söndag 24 juli 2016

วรเจตน์ปาฐกถาประชามติ 7 ส.ค.: "รัฐธรรมนูญเป็นอย่างไรจะกำหนดชะตากรรมของรัฐๆ นั้น"

Prachatai
24 ก.ค. 2559 วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการจากคณะนิติราษฎร์ และอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ปาฐกถา “ประชามติ 7 สิงหา กับอนาคตสังคมไทย” ในงาน "ใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญ กับอนาคตประชาชน" ซึ่งจัดโดยองค์กรภาคประชาชน 43 องค์กร ที่หอประชุมศรีบูรพา มธ. ท่าพระจันทร์


ปาฐกถา "วรเจตน์ ภาคีรัตน์" ความเห็นต่อเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ อธิบายคำถามพ่วงแบบเข้าใจง่าย และผลที่จะตามมา หากรัฐธรรมนูญผ่าน-ไม่ผ่าน
รายละเอียดมีดังนี้:
หัวข้อที่เชิญให้ผมมาพูดวันนี้ คือ “ประชามติ 7 สิงหา กับอนาคตสังคมไทย” ตอนที่มีการตั้งหัวข้อนี้ผมก็กังวลนิดหน่อย เพราะรู้สึกว่า สังคมไทยดูจะไม่ค่อยมีอนาคตเท่าไหร่ และที่ สำคัญคือ การพูดวันนี้เป็นการพูดภายใต้พันธนาการบางอย่างที่มองไม่เห็นและภายใต้เพดาน ของเสรีภาพที่ตกต่ำลงอย่างมาก แต่ว่าก็ยินดีที่จะมาพูดเรื่องรัฐธรรมนูญให้ท่านทั้งหลายได้ฟัง จะได้เห็นทรรศนะที่ผมมีต่อร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่จะมีการลงประชามติ รวมถึงปัญหาที่อาจจะเกิดมีขึ้นหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการออกเสียง ประชามติไปในทรรศนะของผม
ในเบื้องแรก เราอาจต้องคิดกันสักนิดนึงว่า ประชามติ 7 ส.ค. จะมีจริงๆ หรือไม่ แม้ว่าหลายคนออกมายืนยันว่าจะเกิดประชามติขึ้นอย่างแน่นอน แต่ว่าทุกอย่างดำรงอยู่ในความไม่แน่นอนทั้งสิ้น เนื่องจากว่า ภายใต้กฎเกณฑ์กติกาการปกครองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หัวหน้า คสช.มีอำนาจเต็มตามมาตรา 44 ในแง่ของการที่จะจัดให้มีการประชามติ หรือแม้แต่จะเลื่อนการออกเสียงประชามติออกไป เพราะฉะนั้น เราต้องรอดูกันต่อไปว่าตกลงประชามติ 7 ส.ค.จะมีขึ้นหรือไม่ ในช่วงสองสัปดาห์นี้จะเกิดอะไรขึ้นอีกบ้าง
แม้ผมจะพูดในเบื้องต้นว่าสังคมไทยดูเหมือนจะไม่มีอนาคตมากนัก แต่อนาคตขึ้นอยู่กับปัจจุบัน ขึ้นกับเงื่อนไขเหตุปัจจัยที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันนี้ ถ้าเราสร้างเหตุปัจจัยที่ดี โดยตัวของเราเอง เราก็สามารถเปลี่ยนแปลงโชคชะตา เปลี่ยนแปลงอนาคตที่มันดูจะมืดมนไปได้
ทำไมผมจึงรู้สึกว่าสังคมไทยดูจะมีปัญหาเรื่องอนาคต โดยเฉพาะหากเชื่อมโยงกับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับออกเสียงประชามติที่คาดว่าน่าจะมีขึ้น ผมคิดว่าร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ ปัญหาสำคัญที่สุดคือ สมมติว่ามีการผ่านการออกเสียงประชามติไป จะเป็นการมัดตราสังหรือตรึงสังคมไทยไว้กับกฎเกณฑ์ในร่างรัฐธรรมนูญนี้ โดยยากจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามวิถีทางในทางรัฐธรรมนูญได้
เหตุผลที่พูดอย่างนี้ เนื่องจากในกฎเกณฑ์การแก้ไขเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ แม้ผู้ร่างจะเขียนให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญได้ แต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นทำได้ยากอย่างยิ่ง เท่าที่ศึกษารัฐธรรมนูญของไทย ไม่เคยพบเลยว่าตลอดการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 19 ฉบับจะมีฉบับใดแก้ไขเปลี่ยนแปลงด้วยวิถีทางตามรัฐธรรมนูญยากเท่ากับฉบับนี้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ยากนี้มีนัยอย่างไรต่อสังคมไทยในอนาคต ประเด็นสำคัญคือ ภายใต้กติกาที่บัญญัติไว้

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar