คลิกดูภาพ-2 nya foton.
สัดส่วนคะแนนเสียงเขต, คะแนนบัญชีพรรค และจำนวน สส.ของเพื่อไทย และ ปชป ในการเลือกตั้ง 2554 เปรียบเทียบระบบมีชัยและปัญหาข้อวิจารณ์ระบบมีชัยของ ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
ความจริงเดิมผมจะโพสต์กระทู้นี้ในลักษณะเป็นการอธิบายเพิ่มเติมกระทู้ที่แล้ว "ปัญหาการคำนวนจำนวน "ผู้แทนราษฎร" ในรัฐธรรมนูญ คสช-มีชัย ตอนที่ 1" คือยังไม่ใช่ "ตอนที่ 2" (ซึ่งจะกล่าวถึงผลที่จะเกิดขึ้นถ้าใช้ระบบมีชัย) เสียทีเดียว - ผมคิดเล่นๆว่า จะเรียกกระทู้นี้เล่นๆว่า "ตอนที่ 1 ครึ่ง" 555 - ใครยังไม่ได้อ่าน "ตอนที่ 1" และสนใจอยากปวดหัว เอ๊ย อยากอ่าน ดูที่นี่ https://goo.gl/Gc2566 (กระทู้นี้ ต้องเตือนล่วงหน้าว่า น่าปวดหัวพอๆกัน หรือมากกว่าอีก)
กำลังจะโพสต์ก็พอดีเห็นบทความของ ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ ที่วิจารณ์ระบบเลือกตั้งตามข้อเสนอมีชัย (ดูที่นี่ http://news.thaipbs.or.th/content/250110 )
ผมจึงจะขอพูดถึงบทความของ ดร.ประจักษ์ไปพร้อมๆกันในกระทู้นี้ด้วย แต่บทความประจักษ์พาดพิงถึงประเด็นเรื่องผลที่จะเกิดขึ้นจากระบบมีชัย ซึ่งผมจะเก็บไว้พูดอีกทีใน "ตอนที่ 2" เฉพาะในกระทู้นี้จะพูดถึงเรื่องปัญหาระบบมีชัยที่ประจักษ์วิจารณ์บางประเด็น
ผมคิดว่า ประจักษ์ต้องการวิจารณ์คัดค้าน-ล้ม รธน มีชัย ซึ่งนี่เป็นเป้าหมายที่ผมแชร์ แต่ผมเห็นต่างในแง่ที่ว่า เฉพาะกรณีระบบเลือกตั้ง (ซึ่่งประจักษ์ย่อมทราบดีว่ามีความซับซ้อนมากๆ) เป็นเรื่องเชิงเทคนิคที่ควรแยกพิจารณาในลักษณะเป็นเอกเทศต่างหากได้ในระดับหนึ่ง - ในขณะที่ตามความรู้สึกของผม ประจักษ์มุ่งที่เป้าหมายเรื่องคัดค้าน-ล้ม รธน มีชัย จนทำให้การวิจารณ์หลายจุดมากๆคลาดเคลื่อนเกินเลยไป (คือถ้าไม่มุ่งเรื่องเป้าหมายดังกล่าว ความจริงประจักษ์ไม่น่าที่จะวิจารณ์บางประเด็นอย่างที่วิจารณ์เลย) ดังที่ผมจะแสดงให้ดูข้างล่าง
แต่ก่อนอื่น ผมขอพูดถึงเรื่องทีเดิมเตรียมไว้ก่อน คือผมได้ทำตารางแสดงให้เห็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งที่พูดในกระทู้ที่แล้ว นั่นคือปัญหาของระบบเลือกตั้งที่เราใช้มาตั้งแต่ รธน 2540 (รธน 2550 ของ คมช ความจริงคือระบบเดียวกัน เปลี่ยนเรื่องตัวเลขนิดหน่อย) ซึ่งใช้การเลือกเขตและเลือกปาร์ตี้ลิสต์แยกจากกันเด็ดขาด แค่เอาจำนวนมาบวกกัน คือไม่ได้ใช้ผลการเลือกอันใดอันหนึ่งมาคำนวนการเลือกอีกอันหนึ่ง
ปัญหาของการเลือกตั้งแบบนี้คือ ในที่สุดตัวเลขจำนวนที่นั่งในสภาของแต่ละพรรค (โดยเฉพาะพรรคใหญ่สุด) ไม่ได้สัดส่วนกับจำนวนการสนับสนุนที่เป็นจริงของประชาชน ซึ่งดังที่ผมอธิบายในกระทู้ก่อน ปัญหามาจากเรื่องระบบเขตที่ใช้วิธี winner takes all (ผู้ชนะได้หมด) ไม่ว่าจะชนะกับเพียงไม่กี่ร้อยหรือไม่กี่พัน (ซึ่งหมายถึงว่า ประชาชนที่สนับสนุนผู้สมัครที่ "แพ้" ซึ่งความจริงมีจำนวนไม่ห่างจากประชาชนที่สนับสนุนผู้ "ชนะ" ไม่มี "ตัวแทน" ของตนเลย และด้วยการใช้ระบบ "คู่ขนาน" คือมีปาร์ตี้ลิสต์(ซึ่งโดยตัวเองเป็นสัดส่วนอยู่ แต่แยกต่างหากไม่เกี่ยวกับการคำนวนระบบเขต) มา "บวก" เข้าไปเฉยๆ ทำให้ความไม่ได้สัดส่วนที่เกิดจากระบบเขต ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นในจำนวนตัวเลขรวมของที่นั่งสภา
พูดแบบสรุปคือระบบที่เป็นอยู่ตั้งแต่ปี 2540 ขัดแย้งกับหลักการปกครองแบบ "ประชาธิปไตยตัวแทน" (representative democracy) คือ ที่นั่งหรือ "ดุลย์อำนาจ" ในสภา ไม่ได้สะท้อนดุลย์อำนาจที่เป็นจริงของประชาชนกลุ่มต่างๆ
ขอให้ดูตารางในส่วนซ้ายมือ ที่สรุปผลการเลือกตั้ง 2554 จะเห็นได้ชัดว่า ในขณะที่ เพื่อไทย มีสัดส่วนประชาชนสนับสนุน 44.30% (เมื่อมองจากเขต) และ 48.40% (เมื่อมองจากปาร์ตี้ลิสต์) - คือไม่ถึงครึ่ง(เกือบครึ่งเท่านั้น) ไม่ว่าจะมองแบบไหน - แต่กลับมีที่นั่งในสภา 53% ส่วนประชาธิปัตย์ ที่ได้เสียงสนับสนุนจากประชาชน 32.3% (มองจากเขต) และ 35.1% (มองจากปาร์ตี้ลิสต์) มีเสียงในสภา 31.8%
ในขณะที่อาจจะบอกว่า ปชป ได้ที่นั่งในสภา "ใกล้เคียง" กับเปอร์เซนต์ประชาชนผู้สนับสนุนถ้ามองจากเขต (ต่างกันไม่ถึง 1%) แต่ถ้ามองจากปาร์ตี้ลิสต์ จะเห็นว่าได้น้อยกว่าเสียงสนับสนุนจริง 3.2%
แต่ที่สำคัญทีสุดคือ ถ้าเรามองในเชิงเปรียบเทียบเรื่อง "ดุลย์อำนาจ" หรือเสียงประชาชนทีสนับสนุน 2 พรรคในระดับทั่วประเทศ กับจำนวนที่นั่งในสภา จะเห็นความแตกต่าง(และไม่ได้สัดส่วน)ที่ใหญ่มาก
คือไม่ว่าจะมองจากเขต หรือมองจากปาร์ตี้ลิสต์ จะเห็นว่า มีประชาชนที่สนับสนุนเพื่อไทย ในสัดส่วนที่มากกว่าประชาชนที่สนับสนุน ปชป ในลักษณะคล้ายๆกัน คือ ในแบบเขต เพื่อไทยมากกว่า ปชป 12% และในแบบปาร์ตี้ลิสต์ 13.3% แต่ปรากฏว่า เสียงหรือ "ดุลย์อำนาจ" ในสภาของเพื่อไทย ตามระบบแบบนี้ มากกว่า ปชป ถึง 21.2%
มองจากหลักการ "ประชาธิปไตยตัวแทน" ที่ความเห็น(นโยบาย)หรือ "อำนาจ" ในสภา ควรจะเป็นการสะท้อน (representation) ความเห็นหรือดุลย์อำนาจที่เป็นจริง ของประชาชนกลุ่มต่างๆทั่วประเทศ ตัวเลขที่ว่านี้เป็นอะไรที่เป็นปัญหาแน่
ในตารางด้านขวา ผมได้ทำเปรียบเทียบให้ดูว่า ถ้าคิดตามระบบมีชัย ผลรวมที่ได้จะออกมาอย่างไร ซึ่งจะเห็นว่า ในส่วนของ 2 พรรคใหญ่ ด้วยความที่คำนวนโดยอิงกับเสียงเขต ทั้งในแง่เปอร์เซนต์ที่นั่งในสภาของแต่ละพรรค (45% เพื่อไทย และ 32% ปชป) และความแตกต่างระหว่างดุลย์อำนาจ (13%) จะใกล้เคียงมากหรือตรงกับการสนับสนุนจริงที่แต่ละพรรคได้รับและที่ต่างกันจริง
..................
ทีนี้มาที่บทความประจักษ์
ประจักษ์ "เฟรม" หรือวางกรอบอภิปรายเรื่อง รธน มีชัยในลักษณะวิพากษ์ปฏิเสธ (ซึ่งดังผมที่เขียนตอนต้น ผมแชร์เป้าหมายนี้) ซึ่งถ้าคนอ่านไม่มีแบ๊คกราวน์ความรู้เรื่องระบบเลือกตั้งต่างๆเพียงพอ ภาพรวมๆที่ได้ ก็เหมือนจะสรุปว่า ระบบที่ใช้มาตั้งแต่ 2540 ดีแล้ว ระบบที่มีชัยเสนอใช้ไม่ได้ ผิดเลย ทั่วโลกไม่มีใครใช้ ฯลฯ อะไรทำนองนั้น
แต่ถ้าอ่านให้ดีๆและมีแบ๊คกราวน์เรื่องนี้พอ จะเห็นว่า แม้ประจักษ์จะพูดถึง "ข้อดี" ของระบบ 2540 หลายจุด แต่สุดท้ายประจักษ์ไม่ได้ "ฟันธง" ลงไปเลยว่า ต้องใช้ระบบ 2540 มิหนำซ้ำ - และอันนี้แหละสำคัญมาก - ประจักษ์สรุปตอนท้าย (ข้อ 15 ในบทความเขา) ว่า ให้เอาระบบ 2540 #และระบบที่เสนอโดยบวรศักดิ์ในร่างเดิมของ #คสช ที่ตกไป #มาร่วมพิจารณา - ทำไม?
คผมคิดว่า ไม่มีปัญหาเลยว่า ลึกๆประจักษ์ตระหนักดีว่า ระบบ 2540 มันมีปัญหาใหญ่ทำนองที่ผมเขียนไปข้างบน (ความ "ไม่เป็นตัวแทน" หรือไม่ได้สัดส่วนแท้จริงของสภากับความเห็นที่แตกต่างของประชาชน) การที่ประจักษ์เสนอให้เอาระบบแบบบวรศักดิ์มาร่วมพิจารณาด้วย ประจักษ์จะต้องรู้ดีว่า อันที่จริงระบบทีบวรศักดิ์เสนอ กับระบบ 2540 ที่ใช้ มันคนละระบบหรือมีความแตกต่างสำคัญมาก ในเรื่องเกี่ยวกับการได้สัดส่วนดังกล่าว คือระบบบวรศักดิ์ หรือที่เรียกเป็นศัพท์เทคนิคย่อว่า MMP ("ระบบเยอรมัน") คือระบบที่มุ่งจะใช้ปาร์ตี้ลิสต์มาแก้ปัญหาสัดส่วนของการเลือกแบบเขต #โดยที่จำนวนปาร์ตี้ลิสต์และจำนวนที่นั่งทั้งหมดในสภาจะต้องผูกคำนวนไว้ด้วยกัน แต่ระบบ 2540 นั้น "ปาร์ตี้ลิสต์" ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องสัดส่วนเลย เพราะปาร์ตี้ลิสต์กับเขตแยกคำนวนจากกัน - เรียกเป็นศัพท์เทคนิคว่า "ระบบคู่ขนาน" หรือ Parallel electoral system (มิหนำซ้ำ พลอยทำให้ที่นั่งรวม "บิดเบี้ยว" หรือ "ผิดเพี้ยน" สัดส่วนมากขึ้นอีก ดังที่ผมแสดงให้ดูในกรณีเลือกตั้ง 2554 ข้างต้น)
อันที่จริง ไม่เพียงเรื่องเสนอให้เอาระบบบวรศักดิ์(ซึ่งคนละเรื่องกับระบบ 2540) มาร่วมพิจารณา อีกประเด็นทีสำคัญมากเช่นกัน ที่สะท้อนว่าการวิจารณ์ของประจักษ์ครั้งนี้ มุ่ง "เฟรม" หรือวางกรอบเรื่องล้ม รธน มีชัย จนทำให้ข้อวิจารณ์รายละเอียดมีปัญหาหลายอย่าง คือ ประจักษ์เสนอในตอนท้ายๆเลยเช่นกัน (ข้อ 13 ในบทความ - มีสักกี่คนทีอ่านๆที่ด่าระบบมีชัยหรือเหมือนกับจะเชียร์ระบบ 2540 จะอ่านมาถึงข้อ 13 หรือข้อ 15 นี้ไหม แล้วตระหนักว่า ประจักษ์ไม่ได้เสนอให้ยังคงใช้ระบบ 2540 น่ะ?) ว่า ระบบทีดีทีสุดคือระบบมีแต่ปาร์ตี้ลิสต์เท่านั้น (ในทางศัพท์เทคนิค ซึ่งประจักษ์ไม่ได้บอกไว้ ระบบที่ว่าเรียกว่า List PR electoral system)
ปัญหา(ซึ่งประจักษ์ควรตระหนักดี)คือ ถ้าระบบที่ดีที่สุดคือ List PR การพูดเหมือน"เชียร์"ระบบ 2540 ที่ใช้อยู่ในตอนต้นของบทความโดยตลอด ก็ไม่มีความหมายเลย คือ (เช่นเดียวกับที่เสนอว่าควรเอาระบบบวรศักดิ์มาพิจารณาด้วย) การบอกว่า List PR ดีที่สุด ซึ่งมันเป็นคนละระบบคนละเรื่องกับระบบ Parallel แบบ 2540 ที่เราใช้อยู่ ก็แสดงว่า ระบบ Parallel มันมีจุดอ่อนสำคัญมากอยู่ (ที่ไม่น่าใช้แบบที่เป็นอยู่)
จริงๆบทความประจักษ์มีปัญหาเชิงเทคนิคเรื่องระบบเลือกตั้งหลายอย่าง ซึ่งค่อนข้างซับซ้อน และผมไม่ต้องการจะลงในรายละเอียดมากกว่านี้ (แค่นี้ ผมสังหรณ์ว่าคนอ่านส่วนมากก็คงบ่นปวดหัวแล้ว) อันที่จริงบางตอนที่เขียนวิพากษ์ระบบมีชัย ก็ผิดข้อเท็จจริงเลย (เช่นที่เขียนว่า ระบบมีชัย "...คะแนนของผู้เลือกตั้งที่ชนะในระบบเขตไม่ถูกนำไปคำนวณในระบบปาร์ตี้ลิสต์ ถูกนับครั้งเดียว" อันนี้มาได้ยังไงก็ไม่รู้ เห็นกันอยู่ว่า ข้อเสนอมีชัย คือเอาคะแนนทั้งหมดจากเขต ไม่ว่าผู้ชนะผู้แพ้ มาคำนวนหาจำนวนปาร์ตี้ลิสต์) หรือที่ประจักษ์ พูดเหมือนกับแถลงการณ์ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ New Democracy Movement - NDM ที่ว่า "ยิ่งพรรคได้ที่นั่งในระบบเขตมากขึ้นเท่าใดกลับยิ่งได้ผู้แทนในระบบปาร์ตี้ลิสต์น้อยลงตามนั้น" คือสมมุติว่าจริงดังว่า แล้วทำไม? ผิดตรงไหน? ซึ่งจะตอบคำถามนี้ได้ ต้องดูที่เหตุผลหรือ "ตรรกะ" ของการที่มันออกมาแบบนี้ คือ #ถ้าระบบปาร์ตี้ลิสต์มีไว้เพื่อแก้ปัญหาความไม่ได้สัดส่วนของระบบเขต (แบบเดียวกับที่บวรศักดิ์เสนอ และประจักษ์เห็นข้อดีที่ต้องเอามาพิจารณา) การที่่จำนวนปาร์ตี้ลิสต์จะขึ้นอยู่กับว่าคะแนนเสียงรวมทั้งหมดทีได้จากเขตทั่วประเทศ (ไม่ใช่จำนวนที่นั่งจากเขต) มีเท่าไร แล้วคำนวนเอาในแง่สัดส่วนรวมในสภา หักเหลือสำหรับปาร์ตี้ลิสต์ ซึ่งอาจจะทำให้ออกมาแบบนั้น ความจริงก็เป็นอะไรที่ makes perfect sense มากๆ ประจักษ์บอกว่าเป็น "ระบบที่ไม่ยุติธรรม" แต่ก็ไม่ได้อธิบายจริงๆว่า ไม่ยุติธรรมอย่างไร คือลำพังการเกิดปรากฏการณ์ว่า ได้ สส.เขตมาก แต่แปลงเป็นปาร์ตี้ลิสต์น้อย จะบอกว่า "ไม่ยุติธรรม" หรือผิดไม่ได้ มันต้องดูว่าทำไมจึงออกมาแบบนั้น และมีเหตุผลรองรับในเชิงหลักการหรือไม่ (ระบบบวรศักดิ์ หรือ "ระบบเยอรมัน" ความจริงก็มาจากหลักคิดทำนองเดียวกันนี้่ และกรณีที่เลือกเขตได้มาก แต่ปาร์ตี้ลิสต์ได้น้อย ก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน ถ้าคนลงปาร์ตี้ลิสต์ให้พรรคน้อยกว่าลงให้เขต อันที่จริง ดังที่ประจักษ์รู้ดี ระบบแบบนั้น ซึ่งแยกคำนวนมากกว่าระบบมีชัย แต่ก็ไม่ได้แยกเด็ดขาดแบบ 2540 มันมีปัญหาที่ตามมาสำคัญบางอย่างด้วย)
แต่อยากจะพูดรวมๆในเรื่องระบบเลือกตั้ง ที่ผมเห็นว่า การวิจารณ์ที่ประจักษ์ทำ ไม่ดีเลย คือหลายจุดในบทความ ประจักษ์พูดในลักษณะที่อ้างคำประเภท "ทั่วโลก" ใช้แบบโน้นแบบนี้ เช่น ระบบมีชัย "แทบไม่มีประเทศใดในโลกใช้แล้ว" อะไรแบบนั้น
อันนี้เป็นอะไรที่ทำให้ไขว้เขวคลาดเคลื่อน (misleading) หรือผิดความจริงเลย ความจริงคือ ไม่ควรพูดด้วยซ้ำเรื่องว่า "ทั่วโลก" ใช้ระบบอะไร หรือไม่ใช้อะไร เพราะประจักษ์ควรตระหนักว่า ปัญหาระบบเลือกตั้งว่าประเทศต่างๆใช้อะไร เป็นเรื่องซับซ้อนมากๆ และแม้แต่การใช้วิธี "นับจำนวน" ว่าระบบไหนมีประเทศใช้กี่ประเทศ ก็ไม่มีความหมายและทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนได้ (เช่นหลายประเทศที่มีระบบเลือกตั้ง หรือใช้ระบบเลือกตั้งแบบใดแบบหนึ่ง จัดอยู่ในประเทศอดีต "โลกที่สาม" และทุกวันนี้ แม้จะมีการเลือกตั้ง ระบบการเมืองโดยรวมก็มีอะไรหลายอย่างที่ไม่น่าจะชื่นชมในแง่ประชาธิปไตยนัก การนับหรืออ้างในเชิง "จำนวน" ประเทศที่ใช้ระบบนั้นระบบนี้ จึงไม่ควรทำหรือพูดขึ้นมาแต่แรก)
ใครไม่เชื่อผมหรือมองไม่เห็นภาพ ขอให้ดูลิสต์ระบบเลือกตั้งที่ประเทศทั่วโลกใช้อันนี้ แล้วลองบอกผมหน่อยว่า เราสามารถอ้างเรื่อง "ทั่วโลก" อะไรได้หรือ? คือจะเห็นว่า มันมีความหลากหลายมากๆhttp://www.idea.int/esd/world.cfm
สำหรับศัพท์เทคนิคที่ใช้ในลิสต์ (เช่น MMP, Parallel, List PR ฯลฯ) ให้ดูที่นี่http://www.idea.int/esd/glossary.cfm#
ถ้าดูแบบแยกระบบเลือกตั้งบางอัน
นี่คือประเทศที่ใช้ระบบเลือกตั้งแบบ 2540 ที่แยกจากกันระหว่างปาร์ตี้ลิสต์กับเขตhttp://www.idea.int/esd/type.cfm?electoralSystem=Parallel
นี่คือประเทศที่ใช้ระบบแบบ List PR ที่ประจักษ์ว่าดีที่สุด (จะเห็นว่าอดีตประเทศ "โลกทีสาม" ใช้กันเยอะมาก)http://www.idea.int/esd/type.cfm?electoralSystem=List+PR
และนี่คือประเทศที่ใช้ระบบที่เรียกว่า MMP หรือ "ระบบเยอรมัน" แบบที่บวรศักดิ์เสนอ และประจักษ์เห็นว่าควรเอามาพิจารณาด้วยhttp://www.idea.int/esd/type.cfm?electoralSystem=MMP
ถามจริงๆว่า ดูลิสต์และความซับซ้อนทั้งหมดนี้แล้ว มีใครคิดว่า ควรอ้างเรื่อง "จำนวน" ประเภทว่า "ทั่วโลก" ใช้ระบบอะไร หรือไม่ใช้ระบบอะไรหรือ?
(ใครที่สนใจและยังปวดหัวไม่พอ ลองดูเว็บนี้ประกอบ - ชื่อเว็บ "เครือข่ายความรู้เรื่องการเลือกตั้ง" The Electoral Knowledge Network http://aceproject.org/ace…/topics/…/esd/esd03/esd03a/default )
................
สุดท้าย (เรื่องนี้เรื่องใหญ่ ถ้าจะพูดกันจริงๆต้องยาวกว่านี้) ประจักษ์เรียกระบบที่มีชัยเสนอว่า MMA (mixed member apportionment system) คุณ Bangkok Pundit ซึ่งประจักษ์ (และผมในกระทู้ที่แล้ว) อ้างถึง ก็ใช้คำนี้ ความจริง ผมออกจะงงๆอยู่ว่า มันมายังไงคำนี้ (ดูลิสต์ศัพท์ระบบเลือกตั้งและคำอธิบายย่อๆของแต่ละระบบข้างบน จะเห็นว่ามันไม่มีอยู่ เสิร์ชหากูเกิ้ลก็ไม่มี)
อันที่จริง ถ้าพิจารณาดีๆ (และไม่ตั้งธงล่วงหน้าโยงกับเรื่องจะล้ม รธน มีชัย ซึ่งเป็นเป้าที่ผมเอาด้วย) ผมว่าเราควรสรุปว่า ระบบ MMA หรือระบบที่มีชัยเสนอนี้ มันเป็นการ "แตกแขนง" (variation) จากระบบ MMP (mixed member proportional system) หรือ "ระบบเยอรมัน" ที่บวรศักดิ์เสนอ (และประจักษ์ยอมรับข้อดีขนาดให้เอามาพิจารณาด้วย)
ปัญหาของ "ระบบเยอรมัน" หรือ MMP ซึ่งประจักษ์รู้ดีคือ มันทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "overhang mandates" (Überhangmandate ในภาษาเยอรมัน) คือจำนวน สส ที่ได้จากเขต มันเกิดมากกว่าสัดส่วน สส ทั้งหมดในสภา ที่ควรได้จากการคำนวนเสียงปาร์ตี้ลิสต์ (เช่น สมมุติพรรค A ได้ สส เขตมา 8 เขต แต่ปรากฏว่า คะแนนปาร์ตี้ลิสต์มีเพียง 5% ควรจะมี สส ในสภาเพียง 5 คน) "ระบบมีชัย" จะว่าไปแล้ว ตัดปัญหานี้ด้วยการลงคะแนนบัตรเดียวแล้วเอาบัตรนั้น (คะแนนเขต) เป็นที่ตั้ง แล้วดูว่าสัดส่วนโดยรวมของคะแนนทั่วประเทศของพรรคเป็นเท่าไร ก็เพิมจำนวนเข้าไปจากปาร์ตี้ลิสต์ให้ครบ
ผมไม่ได้บอกว่า ระบบมีชัย เปอร์เฟ็ค (ไม่มีระบบเลือกตั้งแบบไหนเปอร์เฟ็ค) และยิ่งไม่เคยคิดว่าควรรับ รธน นี้เลย (อันที่จริง ผมเห็นว่าควรบอยคอตแม้แต่ประชามติปลอมๆนี้ด้วยซ้ำ)
#ปัญหาอยู่ที่ว่าเราควรจะวิจารณ์มันประเด็นไหนและอย่างไร #โดยที่ยังยึดกุมปัญหาเชิงหลักการเรื่องประชาธิปไตยไว้ และเข้าใจแท้จริงถึงความซับซ้อนของ "ระบอบประชาธิปไตย" และ "ระบบเลือกตั้ง"
...............
ปล. ประจักษ์อ้างบทความของ Bangkok Pundit (ผมก็อ้าง) ประจักษ์คงต้องได้เห็นข้อสรุปของคุณ BP อันนี้แน่ "MMA is more proportional than the 2011 MMM system" - "ระบบที่มีชัยเสนอมีลักษณะเป็นสัดส่วนมากกว่าระบบที่ใช้ในการเลือกตั้ง 2554" (ซึ่งมาจาก 2540)
................................
-ปัญหาการคำนวนจำนวน "ผู้แทนราษฎร" ในรัฐธรรมนูญ คสช-มีชัย -
คลิกอ่าน-ตอนที่ 1 https://goo.gl/0Qhhyq
ความจริงเดิมผมจะโพสต์กระทู้นี้ในลักษณะเป็นการอธิบายเพิ่มเติมกระทู้ที่แล้ว "ปัญหาการคำนวนจำนวน "ผู้แทนราษฎร" ในรัฐธรรมนูญ คสช-มีชัย ตอนที่ 1" คือยังไม่ใช่ "ตอนที่ 2" (ซึ่งจะกล่าวถึงผลที่จะเกิดขึ้นถ้าใช้ระบบมีชัย) เสียทีเดียว - ผมคิดเล่นๆว่า จะเรียกกระทู้นี้เล่นๆว่า "ตอนที่ 1 ครึ่ง" 555 - ใครยังไม่ได้อ่าน "ตอนที่ 1" และสนใจอยากปวดหัว เอ๊ย อยากอ่าน ดูที่นี่ https://goo.gl/Gc2566 (กระทู้นี้ ต้องเตือนล่วงหน้าว่า น่าปวดหัวพอๆกัน หรือมากกว่าอีก)
กำลังจะโพสต์ก็พอดีเห็นบทความของ ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ ที่วิจารณ์ระบบเลือกตั้งตามข้อเสนอมีชัย (ดูที่นี่ http://news.thaipbs.or.th/content/250110 )
ผมจึงจะขอพูดถึงบทความของ ดร.ประจักษ์ไปพร้อมๆกันในกระทู้นี้ด้วย แต่บทความประจักษ์พาดพิงถึงประเด็นเรื่องผลที่จะเกิดขึ้นจากระบบมีชัย ซึ่งผมจะเก็บไว้พูดอีกทีใน "ตอนที่ 2" เฉพาะในกระทู้นี้จะพูดถึงเรื่องปัญหาระบบมีชัยที่ประจักษ์วิจารณ์บางประเด็น
ผมคิดว่า ประจักษ์ต้องการวิจารณ์คัดค้าน-ล้ม รธน มีชัย ซึ่งนี่เป็นเป้าหมายที่ผมแชร์ แต่ผมเห็นต่างในแง่ที่ว่า เฉพาะกรณีระบบเลือกตั้ง (ซึ่่งประจักษ์ย่อมทราบดีว่ามีความซับซ้อนมากๆ) เป็นเรื่องเชิงเทคนิคที่ควรแยกพิจารณาในลักษณะเป็นเอกเทศต่างหากได้ในระดับหนึ่ง - ในขณะที่ตามความรู้สึกของผม ประจักษ์มุ่งที่เป้าหมายเรื่องคัดค้าน-ล้ม รธน มีชัย จนทำให้การวิจารณ์หลายจุดมากๆคลาดเคลื่อนเกินเลยไป (คือถ้าไม่มุ่งเรื่องเป้าหมายดังกล่าว ความจริงประจักษ์ไม่น่าที่จะวิจารณ์บางประเด็นอย่างที่วิจารณ์เลย) ดังที่ผมจะแสดงให้ดูข้างล่าง
แต่ก่อนอื่น ผมขอพูดถึงเรื่องทีเดิมเตรียมไว้ก่อน คือผมได้ทำตารางแสดงให้เห็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งที่พูดในกระทู้ที่แล้ว นั่นคือปัญหาของระบบเลือกตั้งที่เราใช้มาตั้งแต่ รธน 2540 (รธน 2550 ของ คมช ความจริงคือระบบเดียวกัน เปลี่ยนเรื่องตัวเลขนิดหน่อย) ซึ่งใช้การเลือกเขตและเลือกปาร์ตี้ลิสต์แยกจากกันเด็ดขาด แค่เอาจำนวนมาบวกกัน คือไม่ได้ใช้ผลการเลือกอันใดอันหนึ่งมาคำนวนการเลือกอีกอันหนึ่ง
ปัญหาของการเลือกตั้งแบบนี้คือ ในที่สุดตัวเลขจำนวนที่นั่งในสภาของแต่ละพรรค (โดยเฉพาะพรรคใหญ่สุด) ไม่ได้สัดส่วนกับจำนวนการสนับสนุนที่เป็นจริงของประชาชน ซึ่งดังที่ผมอธิบายในกระทู้ก่อน ปัญหามาจากเรื่องระบบเขตที่ใช้วิธี winner takes all (ผู้ชนะได้หมด) ไม่ว่าจะชนะกับเพียงไม่กี่ร้อยหรือไม่กี่พัน (ซึ่งหมายถึงว่า ประชาชนที่สนับสนุนผู้สมัครที่ "แพ้" ซึ่งความจริงมีจำนวนไม่ห่างจากประชาชนที่สนับสนุนผู้ "ชนะ" ไม่มี "ตัวแทน" ของตนเลย และด้วยการใช้ระบบ "คู่ขนาน" คือมีปาร์ตี้ลิสต์(ซึ่งโดยตัวเองเป็นสัดส่วนอยู่ แต่แยกต่างหากไม่เกี่ยวกับการคำนวนระบบเขต) มา "บวก" เข้าไปเฉยๆ ทำให้ความไม่ได้สัดส่วนที่เกิดจากระบบเขต ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นในจำนวนตัวเลขรวมของที่นั่งสภา
พูดแบบสรุปคือระบบที่เป็นอยู่ตั้งแต่ปี 2540 ขัดแย้งกับหลักการปกครองแบบ "ประชาธิปไตยตัวแทน" (representative democracy) คือ ที่นั่งหรือ "ดุลย์อำนาจ" ในสภา ไม่ได้สะท้อนดุลย์อำนาจที่เป็นจริงของประชาชนกลุ่มต่างๆ
ขอให้ดูตารางในส่วนซ้ายมือ ที่สรุปผลการเลือกตั้ง 2554 จะเห็นได้ชัดว่า ในขณะที่ เพื่อไทย มีสัดส่วนประชาชนสนับสนุน 44.30% (เมื่อมองจากเขต) และ 48.40% (เมื่อมองจากปาร์ตี้ลิสต์) - คือไม่ถึงครึ่ง(เกือบครึ่งเท่านั้น) ไม่ว่าจะมองแบบไหน - แต่กลับมีที่นั่งในสภา 53% ส่วนประชาธิปัตย์ ที่ได้เสียงสนับสนุนจากประชาชน 32.3% (มองจากเขต) และ 35.1% (มองจากปาร์ตี้ลิสต์) มีเสียงในสภา 31.8%
ในขณะที่อาจจะบอกว่า ปชป ได้ที่นั่งในสภา "ใกล้เคียง" กับเปอร์เซนต์ประชาชนผู้สนับสนุนถ้ามองจากเขต (ต่างกันไม่ถึง 1%) แต่ถ้ามองจากปาร์ตี้ลิสต์ จะเห็นว่าได้น้อยกว่าเสียงสนับสนุนจริง 3.2%
แต่ที่สำคัญทีสุดคือ ถ้าเรามองในเชิงเปรียบเทียบเรื่อง "ดุลย์อำนาจ" หรือเสียงประชาชนทีสนับสนุน 2 พรรคในระดับทั่วประเทศ กับจำนวนที่นั่งในสภา จะเห็นความแตกต่าง(และไม่ได้สัดส่วน)ที่ใหญ่มาก
คือไม่ว่าจะมองจากเขต หรือมองจากปาร์ตี้ลิสต์ จะเห็นว่า มีประชาชนที่สนับสนุนเพื่อไทย ในสัดส่วนที่มากกว่าประชาชนที่สนับสนุน ปชป ในลักษณะคล้ายๆกัน คือ ในแบบเขต เพื่อไทยมากกว่า ปชป 12% และในแบบปาร์ตี้ลิสต์ 13.3% แต่ปรากฏว่า เสียงหรือ "ดุลย์อำนาจ" ในสภาของเพื่อไทย ตามระบบแบบนี้ มากกว่า ปชป ถึง 21.2%
มองจากหลักการ "ประชาธิปไตยตัวแทน" ที่ความเห็น(นโยบาย)หรือ "อำนาจ" ในสภา ควรจะเป็นการสะท้อน (representation) ความเห็นหรือดุลย์อำนาจที่เป็นจริง ของประชาชนกลุ่มต่างๆทั่วประเทศ ตัวเลขที่ว่านี้เป็นอะไรที่เป็นปัญหาแน่
ในตารางด้านขวา ผมได้ทำเปรียบเทียบให้ดูว่า ถ้าคิดตามระบบมีชัย ผลรวมที่ได้จะออกมาอย่างไร ซึ่งจะเห็นว่า ในส่วนของ 2 พรรคใหญ่ ด้วยความที่คำนวนโดยอิงกับเสียงเขต ทั้งในแง่เปอร์เซนต์ที่นั่งในสภาของแต่ละพรรค (45% เพื่อไทย และ 32% ปชป) และความแตกต่างระหว่างดุลย์อำนาจ (13%) จะใกล้เคียงมากหรือตรงกับการสนับสนุนจริงที่แต่ละพรรคได้รับและที่ต่างกันจริง
..................
ทีนี้มาที่บทความประจักษ์
ประจักษ์ "เฟรม" หรือวางกรอบอภิปรายเรื่อง รธน มีชัยในลักษณะวิพากษ์ปฏิเสธ (ซึ่งดังผมที่เขียนตอนต้น ผมแชร์เป้าหมายนี้) ซึ่งถ้าคนอ่านไม่มีแบ๊คกราวน์ความรู้เรื่องระบบเลือกตั้งต่างๆเพียงพอ ภาพรวมๆที่ได้ ก็เหมือนจะสรุปว่า ระบบที่ใช้มาตั้งแต่ 2540 ดีแล้ว ระบบที่มีชัยเสนอใช้ไม่ได้ ผิดเลย ทั่วโลกไม่มีใครใช้ ฯลฯ อะไรทำนองนั้น
แต่ถ้าอ่านให้ดีๆและมีแบ๊คกราวน์เรื่องนี้พอ จะเห็นว่า แม้ประจักษ์จะพูดถึง "ข้อดี" ของระบบ 2540 หลายจุด แต่สุดท้ายประจักษ์ไม่ได้ "ฟันธง" ลงไปเลยว่า ต้องใช้ระบบ 2540 มิหนำซ้ำ - และอันนี้แหละสำคัญมาก - ประจักษ์สรุปตอนท้าย (ข้อ 15 ในบทความเขา) ว่า ให้เอาระบบ 2540 #และระบบที่เสนอโดยบวรศักดิ์ในร่างเดิมของ #คสช ที่ตกไป #มาร่วมพิจารณา - ทำไม?
คผมคิดว่า ไม่มีปัญหาเลยว่า ลึกๆประจักษ์ตระหนักดีว่า ระบบ 2540 มันมีปัญหาใหญ่ทำนองที่ผมเขียนไปข้างบน (ความ "ไม่เป็นตัวแทน" หรือไม่ได้สัดส่วนแท้จริงของสภากับความเห็นที่แตกต่างของประชาชน) การที่ประจักษ์เสนอให้เอาระบบแบบบวรศักดิ์มาร่วมพิจารณาด้วย ประจักษ์จะต้องรู้ดีว่า อันที่จริงระบบทีบวรศักดิ์เสนอ กับระบบ 2540 ที่ใช้ มันคนละระบบหรือมีความแตกต่างสำคัญมาก ในเรื่องเกี่ยวกับการได้สัดส่วนดังกล่าว คือระบบบวรศักดิ์ หรือที่เรียกเป็นศัพท์เทคนิคย่อว่า MMP ("ระบบเยอรมัน") คือระบบที่มุ่งจะใช้ปาร์ตี้ลิสต์มาแก้ปัญหาสัดส่วนของการเลือกแบบเขต #โดยที่จำนวนปาร์ตี้ลิสต์และจำนวนที่นั่งทั้งหมดในสภาจะต้องผูกคำนวนไว้ด้วยกัน แต่ระบบ 2540 นั้น "ปาร์ตี้ลิสต์" ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องสัดส่วนเลย เพราะปาร์ตี้ลิสต์กับเขตแยกคำนวนจากกัน - เรียกเป็นศัพท์เทคนิคว่า "ระบบคู่ขนาน" หรือ Parallel electoral system (มิหนำซ้ำ พลอยทำให้ที่นั่งรวม "บิดเบี้ยว" หรือ "ผิดเพี้ยน" สัดส่วนมากขึ้นอีก ดังที่ผมแสดงให้ดูในกรณีเลือกตั้ง 2554 ข้างต้น)
อันที่จริง ไม่เพียงเรื่องเสนอให้เอาระบบบวรศักดิ์(ซึ่งคนละเรื่องกับระบบ 2540) มาร่วมพิจารณา อีกประเด็นทีสำคัญมากเช่นกัน ที่สะท้อนว่าการวิจารณ์ของประจักษ์ครั้งนี้ มุ่ง "เฟรม" หรือวางกรอบเรื่องล้ม รธน มีชัย จนทำให้ข้อวิจารณ์รายละเอียดมีปัญหาหลายอย่าง คือ ประจักษ์เสนอในตอนท้ายๆเลยเช่นกัน (ข้อ 13 ในบทความ - มีสักกี่คนทีอ่านๆที่ด่าระบบมีชัยหรือเหมือนกับจะเชียร์ระบบ 2540 จะอ่านมาถึงข้อ 13 หรือข้อ 15 นี้ไหม แล้วตระหนักว่า ประจักษ์ไม่ได้เสนอให้ยังคงใช้ระบบ 2540 น่ะ?) ว่า ระบบทีดีทีสุดคือระบบมีแต่ปาร์ตี้ลิสต์เท่านั้น (ในทางศัพท์เทคนิค ซึ่งประจักษ์ไม่ได้บอกไว้ ระบบที่ว่าเรียกว่า List PR electoral system)
ปัญหา(ซึ่งประจักษ์ควรตระหนักดี)คือ ถ้าระบบที่ดีที่สุดคือ List PR การพูดเหมือน"เชียร์"ระบบ 2540 ที่ใช้อยู่ในตอนต้นของบทความโดยตลอด ก็ไม่มีความหมายเลย คือ (เช่นเดียวกับที่เสนอว่าควรเอาระบบบวรศักดิ์มาพิจารณาด้วย) การบอกว่า List PR ดีที่สุด ซึ่งมันเป็นคนละระบบคนละเรื่องกับระบบ Parallel แบบ 2540 ที่เราใช้อยู่ ก็แสดงว่า ระบบ Parallel มันมีจุดอ่อนสำคัญมากอยู่ (ที่ไม่น่าใช้แบบที่เป็นอยู่)
จริงๆบทความประจักษ์มีปัญหาเชิงเทคนิคเรื่องระบบเลือกตั้งหลายอย่าง ซึ่งค่อนข้างซับซ้อน และผมไม่ต้องการจะลงในรายละเอียดมากกว่านี้ (แค่นี้ ผมสังหรณ์ว่าคนอ่านส่วนมากก็คงบ่นปวดหัวแล้ว) อันที่จริงบางตอนที่เขียนวิพากษ์ระบบมีชัย ก็ผิดข้อเท็จจริงเลย (เช่นที่เขียนว่า ระบบมีชัย "...คะแนนของผู้เลือกตั้งที่ชนะในระบบเขตไม่ถูกนำไปคำนวณในระบบปาร์ตี้ลิสต์ ถูกนับครั้งเดียว" อันนี้มาได้ยังไงก็ไม่รู้ เห็นกันอยู่ว่า ข้อเสนอมีชัย คือเอาคะแนนทั้งหมดจากเขต ไม่ว่าผู้ชนะผู้แพ้ มาคำนวนหาจำนวนปาร์ตี้ลิสต์) หรือที่ประจักษ์ พูดเหมือนกับแถลงการณ์ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ New Democracy Movement - NDM ที่ว่า "ยิ่งพรรคได้ที่นั่งในระบบเขตมากขึ้นเท่าใดกลับยิ่งได้ผู้แทนในระบบปาร์ตี้ลิสต์น้อยลงตามนั้น" คือสมมุติว่าจริงดังว่า แล้วทำไม? ผิดตรงไหน? ซึ่งจะตอบคำถามนี้ได้ ต้องดูที่เหตุผลหรือ "ตรรกะ" ของการที่มันออกมาแบบนี้ คือ #ถ้าระบบปาร์ตี้ลิสต์มีไว้เพื่อแก้ปัญหาความไม่ได้สัดส่วนของระบบเขต (แบบเดียวกับที่บวรศักดิ์เสนอ และประจักษ์เห็นข้อดีที่ต้องเอามาพิจารณา) การที่่จำนวนปาร์ตี้ลิสต์จะขึ้นอยู่กับว่าคะแนนเสียงรวมทั้งหมดทีได้จากเขตทั่วประเทศ (ไม่ใช่จำนวนที่นั่งจากเขต) มีเท่าไร แล้วคำนวนเอาในแง่สัดส่วนรวมในสภา หักเหลือสำหรับปาร์ตี้ลิสต์ ซึ่งอาจจะทำให้ออกมาแบบนั้น ความจริงก็เป็นอะไรที่ makes perfect sense มากๆ ประจักษ์บอกว่าเป็น "ระบบที่ไม่ยุติธรรม" แต่ก็ไม่ได้อธิบายจริงๆว่า ไม่ยุติธรรมอย่างไร คือลำพังการเกิดปรากฏการณ์ว่า ได้ สส.เขตมาก แต่แปลงเป็นปาร์ตี้ลิสต์น้อย จะบอกว่า "ไม่ยุติธรรม" หรือผิดไม่ได้ มันต้องดูว่าทำไมจึงออกมาแบบนั้น และมีเหตุผลรองรับในเชิงหลักการหรือไม่ (ระบบบวรศักดิ์ หรือ "ระบบเยอรมัน" ความจริงก็มาจากหลักคิดทำนองเดียวกันนี้่ และกรณีที่เลือกเขตได้มาก แต่ปาร์ตี้ลิสต์ได้น้อย ก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน ถ้าคนลงปาร์ตี้ลิสต์ให้พรรคน้อยกว่าลงให้เขต อันที่จริง ดังที่ประจักษ์รู้ดี ระบบแบบนั้น ซึ่งแยกคำนวนมากกว่าระบบมีชัย แต่ก็ไม่ได้แยกเด็ดขาดแบบ 2540 มันมีปัญหาที่ตามมาสำคัญบางอย่างด้วย)
แต่อยากจะพูดรวมๆในเรื่องระบบเลือกตั้ง ที่ผมเห็นว่า การวิจารณ์ที่ประจักษ์ทำ ไม่ดีเลย คือหลายจุดในบทความ ประจักษ์พูดในลักษณะที่อ้างคำประเภท "ทั่วโลก" ใช้แบบโน้นแบบนี้ เช่น ระบบมีชัย "แทบไม่มีประเทศใดในโลกใช้แล้ว" อะไรแบบนั้น
อันนี้เป็นอะไรที่ทำให้ไขว้เขวคลาดเคลื่อน (misleading) หรือผิดความจริงเลย ความจริงคือ ไม่ควรพูดด้วยซ้ำเรื่องว่า "ทั่วโลก" ใช้ระบบอะไร หรือไม่ใช้อะไร เพราะประจักษ์ควรตระหนักว่า ปัญหาระบบเลือกตั้งว่าประเทศต่างๆใช้อะไร เป็นเรื่องซับซ้อนมากๆ และแม้แต่การใช้วิธี "นับจำนวน" ว่าระบบไหนมีประเทศใช้กี่ประเทศ ก็ไม่มีความหมายและทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนได้ (เช่นหลายประเทศที่มีระบบเลือกตั้ง หรือใช้ระบบเลือกตั้งแบบใดแบบหนึ่ง จัดอยู่ในประเทศอดีต "โลกที่สาม" และทุกวันนี้ แม้จะมีการเลือกตั้ง ระบบการเมืองโดยรวมก็มีอะไรหลายอย่างที่ไม่น่าจะชื่นชมในแง่ประชาธิปไตยนัก การนับหรืออ้างในเชิง "จำนวน" ประเทศที่ใช้ระบบนั้นระบบนี้ จึงไม่ควรทำหรือพูดขึ้นมาแต่แรก)
ใครไม่เชื่อผมหรือมองไม่เห็นภาพ ขอให้ดูลิสต์ระบบเลือกตั้งที่ประเทศทั่วโลกใช้อันนี้ แล้วลองบอกผมหน่อยว่า เราสามารถอ้างเรื่อง "ทั่วโลก" อะไรได้หรือ? คือจะเห็นว่า มันมีความหลากหลายมากๆhttp://www.idea.int/esd/world.cfm
สำหรับศัพท์เทคนิคที่ใช้ในลิสต์ (เช่น MMP, Parallel, List PR ฯลฯ) ให้ดูที่นี่http://www.idea.int/esd/glossary.cfm#
ถ้าดูแบบแยกระบบเลือกตั้งบางอัน
นี่คือประเทศที่ใช้ระบบเลือกตั้งแบบ 2540 ที่แยกจากกันระหว่างปาร์ตี้ลิสต์กับเขตhttp://www.idea.int/esd/type.cfm?electoralSystem=Parallel
นี่คือประเทศที่ใช้ระบบแบบ List PR ที่ประจักษ์ว่าดีที่สุด (จะเห็นว่าอดีตประเทศ "โลกทีสาม" ใช้กันเยอะมาก)http://www.idea.int/esd/type.cfm?electoralSystem=List+PR
และนี่คือประเทศที่ใช้ระบบที่เรียกว่า MMP หรือ "ระบบเยอรมัน" แบบที่บวรศักดิ์เสนอ และประจักษ์เห็นว่าควรเอามาพิจารณาด้วยhttp://www.idea.int/esd/type.cfm?electoralSystem=MMP
ถามจริงๆว่า ดูลิสต์และความซับซ้อนทั้งหมดนี้แล้ว มีใครคิดว่า ควรอ้างเรื่อง "จำนวน" ประเภทว่า "ทั่วโลก" ใช้ระบบอะไร หรือไม่ใช้ระบบอะไรหรือ?
(ใครที่สนใจและยังปวดหัวไม่พอ ลองดูเว็บนี้ประกอบ - ชื่อเว็บ "เครือข่ายความรู้เรื่องการเลือกตั้ง" The Electoral Knowledge Network http://aceproject.org/ace…/topics/…/esd/esd03/esd03a/default )
................
สุดท้าย (เรื่องนี้เรื่องใหญ่ ถ้าจะพูดกันจริงๆต้องยาวกว่านี้) ประจักษ์เรียกระบบที่มีชัยเสนอว่า MMA (mixed member apportionment system) คุณ Bangkok Pundit ซึ่งประจักษ์ (และผมในกระทู้ที่แล้ว) อ้างถึง ก็ใช้คำนี้ ความจริง ผมออกจะงงๆอยู่ว่า มันมายังไงคำนี้ (ดูลิสต์ศัพท์ระบบเลือกตั้งและคำอธิบายย่อๆของแต่ละระบบข้างบน จะเห็นว่ามันไม่มีอยู่ เสิร์ชหากูเกิ้ลก็ไม่มี)
อันที่จริง ถ้าพิจารณาดีๆ (และไม่ตั้งธงล่วงหน้าโยงกับเรื่องจะล้ม รธน มีชัย ซึ่งเป็นเป้าที่ผมเอาด้วย) ผมว่าเราควรสรุปว่า ระบบ MMA หรือระบบที่มีชัยเสนอนี้ มันเป็นการ "แตกแขนง" (variation) จากระบบ MMP (mixed member proportional system) หรือ "ระบบเยอรมัน" ที่บวรศักดิ์เสนอ (และประจักษ์ยอมรับข้อดีขนาดให้เอามาพิจารณาด้วย)
ปัญหาของ "ระบบเยอรมัน" หรือ MMP ซึ่งประจักษ์รู้ดีคือ มันทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "overhang mandates" (Überhangmandate ในภาษาเยอรมัน) คือจำนวน สส ที่ได้จากเขต มันเกิดมากกว่าสัดส่วน สส ทั้งหมดในสภา ที่ควรได้จากการคำนวนเสียงปาร์ตี้ลิสต์ (เช่น สมมุติพรรค A ได้ สส เขตมา 8 เขต แต่ปรากฏว่า คะแนนปาร์ตี้ลิสต์มีเพียง 5% ควรจะมี สส ในสภาเพียง 5 คน) "ระบบมีชัย" จะว่าไปแล้ว ตัดปัญหานี้ด้วยการลงคะแนนบัตรเดียวแล้วเอาบัตรนั้น (คะแนนเขต) เป็นที่ตั้ง แล้วดูว่าสัดส่วนโดยรวมของคะแนนทั่วประเทศของพรรคเป็นเท่าไร ก็เพิมจำนวนเข้าไปจากปาร์ตี้ลิสต์ให้ครบ
ผมไม่ได้บอกว่า ระบบมีชัย เปอร์เฟ็ค (ไม่มีระบบเลือกตั้งแบบไหนเปอร์เฟ็ค) และยิ่งไม่เคยคิดว่าควรรับ รธน นี้เลย (อันที่จริง ผมเห็นว่าควรบอยคอตแม้แต่ประชามติปลอมๆนี้ด้วยซ้ำ)
#ปัญหาอยู่ที่ว่าเราควรจะวิจารณ์มันประเด็นไหนและอย่างไร #โดยที่ยังยึดกุมปัญหาเชิงหลักการเรื่องประชาธิปไตยไว้ และเข้าใจแท้จริงถึงความซับซ้อนของ "ระบอบประชาธิปไตย" และ "ระบบเลือกตั้ง"
...............
ปล. ประจักษ์อ้างบทความของ Bangkok Pundit (ผมก็อ้าง) ประจักษ์คงต้องได้เห็นข้อสรุปของคุณ BP อันนี้แน่ "MMA is more proportional than the 2011 MMM system" - "ระบบที่มีชัยเสนอมีลักษณะเป็นสัดส่วนมากกว่าระบบที่ใช้ในการเลือกตั้ง 2554" (ซึ่งมาจาก 2540)
................................
-ปัญหาการคำนวนจำนวน "ผู้แทนราษฎร" ในรัฐธรรมนูญ คสช-มีชัย -
คลิกอ่าน-ตอนที่ 1 https://goo.gl/0Qhhyq
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar