เปิดชื่อ ‘กรรมการ’ บริษัทบารอนฯ คู่ขัดแย้ง–ไล่รื้อชุมชน ‘ชาวเลราไวย์’
ชาตรี หมาดสตูล ผู้แทนบริษัทบารอนฯ ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อวันที่ 27 ม.ค.2559 ภายหลังเกิดเหตุชายฉกรรจ์ 100 ราย ปะทะกับชาวเลจนเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 10 รายว่า สาเหตุที่นำเครื่องจักรกลมาปิดทางสัญจรไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาในพื้นที่ เนื่องจากต้องการปรับไถพื้นที่ในการก่อสร้างวิลล่า จำนวน 17 ห้อง บนเนื้อที่ 33 ไร่
อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไม่สามารถดำเนินการได้สักครั้ง เนื่องจากถูกชาวไทยใหม่ขับไล่
ชาตรี ย้ำว่า บริษัทบารอนฯ มีเอกสารสิทธิถูกต้องตามกฎหมาย และที่ผ่านมาก็ได้ตรวจสอบโฉนดกับสำนักงานที่ดินภูเก็ตมาหลายรอบแล้ว ซึ่งก็ได้รับคำยืนยันว่าเป็นเอกสารสิทธิที่ถูกต้อง
“บริษัทบารอนฯ ได้ขออนุญาตทางจังหวัดในการเข้าปรับพื้นที่ โดยทางจังหวัดก็อนุญาตให้เข้าพื้นที่ได้ ส่วนที่ดินผืนดังกล่าวมีการซื้อขายกันมา 3 ครั้งแล้ว โดยครั้งนี้เป็นของบริษัทบารอนฯ” ชาตรี ระบุ
“สำนักข่าวสิ่งแวดล้อมกรีนนิวส์” ได้ตรวจสอบข้อมูลจากสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า บริษัทบารอนฯ จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 16 ก.ค.2533 ทะเบียนเลขที่ 0105533082564
สำหรับคณะกรรมการ (บอร์ด) ของบริษัทบารอนฯ มีทั้งสิ้น 5 ราย ประกอบด้วย 1.นางสุชาดา ลีสวัสดิ์ตระกูล 2.นายพิชัย โกมลวิทยาธร 3.นายชาลี โสภณพนิช 4.นายวิวัฒน์ สุทธิพงษ์ชัย 5.นางสาวิตรี รมยะรูป โดยมีทุนจดทะเบียน 600 ล้านบาท
บริษัทบารอนฯ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 49 อาคารเอเชียเสริมกิจ ชั้น 8 ซอยพิพัฒน์ (สีลม3) ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยระบุประเภทกิจการว่า “ลงทุนในหลักทรัพย์”
ชื่อของ “ชาลี โสภณพนิช” และ “สุชาดา ลีสวัสดิ์ตระกูล” เคยตกเป็นข่าวเมื่อประมาณต้นปี 2553 ในฐานะ 2 ใน 8 คณะกรรมการบริษัท “จันทบุรีคันทรีคลับ” จำกัด และบริษัท “สวนจันทบุรี” ซึ่งถูกกล่าวหาว่า “บุกรุกป่าสงวน” บนเขาสอยดาว รวมพื้นที่กว่า 482 ไร่ เพื่อสร้างเป็นสนามกอล์ฟสอยดาวไฮแลนด์
ขณะนั้นบริษัทสวนจันทบุรี ครอบครองที่ดินประมาณ 4,010 ไร่เศษ ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว เขตป่าสงวนแห่งชาติเขาสอยดาว เขตป่าไว้ถาวรเขาสอยดาว และได้มีการสร้างลวดหนามล้อมรอบพื้นที่ไว้ทุกด้าน โดยอ้างว่ามีโฉนดที่ดิน จำนวน 5 แปลง ที่ดินที่เตรียมออกโฉนด จำนวน 6 แปลง และที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ
ที่สุดแล้ว อัยการสูงสุดชี้ขาดว่าสนามกอล์ฟสอยดาวไฮแลนด์มีเจตนารุกล้ำเข้ายึดถือครอบครองที่ดิน จึงมีความเห็นให้สั่งฟ้องบริษัท สวนจันทบุรี และให้เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ไม่ถูกต้อง
นอกจากบอร์ดบริษัทบารอนฯ แล้ว ปัจจุบัน “ชาลี” ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด และเป็นผู้ถือหุ้นในลำดับที่ 8 ในกิจการสร้างโรงงานอุตสาหกรรม โดยมี “สุชาดา” ซึ่งถือหุ้นในบริษัทเดียวกันนี้ ในลำดับที่ 3
“ชาลี” ยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP ซึ่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมี “ธนาคารกรุงเทพ” เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และมี “สุชาดา” ถือหุ้นเป็นลำดับที่ 12
“ชาลี โสภณพนิช” เป็นบุตรชายของ นายชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรรมการธนาคารกรุงเทพ (BBL) และผู้ถือหุ้นในลำดับที่ 16 สัดส่วน 0.89%
ความเชื่อมโยงข้างต้น นำมาสู่การยื่นหนังสือของ “ชาวเลราไวย์”
เมื่อวันที่ 28 ม.ค.2559 ชาวเลราไวย์ ได้เดินทางไปยังธนาคารกรุงเทพ สาขาภูเก็ต เพื่อยื่นหนังสือถึง “ชาตรี โสภณพนิช” ในฐานะประธานบอร์ด BBL และบิดาของ “ชาลี” ขอความช่วยเหลือให้ประสานบุตรชาย เข้ามาแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม Greennews‘
อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไม่สามารถดำเนินการได้สักครั้ง เนื่องจากถูกชาวไทยใหม่ขับไล่
ชาตรี ย้ำว่า บริษัทบารอนฯ มีเอกสารสิทธิถูกต้องตามกฎหมาย และที่ผ่านมาก็ได้ตรวจสอบโฉนดกับสำนักงานที่ดินภูเก็ตมาหลายรอบแล้ว ซึ่งก็ได้รับคำยืนยันว่าเป็นเอกสารสิทธิที่ถูกต้อง
“บริษัทบารอนฯ ได้ขออนุญาตทางจังหวัดในการเข้าปรับพื้นที่ โดยทางจังหวัดก็อนุญาตให้เข้าพื้นที่ได้ ส่วนที่ดินผืนดังกล่าวมีการซื้อขายกันมา 3 ครั้งแล้ว โดยครั้งนี้เป็นของบริษัทบารอนฯ” ชาตรี ระบุ
“สำนักข่าวสิ่งแวดล้อมกรีนนิวส์” ได้ตรวจสอบข้อมูลจากสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า บริษัทบารอนฯ จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 16 ก.ค.2533 ทะเบียนเลขที่ 0105533082564
สำหรับคณะกรรมการ (บอร์ด) ของบริษัทบารอนฯ มีทั้งสิ้น 5 ราย ประกอบด้วย 1.นางสุชาดา ลีสวัสดิ์ตระกูล 2.นายพิชัย โกมลวิทยาธร 3.นายชาลี โสภณพนิช 4.นายวิวัฒน์ สุทธิพงษ์ชัย 5.นางสาวิตรี รมยะรูป โดยมีทุนจดทะเบียน 600 ล้านบาท
บริษัทบารอนฯ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 49 อาคารเอเชียเสริมกิจ ชั้น 8 ซอยพิพัฒน์ (สีลม3) ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยระบุประเภทกิจการว่า “ลงทุนในหลักทรัพย์”
ชื่อของ “ชาลี โสภณพนิช” และ “สุชาดา ลีสวัสดิ์ตระกูล” เคยตกเป็นข่าวเมื่อประมาณต้นปี 2553 ในฐานะ 2 ใน 8 คณะกรรมการบริษัท “จันทบุรีคันทรีคลับ” จำกัด และบริษัท “สวนจันทบุรี” ซึ่งถูกกล่าวหาว่า “บุกรุกป่าสงวน” บนเขาสอยดาว รวมพื้นที่กว่า 482 ไร่ เพื่อสร้างเป็นสนามกอล์ฟสอยดาวไฮแลนด์
ขณะนั้นบริษัทสวนจันทบุรี ครอบครองที่ดินประมาณ 4,010 ไร่เศษ ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว เขตป่าสงวนแห่งชาติเขาสอยดาว เขตป่าไว้ถาวรเขาสอยดาว และได้มีการสร้างลวดหนามล้อมรอบพื้นที่ไว้ทุกด้าน โดยอ้างว่ามีโฉนดที่ดิน จำนวน 5 แปลง ที่ดินที่เตรียมออกโฉนด จำนวน 6 แปลง และที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ
ที่สุดแล้ว อัยการสูงสุดชี้ขาดว่าสนามกอล์ฟสอยดาวไฮแลนด์มีเจตนารุกล้ำเข้ายึดถือครอบครองที่ดิน จึงมีความเห็นให้สั่งฟ้องบริษัท สวนจันทบุรี และให้เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ไม่ถูกต้อง
นอกจากบอร์ดบริษัทบารอนฯ แล้ว ปัจจุบัน “ชาลี” ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด และเป็นผู้ถือหุ้นในลำดับที่ 8 ในกิจการสร้างโรงงานอุตสาหกรรม โดยมี “สุชาดา” ซึ่งถือหุ้นในบริษัทเดียวกันนี้ ในลำดับที่ 3
“ชาลี” ยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP ซึ่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมี “ธนาคารกรุงเทพ” เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และมี “สุชาดา” ถือหุ้นเป็นลำดับที่ 12
“ชาลี โสภณพนิช” เป็นบุตรชายของ นายชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรรมการธนาคารกรุงเทพ (BBL) และผู้ถือหุ้นในลำดับที่ 16 สัดส่วน 0.89%
ความเชื่อมโยงข้างต้น นำมาสู่การยื่นหนังสือของ “ชาวเลราไวย์”
เมื่อวันที่ 28 ม.ค.2559 ชาวเลราไวย์ ได้เดินทางไปยังธนาคารกรุงเทพ สาขาภูเก็ต เพื่อยื่นหนังสือถึง “ชาตรี โสภณพนิช” ในฐานะประธานบอร์ด BBL และบิดาของ “ชาลี” ขอความช่วยเหลือให้ประสานบุตรชาย เข้ามาแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม Greennews‘
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar