10 ปีขายชินคอร์ป คำแปลโทรเลขวิกิลีกส์ทักษิณเล่าความขัดแย้งกับในหลวงจากการขายนั้น
(และการ"ทำดีล"กับวัง กลางปี2551)
10 ปีกรณีขายชินคอร์ป : จุดหักเลี้ยวของวิกฤติ คำแปลฉบับเต็ม โทรเลขวิกิลีกส์ที่ทักษิณเล่าความขัดแย้งกับในหลวงกรณีขายชินคอร์ป
10 ปีกรณีขายชินคอร์ป : จุดหักเลี้ยวของวิกฤติ
คำแปลฉบับเต็ม โทรเลขวิกิลีกส์ที่ทักษิณเล่าย้อนหลังความขัดแย้งกับในหลวงจากเหตุการณ์นั้น (และการพยายาม "ทำดีล" กับวังก่อนการออกนอกประเทศครั้งสุดท้ายกลางปี 2551)
[เดิมผมตั้งใจจะโพสต์กระทู้นี้เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (23 มกราคม 2559) ซึ่งเป็นวันครบรอบ 10 ปีที่ข่าวการขายชินคอร์ปให้เทมาเส็กถูกประกาศออกมาต่อสาธารณะ แต่ติดธุระ เลยมาโพสต์วันนี้]
วันที่ 23 มกราคม 2549 ข่าวทักษิณขายชินคอร์ปให้เทมาเส็กโดยได้รับการยกเว้นภาษีได้รับการประกาศต่อสาธารณะ นี่คือจุดที่วิกฤติปัจจุบัน "เท็คอ๊อฟ" โดยแท้จริง - ดูกระทู้วันปีใหม่ ที่ผมทบทวนวิกฤติปี 2549 ที่นี่
ดังที่ผมอธิบายในกระทู้นั้น (ผมคัดลอกบางส่วนมา):
"...ในช่วง 4 เดือนแรกของการเคลื่อนไหวโจมตีทักษิณ (นับจากกันยายน 2548) แม้สนธิจะสามารถปลุกระดมคนจำนวนหนึ่งเข้าร่วมได้....แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่มากนัก ถึงวันที่ 13 มกราคม 2549 เมื่อสนธิพยายามยกระดับการเคลื่อนไหวด้วยการนำผู้เข้าร่วมฟังรายการ "เมืองไทยฯ" ของเขาที่สวนลุม เดินขบวนไปที่ทำเนียบรัฐบาล แม้จะมีคนเข้าร่วมบ้าง... แต่ผู้สังเกตการณ์ตอนนั้นส่วนใหญ่ก็ถือว่าเป็นความล้มเหลว ทำให้ "ภาพลักษณ์" ของขบวนสนธิแย่ลงด้วยซ้ำ...
ดังนั้น เมื่อสนธิประกาศเมื่อวันที่ 20 มกราคม ว่าจะจัดชุมนุมใหญ่ไล่ทักษิณทีสนามหลวงในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ก็ไม่มีใครคิดว่าจะประสบความสำเร็จในการไล่ทักษิณได้จริงๆ... ไม่มีใครคิดว่า การชุมนุมวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่สนธิจะจัดขึ้น จะนำไปสู่อะไรมากมายนัก
แต่แล้ว วันที่ 23 มกราคม ก็มีข่าวออกมาว่า ทักษิณได้ขายหุ้นชินคอร์ปให้บริษัทเทมาเส็กของสิงคโปร์ โดยได้รับการยกเว้นภาษี..."
ข้างล่างนี้ เป็นคำแปลของผมฉบับเต็ม (ไม่มีเซ็นเซ่อร์) ข้อความในโทรเลขวิกิลีกส์หมายเลข 08BANGKOK2243 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 ที่ทักษิณเล่าให้ทูตสหรัฐฟังว่าการขายชินคอร์ปเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของความสัมพันธ์ของเขากับในหลวง (แม้เขาจะบอกด้วยว่า คนในแวดวงวังเริ่มไม่พอใจเขาหลังการชนะเลือกตั้งแบบถล่มทลายในปี 2548) ทักษิณยังได้เล่าถึงการพยายาม “ทำดีล” กับวังในขณะนั้น (กลางปี 2551) ก่อนการออกนอกประเทศครั้งสุดท้ายของเขา
ต้นฉบับโทรเลข คลิกดูได้-ที่นี่
THAKSIN PREDICTS NATIONAL UNITY GOVERNMENT, PARDON, LIFE ABROAD
[ทักษิณคาดการณ์เรื่องรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ การนิรโทษกรรม และชีวิตในต่างประเทศ]
สรุปเนื้อหาโทรเลข
1. (C) อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ บอกทูตในการพบกันสองต่อสองเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมว่า นายกรัฐมนตรีสมัครได้รับการอนุญาตจากในหลวงในการตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติเพื่อสมานรอยร้าวทางการเมืองของประเทศไทย. ทักษิณประเมินว่ารัฐบาลดังกล่าวซึ่งจะรวมพรรคการเมืองต่างๆจะมีอายุประมาณหนึ่งปีและจะทำการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ. ในอนาคตอันใกล้ ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงนี้ ทักษิณจะได้ทรัพย์สินที่ถูกอายัดไว้คืน และเขาจะเลิกเล่นการเมืองและไปพำนักอาศัยในต่างประเทศเป็นหลัก. ทักษิณยังได้คุยกับทูตเรื่องความสัมพันธ์กับในหลวง พระราชินี และมงกุฏราชกุมาร. คอนเซ็พท์เรื่องรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติอาจจะช่วยให้บรรยากาศการเมืองที่มีลักษณะขัดแย้งกันอย่างรุนแรงและอ่อนไหวมากในขณะนี้สงบลงบ้าง แต่เรายังสงสัยไม่เชื่อนักว่าแผนการณ์ที่ทักษิณเล่าให้ฟังจะสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งขั้นพื้นฐานระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆในประเทศได้. จบการสรุป.
รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ, การนิรโทษกรรม: เส้นทางสู่เสถียรภาพในการเมืองไทย?
2. (C) อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เข้าพบทูต ณ ที่พำนักเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม เพื่อพูดคยแลกเปลี่ยนแบบสองต่อสอง. ทักษิณบอกทูตว่าเขาขอพบส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการร่ำลา เพราะเขาคาดว่าอีกไม่นานนักเขาคงจะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่นอกประเทศไทย. การออกนอกประเทศของเขาเป็นส่วนหนึ่งของทางออกอย่างละเอียดที่มีจุดมุ่งหมายจะสร้างเสถียรภาพให้การเมืองไทย.
3. (C) ทักษิณเล่าว่าในหลวงภูมิพลได้ให้นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช เข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม. ในการเข้าเฝ้านั้น, ทรงอนุญาตให้สมัครตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติขึ้น ซึ่งพรรคการเมืองแต่ละพรรคจะมีที่นั่งในคณะรัฐมนตรีตามสัดส่วนจำนวน สส ของพรรคในสภาผู้แทนราษฎร. ทักษิณดูเหมือนจะคาดการณ์ -- แต่ไม่ถึงกับคิดว่าเป็นเรื่องแน่นอน -- ว่าสมัครจะยังคงเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปในรัฐบาลแห่งชาติดังกล่าว. พรรคประชาธิปัตย์ -- พรรคใหญ่อันดับสองซึ่งขณะนี้เป็นพรรคฝ่ายค้านเพียงพรรคเดียว -- จะได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีบางตำแหน่ง. ทักษิณประเมินว่ารัฐบาลเอกภาพแห่งชาตินี้จะบริหารงานอยู่ประมาณหนึ่งปี ในระหว่างนั้น รัฐสภาจะดำเนินกระบวนการปฏิรูปด้านรัฐธรรมนูญ.
4. (C) ทักษิณเสริมว่า หลังการตั้งรัฐบาลแห่งชาติดังกล่าวขึ้นไม่นาน จะมีการนิรโทษกรรมที่ครอบคลุมอย่างกว้างขวาง. นี่เป็นความจำเป็นสำหรับคดีต่างๆในศาล โดยเฉพาะคดี “ใช้อำนาจในทางที่ผิด” [ของทักษิณ] (ดูอ้างอิง B โทรเลข BANGKOK 2092 (THAKSIN’S TEAM PESSIMISTIC). ทักษิณอธิบายว่าคำตัดสินว่าเขาผิดที่กำลังจะมีขึ้น เกิดจากอคติที่ศาลมีต่อเขา โดยเขากล่าวอ้างว่า ในหลวงภูมิพลได้บอกตุลาการรัฐธรรมนูญอย่างน้อยหนึ่งคนในระหว่างการเข้าเฝ้าว่า ศาลควร - ในคำของทักษิณ - ทำอะไรก็ตามที่จำเป็นต้องทำเพื่อกำจัดทักษิณ.
5. (C) การนิรโทษกรรมที่จะเกิดขึ้นจะเปิดโอกาสให้ทักษิณได้ทรัพย์สินที่ถูกอายัดไว้คืน. อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน เขาจะต้องยอมเลิกเล่นการเมืองตลอดไปและหันไปทำกิจกรรมทางธุรกิจของตนเท่านั้น รวมทั้งต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในต่างประเทศ. ทักษิณบอกทูตว่า เขายินดีจะยอมทำตามเงื่อนไขนี้. เขากล่าวเพิ่มว่า ก่อนจะเดินทางออกนอกประเทศ เขาหวังว่าเขาจะได้เข้าเฝ้าในหลวงและพระราชินีทีละพระองค์แยกกัน เขากล่าวว่า ในโอกาสนั้น เขาจะได้ทูลเกล้าฯถวายเงินก้อนใหญ่ให้แต่ละพระองค์ (บันทึกความเห็นทูต: เราเดาว่าการถวายเงินดังกล่าว คงให้ไปที่มูลนิธิต่างๆ [ของสองพระองค์] มากกว่าเป็นการให้กับในนามในหลวงและพระราชินีโดยตรง. จบบันทึกความเห็นทูต [สศจ.เพิ่มเติม: ผมคิดว่าตรงนี้ทูตน่าจะเดาผิด ผมคิดว่าทักษิณตั้งใจจะหมายถึงการถวายตรงต่อในหลวงและพระราชินีเองเลย])
ภูมิหลังความสัมพันธ์ทักษิณกับวัง
6. (C) ทักษิณได้ทบทวนย้อนหลังว่า เขามีความสัมพันธ์ที่ดีกับในหลวงระหว่างการเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก. ในหลวงทรงขอบใจเป็นพิเศษที่ทักษิณได้ดำเนินมาตรการที่ทำให้ทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เพิ่มพูดขึ้น. ทัศนะของในหลวงต่อทักษิณแย่ลงหลังจากพรรคไทยรักไทยชนะเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมากเด็ดขาด (377 ที่นั่งจาก 500 ที่นั่ง) ในการเลือกตั้งปี 2548. ทักษิณกล่าวว่าคนในแวดวงวังหลายคน รู้สึกว่าถูกคุกคามจากอำนาจทางการเมืองของเขาและความนิยมที่เขาได้รับจากคนไทยในชนบทซึ่งชื่นชมความตั้งใจของเขาที่จะกำจัดความยากจน.
7. (C) ทักษิณยกกรณีการตัดสินใจของเขาในการขายชินคอร์ปให้กับบริษัทลงทุนสิงคโปร์ ว่าเป็นจุดหักเลี้ยวสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างเขากับในหลวง. ทักษิณอ้างว่าเขาบอกในหลวงเกี่ยวกับการจะขายชินคอร์ปในการเข้าเฝ้าครั้งหนึ่งก่อนที่จะมีการประกาศเรื่องการขายต่อสาธารณะ. เมื่อในหลวงได้ยินว่าทักษิณจะขายชินคอร์ปให้บริษัทต่างชาติ ในหลวงทรงมีพระวรกายเกร็งเครียดขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และถามเขาว่า “ให้ใครนะ?” ทักษิณบอกทูตว่าเขาไม่ได้ยินคำถามของในหลวงชัดนักจึงถามในหลวงว่า “ทรงตรัสว่าอะไรนะพะยะค่ะ?” ในหลวงได้ยินก็โพล่งออกมาด้วยเสียงดังและความโกรธ ถามทักษิณซ้ำอีกคร้้ง [ว่าขายให้ใคร] ทักษิณบอกทูตว่าเขาไม่เคยเห็นในหลวงแสดงพระอาการแบบนี้เลย. หลังเหตุการณ์เข้าเฝ้าครั้งนั้น ทักษิณกล่าวว่าศัตรูทางการเมืองของเขาก็เดินหน้าเป็นฝ่ายรุกอย่างได้ผล พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยสามารถดึงคนเข้าร่วมชุมนุมสนับสนุนเพิ่มขึ้นอย่างมาก มีทุนในมือเพิ่มขึ้น และ และประสบความสำเร็จในการปลุกปั่นกรณีขายชินคอร์ป เปิดทางให้กับการยอมรับของประชาชนต่อรัฐประหาร 2549.
8. (C) ทักษิณเสริมว่าเขาเชื่อว่าเขายังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับมงกุฏราชกุมารวชิราลงกรณ์. อย่างไรก็ตาม มงกุฏราชกุมารได้อธิบายกับเขา (ในระหว่างการพบกันหลังการรัฐประหารที่ทักษิณไม่ได้ระบุเวลา) ว่าจะทรงไม่สามารถพบกับทักษิณเป็นเวลาอีกนานพอสมควร เพราะความไม่พอพระทัยของพระราชินีสิริกิตต์ต่อทักษิณ.
ความเห็นทูต
9. (C) องค์ประกอบหลายอย่างของแผนการณ์ที่ทักษิณเล่ามายังไม่ชัดเจนต่อเรานัก. การนิรโทษกรรมดังกล่าวจะออกในรูปพระราชบัญญัติ [ของสภา] หรือจะออกมาในรูปพระบรมราชโองการ? แล้วการนิรโทษกรรมดังกล่าวจะครอบคลุมถึงอดีตผู้บริหารพรรคไทยรักไทย 110 คนที่ถูกจำกัดสิทธิ์ทางการเมืองไปด้วยกันกับทักษิณในเดือนพฤษภาคม 2550 (ดูอ้างอิง D โทรเลข 07 BANGKOK 2994 THAI RAK THAI DISSOVED) หรือไม่? อันตรายของการจะถูกยุบพรรค (พลังประชาชน) อีก (ดูอ้างอิง C โทรเลข BANGKOK 2091 COURT RULINGS CLOUD FUTURE) จะได้รับการยกเลิกไปด้วยกับการนิรโทษกรรมหรือไม่? กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญจะทำให้รัฐธรรมนูญออกมาในรูปใด? อย่างไรก็ตาม ถ้าแผนการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ก็อาจจะช่วยให้เกิดช่วงผ่อนคลายที่มีค่ามาก และทำให้บรรยากาศทางการเมืองที่มีความขัดแย้งและอ่อนไหวอย่างสูงในขณะนี้สงบลงบ้าง.
10. (C) อย่างไรก็ตาม เราสงสัยไม่ค่อยเชื่อนักว่า แต่ละฝ่ายในความขัดแย้งที่ยืดเยื้อระหว่างทักษิณกับวังจะปฏิบัติอย่างจริงใจหรือคาดหวังว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะปฏิบัติอย่างจริงใจด้วย. เราตั้งข้อสังเกตว่าทักษิณเองได้เคยประกาศสัญญาต่อสาธารณะหลายครั้งว่าเขาได้เลิกเล่นการเมืองแล้ว แต่เขาก็ยังดูเกี่ยวข้องกับกิจการรัฐบาลอย่างลึกซึ้ง. เป็นเรื่องที่เกือบจะคิดไม่ออกเลยว่านักการเมืองไทยจะเลิกพูดคุยปรึกษากับทักษิณ เลิกขอการสนับสนุนทางการเงินจากเขา และเลิกที่จะอาศัยความนิยมของประชาชนต่อเขา เพื่อประโยชน์ของนักการเมืองเหล่านั้นเอง. และถ้าทักษิณได้รับนิรโทษกรรมและได้เงินที่อายัดไว้คืน ก็ไม่ชัดเจนว่าวังเองจะมีวิธีทำให้ทักษิณทำตามข้อต่อรองที่เขาให้ไว้ได้อย่างไร.
จอห์น.
10 ปีกรณีขายชินคอร์ป : จุดหักเลี้ยวของวิกฤติ คำแปลฉบับเต็ม โทรเลขวิกิลีกส์ที่ทักษิณเล่าความขัดแย้งกับในหลวงกรณีขายชินคอร์ป
10 ปีกรณีขายชินคอร์ป : จุดหักเลี้ยวของวิกฤติ
คำแปลฉบับเต็ม โทรเลขวิกิลีกส์ที่ทักษิณเล่าย้อนหลังความขัดแย้งกับในหลวงจากเหตุการณ์นั้น (และการพยายาม "ทำดีล" กับวังก่อนการออกนอกประเทศครั้งสุดท้ายกลางปี 2551)
[เดิมผมตั้งใจจะโพสต์กระทู้นี้เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (23 มกราคม 2559) ซึ่งเป็นวันครบรอบ 10 ปีที่ข่าวการขายชินคอร์ปให้เทมาเส็กถูกประกาศออกมาต่อสาธารณะ แต่ติดธุระ เลยมาโพสต์วันนี้]
วันที่ 23 มกราคม 2549 ข่าวทักษิณขายชินคอร์ปให้เทมาเส็กโดยได้รับการยกเว้นภาษีได้รับการประกาศต่อสาธารณะ นี่คือจุดที่วิกฤติปัจจุบัน "เท็คอ๊อฟ" โดยแท้จริง - ดูกระทู้วันปีใหม่ ที่ผมทบทวนวิกฤติปี 2549 ที่นี่
ดังที่ผมอธิบายในกระทู้นั้น (ผมคัดลอกบางส่วนมา):
"...ในช่วง 4 เดือนแรกของการเคลื่อนไหวโจมตีทักษิณ (นับจากกันยายน 2548) แม้สนธิจะสามารถปลุกระดมคนจำนวนหนึ่งเข้าร่วมได้....แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่มากนัก ถึงวันที่ 13 มกราคม 2549 เมื่อสนธิพยายามยกระดับการเคลื่อนไหวด้วยการนำผู้เข้าร่วมฟังรายการ "เมืองไทยฯ" ของเขาที่สวนลุม เดินขบวนไปที่ทำเนียบรัฐบาล แม้จะมีคนเข้าร่วมบ้าง... แต่ผู้สังเกตการณ์ตอนนั้นส่วนใหญ่ก็ถือว่าเป็นความล้มเหลว ทำให้ "ภาพลักษณ์" ของขบวนสนธิแย่ลงด้วยซ้ำ...
ดังนั้น เมื่อสนธิประกาศเมื่อวันที่ 20 มกราคม ว่าจะจัดชุมนุมใหญ่ไล่ทักษิณทีสนามหลวงในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ก็ไม่มีใครคิดว่าจะประสบความสำเร็จในการไล่ทักษิณได้จริงๆ... ไม่มีใครคิดว่า การชุมนุมวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่สนธิจะจัดขึ้น จะนำไปสู่อะไรมากมายนัก
แต่แล้ว วันที่ 23 มกราคม ก็มีข่าวออกมาว่า ทักษิณได้ขายหุ้นชินคอร์ปให้บริษัทเทมาเส็กของสิงคโปร์ โดยได้รับการยกเว้นภาษี..."
ข้างล่างนี้ เป็นคำแปลของผมฉบับเต็ม (ไม่มีเซ็นเซ่อร์) ข้อความในโทรเลขวิกิลีกส์หมายเลข 08BANGKOK2243 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 ที่ทักษิณเล่าให้ทูตสหรัฐฟังว่าการขายชินคอร์ปเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของความสัมพันธ์ของเขากับในหลวง (แม้เขาจะบอกด้วยว่า คนในแวดวงวังเริ่มไม่พอใจเขาหลังการชนะเลือกตั้งแบบถล่มทลายในปี 2548) ทักษิณยังได้เล่าถึงการพยายาม “ทำดีล” กับวังในขณะนั้น (กลางปี 2551) ก่อนการออกนอกประเทศครั้งสุดท้ายของเขา
ต้นฉบับโทรเลข คลิกดูได้-ที่นี่
THAKSIN PREDICTS NATIONAL UNITY GOVERNMENT, PARDON, LIFE ABROAD
[ทักษิณคาดการณ์เรื่องรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ การนิรโทษกรรม และชีวิตในต่างประเทศ]
สรุปเนื้อหาโทรเลข
1. (C) อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ บอกทูตในการพบกันสองต่อสองเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมว่า นายกรัฐมนตรีสมัครได้รับการอนุญาตจากในหลวงในการตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติเพื่อสมานรอยร้าวทางการเมืองของประเทศไทย. ทักษิณประเมินว่ารัฐบาลดังกล่าวซึ่งจะรวมพรรคการเมืองต่างๆจะมีอายุประมาณหนึ่งปีและจะทำการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ. ในอนาคตอันใกล้ ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงนี้ ทักษิณจะได้ทรัพย์สินที่ถูกอายัดไว้คืน และเขาจะเลิกเล่นการเมืองและไปพำนักอาศัยในต่างประเทศเป็นหลัก. ทักษิณยังได้คุยกับทูตเรื่องความสัมพันธ์กับในหลวง พระราชินี และมงกุฏราชกุมาร. คอนเซ็พท์เรื่องรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติอาจจะช่วยให้บรรยากาศการเมืองที่มีลักษณะขัดแย้งกันอย่างรุนแรงและอ่อนไหวมากในขณะนี้สงบลงบ้าง แต่เรายังสงสัยไม่เชื่อนักว่าแผนการณ์ที่ทักษิณเล่าให้ฟังจะสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งขั้นพื้นฐานระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆในประเทศได้. จบการสรุป.
รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ, การนิรโทษกรรม: เส้นทางสู่เสถียรภาพในการเมืองไทย?
2. (C) อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เข้าพบทูต ณ ที่พำนักเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม เพื่อพูดคยแลกเปลี่ยนแบบสองต่อสอง. ทักษิณบอกทูตว่าเขาขอพบส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการร่ำลา เพราะเขาคาดว่าอีกไม่นานนักเขาคงจะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่นอกประเทศไทย. การออกนอกประเทศของเขาเป็นส่วนหนึ่งของทางออกอย่างละเอียดที่มีจุดมุ่งหมายจะสร้างเสถียรภาพให้การเมืองไทย.
3. (C) ทักษิณเล่าว่าในหลวงภูมิพลได้ให้นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช เข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม. ในการเข้าเฝ้านั้น, ทรงอนุญาตให้สมัครตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติขึ้น ซึ่งพรรคการเมืองแต่ละพรรคจะมีที่นั่งในคณะรัฐมนตรีตามสัดส่วนจำนวน สส ของพรรคในสภาผู้แทนราษฎร. ทักษิณดูเหมือนจะคาดการณ์ -- แต่ไม่ถึงกับคิดว่าเป็นเรื่องแน่นอน -- ว่าสมัครจะยังคงเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปในรัฐบาลแห่งชาติดังกล่าว. พรรคประชาธิปัตย์ -- พรรคใหญ่อันดับสองซึ่งขณะนี้เป็นพรรคฝ่ายค้านเพียงพรรคเดียว -- จะได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีบางตำแหน่ง. ทักษิณประเมินว่ารัฐบาลเอกภาพแห่งชาตินี้จะบริหารงานอยู่ประมาณหนึ่งปี ในระหว่างนั้น รัฐสภาจะดำเนินกระบวนการปฏิรูปด้านรัฐธรรมนูญ.
4. (C) ทักษิณเสริมว่า หลังการตั้งรัฐบาลแห่งชาติดังกล่าวขึ้นไม่นาน จะมีการนิรโทษกรรมที่ครอบคลุมอย่างกว้างขวาง. นี่เป็นความจำเป็นสำหรับคดีต่างๆในศาล โดยเฉพาะคดี “ใช้อำนาจในทางที่ผิด” [ของทักษิณ] (ดูอ้างอิง B โทรเลข BANGKOK 2092 (THAKSIN’S TEAM PESSIMISTIC). ทักษิณอธิบายว่าคำตัดสินว่าเขาผิดที่กำลังจะมีขึ้น เกิดจากอคติที่ศาลมีต่อเขา โดยเขากล่าวอ้างว่า ในหลวงภูมิพลได้บอกตุลาการรัฐธรรมนูญอย่างน้อยหนึ่งคนในระหว่างการเข้าเฝ้าว่า ศาลควร - ในคำของทักษิณ - ทำอะไรก็ตามที่จำเป็นต้องทำเพื่อกำจัดทักษิณ.
5. (C) การนิรโทษกรรมที่จะเกิดขึ้นจะเปิดโอกาสให้ทักษิณได้ทรัพย์สินที่ถูกอายัดไว้คืน. อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน เขาจะต้องยอมเลิกเล่นการเมืองตลอดไปและหันไปทำกิจกรรมทางธุรกิจของตนเท่านั้น รวมทั้งต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในต่างประเทศ. ทักษิณบอกทูตว่า เขายินดีจะยอมทำตามเงื่อนไขนี้. เขากล่าวเพิ่มว่า ก่อนจะเดินทางออกนอกประเทศ เขาหวังว่าเขาจะได้เข้าเฝ้าในหลวงและพระราชินีทีละพระองค์แยกกัน เขากล่าวว่า ในโอกาสนั้น เขาจะได้ทูลเกล้าฯถวายเงินก้อนใหญ่ให้แต่ละพระองค์ (บันทึกความเห็นทูต: เราเดาว่าการถวายเงินดังกล่าว คงให้ไปที่มูลนิธิต่างๆ [ของสองพระองค์] มากกว่าเป็นการให้กับในนามในหลวงและพระราชินีโดยตรง. จบบันทึกความเห็นทูต [สศจ.เพิ่มเติม: ผมคิดว่าตรงนี้ทูตน่าจะเดาผิด ผมคิดว่าทักษิณตั้งใจจะหมายถึงการถวายตรงต่อในหลวงและพระราชินีเองเลย])
ภูมิหลังความสัมพันธ์ทักษิณกับวัง
6. (C) ทักษิณได้ทบทวนย้อนหลังว่า เขามีความสัมพันธ์ที่ดีกับในหลวงระหว่างการเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก. ในหลวงทรงขอบใจเป็นพิเศษที่ทักษิณได้ดำเนินมาตรการที่ทำให้ทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เพิ่มพูดขึ้น. ทัศนะของในหลวงต่อทักษิณแย่ลงหลังจากพรรคไทยรักไทยชนะเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมากเด็ดขาด (377 ที่นั่งจาก 500 ที่นั่ง) ในการเลือกตั้งปี 2548. ทักษิณกล่าวว่าคนในแวดวงวังหลายคน รู้สึกว่าถูกคุกคามจากอำนาจทางการเมืองของเขาและความนิยมที่เขาได้รับจากคนไทยในชนบทซึ่งชื่นชมความตั้งใจของเขาที่จะกำจัดความยากจน.
7. (C) ทักษิณยกกรณีการตัดสินใจของเขาในการขายชินคอร์ปให้กับบริษัทลงทุนสิงคโปร์ ว่าเป็นจุดหักเลี้ยวสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างเขากับในหลวง. ทักษิณอ้างว่าเขาบอกในหลวงเกี่ยวกับการจะขายชินคอร์ปในการเข้าเฝ้าครั้งหนึ่งก่อนที่จะมีการประกาศเรื่องการขายต่อสาธารณะ. เมื่อในหลวงได้ยินว่าทักษิณจะขายชินคอร์ปให้บริษัทต่างชาติ ในหลวงทรงมีพระวรกายเกร็งเครียดขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และถามเขาว่า “ให้ใครนะ?” ทักษิณบอกทูตว่าเขาไม่ได้ยินคำถามของในหลวงชัดนักจึงถามในหลวงว่า “ทรงตรัสว่าอะไรนะพะยะค่ะ?” ในหลวงได้ยินก็โพล่งออกมาด้วยเสียงดังและความโกรธ ถามทักษิณซ้ำอีกคร้้ง [ว่าขายให้ใคร] ทักษิณบอกทูตว่าเขาไม่เคยเห็นในหลวงแสดงพระอาการแบบนี้เลย. หลังเหตุการณ์เข้าเฝ้าครั้งนั้น ทักษิณกล่าวว่าศัตรูทางการเมืองของเขาก็เดินหน้าเป็นฝ่ายรุกอย่างได้ผล พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยสามารถดึงคนเข้าร่วมชุมนุมสนับสนุนเพิ่มขึ้นอย่างมาก มีทุนในมือเพิ่มขึ้น และ และประสบความสำเร็จในการปลุกปั่นกรณีขายชินคอร์ป เปิดทางให้กับการยอมรับของประชาชนต่อรัฐประหาร 2549.
8. (C) ทักษิณเสริมว่าเขาเชื่อว่าเขายังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับมงกุฏราชกุมารวชิราลงกรณ์. อย่างไรก็ตาม มงกุฏราชกุมารได้อธิบายกับเขา (ในระหว่างการพบกันหลังการรัฐประหารที่ทักษิณไม่ได้ระบุเวลา) ว่าจะทรงไม่สามารถพบกับทักษิณเป็นเวลาอีกนานพอสมควร เพราะความไม่พอพระทัยของพระราชินีสิริกิตต์ต่อทักษิณ.
ความเห็นทูต
9. (C) องค์ประกอบหลายอย่างของแผนการณ์ที่ทักษิณเล่ามายังไม่ชัดเจนต่อเรานัก. การนิรโทษกรรมดังกล่าวจะออกในรูปพระราชบัญญัติ [ของสภา] หรือจะออกมาในรูปพระบรมราชโองการ? แล้วการนิรโทษกรรมดังกล่าวจะครอบคลุมถึงอดีตผู้บริหารพรรคไทยรักไทย 110 คนที่ถูกจำกัดสิทธิ์ทางการเมืองไปด้วยกันกับทักษิณในเดือนพฤษภาคม 2550 (ดูอ้างอิง D โทรเลข 07 BANGKOK 2994 THAI RAK THAI DISSOVED) หรือไม่? อันตรายของการจะถูกยุบพรรค (พลังประชาชน) อีก (ดูอ้างอิง C โทรเลข BANGKOK 2091 COURT RULINGS CLOUD FUTURE) จะได้รับการยกเลิกไปด้วยกับการนิรโทษกรรมหรือไม่? กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญจะทำให้รัฐธรรมนูญออกมาในรูปใด? อย่างไรก็ตาม ถ้าแผนการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ก็อาจจะช่วยให้เกิดช่วงผ่อนคลายที่มีค่ามาก และทำให้บรรยากาศทางการเมืองที่มีความขัดแย้งและอ่อนไหวอย่างสูงในขณะนี้สงบลงบ้าง.
10. (C) อย่างไรก็ตาม เราสงสัยไม่ค่อยเชื่อนักว่า แต่ละฝ่ายในความขัดแย้งที่ยืดเยื้อระหว่างทักษิณกับวังจะปฏิบัติอย่างจริงใจหรือคาดหวังว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะปฏิบัติอย่างจริงใจด้วย. เราตั้งข้อสังเกตว่าทักษิณเองได้เคยประกาศสัญญาต่อสาธารณะหลายครั้งว่าเขาได้เลิกเล่นการเมืองแล้ว แต่เขาก็ยังดูเกี่ยวข้องกับกิจการรัฐบาลอย่างลึกซึ้ง. เป็นเรื่องที่เกือบจะคิดไม่ออกเลยว่านักการเมืองไทยจะเลิกพูดคุยปรึกษากับทักษิณ เลิกขอการสนับสนุนทางการเงินจากเขา และเลิกที่จะอาศัยความนิยมของประชาชนต่อเขา เพื่อประโยชน์ของนักการเมืองเหล่านั้นเอง. และถ้าทักษิณได้รับนิรโทษกรรมและได้เงินที่อายัดไว้คืน ก็ไม่ชัดเจนว่าวังเองจะมีวิธีทำให้ทักษิณทำตามข้อต่อรองที่เขาให้ไว้ได้อย่างไร.
จอห์น.
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar