รัฐ ประหารในตุรกี: การปะทะกันระหว่างแนวคิด “รัฐสมัยใหม่” (วางรากฐานโดยผู้นำทหาร) กับ การหวนคืนสู่ “รัฐอิสลาม” (รื้อฟื้นโดยผู้นำทางการเมือง)
ตั้งแต่มุสตาฟา เคมาล อตา เติร์ก (Mustafa Kemal Ataturk) ประธานาธิบดีคนแรก สถาปนาสาธารณรัฐตุรกีใน ค.ศ. 1923 เป็นต้นมา มีการรัฐประหารในตุรกี 4 ครั้ง คือ ปี 1960, 1971, 1980 และ 1997 ส่วนครั้งที่ 5 ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคมนี้ ถือว่าเป็นการรัฐประหารที่ล้มเหลว
ทหารตุรกีมองตนเองและถูกมองว่าเป็น
“ผู้ปกป้องรัฐประชาธิปไตยที่แยกศาสนาออกจากการเมือง (guardian of secular
democracy) ตามแนวทางที่ประธานาธิบดี อตาเติร์ก ผู้เป็นที่รักของประชาชน
ได้วางไว้
โดยเข้ามาแทรกแซงการเมืองทุกครั้งที่เห็นว่ารัฐบาลจากการเลือกตั้งรื้อฟื้น
ข้อบัญญัติทางศาสนาอิสลามกลับเข้ามาในชีวิตประชาชน
เช่นให้ผู้หญิงสวมผ้าคลุมศรีษะ ให้นักเรียนอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน
โดยที่กองทัพไม่เคยคิดว่าทหารอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ รมต.กลาโหม
หรือรัฐบาลพลเรือน ด้วยเหตุว่าทหารคือผู้สถาปนาสาธารณรัฐ (founder of the
republic)
กล่าวได้ว่า บทบาทของทหารตุรกีตั้งแต่สถาปนาระบอบสาธารณรัฐมาจนถึงปัจจุบันยังคงเดิมคือ เข้ามา “reset” หรือจัดระเบียบประเทศ ไม่ให้ขยับเข้าใกล้การเป็นรัฐอิสลาม ซึ่งต่างจากการรัฐประหารและบทบาททหารของไทยตั้งแต่ปี 2490 และ 2500 เป็นต้นมา ที่เปลี่ยนพันธมิตรและแนวร่วมทางการเมืองเป็นขั้วตรงข้าม จากเมื่อครั้งเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
การรัฐประหารในปี 1997 ซึ่งถูกเรียกขานว่า The postmodern coup น่าจะส่งผลต่อเนื่องมายังการรัฐประหารที่ล้มเหลวในครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีขณะนั้นคือ อาร์เบอคาน (Necmettin Erbakan) เป็นนายกรัฐมนตรีที่สนับสนุนแนวทางอิสลามอย่างเปิดเผยเป็นคนแรก เช่นเดียวกับในอดีต ทหารเข้าแทรกแซงโดยออกระเบียบให้รัฐบาล อาร์เบอคาน ต้องปฎิบัติตาม เพื่อป้องกันไม่ให้กลับสู่ความล้าหลังทางศาสนา (religious backwardness) เช่นปิดโรงเรียนและบริษัทที่เคร่งศาสนา แบนสินค้า นำผู้นำศาสนาขึ้นศาลในฐานะต่อต้านรัฐฆราวาส ในที่สุดอาร์เบอคานถูกบังคับให้ลาออก พรรค Welfare party ถูกยุบ และแอร์ดวน ขณะนั้นเป็นนายกเทศมนตรีเมือง Istanbul ถูกจำคุก 10 เดือน โทษฐานอ่านกลอนท้าทายความเชื่อรัฐสมัยใหม่
ประธานาธิบดี แอร์ดวน (Erdoğan คิดว่าออกเสียงว่า แอร์-ดวน ตามที่ได้ยินจาก CNN และลิงค์ด้านล่าง) ได้รับเลือกตั้งในปี 2002 พยายามลดบทบาททหารในการเมืองหลายด้าน และได้จัดให้สอบสวนผู้มีส่วนร่วมในการรัฐประหาร The postmodern coup ส่งผลให้นายทหารจำนวนมากต้องติดคุกในปี 2012 (15 ปีหลังการรัฐประหารปี 1997)
นอกจากประธานาธิบดีแอร์ดรวนจะรื้อฟื้นอิทธิพลของศาสนาอิสลามกลับเข้ามาใน สังคมแล้ว ยังใช้อำนาจกัดจัดผู้ไม่เห็นด้วยและละเมิดสิทธิประชาชนอย่างกว้างขวาง ซึ่งตรงข้ามกับจุดยืนทางประวัติศาสตร์ที่ทหารวางรากฐานไว้ ขณะเดียวกัน ภาพลักษณ์องครักษ์พิทักษ์ประชาธิปไตยของทหารเริ่มเสื่อมถอย ด้วยข้อหาคอรัปชั่น และเอื้อประโยชน์ให้คนมีฐานะและชนชั้นนำกลุ่มที่ไม่เคร่งศาสนา ทำให้ความเชื่อมั่นศรัทธาที่เคยมีต่อทหารมากว่า 90 ปีถูกตั้งคำถามอย่างกว้างขวาง เปิดเผย และมากขึ้นเรื่อย ๆ
การรัฐประหารครั้งนี้ หลายคนมองว่ามีสหรัฐอเมริกาหนุนหลัง ด้วยความที่ตุรกีเป็นจุดยุทธศาสตร์ทั้งทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ มีพรมแดนติดกับอิหร่าน อิรัก ซีเรีย และอีก 5 ประเทศ ประธานาธิบดีโอบามาครั้งมาเยือนตุรกีกล่าวต่อหน้ารัฐสภาตุรกีว่า มรดกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของตุรกีคือ การแยกศาสนาออกจากการเมืองและเป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง
ปรากฎการณ์วันนี้เป็นภาพสะท้อนของสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง สังคมที่กำลังดิ้นรนหาจุดสมดุลระหว่างระเบียบโลกใหม่และศรัทธาทางศาสนา คิดว่ารัฐประหารที่ล้มเหลวนี้ อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของตุรกี
กล่าวได้ว่า บทบาทของทหารตุรกีตั้งแต่สถาปนาระบอบสาธารณรัฐมาจนถึงปัจจุบันยังคงเดิมคือ เข้ามา “reset” หรือจัดระเบียบประเทศ ไม่ให้ขยับเข้าใกล้การเป็นรัฐอิสลาม ซึ่งต่างจากการรัฐประหารและบทบาททหารของไทยตั้งแต่ปี 2490 และ 2500 เป็นต้นมา ที่เปลี่ยนพันธมิตรและแนวร่วมทางการเมืองเป็นขั้วตรงข้าม จากเมื่อครั้งเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
การรัฐประหารในปี 1997 ซึ่งถูกเรียกขานว่า The postmodern coup น่าจะส่งผลต่อเนื่องมายังการรัฐประหารที่ล้มเหลวในครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีขณะนั้นคือ อาร์เบอคาน (Necmettin Erbakan) เป็นนายกรัฐมนตรีที่สนับสนุนแนวทางอิสลามอย่างเปิดเผยเป็นคนแรก เช่นเดียวกับในอดีต ทหารเข้าแทรกแซงโดยออกระเบียบให้รัฐบาล อาร์เบอคาน ต้องปฎิบัติตาม เพื่อป้องกันไม่ให้กลับสู่ความล้าหลังทางศาสนา (religious backwardness) เช่นปิดโรงเรียนและบริษัทที่เคร่งศาสนา แบนสินค้า นำผู้นำศาสนาขึ้นศาลในฐานะต่อต้านรัฐฆราวาส ในที่สุดอาร์เบอคานถูกบังคับให้ลาออก พรรค Welfare party ถูกยุบ และแอร์ดวน ขณะนั้นเป็นนายกเทศมนตรีเมือง Istanbul ถูกจำคุก 10 เดือน โทษฐานอ่านกลอนท้าทายความเชื่อรัฐสมัยใหม่
ประธานาธิบดี แอร์ดวน (Erdoğan คิดว่าออกเสียงว่า แอร์-ดวน ตามที่ได้ยินจาก CNN และลิงค์ด้านล่าง) ได้รับเลือกตั้งในปี 2002 พยายามลดบทบาททหารในการเมืองหลายด้าน และได้จัดให้สอบสวนผู้มีส่วนร่วมในการรัฐประหาร The postmodern coup ส่งผลให้นายทหารจำนวนมากต้องติดคุกในปี 2012 (15 ปีหลังการรัฐประหารปี 1997)
นอกจากประธานาธิบดีแอร์ดรวนจะรื้อฟื้นอิทธิพลของศาสนาอิสลามกลับเข้ามาใน สังคมแล้ว ยังใช้อำนาจกัดจัดผู้ไม่เห็นด้วยและละเมิดสิทธิประชาชนอย่างกว้างขวาง ซึ่งตรงข้ามกับจุดยืนทางประวัติศาสตร์ที่ทหารวางรากฐานไว้ ขณะเดียวกัน ภาพลักษณ์องครักษ์พิทักษ์ประชาธิปไตยของทหารเริ่มเสื่อมถอย ด้วยข้อหาคอรัปชั่น และเอื้อประโยชน์ให้คนมีฐานะและชนชั้นนำกลุ่มที่ไม่เคร่งศาสนา ทำให้ความเชื่อมั่นศรัทธาที่เคยมีต่อทหารมากว่า 90 ปีถูกตั้งคำถามอย่างกว้างขวาง เปิดเผย และมากขึ้นเรื่อย ๆ
การรัฐประหารครั้งนี้ หลายคนมองว่ามีสหรัฐอเมริกาหนุนหลัง ด้วยความที่ตุรกีเป็นจุดยุทธศาสตร์ทั้งทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ มีพรมแดนติดกับอิหร่าน อิรัก ซีเรีย และอีก 5 ประเทศ ประธานาธิบดีโอบามาครั้งมาเยือนตุรกีกล่าวต่อหน้ารัฐสภาตุรกีว่า มรดกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของตุรกีคือ การแยกศาสนาออกจากการเมืองและเป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง
ปรากฎการณ์วันนี้เป็นภาพสะท้อนของสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง สังคมที่กำลังดิ้นรนหาจุดสมดุลระหว่างระเบียบโลกใหม่และศรัทธาทางศาสนา คิดว่ารัฐประหารที่ล้มเหลวนี้ อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของตุรกี
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar