Somsak Jeamteerasakul
หมวดกษัตริย์ในร่าง รธน คสช-มีชัย ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงครับ (ยกเว้นมาตราเล็กที่เพิ่มเข้ามามาตราหนึ่งที่ไม่มีความสำคัญอะไรนักในเชิงกฎหมาย - แต่มีในเชิงอื่น)
ที่จริง เป็นประเด็นเล็กนะ (เพราะมันไม่มีอะไร) แต่ผมไม่อยากให้กลายเป็นเรื่องให้เสียเวลากันเปล่าๆน่ะ คือเห็นมีการส่งข้อความทางไลน์ทำนองว่า รธน นี้ มีความแตกต่างในหมวดกษัตริย์ โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่อง "ราชธิดา" .......
ไม่ใช่นะครับ ร่าง รธน ฉบับนี้ เช่นเดียวกับ รธน #ทุกฉบับ ตั้งแต่ รธน รสช 2534 มาถึง รธน "ฉบับประชาชน" 2540 มาถึง รธน รัฐประหาร คมช 2550 (มาถึงฉบับบวรศักดิ์ที่ล้มไปด้วย)
ไม่มีความเปลี่ยนแปลงใดๆในส่วนที่เกี่ยวกับหมวดกษัตริย์ครับ เป็นการลอกกันมา (จาก รธน รสช 2534) แบบที่เรียกว่า "คำต่อคำ" (เรื่องเสนอชื่อ "ราชธิดา" ก็เหมือนเดิมทุกอย่างครับ ทุกฉบับที่ว่ามา รวมถึงฉบับนี้)
ที่ส่งๆข้อความทางไลน์ ผมเช็คแล้ว เป็นความเข้าใจผิดกันเอง ดู รธน ฉบับต่างๆ ไม่ละเอียด ดูแบบตกหล่นกันเองครับ
อันที่จริง ฉบับนี้ เป็นครั้งแรก (นับแต่ปี 2534) ที่มีการเพิ่มเข้ามามาตราหนึ่ง แต่มันไม่ได้สำคัญอะไรนัก* คือ เรื่องการปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่ง ให้ว่า ไม่จำเป็นต้องทำต่อกษัตริย์ก็ได้ ให้ทำต่อรัชทายาทหรือผู้แทนพระองค์ที่กษัตริย์มอบหมายก็ได้ (ก็เหมือน รธน "ชั่วคราว" ฉบับนี้ที่มีการมาแก้เข้าไป) และให้ก่อนการปฏิญาณตน ก็สามารถทำงานไปได้พลางๆเลย
* โอเคว่า ไม่สำคัญอะไรในเชิงกฎหมาย แต่ถ้าจะให้วิเคราะห์ในเชิงวิชาการให้กว้างออกไปในปริบททางประวัติศาสตร์ ก็อาจจะบอกว่า อันนี้เป็นการสะท้อนว่า ในหลวงภูมิพลมีความสำคัญน้อยลงๆ (ง่ายๆเลยปัจจุบันคือป่วย จนไม่สามารถทำหน้าที่แบบนี้แล้ว) และในอนาคต - อย่างที่ผมเคยเสนอ - ผมคิดว่า "ชนชั้นนำไทย" ที่ คสช เป็นตัวแทน พยายามจะสร้างระบบที่ผมเรียกว่า monarchy without a monarch คือ "ระบอบกษัตริย์นิยมที่ไม่มีกษัตริย์[ภูมิพล]" และดังนั้น เรื่องการปฏิญาณ ก็อาจจะเรียกว่าเป็นรูปธรรมเล็กๆที่สะท้อนเรื่องนี้ แต่อันนี้ ก็เริ่มมีมาตั้่งแต่ตอนนี้ คือ ใน รธน ชั่วคราวนี้แล้ว อีกหน่อย รัชกาลใหม่ ยังไง พระบรมฯก็ไม่มีทางมีบารมีแบบในหลวง และดังนั้น พวก "ฟังชั่น" เหล่านี้ ก็ไม่ค่อยมีความสำคัญแล้ว หรือพูดอีกอย่าง ไม่สามารถทำให้มีความสำคัญอะไรได้ ไม่เหมือนหลายปีก่อน ตอนในหลวงยังแข็งแรง ที่การเข้าเฝ้า "ปฏิญาณ" เป็นโอกาสหนึ่งที่ในหลวงจะมีพระราชดำรัส ... เช่นอีกไม่กี่เดือน ก็จะครบ 10 ปี พระราชดำรัสที่สำคัญมาก ที่มาจากโอกาสแบบนี้ คือ "พระราชดำรัสตุลาการภิวัฒน์" (25 เมษายน) ซึ่งยังไง จากวันนี้ไปถึงอนาคต ก็ไม่มีทางมีอีกแล้ว (ยกเว้นพระบรมฯจะมีปาฐิหารย์ "แปลงพระองค์" เป็นคนใหม่เลยได้ ซึ่งคงไม่มีหรอก)
เรื่องให้ทำงานไปได้เลยพลางๆ ท้้งๆที่ยังไม่ได้ปฏิญาณต่อกษัตริย์ ก็เป็นเรื่องเดียวกัน คือสะท้อนความสำคัญที่น้อยลงขององค์กษัตริย์.
ที่จริง เป็นประเด็นเล็กนะ (เพราะมันไม่มีอะไร) แต่ผมไม่อยากให้กลายเป็นเรื่องให้เสียเวลากันเปล่าๆน่ะ คือเห็นมีการส่งข้อความทางไลน์ทำนองว่า รธน นี้ มีความแตกต่างในหมวดกษัตริย์ โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่อง "ราชธิดา" .......
ไม่ใช่นะครับ ร่าง รธน ฉบับนี้ เช่นเดียวกับ รธน #ทุกฉบับ ตั้งแต่ รธน รสช 2534 มาถึง รธน "ฉบับประชาชน" 2540 มาถึง รธน รัฐประหาร คมช 2550 (มาถึงฉบับบวรศักดิ์ที่ล้มไปด้วย)
ไม่มีความเปลี่ยนแปลงใดๆในส่วนที่เกี่ยวกับหมวดกษัตริย์ครับ เป็นการลอกกันมา (จาก รธน รสช 2534) แบบที่เรียกว่า "คำต่อคำ" (เรื่องเสนอชื่อ "ราชธิดา" ก็เหมือนเดิมทุกอย่างครับ ทุกฉบับที่ว่ามา รวมถึงฉบับนี้)
ที่ส่งๆข้อความทางไลน์ ผมเช็คแล้ว เป็นความเข้าใจผิดกันเอง ดู รธน ฉบับต่างๆ ไม่ละเอียด ดูแบบตกหล่นกันเองครับ
อันที่จริง ฉบับนี้ เป็นครั้งแรก (นับแต่ปี 2534) ที่มีการเพิ่มเข้ามามาตราหนึ่ง แต่มันไม่ได้สำคัญอะไรนัก* คือ เรื่องการปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่ง ให้ว่า ไม่จำเป็นต้องทำต่อกษัตริย์ก็ได้ ให้ทำต่อรัชทายาทหรือผู้แทนพระองค์ที่กษัตริย์มอบหมายก็ได้ (ก็เหมือน รธน "ชั่วคราว" ฉบับนี้ที่มีการมาแก้เข้าไป) และให้ก่อนการปฏิญาณตน ก็สามารถทำงานไปได้พลางๆเลย
* โอเคว่า ไม่สำคัญอะไรในเชิงกฎหมาย แต่ถ้าจะให้วิเคราะห์ในเชิงวิชาการให้กว้างออกไปในปริบททางประวัติศาสตร์ ก็อาจจะบอกว่า อันนี้เป็นการสะท้อนว่า ในหลวงภูมิพลมีความสำคัญน้อยลงๆ (ง่ายๆเลยปัจจุบันคือป่วย จนไม่สามารถทำหน้าที่แบบนี้แล้ว) และในอนาคต - อย่างที่ผมเคยเสนอ - ผมคิดว่า "ชนชั้นนำไทย" ที่ คสช เป็นตัวแทน พยายามจะสร้างระบบที่ผมเรียกว่า monarchy without a monarch คือ "ระบอบกษัตริย์นิยมที่ไม่มีกษัตริย์[ภูมิพล]" และดังนั้น เรื่องการปฏิญาณ ก็อาจจะเรียกว่าเป็นรูปธรรมเล็กๆที่สะท้อนเรื่องนี้ แต่อันนี้ ก็เริ่มมีมาตั้่งแต่ตอนนี้ คือ ใน รธน ชั่วคราวนี้แล้ว อีกหน่อย รัชกาลใหม่ ยังไง พระบรมฯก็ไม่มีทางมีบารมีแบบในหลวง และดังนั้น พวก "ฟังชั่น" เหล่านี้ ก็ไม่ค่อยมีความสำคัญแล้ว หรือพูดอีกอย่าง ไม่สามารถทำให้มีความสำคัญอะไรได้ ไม่เหมือนหลายปีก่อน ตอนในหลวงยังแข็งแรง ที่การเข้าเฝ้า "ปฏิญาณ" เป็นโอกาสหนึ่งที่ในหลวงจะมีพระราชดำรัส ... เช่นอีกไม่กี่เดือน ก็จะครบ 10 ปี พระราชดำรัสที่สำคัญมาก ที่มาจากโอกาสแบบนี้ คือ "พระราชดำรัสตุลาการภิวัฒน์" (25 เมษายน) ซึ่งยังไง จากวันนี้ไปถึงอนาคต ก็ไม่มีทางมีอีกแล้ว (ยกเว้นพระบรมฯจะมีปาฐิหารย์ "แปลงพระองค์" เป็นคนใหม่เลยได้ ซึ่งคงไม่มีหรอก)
เรื่องให้ทำงานไปได้เลยพลางๆ ท้้งๆที่ยังไม่ได้ปฏิญาณต่อกษัตริย์ ก็เป็นเรื่องเดียวกัน คือสะท้อนความสำคัญที่น้อยลงขององค์กษัตริย์.
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar