่านบนพระที่นั่งแล้ว เพราะอย่างน้อยที่สุด ชาววังจะทำความสะอาดตั้งแต่ ๖-๘ โมงเช้า(๕) ผู้ร้ายภายนอกจะไม่มีทางวิ่งหนีลงไปจากพระที่นั่งได้ เพราะเมื่อเสียงปืนดังสนั่นขึ้นแล้ว ทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกยามย่อมรู้ว่ามีเหตุร้าย จะคอยสังเกตดูความผิดปกติ แต่ปรากฏว่าพยานทุกคนที่เป็นยามให้การกับศาลว่า ไม่ปรากฏว่าผู้ใดเห็นร่องรอยผู้ร้ายวิ่งลงมาจากพระที่นั่งเลย
นอกจากประเด็นที่กล่าวแล้ว ควรพิจารณาต่อไปอีกว่า ในวันที่ ๘ มิ.ย. ๒๔๙๘ นั้น รัชกาลที่ ๘ เข้านอนเวลา ๓ ทุ่มเศษ และตื่นขึ้นมาในเวลาย่ำรุ่งวันที่ ๙ มิ.ย. ๒๔๙๘ หลังจากนั้นพระชนนีและมหาดเล็ก ๑ คน ได้ถวายน้ำมันละหุ่ง เพราะในวันที่ ๘ มิ.ย. พระองค์ท้องเดิน หลังจากนั้นก็หลับไปจนเวลา ๘ โมงเช้า จึงตื่นขึ้นไปเข้าห้องน้ำ แล้วกลับมานอนอีกราว ๑ ชม. เวลา ๙ โมงเช้าก็ถูกลอบปลงพระชนม์
หลังจากที่ถูกยิงแล้ว
คณะแพทย์ส่วนใหญ่ได้ตรวจพระศพ
และวินิจฉัยว่าแผลที่เกิดจากการยิงห่างจากหน้าผากไม่เกิน ๕ ซม.(๖) ซึ่งต่อมา
นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ตรวจสอบบาดแผลเป็นพิเศษพบว่า
ที่ตำแหน่งหน้าผากตรงที่ถูกยิงมีรอยกดของกระบอกปืนเป็นวงกลม
แสดงว่าผู้ที่ยิงต้องเอาปืนกระชับยิงลงไปที่หน้าผาก
ทั้งนี้เมื่อตรวจมุ้งของรัชกาลที่
๘ แล้ว ไม่ปรากฏว่ามีรอยทะลุ แสดงว่าผู้ร้ายต้องเลิกมุ้งออก
แล้วจึงเอาปืนจ่อยิงในหลวง โดยที่ “ผู้ที่ยิงต้องเป็นคนรูปร่างสูง แขนยาว”
จึงจะทำได้สะดวก เพราะจากขอบเตียงถึงบาดแผลมีระยะห่างกันถึง ๖๖ ซม.
ถ้ารูปร่างเล็กแขนสั้นจะทำไม่ได้(๗) (ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่น่าตลก
ที่พวกศักดินาพยายามว่าร.ท.สิทธิชัย ชัยสิทธิเวชฆ่ารัชกาลที่ ๘ ซึ่งเป็นไปไม่ได้
เพราะร.ท.สิทธิชัย เป็นคนรูปร่างเล็ก)
จะเห็นว่าถ้าผู้ร้ายเป็นบุคคลอื่น
ซึ่งไม่สนิทสนมกับรัชกาลที่ ๘ มากๆแล้ว จะกระทำการดังกล่าวไม่ได้เลย
เพราะเป็นการเสี่ยงภัยและไม่มีทางสำเร็จ เพราะพระองค์นอนตั้งแต่เวลา ๓
ทุ่มของวันที่ ๘ มิ.ย. จนตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าตรู่ของวันที่ ๙ มิ.ย. และเข้านอนถึง
๒ ระยะย่อมหลับไม่สนิท เพราะปกติในหลวงไม่เคยตื่นสายกว่า ๘.๓๐ น. เลย
ดังนั้นถ้ามีคนเลิกมุ้งย่อมมีเสียง เพราะมุ้งมีเหล็กทับอยู่
ทำให้พระองค์รู้ตัวก่อนที่ผู้ร้ายจะทำการได้(๖)
นอกจากนี้ถ้ามีผู้ร้ายภายนอกแอบเข้าไปในห้องบรรทม ก็ต้องเข้าไปในเวลากลางคืนและยิงในเวลานั้นเลย เพราะปลอดคน ทั้งหนีสะดวก มิใช่รอจนเวลาเช้าจึงยิง อันจะทำให้ต้องแอบซ่อนตัวอยู่เป็นเวลานาน ซึ่งเป็นการเสี่ยงภัยมากกว่า และหากมีผู้ร้ายซ่อนตัวอยู่จริง ย่อมไม่อาจรอดสายตาพระชนนี และมหาดเล็กที่เข้าไปถวายน้ำมันละหุ่งให้รัชกาลที่ ๘ ได้
นอกจากนี้ถ้ามีผู้ร้ายภายนอกแอบเข้าไปในห้องบรรทม ก็ต้องเข้าไปในเวลากลางคืนและยิงในเวลานั้นเลย เพราะปลอดคน ทั้งหนีสะดวก มิใช่รอจนเวลาเช้าจึงยิง อันจะทำให้ต้องแอบซ่อนตัวอยู่เป็นเวลานาน ซึ่งเป็นการเสี่ยงภัยมากกว่า และหากมีผู้ร้ายซ่อนตัวอยู่จริง ย่อมไม่อาจรอดสายตาพระชนนี และมหาดเล็กที่เข้าไปถวายน้ำมันละหุ่งให้รัชกาลที่ ๘ ได้
๒. ตามธรรมดานั้น ปรากฏในประวัติศาสตร์เสมอมาว่า มีพี่ฆ่าน้อง
น้องฆ่าพี่ ลูกฆ่าพ่อ อาฆ่าหลาน หลานฆ่าอา และกระทั่งแม่ฆ่าลูกเพื่อชิงราชสมบัติ
อาทิเช่น กรณีแม่เจ้าอยู่หัวศรีสุดาจันทร์ สมัยอยุธยาฆ่าพระแก้วฟ้า
บุตรของตนเองเพื่อให้พันบุตรศรีเทพหรือขุนวรวงศาธิราชชู้รัก ได้เป็นกษัตริย์
ในเมื่อผู้ร้ายเป็นบุคคลภายนอกมิได้
ส่วนผู้ที่อยู่ในพระที่นั่งก็ล้วนจงรักภักดีและไม่ได้ประโยชน์จากการตายของรัชกาลที่
๘ ผู้ที่น่าสงสัยที่สุดก็คือ รัชกาลที่ ๙
ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากกรณีสวรรคต
ทั้งในด้านลาภยศและทรัพย์ศฤงคาร อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะสรุปว่าเป็นคนลงมือฆ่าหรือไม่
ควรดูคำให้การของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สวรรคต ดังสรุปได้ดังนี้
ก. ห้องของรัชกาลที่ ๘ อยู่ทางตะวันออกของพระที่นั่งชั้นบน
ส่วนห้องของรัชกาลที่ ๙ อยู่อีกฟากหนึ่งทางทิศตะวันตกมีระเบียงเชื่อมถึงกัน
ข้างห้องรัชกาลที่ ๙ เป็นห้องพระชนนีซึ่งมีประตูติดต่อถึงกันได้
ข. รัชกาลที่ ๙ ให้การว่าในวันนั้น ตนจะเข้าไปหาพี่ชายในเวลาประมาณ ๙
โมงเช้า ก่อนเกิดเสียงปืนไม่นานนัก พบนายชิต สิงหเสนีและนายบุศย์ มหาดเล็ก
ซึ่งนั่งอยู่ที่ประตูห้องรัชกาลที่ ๘
เมื่อรู้ว่าพี่ชายยังไม่ตื่นจึงเดินกลับไปที่ห้องของตน เข้าๆ ออกๆ
ระหว่างห้องตนกับห้องเล่นเครื่อง (ดูแผนที่) และในเวลาที่มีการยิงปืนนั้น
ตนไม่ได้ยินเสียงปืนเลย จนเมื่อรู้เรื่องการยิงรัชกาลที่ ๘ จาก น.ส.จรูญ ตะละภัฏ
แล้วจึงวิ่งไปที่ห้องบรรทม ซึ่งก็มีแม่และพระพี่เลี้ยงเนื่องอยู่ในห้องนั้น
ก่อนหน้าที่ตนจะวิ่งเข้าไป
คำให้การนี้ ซึ่งก็สอดคล้องกับคำให้การของ น.ส.จรูญ ตะละภัฏ ข้าหลวงพระชนนี (เป็นญาติพระชนนีด้วยเพราะนามสกุลเดียวกัน) ที่อ้างว่า พอตนได้ทราบจากนายสาธิตว่า รัชกาลที่ ๘ ถูกยิงก็วิ่งไปที่ห้องบรรทม พบรัชกาลที่ ๙ อยู่ที่ประตูห้องบันไดเล็ก(ซึ่งมีประตูติดต่อกับห้องเล่นเครื่อง) จึงแจ้งให้รู้ว่าในหลวงสวรรคต แล้วพากันวิ่งไปที่ห้องบรรทมด้วยกัน โดยมีรัชกาลที่ ๙ วิ่งนำหน้าไป
คำให้การนี้ ซึ่งก็สอดคล้องกับคำให้การของ น.ส.จรูญ ตะละภัฏ ข้าหลวงพระชนนี (เป็นญาติพระชนนีด้วยเพราะนามสกุลเดียวกัน) ที่อ้างว่า พอตนได้ทราบจากนายสาธิตว่า รัชกาลที่ ๘ ถูกยิงก็วิ่งไปที่ห้องบรรทม พบรัชกาลที่ ๙ อยู่ที่ประตูห้องบันไดเล็ก(ซึ่งมีประตูติดต่อกับห้องเล่นเครื่อง) จึงแจ้งให้รู้ว่าในหลวงสวรรคต แล้วพากันวิ่งไปที่ห้องบรรทมด้วยกัน โดยมีรัชกาลที่ ๙ วิ่งนำหน้าไป
ค. คำให้การของรัชกาลที่ ๙ มีพิรุธมากเพราะ
ค.๑ ทุกคนที่อยู่ในพระที่นั่งได้ยินเสียงปืนดังสนั่น ทั้งชั้นล่างและชั้นบน มีแต่รัชกาลที่ ๙ และพระชนนีเท่านั้นที่ไม่ได้ยินเสียงปืน
ค.๒ จากคำให้การของนายฉลาด เทียมงามสัจ ซึ่งยืนอยู่ในบริเวณห้องเสวยพระกระยาหาร อันเป็นจุดที่สามารถและเห็นการเคลื่อนไหวหน้าห้องบรรทมได้หมดนั้น นายฉลาดให้การว่ารัชกาลที่ ๙ วิ่งเข้าไปในห้องบรรทมก่อนพระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตะดุลย์ ไม่ตรงกับคำให้การของรัชกาลที่ ๙ ที่ว่าเข้าไปในห้องหลังพระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตะดุลย์
ค.๓ พระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตะดุลย์ นักเรียนพยาบาลรุ่นเดียวกับพระชนนี ให้การว่า ตนอยู่ในห้องรัชกาลที่ ๙ ๒๐ นาที ก่อนมีเสียงปืน และไม่พบรัชกาลที่ ๙ ในห้องนั้นเลย แสดงว่ารัชกาลที่ ๙ อ้างว่าตนเองเข้าๆ ออกๆ ระหว่างห้องนอนของตนกับห้องเล่นเครื่อง ย่อมเป็นการโกหก นอกจากนี้พระพี่เลี้ยงเนื่องยังให้การต่อไปอีกว่า เมื่อได้ยินเสียงปืนแล้ว ก็รีบวิ่งไปยังห้องบรรทม ผ่านห้องเครื่องเล่นแต่ไม่พบรัชกาลที่ ๙ ในห้องนั้น แสดงว่าข้ออ้างของรัชกาลที่ ๙ ที่ว่าอยู่ในห้องเล่นเครื่องก่อนหน้าเหตุการณ์สวรรคต ก็ไม่เป็นจริง เพราะถ้าเป็นอย่างนี้จริง ขณะที่พี่เลี้ยงเนื่องวิ่งผ่านห้องเล่นเครื่องนั้น จะต้องแลเห็นรัชกาลที่ ๙ เพราะรัชกาลที่ ๙ เองก็ยังอ้างว่า ตนวิ่งไปยังห้องบรรทมหลังพี่เลี้ยงเนื่อง
ค.๔ รัชกาลที่ ๙ และน.ส.จรูญ ตะละภัฏญาติพระชนนี อ้างว่า ตนวิ่งไปที่ห้องบรรทมด้วยกัน แต่นายฉลาด เทียมงามสัจ ซึ่งอยู่นอกห้องบรรทมและเห็นเหตุการณ์ใกล้ชิดให้การว่า ไม่เห็นน.ส.จรูญเข้าไปในห้องบรรทมเลย (น่าสังเกตว่าคำให้การของน.ส.จรูญนี้ เชื่อถือไม่ได้ทั้งสิ้น เพราะน.ส.จรูญอ้างว่า ตนอยู่ในห้องพระชนนีก่อนเสียงปืนดัง แต่พยานอื่นที่อยู่ในห้องขณะนั้นให้การเป็นอย่างอื่น)
ค.๕ รัชกาลที่ ๙ บอกให้กรมขุนชัยนาทฯ ฟังว่า ขณะที่ผู้ร้ายยิงปืนนั้น ตนเองอยู่ในห้องของตน(๙) ซึ่งเป็นเรื่องเท็จอย่างเห็นได้ชัด เพราะขัดแย้งกับคำให้การของพี่เลี้ยงเนื่อง จินตะดุลย์ ซึ่งอยู่ในห้องของพระองค์ในขณะนั้น
ค.๖ นายเวศน์ สุนทรวัฒน์ มหาดเล็กหน้าห้องรัชกาลที่ ๙ ให้การว่า แม้ห้องนอนของรัชกาลที่ ๙ มีประตูติดกับห้องเครื่องเล่น แต่ประตูนี้ปิดตายตลอดเวลา ถ้ารัชกาลที่ ๙ ต้องการจะเข้าห้องเครื่อง จะต้องเข้าทางประตูด้านหน้าของห้องเครื่อง มิใช่เข้าทางประตูด้านหลังซึ่งติดต่อกับห้องของรัชกาลที่ ๙
ค.๑ ทุกคนที่อยู่ในพระที่นั่งได้ยินเสียงปืนดังสนั่น ทั้งชั้นล่างและชั้นบน มีแต่รัชกาลที่ ๙ และพระชนนีเท่านั้นที่ไม่ได้ยินเสียงปืน
ค.๒ จากคำให้การของนายฉลาด เทียมงามสัจ ซึ่งยืนอยู่ในบริเวณห้องเสวยพระกระยาหาร อันเป็นจุดที่สามารถและเห็นการเคลื่อนไหวหน้าห้องบรรทมได้หมดนั้น นายฉลาดให้การว่ารัชกาลที่ ๙ วิ่งเข้าไปในห้องบรรทมก่อนพระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตะดุลย์ ไม่ตรงกับคำให้การของรัชกาลที่ ๙ ที่ว่าเข้าไปในห้องหลังพระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตะดุลย์
ค.๓ พระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตะดุลย์ นักเรียนพยาบาลรุ่นเดียวกับพระชนนี ให้การว่า ตนอยู่ในห้องรัชกาลที่ ๙ ๒๐ นาที ก่อนมีเสียงปืน และไม่พบรัชกาลที่ ๙ ในห้องนั้นเลย แสดงว่ารัชกาลที่ ๙ อ้างว่าตนเองเข้าๆ ออกๆ ระหว่างห้องนอนของตนกับห้องเล่นเครื่อง ย่อมเป็นการโกหก นอกจากนี้พระพี่เลี้ยงเนื่องยังให้การต่อไปอีกว่า เมื่อได้ยินเสียงปืนแล้ว ก็รีบวิ่งไปยังห้องบรรทม ผ่านห้องเครื่องเล่นแต่ไม่พบรัชกาลที่ ๙ ในห้องนั้น แสดงว่าข้ออ้างของรัชกาลที่ ๙ ที่ว่าอยู่ในห้องเล่นเครื่องก่อนหน้าเหตุการณ์สวรรคต ก็ไม่เป็นจริง เพราะถ้าเป็นอย่างนี้จริง ขณะที่พี่เลี้ยงเนื่องวิ่งผ่านห้องเล่นเครื่องนั้น จะต้องแลเห็นรัชกาลที่ ๙ เพราะรัชกาลที่ ๙ เองก็ยังอ้างว่า ตนวิ่งไปยังห้องบรรทมหลังพี่เลี้ยงเนื่อง
ค.๔ รัชกาลที่ ๙ และน.ส.จรูญ ตะละภัฏญาติพระชนนี อ้างว่า ตนวิ่งไปที่ห้องบรรทมด้วยกัน แต่นายฉลาด เทียมงามสัจ ซึ่งอยู่นอกห้องบรรทมและเห็นเหตุการณ์ใกล้ชิดให้การว่า ไม่เห็นน.ส.จรูญเข้าไปในห้องบรรทมเลย (น่าสังเกตว่าคำให้การของน.ส.จรูญนี้ เชื่อถือไม่ได้ทั้งสิ้น เพราะน.ส.จรูญอ้างว่า ตนอยู่ในห้องพระชนนีก่อนเสียงปืนดัง แต่พยานอื่นที่อยู่ในห้องขณะนั้นให้การเป็นอย่างอื่น)
ค.๕ รัชกาลที่ ๙ บอกให้กรมขุนชัยนาทฯ ฟังว่า ขณะที่ผู้ร้ายยิงปืนนั้น ตนเองอยู่ในห้องของตน(๙) ซึ่งเป็นเรื่องเท็จอย่างเห็นได้ชัด เพราะขัดแย้งกับคำให้การของพี่เลี้ยงเนื่อง จินตะดุลย์ ซึ่งอยู่ในห้องของพระองค์ในขณะนั้น
ค.๖ นายเวศน์ สุนทรวัฒน์ มหาดเล็กหน้าห้องรัชกาลที่ ๙ ให้การว่า แม้ห้องนอนของรัชกาลที่ ๙ มีประตูติดกับห้องเครื่องเล่น แต่ประตูนี้ปิดตายตลอดเวลา ถ้ารัชกาลที่ ๙ ต้องการจะเข้าห้องเครื่อง จะต้องเข้าทางประตูด้านหน้าของห้องเครื่อง มิใช่เข้าทางประตูด้านหลังซึ่งติดต่อกับห้องของรัชกาลที่ ๙
จึงเห็นได้ว่า ข้ออ้างที่รัชกาลที่ ๙ โกหกว่าตนเข้าๆ
ออกๆระหว่างห้องเครื่องกับห้องนอนตนเองนั้นเป็นเท็จ
ง. เราสามารถสรุปได้ว่า รัชกาลที่ ๙ ให้การเท็จ
พยายามอ้างว่าตนอยู่ไกลสถานที่เกิดเหตุที่สุด และไปถึงห้องบรรทมคนสุดท้าย
โดยร่วมมือกับบุคคลอื่น เช่น น.ส.จรูญ ตะละภัฏ เป็นต้น
โดยข้อมูลนี้ เราจะเห็นได้ว่า เมื่อรัชกาลที่ ๙ กินข้าวเช้าอิ่ม
ก็ได้เดินไปถึงหน้าห้องบรรทมของรัชกาลที่ ๘
ก่อนเสียงปืนไม่นานนักและเข้าไปในห้องนั้น โดยที่นายชิตและบุศย์มิได้ห้ามปราม
เพราะตามคำให้การของพระพี่เลี้ยงเนื่องนั้น ปรากฏว่าพี่น้องคู่นี้นั้น
ถ้าผู้ใดตื่นก่อน มักจะเข้าไปยั่วเย้าอีกคนหนึ่งให้ตื่น ฉะนั้นนายชิตและบุศย์
ย่อมไม่สงสัยว่าเหตุใดรัชกาลที่ ๙ จึงเข้าไปในห้องรัชกาลที่
๘
เมื่อเข้าไปในห้องรัชกาลที่ ๘ แล้วก็เอาปืนของรัชกาลที่ ๘ นั้นเอง ถือเดินไปที่พระแท่น เลิกมุ้งขึ้นแล้ว “บุรุษร่างสูง แขนยาว” ผู้นี้ก็เอาปืนจ่อยิงรัชกาลที่ ๘ ขณะที่รัชกาลที่ ๘ ยังไม่ทันรู้ตัวว่าจะถูกฆ่า
เมื่อเข้าไปในห้องรัชกาลที่ ๘ แล้วก็เอาปืนของรัชกาลที่ ๘ นั้นเอง ถือเดินไปที่พระแท่น เลิกมุ้งขึ้นแล้ว “บุรุษร่างสูง แขนยาว” ผู้นี้ก็เอาปืนจ่อยิงรัชกาลที่ ๘ ขณะที่รัชกาลที่ ๘ ยังไม่ทันรู้ตัวว่าจะถูกฆ่า
ถ้าจะถามว่ารัชกาลที่ ๘
ไม่รู้ตัวในเวลาที่น้องชายเลิกมุ้งหรือ
ตอบได้ว่า จะรู้หรือไม่ ก็ไม่สำคัญ เพราะพี่ชายย่อมไม่ระแวงน้องชาย นอกจากนี้ ทั้งคู่ก็มักจะใช้ปืนล้อผู้อื่นอยู่แล้ว พระพี่เลี้ยงเนื่องให้การว่า บางครั้งทั้งคู่จะใช้ปืนจี้ล้อพวกฝ่ายใน เช่น ท้าวสัตยา นางสาวจรูญ นางสาวทัศนียาและพระพี่เลี้ยงเนื่อง บางครั้งถึงกับเอาปืนเข้าไปใกล้ๆ ยกขึ้นเล็งไปยังคนเหล่านั้น ฉะนั้นแม้รัชกาลที่ ๘ จะเห็นรัชกาลที่ ๙ ถือปืน ก็ไม่มีวันระแวง
ตอบได้ว่า จะรู้หรือไม่ ก็ไม่สำคัญ เพราะพี่ชายย่อมไม่ระแวงน้องชาย นอกจากนี้ ทั้งคู่ก็มักจะใช้ปืนล้อผู้อื่นอยู่แล้ว พระพี่เลี้ยงเนื่องให้การว่า บางครั้งทั้งคู่จะใช้ปืนจี้ล้อพวกฝ่ายใน เช่น ท้าวสัตยา นางสาวจรูญ นางสาวทัศนียาและพระพี่เลี้ยงเนื่อง บางครั้งถึงกับเอาปืนเข้าไปใกล้ๆ ยกขึ้นเล็งไปยังคนเหล่านั้น ฉะนั้นแม้รัชกาลที่ ๘ จะเห็นรัชกาลที่ ๙ ถือปืน ก็ไม่มีวันระแวง
ปัญหาสุดท้ายก็คือ
จะเป็นเรื่องอุบัติเหตุได้หรือไม่
ไม่น่าจะเป็นอุบัติเหตุ เพราะถ้ารัชกาลที่ ๙ เอาปืนล้อรัชกาลที่ ๘ แม้จะเล็งปืนเข้าไปใกล้เพียงใด ก็ไม่น่าจะถึงกับเอาปืนจ่อกระชับเข้าไปที่หน้าผากเป็นอันขาด (ตามการตรวจแผลของนายแพทย์สุด แสงวิเชียร) เพราะทรงย่อมรู้เหมือนกับคนอื่นทั่วไปว่า ปืนกระบอกนั้นไกอ่อน ถ้ากระชับปืนเข้าที่หน้าผากขนาดนั้น ย่อมเป็นการเสี่ยงภัยจนเกินไป
สำหรับปัญหาเกี่ยวกับพยานหลายคน เช่น นายชิต นายบุศย์ และนายฉลาด เทียมงามสัจ ที่ให้การตรงกันว่า รัชกาลที่ ๙ ไม่ได้เข้าไปในห้องบรรทม เชื่อไม่ได้เลยหรือ
ตอบได้ว่า เชื่อไม่ได้ คนเหล่านี้ล้วนให้การเท็จ เพราะสำหรับนายฉลาดนั้น เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการโกหกของตนเอง นายฉลาดยอมรับในศาลว่า ตั้งแต่ถูกเรียกตัวไปสอบสวนก็ได้เบี้ยเลี้ยงจากสันติบาลวันละ ๓ บาท นอกจากนี้หลังจากที่ถูกปลดจากสำนักราชวัง ฐานหย่อนความสามารถ เมื่อเดือน ม.ค.๒๔๙๑ ก็ยังได้รับการบรรจุเข้าทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความสนับสนุนของพนักงานสอบสวน ข้อที่ชี้ชัดได้ว่านายฉลาดโกหกก็คือ การที่นายฉลาด บอกว่าไม่เห็นผู้ร้ายวิ่งออกจากห้องบรรทมเลย นี่เป็นการโกหกชัดๆ เพราะเมื่อมีการปลงพระชนม์เกิดขึ้นแล้ว ผู้ร้ายที่ไหนจะยอมอยู่เป็นเหยื่อในห้องบรรทม จะต้องวิ่งหนีออกจากห้องนั้น
ไม่น่าจะเป็นอุบัติเหตุ เพราะถ้ารัชกาลที่ ๙ เอาปืนล้อรัชกาลที่ ๘ แม้จะเล็งปืนเข้าไปใกล้เพียงใด ก็ไม่น่าจะถึงกับเอาปืนจ่อกระชับเข้าไปที่หน้าผากเป็นอันขาด (ตามการตรวจแผลของนายแพทย์สุด แสงวิเชียร) เพราะทรงย่อมรู้เหมือนกับคนอื่นทั่วไปว่า ปืนกระบอกนั้นไกอ่อน ถ้ากระชับปืนเข้าที่หน้าผากขนาดนั้น ย่อมเป็นการเสี่ยงภัยจนเกินไป
สำหรับปัญหาเกี่ยวกับพยานหลายคน เช่น นายชิต นายบุศย์ และนายฉลาด เทียมงามสัจ ที่ให้การตรงกันว่า รัชกาลที่ ๙ ไม่ได้เข้าไปในห้องบรรทม เชื่อไม่ได้เลยหรือ
ตอบได้ว่า เชื่อไม่ได้ คนเหล่านี้ล้วนให้การเท็จ เพราะสำหรับนายฉลาดนั้น เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการโกหกของตนเอง นายฉลาดยอมรับในศาลว่า ตั้งแต่ถูกเรียกตัวไปสอบสวนก็ได้เบี้ยเลี้ยงจากสันติบาลวันละ ๓ บาท นอกจากนี้หลังจากที่ถูกปลดจากสำนักราชวัง ฐานหย่อนความสามารถ เมื่อเดือน ม.ค.๒๔๙๑ ก็ยังได้รับการบรรจุเข้าทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความสนับสนุนของพนักงานสอบสวน ข้อที่ชี้ชัดได้ว่านายฉลาดโกหกก็คือ การที่นายฉลาด บอกว่าไม่เห็นผู้ร้ายวิ่งออกจากห้องบรรทมเลย นี่เป็นการโกหกชัดๆ เพราะเมื่อมีการปลงพระชนม์เกิดขึ้นแล้ว ผู้ร้ายที่ไหนจะยอมอยู่เป็นเหยื่อในห้องบรรทม จะต้องวิ่งหนีออกจากห้องนั้น
ส่วนนายชิตกับนายบุศย์นั้น ตกอยู่ในฐานะน้ำท่วมปาก พูดมากไม่ได้
เพราะการฟ้องร้องคดีสวรรคตนี้เกิดขึ้นหลังจากที่พวกทหารก่อรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลเลือกตั้ง
ผลจากรัฐประหารทำให้พระพินิจชนคดี พวกศักดินาได้เป็นอธิบดีกรมตำรวจ
และดำเนินการสอบสวน นายชิตเองถูกฉีดยาให้เคลิบเคลิ้ม ถูกขู่เข็ญสารพัด(๑๐)
ทั้งคู่รู้ดีว่า พวกศักดินาและพระพินิจฯ จะต้องเล่นงานพวกนายปรีดี พนมยงค์ให้ได้
โดยใช้กรณีสวรรคตเป็นเครื่องมือ ฉะนั้นถึงตนพูดความจริง ก็ไม่มีประโยชน์
ซ้ำจะเป็นอันตรายถึงครอบครัว เพราะทั้งคู่รู้ดีว่า
สมัยนั้นมีการใช้อำนาจเผด็จการรัฐประหารอย่างป่าเถื่อน เช่น ยิงทิ้ง
จับกุมคุมขังและทรมานผู้บริสุทธิ์อย่างไรบ้าง จึงยอมสงบปาก
หวังที่จะได้รับความเมตตาของศาล และอย่างน้อยที่สุด
ทั้งคู่น่าจะได้รับคำรับรองจากศักดินาว่า ถ้าศาลตัดสินประหารชีวิต รัชกาลที่ ๙
จะให้อภัยโทษ
ไม่ต้องถูกประหารชีวิตและทางครอบครัวจะได้รับการเลี้ยงดู
เป็นที่น่าเสียใจที่
นายชิตและนายบุศย์ไม่ได้รับความปรานีจากศักดินา หลังจากที่เขาถูกตัดสินประหารชีวิต
แม้จะถวายฎีกา แต่รัชกาลที่ ๙ ยกฎีกาเสีย จอมพล ป. เล่าให้ลูกชาย (พล.ต.อนันต์
พิบูลย์สงคราม) ฟังว่าตนเอง “....ได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึง ๓ ครั้ง...” (๑๐)
แต่รัชกาลที่ ๙ ไม่ยอมให้ผู้ที่รู้ความลับของตนมีชีวิตต่อไป จึงยกฎีกาเสีย
อย่างไรก็ดี ศักดินาใหญ่ก็ฉลาดพอที่จะส่งเงินอุดหนุนจุนเจือ ครอบครัวผู้ถูกประหารชีวิตเสมอมา เพื่อป้องกันมิให้ครอบครัวผู้สิ้นชีวิตโวยวาย ซึ่งเรื่องนี้ นายปรีดี พนมยงค์ได้เปิดโปงไว้ในคำฟ้องคดีที่นายชาลี เอี่ยมกระสิทธ์ หมิ่นประมาทนายปรีดีว่า ครอบครัวผู้ตายได้รับการช่วยเหลือทางการเงินจากพระราชวงศ์องค์หนึ่ง ซึ่งพวกศักดินาก็ไม่กล้าโต้ตอบแต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี ศักดินาใหญ่ก็ฉลาดพอที่จะส่งเงินอุดหนุนจุนเจือ ครอบครัวผู้ถูกประหารชีวิตเสมอมา เพื่อป้องกันมิให้ครอบครัวผู้สิ้นชีวิตโวยวาย ซึ่งเรื่องนี้ นายปรีดี พนมยงค์ได้เปิดโปงไว้ในคำฟ้องคดีที่นายชาลี เอี่ยมกระสิทธ์ หมิ่นประมาทนายปรีดีว่า ครอบครัวผู้ตายได้รับการช่วยเหลือทางการเงินจากพระราชวงศ์องค์หนึ่ง ซึ่งพวกศักดินาก็ไม่กล้าโต้ตอบแต่อย่างใด
จ. ในเมื่อหลักฐานพยานแวดล้อมต่างผูกมัดว่า รัชกาลที่ ๙
ฆ่ารัชกาลที่ ๘ เช่นนี้ทำไมศาลไม่พิพากษาเอาตัวไปลงโทษ
ที่เป็นเช่นนี้ ขณะนั้น อำนาจมืดอันเกิดจากการรัฐประหารด้วยปืนแผ่ซ่านไปทั่ว มีความพยายามที่จะปกป้องรัชกาลที่ ๙ และโยนบาปไปให้พวก ดร.ปรีดี โดยการใช้วิธีการทุกอย่าง เช่น
จ.๑ สร้างพยานเท็จ นอกจากที่กล่าวแล้ว ยังมีการสร้างพยานเท็จว่า ดร.ปรีดีและพวก ปรึกษากันว่าจะฆ่ารัชกาลที่ ๘ ที่บ้านพระยาศรยุทธเสนี โดยมีนายตี๋ ศรีสุวรรณ เป็นผู้ล่วงรู้ความลับนี้ เรื่องโกหกพรรค์นี้ แม้ศาลก็ไม่กล้าเชื่อ ในภายหลัง นายตี๋ ศรีสุวรรณ ยอมรับกับท่านปัญญานันทะ ภิกขุว่าตนให้การเท็จ
นอกจากนี้ยังมีนายวงศ์ เชาวนะกวี ให้การว่าได้ยินนายปรีดีพูดกับตนว่า ต่อไปนี้นายปรีดีจะไม่ป้องกันราชบัลลังก์ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าหัวเราะ เพราะนายวงศ์มิใช่ผู้ที่สนิทชิดเชื้อกับนายปรีดี พอที่นายปรีดีจะพูดความลับ อันเป็นความเป็นความตายด้วย
จ.๒ มีการทำลายหลักฐานต่างๆที่จะผูกมัดรัชกาลที่ ๙ ในภายหลัง เช่น พระชนนีสั่งให้พระพี่เลี้ยงเนื่อง ทำความสะอาดพระศพ แล้วยังให้หมอนิตย์ เย็บบาดแผล ทั้งที่พระชนนีเป็นพยาบาลมาก่อน ย่อมรู้ดีว่า ควรจัดการอย่างไรกับศพที่มีเค้าว่าจะถูกฆาตกรรม
นอกจากนี้ยังมีการผลัดเสื้อผ้าพระศพ โดยเฉพาะหมอนนั้นถูกนำไปฝัง หลังรัชกาลที่ ๘ สวรรคตไปแล้ว ๑๐ วัน ซึ่งพระยาชาติเดชอุดม เลขาธิการพระราชวังให้การว่าจะทำเช่นนี้ได้ต้องมี ”ผู้ใหญ่สั่ง” แน่นอนผู้ที่ใหญ่กว่าเลขาธิการพระราชวัง ในวังหลวงนั้นเห็นจะมีแต่พระชนนี หาไม่ก็รัชกาลที่ ๙ เท่านั้น
ที่ร้ายกว่านี้คือ มีการเคลื่อนย้ายพระศพรัชกาลที่ ๘ ออกไปและมีผู้ยกเอาพระศพไปไว้บนเก้าอี้โซฟาแทน(๑๑) การแตะต้องพระบรมศพนั้น มิใช่ว่าจะกระทำได้ง่ายๆ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้านายผู้ใหญ่ก่อนเท่านั้น
จ.๓ เมื่อรัฐบาลพลเรือนชุดก่อนที่จะถูกรัฐประหาร จะชันสูตรพระศพรัชกาลที่ ๘ กลับถูกคัดค้านจากกรมขุนชัยนาทและพระชนนีจนกระทำไม่ได้(๑๒)
จ.๔ แม้แต่ศาลฎีกา ก็พยายามช่วยเหลือรัชกาลที่ ๙ และโยนความผิดให้ผู้อื่น ดังจะเห็นได้ว่า
จ.๔.๑ มีเพียงสองคนเท่านั้นในคดีนี้ ที่ไม่ได้รับการตรวจพิสูจน์เขม่าปืนที่มือ คือพระชนนีกับร.๙ เมื่อปรากฏว่ามีนายตำรวจคนหนึ่งเสนอให้ทำการพิสูจน์ด้วย ผลต่อมาปรากฏว่านายตำรวจผู้นั้นถูกสั่งปลดออกจากราชการ
จ.๔.๒ ศาลหลีกเลี่ยงไม่ยอมปฏิบัติตามมาตรา ๑๗๒ และ ๑๗๒ ทวิ แห่งประมวลวิธีความอาญาซึ่งกำหนดว่า การซักค้านพยาน อันจะเกิดความเสียหายต่อจำเลย ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย ศาลกลับเดินเผชิญสืบพระชนนีและรัชกาลที่ ๙ ที่สวิสเซอร์แลนด์ ในวันที่ ๑๒ และ ๑๕ พ.ศ. ๒๔๙๓ โดยไม่ยอมให้จำเลยและทนายไปซักค้านด้วย แม้พระชนนีและรัชกาลที่ ๙ ให้การสับสน ทนายจำเลยก็ซักค้านไม่ได้
การซักค้านรัชกาลที่ ๙ และพระราชชนนีโดยอัยการ คราวนี้ได้กระทำอย่างขอไปที อย่างน่าเกลียด ทั้งที่รัชกาลที่ ๙ เป็นผู้ที่น่าสงสัยที่สุด ในฐานะที่ได้รับประโยชน์จากการตายของรัชกาลที่ ๘ แต่ผู้เดียว อัยการกลับซักถามรัชกาลที่ ๙ เพียงไม่กี่คำ และเลี่ยงที่จะไต่ถามในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ นอกจากนี้ศาลฎีกายังหลีกเลี่ยงไม่ยอมปฏิบัติตามมาตรา ๒๐๘ และ ๒๐๘ ทวิ และ ๒๒๕ แห่งประมวลวิธีความอาญา เพราะว่าตามปกตินั้น คดีสำคัญๆจะต้องนำไปให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาวินิจฉัย แต่คดีสวรรคตเป็นคดีที่สำคัญกว่าคดีทั้งปวงในประวัติศาสตร์ ที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกากลับไม่ได้วินิจฉัย มีเพียงผู้พิพากษา ๕ คนเท่านั้น ที่เป็นผู้ตัดสินคดี ที่คณะศาลฎีกาไม่ยอมเอาคดีนำขึ้นสู่ที่ประชุมใหญ่ ก็เพราะไม่อยากให้ผู้ที่จับได้ไล่ทัน คัดค้านนั่นเอง
จ.๔.๓ เพื่อให้ความผิดพ้นจากตัวรัชกาลที่ ๙ ศาลฎีกาถึงกับประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์อย่าง นายเฉลียว ปทุมรส ซึ่งคนผู้นี้ ศาลฎีกาไม่สามารถกล่าวออกมาได้ว่า เกี่ยวข้องกับคดีสวรรคตอย่างไร นอกจากอ้างซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า มีความใกล้ชิดกับนายปรีดี เช่น ยืนตามคำให้การของ “นายรวิ ผลเนืองมา” ว่านายเฉลียว จัดรถพระที่นั่งของรัชกาลที่ ๘ ให้นายปรีดีใช้ ขณะที่รัชกาลที่ ๘ อยู่ที่หัวหิน อันเป็นการแสดงความไม่จงรักภักดี (ซึ่งเป็นคำให้การเท็จเพราะขณะนั้นนายปรีดีก็อยู่ที่หัวหินด้วย) ไม่ว่านายเฉลียวจะใกล้ชิดกับนายปรีดี หรือมีความจงรักภักดีกับรัชกาลที่ ๘ มากน้อยเพียงใด การประหารชีวิตนายเฉลียว ก็เป็นบาปอันมหันต์ของศาลฎีกาชุดนั้น เพราะกระทั่งฆาตกร ศาลก็วินิจฉัยไม่ได้ว่าใครเป็นผู้กระทำ ศาลกลับให้ฆ่านายเฉลียว เพียงเพราะนายเฉลียวใกล้ชิดกับนายปรีดี
เมื่อการสะสางคดีนี้จบลง โดยการมีแพะรับบาป ต้องคำพิพากษาประหารชีวิต ๓ คนคือ นายชิต สิงหเสนี นายบุศย์ ปัทมศริน นายเฉลียว ปทุมรส ส่วนรัชกาลที่ ๙ ก็ได้ทรงหนีไปอยู่ต่างประเทศชั่วคราวระยะหนึ่งจึงเสด็จกลับ เพื่อเป็นการหนีเสียงครหานินทาของประชาชน โดยวางหมากให้แม่เป็นผู้ออกรับแทน
ก่อนที่คนทั้ง ๓ จะถูกประหารชีวิต คนหนึ่งได้ขอพบเผ่า ศรียานนท์เป็นการส่วนตัว และได้พูดคุยกับเผ่าเป็นการลำพังประมาณ ๑๐ นาที เมื่อหนังสือพิมพ์ได้ถามหลังการประหาร ๓ คนนั้นแล้ว ว่าได้คุยเรื่องอะไรกันบ้าง เผ่าไม่ยอมตอบ แน่นอนเผ่าจะต้องรู้ว่า ใครเป็นฆาตกรโหดในกรณีดังกล่าวและไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า เผ่าจะไม่ได้บอกเพื่อนสนิทให้รู้ความลับนี้ ในจำนวนเหล่านั้นมี แปลก สฤษดิ์และประภาสรวมอยู่ด้วย
การกำจัดรัชกาลที่ ๘ นั้น นับว่าเป็นการยิงทีเดียวได้นก ๒ ตัว เพราะนอกจากรัชกาลที่ ๙ จะจัดการกับรัชกาลที่ ๘ ได้แล้ว ยังได้กำจัด ดร.ปรีดี ซึ่งเป็นต้นตอทำลายผลประโยชน์ของพวกกลุ่มศักดินาอีกด้วย อีกทั้ง ดร.ปรีดีจะรู้อะไรมากไปสักหน่อย สมควรที่จะถูกทำลายลงเสียที ฉะนั้นเมื่อสิ้นเสียงปืนไม่นาน ปรีดีต้องลี้ภัยทางการเมืองไป ตั้งแต่ปี ๒๔๙๑ จนถึงปัจจุบัน
ข้อน่าสังเกตประการหนึ่ง ซึ่งเพิ่งถูกค้นพบในระยะหลังๆคือ เมียของ ร.ท.สิทธิชัย ชัยสิทธิเวชผู้ถูกระบุว่าเป็นมือปืน แล้วหนีตาม ดร.ปรีดีไปอยู่เมืองนอก ชื่อชะอุ่ม กลับได้รับตำแหน่งหัวหน้าแม่ครัวในวังสวนจิตรลดาตราบเท่าทุกวันนี้ ลูกทุกคนได้รับการส่งเสียให้เงินทุนไปเรียนต่อต่างประเทศ และตัว ร.ท.สิทธิชัยเองก็กลับมาอยู่อาศัยที่ลาดพร้าว ซอย ๑๐๑ อย่างสุขสบาย โดยที่เจ้าตัวไม่ต้องทำมาหากินแต่อย่างใด หากเขาเป็นฆาตกรจริง ทำไมรัชกาลที่ ๙ จึงยังทรงไว้วางพระทัยในตัวแม่ครัวปัจจุบัน และเหตุใดจึงไม่ให้มีการลงโทษตามตัวบทกฎหมาย เช่นเดียวกับที่เคยเล่นงานนายชิตและนายบุศย์
หลักฐานจากผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สวรรคตที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ได้ชี้อย่างเด่นชัดว่า ฆาตกรผู้ฆ่ารัชกาลที่ ๘ อย่างเลือดเย็นนั้น จะเป็นผู้อื่นมิได้เลย นอกจากรัชกาลที่ ๙ มหาราชองค์ปัจจุบัน
ที่เป็นเช่นนี้ ขณะนั้น อำนาจมืดอันเกิดจากการรัฐประหารด้วยปืนแผ่ซ่านไปทั่ว มีความพยายามที่จะปกป้องรัชกาลที่ ๙ และโยนบาปไปให้พวก ดร.ปรีดี โดยการใช้วิธีการทุกอย่าง เช่น
จ.๑ สร้างพยานเท็จ นอกจากที่กล่าวแล้ว ยังมีการสร้างพยานเท็จว่า ดร.ปรีดีและพวก ปรึกษากันว่าจะฆ่ารัชกาลที่ ๘ ที่บ้านพระยาศรยุทธเสนี โดยมีนายตี๋ ศรีสุวรรณ เป็นผู้ล่วงรู้ความลับนี้ เรื่องโกหกพรรค์นี้ แม้ศาลก็ไม่กล้าเชื่อ ในภายหลัง นายตี๋ ศรีสุวรรณ ยอมรับกับท่านปัญญานันทะ ภิกขุว่าตนให้การเท็จ
นอกจากนี้ยังมีนายวงศ์ เชาวนะกวี ให้การว่าได้ยินนายปรีดีพูดกับตนว่า ต่อไปนี้นายปรีดีจะไม่ป้องกันราชบัลลังก์ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าหัวเราะ เพราะนายวงศ์มิใช่ผู้ที่สนิทชิดเชื้อกับนายปรีดี พอที่นายปรีดีจะพูดความลับ อันเป็นความเป็นความตายด้วย
จ.๒ มีการทำลายหลักฐานต่างๆที่จะผูกมัดรัชกาลที่ ๙ ในภายหลัง เช่น พระชนนีสั่งให้พระพี่เลี้ยงเนื่อง ทำความสะอาดพระศพ แล้วยังให้หมอนิตย์ เย็บบาดแผล ทั้งที่พระชนนีเป็นพยาบาลมาก่อน ย่อมรู้ดีว่า ควรจัดการอย่างไรกับศพที่มีเค้าว่าจะถูกฆาตกรรม
นอกจากนี้ยังมีการผลัดเสื้อผ้าพระศพ โดยเฉพาะหมอนนั้นถูกนำไปฝัง หลังรัชกาลที่ ๘ สวรรคตไปแล้ว ๑๐ วัน ซึ่งพระยาชาติเดชอุดม เลขาธิการพระราชวังให้การว่าจะทำเช่นนี้ได้ต้องมี ”ผู้ใหญ่สั่ง” แน่นอนผู้ที่ใหญ่กว่าเลขาธิการพระราชวัง ในวังหลวงนั้นเห็นจะมีแต่พระชนนี หาไม่ก็รัชกาลที่ ๙ เท่านั้น
ที่ร้ายกว่านี้คือ มีการเคลื่อนย้ายพระศพรัชกาลที่ ๘ ออกไปและมีผู้ยกเอาพระศพไปไว้บนเก้าอี้โซฟาแทน(๑๑) การแตะต้องพระบรมศพนั้น มิใช่ว่าจะกระทำได้ง่ายๆ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้านายผู้ใหญ่ก่อนเท่านั้น
จ.๓ เมื่อรัฐบาลพลเรือนชุดก่อนที่จะถูกรัฐประหาร จะชันสูตรพระศพรัชกาลที่ ๘ กลับถูกคัดค้านจากกรมขุนชัยนาทและพระชนนีจนกระทำไม่ได้(๑๒)
จ.๔ แม้แต่ศาลฎีกา ก็พยายามช่วยเหลือรัชกาลที่ ๙ และโยนความผิดให้ผู้อื่น ดังจะเห็นได้ว่า
จ.๔.๑ มีเพียงสองคนเท่านั้นในคดีนี้ ที่ไม่ได้รับการตรวจพิสูจน์เขม่าปืนที่มือ คือพระชนนีกับร.๙ เมื่อปรากฏว่ามีนายตำรวจคนหนึ่งเสนอให้ทำการพิสูจน์ด้วย ผลต่อมาปรากฏว่านายตำรวจผู้นั้นถูกสั่งปลดออกจากราชการ
จ.๔.๒ ศาลหลีกเลี่ยงไม่ยอมปฏิบัติตามมาตรา ๑๗๒ และ ๑๗๒ ทวิ แห่งประมวลวิธีความอาญาซึ่งกำหนดว่า การซักค้านพยาน อันจะเกิดความเสียหายต่อจำเลย ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย ศาลกลับเดินเผชิญสืบพระชนนีและรัชกาลที่ ๙ ที่สวิสเซอร์แลนด์ ในวันที่ ๑๒ และ ๑๕ พ.ศ. ๒๔๙๓ โดยไม่ยอมให้จำเลยและทนายไปซักค้านด้วย แม้พระชนนีและรัชกาลที่ ๙ ให้การสับสน ทนายจำเลยก็ซักค้านไม่ได้
การซักค้านรัชกาลที่ ๙ และพระราชชนนีโดยอัยการ คราวนี้ได้กระทำอย่างขอไปที อย่างน่าเกลียด ทั้งที่รัชกาลที่ ๙ เป็นผู้ที่น่าสงสัยที่สุด ในฐานะที่ได้รับประโยชน์จากการตายของรัชกาลที่ ๘ แต่ผู้เดียว อัยการกลับซักถามรัชกาลที่ ๙ เพียงไม่กี่คำ และเลี่ยงที่จะไต่ถามในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ นอกจากนี้ศาลฎีกายังหลีกเลี่ยงไม่ยอมปฏิบัติตามมาตรา ๒๐๘ และ ๒๐๘ ทวิ และ ๒๒๕ แห่งประมวลวิธีความอาญา เพราะว่าตามปกตินั้น คดีสำคัญๆจะต้องนำไปให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาวินิจฉัย แต่คดีสวรรคตเป็นคดีที่สำคัญกว่าคดีทั้งปวงในประวัติศาสตร์ ที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกากลับไม่ได้วินิจฉัย มีเพียงผู้พิพากษา ๕ คนเท่านั้น ที่เป็นผู้ตัดสินคดี ที่คณะศาลฎีกาไม่ยอมเอาคดีนำขึ้นสู่ที่ประชุมใหญ่ ก็เพราะไม่อยากให้ผู้ที่จับได้ไล่ทัน คัดค้านนั่นเอง
จ.๔.๓ เพื่อให้ความผิดพ้นจากตัวรัชกาลที่ ๙ ศาลฎีกาถึงกับประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์อย่าง นายเฉลียว ปทุมรส ซึ่งคนผู้นี้ ศาลฎีกาไม่สามารถกล่าวออกมาได้ว่า เกี่ยวข้องกับคดีสวรรคตอย่างไร นอกจากอ้างซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า มีความใกล้ชิดกับนายปรีดี เช่น ยืนตามคำให้การของ “นายรวิ ผลเนืองมา” ว่านายเฉลียว จัดรถพระที่นั่งของรัชกาลที่ ๘ ให้นายปรีดีใช้ ขณะที่รัชกาลที่ ๘ อยู่ที่หัวหิน อันเป็นการแสดงความไม่จงรักภักดี (ซึ่งเป็นคำให้การเท็จเพราะขณะนั้นนายปรีดีก็อยู่ที่หัวหินด้วย) ไม่ว่านายเฉลียวจะใกล้ชิดกับนายปรีดี หรือมีความจงรักภักดีกับรัชกาลที่ ๘ มากน้อยเพียงใด การประหารชีวิตนายเฉลียว ก็เป็นบาปอันมหันต์ของศาลฎีกาชุดนั้น เพราะกระทั่งฆาตกร ศาลก็วินิจฉัยไม่ได้ว่าใครเป็นผู้กระทำ ศาลกลับให้ฆ่านายเฉลียว เพียงเพราะนายเฉลียวใกล้ชิดกับนายปรีดี
เมื่อการสะสางคดีนี้จบลง โดยการมีแพะรับบาป ต้องคำพิพากษาประหารชีวิต ๓ คนคือ นายชิต สิงหเสนี นายบุศย์ ปัทมศริน นายเฉลียว ปทุมรส ส่วนรัชกาลที่ ๙ ก็ได้ทรงหนีไปอยู่ต่างประเทศชั่วคราวระยะหนึ่งจึงเสด็จกลับ เพื่อเป็นการหนีเสียงครหานินทาของประชาชน โดยวางหมากให้แม่เป็นผู้ออกรับแทน
ก่อนที่คนทั้ง ๓ จะถูกประหารชีวิต คนหนึ่งได้ขอพบเผ่า ศรียานนท์เป็นการส่วนตัว และได้พูดคุยกับเผ่าเป็นการลำพังประมาณ ๑๐ นาที เมื่อหนังสือพิมพ์ได้ถามหลังการประหาร ๓ คนนั้นแล้ว ว่าได้คุยเรื่องอะไรกันบ้าง เผ่าไม่ยอมตอบ แน่นอนเผ่าจะต้องรู้ว่า ใครเป็นฆาตกรโหดในกรณีดังกล่าวและไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า เผ่าจะไม่ได้บอกเพื่อนสนิทให้รู้ความลับนี้ ในจำนวนเหล่านั้นมี แปลก สฤษดิ์และประภาสรวมอยู่ด้วย
การกำจัดรัชกาลที่ ๘ นั้น นับว่าเป็นการยิงทีเดียวได้นก ๒ ตัว เพราะนอกจากรัชกาลที่ ๙ จะจัดการกับรัชกาลที่ ๘ ได้แล้ว ยังได้กำจัด ดร.ปรีดี ซึ่งเป็นต้นตอทำลายผลประโยชน์ของพวกกลุ่มศักดินาอีกด้วย อีกทั้ง ดร.ปรีดีจะรู้อะไรมากไปสักหน่อย สมควรที่จะถูกทำลายลงเสียที ฉะนั้นเมื่อสิ้นเสียงปืนไม่นาน ปรีดีต้องลี้ภัยทางการเมืองไป ตั้งแต่ปี ๒๔๙๑ จนถึงปัจจุบัน
ข้อน่าสังเกตประการหนึ่ง ซึ่งเพิ่งถูกค้นพบในระยะหลังๆคือ เมียของ ร.ท.สิทธิชัย ชัยสิทธิเวชผู้ถูกระบุว่าเป็นมือปืน แล้วหนีตาม ดร.ปรีดีไปอยู่เมืองนอก ชื่อชะอุ่ม กลับได้รับตำแหน่งหัวหน้าแม่ครัวในวังสวนจิตรลดาตราบเท่าทุกวันนี้ ลูกทุกคนได้รับการส่งเสียให้เงินทุนไปเรียนต่อต่างประเทศ และตัว ร.ท.สิทธิชัยเองก็กลับมาอยู่อาศัยที่ลาดพร้าว ซอย ๑๐๑ อย่างสุขสบาย โดยที่เจ้าตัวไม่ต้องทำมาหากินแต่อย่างใด หากเขาเป็นฆาตกรจริง ทำไมรัชกาลที่ ๙ จึงยังทรงไว้วางพระทัยในตัวแม่ครัวปัจจุบัน และเหตุใดจึงไม่ให้มีการลงโทษตามตัวบทกฎหมาย เช่นเดียวกับที่เคยเล่นงานนายชิตและนายบุศย์
หลักฐานจากผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สวรรคตที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ได้ชี้อย่างเด่นชัดว่า ฆาตกรผู้ฆ่ารัชกาลที่ ๘ อย่างเลือดเย็นนั้น จะเป็นผู้อื่นมิได้เลย นอกจากรัชกาลที่ ๙ มหาราชองค์ปัจจุบัน
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar