torsdag 21 januari 2016

อาชีพยกร่างรัฐธรรมนูญ...(เผด็จการ ทั้งลูกศิษย์ ทั้งพระอาจารย์)

รธน.มักง่ายตายยาก
คอลัมน์ ใบตองแห้ง



วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559 เวลา 23:42 น.

อาชีพยกร่างรัฐธรรมนูญในประเทศนี้ นับวันยิ่งทำมาหากินง่าย นอกจากนั่งควบหลายเก้าอี้ เป็นประธานบริษัท เป็นรองอธิการบดี (แต่ห้ามนักการเมืองมีประโยชน์ทับซ้อน) ยังไม่ต้องมีความรับผิด ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านก็โทษนักการเมืองอคติ ถ้าผ่านไปบังคับใช้แล้วบ้านเมืองวุ่นวาย ก็โทษประชาชนไม่เคารพกฎหมาย

การ ยกร่างก็ง่ายดี เริ่มจากโทษนักการเมืองเลว ต้อง "ปราบโกง" โดยไม่แยแสหลักการได้อำนาจโดยชอบธรรม (ยุคนี้สมัยนี้คนแย่งอำนาจเป็นคนดี) ลดอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เพิ่มอำนาจศาล องค์กรอิสระ ไว้เตะสกัดตัดขาหรือล้มรัฐบาล ทั้งที่อำนาจวิเศษเหล่านี้ไม่มีความยึดโยงกับประชาชน

ตกลงนักการเมืองผิด หรือประชาชนผิด จึงถูกริบอำนาจ เคยเลือกตั้งส.ว.จังหวัดละคนก็อดเลือก ถูกยึดไปล็อบบี้ตามสาขาอาชีพ

รัฐบาล จากเลือกตั้งจะแก้ปัญหาประชาชน สมมติรับซื้อยาง พยุงราคาพืชผล ถ้าป.ป.ช. กกต. สตง. ทักท้วงไม่ฟัง เกิดความเสียหายต้องรับผิด อ้าว แล้วถ้าไม่เสียหาย ถ้ามีกำไร ถ้าประชาชนพอใจ 3 องค์กรต้องรับผิดไหม หรือ ทักได้เรื่อยเป็นจิ้งจก

แน่จริงก็เขียนให้อำนาจยับยั้งไปเลยสิครับ ให้มีอำนาจแหย่อวัยวะแช่น้ำไว้ทำไม แล้วยังบอกอีกนะ "ถ้าไม่ได้ทำผิด นักการเมืองกลัวอะไร" อ้าว กระทั่งรัฐบาลนี้รับซื้อยางพารายังต้องควักเนื้อ ขึ้นอยู่กับใครตีความ "เสียหาย" เผลอๆ มีนักวิจัย TDRI ชี้ผิดก็ใช้เป็นหลักฐานติดคุกได้

ถามจริง เขียนรัฐธรรมนูญอย่างนี้เขียนทำไม ไม่ได้แก้ปมปัญหารัฐธรรมนูญ 2550 แถมหนักข้อเข้าไปใหญ่ ผู้เฒ่า มีชัยพูดถูก นี่ไม่ใช่ตุลาการภิวัฒน์ เพราะเพิ่มอำนาจจนเป็น "ตุลาการธิปไตย" ถ้าขัดแย้งกับความนิยมของประชาชน จนเกิดวิกฤต ต่อไปใครเรียกร้อง ม.7 ศาลรัฐธรรมนูญ ก็จัดให้

พูดอีกอ ย่าง ร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่มีความหวังกับการ เลือกตั้ง เชื่อว่าประชาชนยังจน เครียด กินเหล้า โง่ ถูกซื้อ ยังเลือกนักการเมืองเลวเข้ามา แล้วก็จะถูกต่อต้านโดยคนดี คนชั้นกลางระดับบนคนมั่งมี ที่เป็นเสียงข้างน้อย จึงต้องมีศาล องค์กรอิสระ ไว้เป็นที่พึ่งของเสียงข้างน้อย จึงเขียนให้ใครก็ได้เดินไปฟ้องศาล ให้อำนาจศาล องค์กรอิสระ ตีความยับยั้ง หรือกระทั่งล้มล้างรัฐบาล รัฐสภาได้ง่าย ถ้าประชาชนผู้เลือกตั้งเชื่อพวกนักวิชาการประชาธิปไตยฝรั่ง ลุกฮือ ก่อความวุ่นวาย ตามประเพณีไทยต้องทำรัฐประหาร แต่เรามีรัฐประหารแล้วตั้ง 13 ครั้ง ไม่อายชาวโลกบ้างหรือไง อย่ากระนั้นเลย ใช้ศาลรัฐธรรมนูญยึดอำนาจเถอะ

ถามจริง ถ้าคิดอย่างนี้แล้วจะมีรัฐธรรมนูญ มีเลือกตั้ง ให้วุ่นวายทำไม อยู่กับลุงตู่ไปชั่วกัลปาวสานมีความสุขกว่า

ร่าง รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังไม่เชื่อว่าประชาชนจะหายโง่ จึงไม่ยอมให้แก้ง่าย (ตายยาก) ถ้าผ่านประชามติคงต้องรอยุคพระศรีอาริย์จึงแก้ได้ เพราะบัญญัติว่าต้องมีเสียงสนับสนุนอย่างน้อยร้อยละ 10 จากทุกพรรคการเมืองที่มีส.ส. 10 คนขึ้นไป ซึ่งเป็นไปไม่ได้ จนกว่าคนไทยทุกคนจะท่องค่านิยม 12 ประการ จนไม่มีความเห็นต่าง ละโลภโกรธหลงนุ่งขาวห่มขาวเข้าวัดเดียวกัน (ต่างวัดก็ไม่ได้อีก เพราะกระทั่งจะตั้งสังฆราชยังฟาดฟันกัน)

มีอย่างที่ไหน รัฐธรรมนูญจะบังคับใช้ต้องผ่านประชามติเกินกึ่งหนึ่ง แต่พรรคที่มีส.ส. 10 คนจาก 500 คน คิดเป็น ผู้แทนประชาชนเพียง 2% สามารถขัดขวางการแก้รัฐธรรมนูญ นี่กระมังที่ผู้เฒ่ามีชัยบอกว่า "เสียงข้างน้อยมีความหมาย" คือผู้แทนประชาชน 98% จะเอาอย่างไรแค่ 2% เอาเท้าราน้ำก็ทำไม่ได้

โดย ยังไม่พูดถึง 2 พรรคใหญ่ยากเห็นตรงกัน ทั้งต้องพึ่งคะแนนส.ว.ระบอบล็อบบี้ ขืนใครเสนอแก้ไขให้ส.ว.มาจากเลือกตั้งเหมือนรัฐธรรมนูญ 2540 ก็โดนข้อหาล้มล้างการปกครอง

ถ้ามองในแง่ "ฝีมือเนติบริกร" ร่างรัฐธรรมนูญซือโจ๊วมีชัย ยังสู้ฉบับหลานศิษย์บวรศักดิ์ไม่ได้ แม้ไม่เป็นประชาธิปไตยเหมือนกัน แต่ฉบับบวรศักดิ์ยังอธิบายระบบวิธีคิดของตนได้สอดรับกันมากกว่า (ก่อนมาตกม้าตายกับ คปป.) ขณะที่ฉบับมีชัยลักลั่นแต่ต้น เช่นเลือกตั้ง 2 ระบบในบัตรใบเดียว โดยไม่มีเหตุผล หรือให้มีนายกฯคนนอกโดยให้พรรคการเมืองเสนอชื่อ 3 คน ถ้าได้คนนอกก็ต้องโทษพรรคการเมือง ห้ามโทษกรธ.

หลายคนจึงสงสัย ผู้เฒ่ามีชัยมือตก หรือไม่อยากร่างให้ผ่าน เพียงยกร่างฆ่าเวลา แต่ไม่ว่าอย่างไรถ้าไปถึงประชามติ ประเทศนี้ระอุแน่


คลิกอ่าน-www.matichon.co.th


คลิกอ่าน-www.matichon.co.th
องค์กรอิสระ-นโยบายสาธารณะ โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์
http://www.matichon.co.th/?p=8780&preview=true







Inga kommentarer:

Skicka en kommentar