torsdag 5 december 2013

ถวายฎีกาพระเจ้าอยู่หัวฯ ขอทรงสนับสนุนลงนามให้สัตยาบันไอซีซี


"ขอทรงอนุมัติร่างกฎหมายหรือข้อเสนอใดๆ ที่รัฐบาลปัจจุบันทูลเกล้าฯ อันจะทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น และเป็นการแผ้วถางทางสำหรับการลงสัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม"

องค์การสิทธิมนุษยชนไทยในแคลิฟอร์เนียถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จากกรุงเฮก ขอทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สนับสนุนการให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม เพื่อที่ประเทศไทยจะได้อยู่ในขอบข่ายอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นการปกป้องประชาชนไทยมิให้ถูกฆาตกรรมหมู่ทางการเมืองในอนาคต และผู้กระทำผิดไม่อาจหลบหลีกการถูกดำเนินคดีได้
 
เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ศกนี้ กลุ่มกรรมการบริหาร และอำนวยการของภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน (TAHR) อันมีสำนักงานกลางอยู่ที่นครซาน ฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย จำนวนสี่คนที่เดินทางไปร่วมประชุมประจำปีครั้งที่ ๑๒ ของสมัชชารัฐภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC’s Assembly of State Parties) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ออกแถลงการณ์เป็นฏีกากราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ผ่านทางสถานทูตไทยในกรุงเฮก ขอให้ทรงสนับสนุนการลงสัตยาบันเข้าเป็นประเทศภาคี และยอมรับขอบเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศอย่างทางการ

นางซู พง กรรมการภาคีไทยฯ ท่านหนึ่งซึ่งเป็นผู้อ่านฎีกาในภาษาอังกฤษต่อที่ประชุมย่อยของแนวร่วมสนับสนุนศาลอาญาระหว่างประเทศ (CICC) กล่าวว่า เรากำลังเรียกร้องให้กษัตริย์ภูมิพลท่านทรงพระกรุณาอนุญาตให้มีการลงสัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม การเข้าร่วมกับไอซีซีสามารถป้องกันการเกิดความรุนแรงเหมือนที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการรัฐประหารหลายครั้งในอดีต ที่ได้ทำให้เกิดการฆ่าและทำร้ายพลเรือนจำนวนมาก เราไม่ต้องการให้การฆ่ากันอย่างรุนแรงเกิดขึ้นอีกต่อไปแล้ว
นางซู พง กับนางเอเวอร์ลิน เซอราโน

ไอซีซีให้ความหวังกับพวกเรา และนั่นคือสาเหตุที่เราส่งตัวแทนมาที่กรุงเฮกเพื่อร่วมการประชุมครั้งนี้ดร.เสน่ห์ ถิ่นแสน ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนกล่าวในตอนหนึ่งของการแถลงข่าวจากนครซาน ฟรานซิสโก และ ไอซีซีเป็นกลไกที่จะสามารถปกป้องพวก เรา หากและเมื่อรัฐบาลไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการเอาผิดกับผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องกับการฆาตกรรมหมู่ที่ผ่านมา

แถลงข่าว อีกตอนหนึ่งชี้ให้เห็นว่าแม้ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งซึ่งร่วมลงนามในการ ประกาศธรรมนูญกรุงโรมอันทำให้เกิดการก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศเมื่อปี ๒๕๔๕ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศ การลงสัตยาบันในขั้นสุดท้ายไม่ได้เกิดขึ้นจนถึงวันนี้ จึงทำให้ประเทศไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียที่ยังไม่ได้ลงสัตยาบันรับธรรมนูญกรุงโรม” 
นายเอนก ชัยชนะ ประธานอำนวยการของภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนถ่ายภาพร่วมกับนาง Everlyn Serrano ผู้อำนวยการเอเซียฟอรัม และนาย Song Sang-Hyun ผู้พิพากษา และประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ
ประเทศฟิลิปปินส์และประเทศบังคลาเทศซึ่งได้ลงนามก่อตั้งเหมือนประเทศไทย ก็ได้ลงสัตยาบันรับรองธรรมนูญกรุงโรมไปแล้วเมื่อปี ๒๕๕๓ และ ๒๕๕๔ ตามลำดับ แถลงข่าวกล่าวอีกว่า มี ๑๗ ประเทศในย่านเอเชียแปซิฟิกได้เข้าร่วมรับอำนาจไอซีซีแล้ว แม้ว่าตัวเลขจะมากแต่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกลับมีตัวแทนในศาลน้อยที่สุด โดยมีประเทศในทวีปยุโรป อเมริกา แอฟริกา และตะวันออกกลาง รวมกันแล้วมีจำนวนถึง ๑๒๒ ประเทศที่ได้ลงสัตยาบันแล้ว ซึ่งถือเป็นเกือบสองในสามของประเทศในโลกทั้งหมดเลยทีเดียว  

สำหรับฏีกาซึ่งนอกจากลงนามโดยกรรมการบริหาร และกรรมการอำนวยการของภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนทั้งหมดแล้ว ยังมีตัวแทนรัฐภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ ตัวแทนสิทธิมนุษยชนนานาชาติ ตัวแทนองค์กรสิทธิมนุษยชนภูมิภาค (อาทิ International Federation for Human Rights, Justice without Frontier, Kenya Human Rights Commission, ICC Registry, ICJ Kenya, OSJI) และตัวแทนสถานทูตบางแห่งร่วมลงนามต่อท้ายถึง ๕๐ ราย 

อันมีใจความสำคัญในภาษาไทยดังนี้

หนึ่ง ขอทรงอนุมัติร่างกฎหมายหรือข้อเสนอใดๆ ที่รัฐบาลปัจจุบันทูลเกล้าฯ อันจะทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น และเป็นการแผ้วถางทางสำหรับการลงสัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม

สอง ขอทรงเรียกประมุขฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการเข้าเฝ้า และประกาศให้พวกเขาทราบว่า พระองค์ท่านปรารถนาจะให้มีการลงสัตยาบันรัฐธรรมนูญกรุงโรม

สาม ขอทรงประกาศให้พลเมืองไทยรับทราบโดยทั่วกันว่า พระองค์ไม่ปรารถนาให้เจ้าหน้าที่รัฐและพลเรือนที่มีอาวุธเข่นฆ่าพลเมืองไทย ด้วยกันเองอีก และพระองค์จะทรงไม่ให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกต่อไป อย่างเด็ดขาด

เนื้อความเต็มของฎีกาทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาไทย หาอ่านได้จาก http://thai-ahr.org/petition-to-king-bhumibol-urgent-icc-ratification/

บรรยากาศการประชุมสมัชชารัฐภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก http://youtu.be/Wa2E801Kc8U

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar