fredag 22 juli 2016

ประวัติความเป็นมาของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พ.ค.ท

ประวัติความเป็นมาของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ( พ.ค.ท )
                               ตอน ๑ -ตอน ๒

จุดประสงค์ของผู้เรียบเรียงเพื่อให้นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
และอนุชนรุ่นหลังที่กำลังต่อสู้กับ ระบอบเผด็จการกษัตริย์ภูมิพลอยู่ในเวลานี้ได้เรียนรู้และถอดถอนบทเรียนจาก ประวัติศาสตร์ความผิดพลาดของการปฏิวัติการเปลี่ยนแปลงสังคมในประเทศไทย การปฏิวัติจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีขบวนการนำ และมีทฤษดีชี้นำที่ถูกต้อง ถ้าขบวนการนำไม่มีความเป็นเอกภาพและไม่มีทฤษดีชี้นำที่ถูกต้องการปฏิวัติของ สังคมในประเทศนั้นก็ต้องล้มเหลวจะเห็นได้จากการปฏิวัติของไทยที่นำโดย พคท.ทื่ประสบความล้มเหลวมาแล้ว
ฉนั้นเราจึงนำประวัติพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทยมาเสนอท่านผู้อ่านที่อยากทราบความเป็นมาตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ทื่มือยู่ซึ่งไม่เคยเปิดเผยมาก่อน

ปัญหาหลักเกี่ยวกับ พ.ค.ท.มีอยู่ ๓ ประเด็นคือ

๑  ปัญหาเรื่องเวลาในการก่อตั้งพรรคที่ไม่มีหลักฐานแน่นอน
๒  ปัญหาเรื่องแนวทางและนโยบายไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน
๓   ปัญหาเรื่องผู้นำไม่มีความชัดเจนว่าใครคือหัวหน้าพรรค      หรือประธานพรรค ใครเป็นเลขาพรรคตัวจริง

ทั้งสามประเด็นไม่มีความชัดเจน แต่เราจะนำเสนอตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ทื่มือยู่จากคณะบุคคลที่เคยมีประสบ การเคยร่วมงานกับ พคท. มาแล้วซึ่งไม่เคยเปิดเผยมาก่อนเพื่อประโยชน์ของประวัติศาตร์ในการต่อสู้
                                      - 1 -

ภายใต้สงครามจีน - ญี่ปุ่น พรรคคอมมิวนิสต์จีน ( พคจ. ) ได้เร่งรัดให้พรรคคอมมิวนิสต์ต่างๆภายในเอเซียอาคเนย์ที่อยู่ภายใต้การชี้นำ ของตนเร่งทำพรรคให้เข้มแข็งขึ้น  และดำเนินนโยบายต่อต้านญี่ปุ่นเพื่อประสานกับพรรคคอมมิวนิสต์สากล และพรรคคอมมิวนิสต์จีน  ดังนั้นในวันที่ ๑ ธค. ๒๔๘๕ พคจ.สาขาประเทศไทยแผนกไทยได้แยกตัวไปเปิดประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคครั้งที่ ๑ ขึ้น  ในการประชุมได้กำหนดหลักนโยบาย ระเบียบการ และการนำของพรรคขึ้น

- หลักนโยบาย  ต่อต้านญี่ปุ่น 
- ระเบียบการ  นำมาจาก พคจ.โดยพื้นฐาน

ในเวลานั้นองค์การนำยังไม่ได้ใช้ชื่อ " คณะกรรมการกลาง "
ใช้เพียงชื่อ " คณะกรรมการบริหาร " ประกอบด้วย สหาย หลี่หัว สหาย โซหลิน หรือ สุรินทร์  สองคนนี้เป็นแกนนำและมีบทบาทชี้ขาด  นอกจากนั้นก็มี สหายบา หรือ ทรง นพคุณ หรือ ประสงค์ วงค์วิวัฒน์ สหาย ขาร หรือ วิรัช อังคถาวร สหาย อาจ หรือสหายคิน หรือ ธง แจ่มศรี หรือ ถาวร  วงค์สุภา

การกำหนดตัวผู้นำระดับสูง โดยทั่วไปแล้วจะถือเอาการเลือกตั้งจากสมัชชาใหญ่ของพรรคสมัยต่างๆ ซึ่งจากเอกสารของ พคท. เองระบุว่าการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรรคนับตั้งแต่ปี ๒๔๘๕ - ๒๕๓๐ มีการประชุมพรรคมาแล้ว ๔ ครั้ง  คือ:-

ครั้งที่ ๑ ปี  พศ. ๒๔๘๕  ( 1942 )
ครั้งที่ ๒ ปี  พศ. ๒๔๙๕ (  1952 )
ครั้งที่ ๓ ปี พศ.  ๒๕๐๔  (  1961 )
ครั้งสุดท้าย  ปี พศ.  ๒๕๒๔ ( 1981 )

เนื่องจากศูนย์การนำของ พคท.ต้องโยกย้ายที่ตั้งอยู่ตลอดเวลาและบางส่วนอยู่ในต่างประเทศการประชุม สมัชชาแต่ละครั้งจึงห่างกันมาก ครั้งที่หนึ่งกับครั้งที่สองห่างกัน ๑๐ ปี ๙ ปี และ ๒๐ ปีตามลำดับ  ในช่วงระหว่างเว้นการประชุมจะมีการเปลี่ยนตัวผู้นำอยู่บอ่ยๆเนื่องมาจากถูก จับ  ถูกประหาร เจ็บป่วย เสียชีวิต สุขภาพเสื่อมโทรมไม่สามารถปฏิบัติงานได้ หรือลาออก  จำเป็นต้องตั้งผู้นำคนใหม่มารับผิดชอบการงาน ในกรณีเช่นนี้อาจมีการแต่งตั้งผู้นำระดับต่างๆโดยอาศัยมติในที่ประชุมคณะ กรรมการกลาง หรือที่ประชุมของคณะกรมการเมืองแทนการเลือกตั้งสมัชชาใหญ่
                                  
                                        -  2  -

คณะนำระดับสูงสุดที่มีอำนาจกำหนดควบคุมแนว ทางนโยบายและการดำเนินงานของพรรคนับแต่เริ่มก่อตั้งเป็นต้นมาจนถึงวันล่ม สลายได้แก่คณะกรรมการที่เรียกว่า  " คณะกรรมการบริหารพรรค " ซึ่งตั้งโดยสมัชชาครั้งที่ ๑ ( ๒๔๘๕ ) และต่อมาในสมัยสมัชชา ๒, ๓,และ ๔ เรียกว่า " คณะกรรมการกรมการเมือง " ซึ่งตามข้อมูลที่หาได้ปรากฏรายนามดังต่อไปนี้:-

ชุดที่ ๑ คณะกรรมการบริหารตั้งโดยสมัชชา ๑ พศ. ๒๔๘๕ ประกอบ
ดว้ย  

๑ นาย ลี่หัว หรือ หลี จี้  ชิน 
๒ นายโชสิน หรือ สุรินทร์  
๓ นายวิรัช อังคถาวร หรือ จางหย่วน 
๔ นายไหช้ง แช่ลิ้ม หรือ ทรง นพคุณ หรือ ประสงค์ วงค์วิวัฒ์ 
๕  นายธง แจ่มศรี หรือ ถาวร วงค์สุภา

ชุดที่ ๒ คณะกรรมการกรมการเมือง ตั้งโดยสมัชชาครั้งที่ ๒ พศ.
๒๔๙๕ ประกอบด้วย :-

๑ นายพายัพ  อังคสิงห์  เลขาสธิการใหญ่
๒ นายไหช้ง แช่ลิ้ม หรือ ทรงนพคุณ  ( ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการใหญ่แทนนายพายัพ  )
๓ นายวิรัช อังคถาวรหรือ จางหย่วน 
๔ นายประเสริฐ เอี้ยวฉาย 
๕ นายธง แจ่มศรี 
๖ นางสาว นิตย์ พงษ์ดาบเพชร 
๗ นายอุดม สืสุวรรณ

ชุดที่ ๓ คณะกรรมการกรมการเมือง ตั้งโดยสมัชชาครั้งที่ ๓ พศ. ๒๕๐๔ ประกอบด้วย :-

๑ นายเจริญ วรรณงาม หรือ มิตร สมานันท์ 
๒ นายพายัพ อังคสิงห์
๓ นายธง แจ่มศรื
๔ นายไหช้ง แช่ลิ้ม หรือ ทรง นพคุณ 
๕ นายรวม วงค์พันธ์ 
๖ นายประสิทธิ์ ตะเพียนทอง
๗ นายไช้  ( ไม่ทราบนามสกุล )

แต่คณะประจำสำนักเลขาธิการที่กุมงานทั้ง หมดของพรรคในช่วงนี้คือ  นายวิรัช อังคถาวร นายประเสริฐ เอี้ยวฉาย  นายดำริ เรืองสุวรรณ นายอัศนี พลจันทร์
ต่อมาเมื่อตำแหน่งกรมการเมืองของนายรวม และนายใช้ว่างลง  นายผิน บัวอ่อน และนายวิรัชก็ได้รับแต่งตั้งแทน  เมื่อนายผิน ถูกปลด นายสัมผัส พึ่งประดิษฐ์ได้รับแต่งตั้งแทน  เมื่อนายพายัพถึงแก่กรรม นายอุดม ศรืสุวรรณก็ได้รับแต่งตั้งแทน

ชุดที่ ๔ คณะกรรมการกรมการเมือง ตั้งโดยสมัชชา ๔ พศ. ๒๕๒๔ ครั้งหลังสุดและเป็นครั้งสุดท้าย ประกอบด้วย:-

๑ นายประชา ธัญญไพบูลย์  เป็นชื่อที่ตั้งไว้สำหรับผู้ทำหน้าที่เลขาธิการใหญ่ไม่มีตัวตนแน่นอน
๒ นายวิรัช อังคถาวร
๓ นายธง แจ่มศรี
๔ นายประสิทธิ ตะเพียนทอง
๕ นายสิน เติมลิ่ม
๖ นายวินัย เพิ่มพูลทรัพย์
๗ นายวิทูรย์ สินธุวนิชย์
๘ นายประจวบ เรืองรัตน์
๙ นายนพ ประเสริฐสม
                                                  - 3 -

จากการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มผู้นำของ พคท. ตั้งแต่แรกมาจะพบว่ามีบุคคลจำนวนหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นผู้นำระดับสูงของพรรค ตามรายชื่อและประวัติเท่าที่หาได้ดังต่อไปนี้ :-

นาย ลี่หัว  ( ไม่อาจหารายละเอียดได้ แต่อาจเป็นคนเดียวกันกับนาย นายหลี จี้ ชิน )
นาย โชสิน หรือ สุรินทร์  (ไม่อาจหารายละเอียดได้ )
นาย คูกิ๊ป  หรือนาย กิ๊ปแซ่คู  เป็นประธานสาขาพรรคจีนในไทยและควบคุมอยู่เบื้องหลังการดำเนินงานของ พคท. ควบคุมหนังสือพิมพ์ หัวเฉียวเป้า ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย  และหนังสือพิมพ์ สัจจะ ซี่งเป็นหนังสือเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นภาษาไทย มีอาชีพเปิดเผยโดยเป็นครูสอนภาษาจีน ในช่วงปี พศ. ๒๔๘๐- ๒๔๙๐ รร.ที่สอนภาษาจีนส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ และในต่างจังหวัดจะเป็นแหล่งศึกษาลัทธิของ พคจ.ในประเทศไทยด้วย  คูกิ๊ปเดินทางออกจากประเทศไทยเมื่อ ปี พศ. ๒๔๙๑  หลังจากรัฐประหารของคณะจอมพล ป. พิบูลสงคราม  และจะกลับมาเมืองไทยอีกหรือไม่นั้นไม่มีหลักฐานให้เราทราบได้
นาย มุ่ย เก๋า หรือนาย เก๋า แซ่มุ่ย  โดยฐานะเป็นผู้แทนของ พคจ.  ทำหน้าที่จัดตั้งชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย และควบคุมอยู่เบื้องหลังการดำเนินงานของ พคท.อีกด้วย ( รายละเอียดอื่นๆหาไม่ได้ )
นาย หลี จี้ ชิน ( เข้าใจว่าเป็นคนเดียวกันกับนาย ลี่ หัว )  เป็นทั้งผู้นำสาขา พคจ.ในประเทศไทยและเป็นหัวเลี้ยวหัวแรงในการก่อตั้ง พคท. ซึ่งเข้าใจว่าเป็นประธานคณะกรรมการบริหารของพคท.รุ่นแรกด้วย  เขาเดินทางกลับประเทศจีนเมื่อราวปี ๒๔๙๓  หลังจากการยุบสาขา พคจ.ในไทย  และจากการกวาดล้างปราบปรามคอมมิวนิสต์ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม  ที่มีสหรัฐอเมริกาหนุนหลังทำให้การเตลื่อนไหวของพคจ.ประสบความยุ่งยากประกอบ กับ พคจ.ได้รับชัยชนะในจีนแผ่นดินใหญ่ในปี พศ. ๒๔๙๒  ( 1949 ) เขาจึงถูกย้ายไปประจำอยู่กระทรวงวิเทศสัมพันธ์ของจีนทำหน้าที่ควบคุมแผนกไทย และการดำเนินงานของ พคท.
นายวิรัช อังคถาวร หรือ ส. สวน ส.ธาร หรือ  " จางหย่วน " เป็นคนเชื้อสายจีน บิดาเป็นครูสอนภาษาจีน  นายวิรัชเกิดที่จังหวัดตรังเมื่อ พศ. ๒๔๖๔ ได้รับการศึกษาชั้นต้นในโรงเรียนจีน เป็นสมาชิก พคจ.สาขาประเทศไทยและได้กลายเป็นสานุศิษย์ผู้ใกล้ชิดของ หลี จี้ ชิน ต่อมาได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศจีน  นายวิรัชได้เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมก่อตั้ง พคท. ร่วมกับ หลี จี้ ชิน  ได้เป็นคณะกรรมการบริหารพรรคจากการประชุมสมัชชาครั้งที่ ๑ และได้เป็นสมาชิกกรมการเมืองในสมัชชา ๒ เป็นกรรมการกลางในสมัชชา ๓ แล้วได้รับแต่งตั้งเป็นกรมการเมืองแทนนายใช้  เมื่อ ๒๕๑๑  นายวิรัชเป็นสมาชิกกรมการเมืองหมายเลข ๒ ของพรรคมาตลอดและเชื่อกันว่าเป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในพรรค  เป็นผู้กุมแนวทางนโยบายของพรรคตามการมอบหมายของ พคจ.อย่างเต็มที่จนมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า " ความสำพันธ์ของนายวิรัชกับ หลี จี้ ชินไม่ใช่ความสำพันธ์ระหว่าง พรรคพี่น้อง แต่เป็นความสำพันธ์แบบพรรคพ่อพรรคลูก หรือ พรรคครูกับศิษย์ " และความคิดเหมา  เจ๋อ ตุงที่ถ่ายทอดมายัง พคท.โดยผ่านนาย หลี จี้ ชิน และคณะของเขานั้นเอง
นายวิรัช มีผู้ปฏิบัติงานระดับต่างๆที่เป็นเสมือนแขขา หูตาและเส้นสายของเขาอย่างหนาแน่นมาตลอดเวลายากที่จะมีการเปลี่ยนแปลงและ แก้ไขได้
                                               -  4  -                             

สมัชชาที่ ๓ ที่เจริญ วรรณงาม หรือ มิตร สมานันท์ได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการใหญ่แล้วนั้น  มีนายวืรัช ได้เป็นผู้อยู่ใกล้ชิดเสมือนเงาของมิตร สมานันท์ นายวิรัช ได้เดินทางไปมาระหว่างประเทศไทยและสาธารณะประชาชนจีนอยู่ตลอดเวลา
ภายหลังสมัชชาที่ ๔ ได้มีข่าวออกมาว่าเลขาธิการคนใหม่คือนายประชา ธัญญไพบูลย์ ซึ่งจากข้อมูลต่างๆในระยะหลังๆทำให้เราแน่ใจว่าตัวจริงก็คือ นายวิรัช อังคถาวร นั้นเองซึ่งเขารอดพ้นจากการจับกุมของเจ้าหน้าที่มาโดยตลอดจนในเวลานี้ทราบ ว่าป่วยหนักคงสิ้นชีวิตไปแล้วในเวลาปัจจุบัน
นายพายัพ อังคสิงห์  ซึ่งมีนามอื่นๆหลายนาม คือ พิชิต ณ สุโขทัย พณ สุโขทัย ประพันธ์ วีรศักดิ์ เจ๊กโต หรือ ลุงโต ลุงใหญ่ และมื
นามเป็นภาษาจีนว่า " จู โซว ลิ้ม " เป็นคนเชื้อสายจีนเกิดเมื่อ พศ.๒๔๓๔ เคยทำงานโฆษณาในองค์การที่เรียกว่า " พรรคคอมมิวนืสต์สยาม "  และเคยถูดจับเมื่อปี พศ. ๒๔๗๑ ภายหลังได้เดินทางเข้าไปอยู่ในจีน เคยศึกษาที่มหาวิทยาลัยต้าถุงนครเชียงไฮ้  เป็นสมาชิก พคจ. ทำงานฝ่ายศึกษาอำนาจรัฐเขตปักกิ่ง พบกับนาย อุดม ศรีสุวรรณที่เมืองเยนอานเมื่อปีพศ. ๒๔๘๔ จากการบอกเล่าของนาย อุดม ศรีสุวรรณแจ้งว่า  นายพายัพเดินทางกลับประเทศไทยพร้อมกับนายอุดม และนางสุรีย์
( จิตรประทุม ) ภรรยาคนแรกของนายอุดม ผ่านทางเวียตนามและลาวทางจังหวัดนครพนมเมื่อเดือนกันยายน พศ. ๒๔๘๗ เพื่อมารับผิดชอบงานหนังสือพิมพ์ของพคท.ในกรุงเทพฯ

ในการประชุมสัชชาคร้งที่ ๒ ของพคท. เมื่อปี ๒๔๙๕ นายพายัพได้รับเลือกเป็นกรมการเมืองและเป็นเลขาธิการใหญ่ของพรรคต่อมาได้มี การเปลี่ยนตัวเลขาธิการใหญ่โดยนายพายัพโพ้นตำแหน่งไปและนายทรง นพคุณ หรือสหายมาซึ่งมีอิทธิพลทางการเงินสูงในหมู่พ่อค้าคนจีนในไทยได้รับแต่งตั้ง เป็นเลขาธิการใหญ่แทน  นายพายัพยังคงทำหน้าที่ในตำแหน่งกรมการเมืองต่อไปและรับผิดชอบในการดำเนิน งานในเขตภาคตะวันตกคือ จังหวัดราชบุรี  เพชรบุรี และกาญจนบุรี ในสมัยสมัชชา ๓ เขาได้รับเลือกเป็นกรรมการกลางและสมาชิกกรมการเมืองอีกและได้ย้ายไปทำ หน้าที่ผู้ประสานงานต่างประเทศแทนนายอัศนี พลจันทร์จนถึงปี พศ. ๒๕๑๙ ก็เสียชีวิต 
นายไหช้ง แช่ลิ้ม  หรือ นานทรง นพคุณ นายประสงค์ วงวิวัฒน์ หรือสหายมา เปนคนเชื้อสายจีนเคยเป็นสมาชิก พคจ.สาขาประเทศไทยเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง พคท.
นายธง แจ่มศรี มีชื่อจัดตั้งอื่นๆคือ ส. อาจ ส. ดิน และ ถาวร วงค์สุภา เป็นคนไทยเชื้อสายเวียตนามเกิดในเมืองไทยเป็นผู้หนึ่งในการก่อตั้ง พคท.รับผิดชอบงานในเขตภูพานและในกรุงเทพฯ ถูกจับเมื่อปี ๒๕๑๐และถูกขังอยู่เป็นเวลา ๖ ปี เมื่อนายเจริญ วรรณงาม ตายในปี ๒๕๒๒ นายธงได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการใหญ่แทนถึงปี ๒๕๒๔  ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่
นายประสิทธิ์ เทียนสิริ หรือ สหายขอม เกิดที่จังหวัดตรังเคยสังกัดพคจ.สาขามาเลย์ ย้ายมาสังกัด พคท. เสียชีวิตแล้ว
นายเจริญ วรรณงาม หรือมิตร สมานันทร์ ส.แท้ ส. รัช เกิดที่อำนาจเจริญ  เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
นายประเสริฐ เอี้ยวฉาย ส. เอิบ เป็นคนจีนโอนมาจาก พรรคจีนสาขามาลายา เป็นคนสำคัญที่พคจ.มอบหมายให้มากำกับดูแล พคท. ถูกจับในกรุงเทพฯและเสียชีวิตในคุกปี ๒๕๑๒
นายรวม วงค์พันธ์ คนจังหวัดสุพรรณบุรี ถูกจับและถูกประหารโดยสฤษดิ์ เมื่อปี ๒๕๐๕
นายประสิทธิ์ ตะเพียนทอง หรือ สหาย  ฮง หรือ สิน  เป็นคนไทย ทำงานร่วมกับนายอุดม สีสุวรรณ ไม่ทราบว่ายังใชีวิตอยู่หรือเปล่า ในสมัชชา ๒ ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการกลางเคยเดินทางไปศึกษาในสถาบันมาร์กช์เลนินที่ กรุงปักกิ่งและกลับมารับผิดชอบงานเคลื่อนไหวกรรมกร ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ เมื่อศูนย์การนำย้ายไปตั้งอยู่ที่ภูพานเขาได้ไปประจำอยู่ที่นั่นเป็นครั้ง คราวและเดินทางไปมาระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อศูนย์กลางย้ายไปอยู่ทางภาคเหนือเขาได้ไปประจำอยู่สำนักงาน 5 / 1 ทำการชี้นำงานค้นขว้าของพรรคงานด้านการศึกษาและงานแนวร่วม ซึ่งมีนาย อุดม สีสุวรรณเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงอีกทีหนึ่ง  ในการประชุมสมัชชา ๔ ( ๒๕๒๔ ) เขายังได้รับเลือกตั้งให้อยู่ในคณะกรรมการกรมการเมืองต่อมา

นายผิน บัวอ่อน  ชื่ออื่นๆที่ใช้คือ ส ขาว หรือส อุทัย เป็นชาวราชบุรี เคยศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ เข้าร่วม พ.ค.ท.ในสายงานของนาย พายัพ อังคสิงห์ หรือ พ.ณ สุโขทัย เคยทำงานรับผิดชอบหนังสือพิมพ์ของพรรคหลังสมัชชาครั้งที่ ๒ ผินเคยไปศึกษาสถาบันมาร์กช์ - เลนินที่กรุงปักกิ่งอยู่หลายปี แล้วกลับมาทำงานในเมืองไทยในสมัยสมัชชา ๓  ( ๒๕๐๔ ) ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการกลางของพรรคคนหนึ่งและออกไปรับผิดชอบในการขยาย งานในเขตอิสานเหนืออยู่หลายปีซึ่งมีผลงานดีมากเพราะเป็นคนจริงจังมีความเข้า ใจทางทฤษฎีและมีความคิดริเริ่มสูงคนหนึ่ง
หลังจากที่นายรวม  วงศ์พันธ์ ถูกประหารชีวิตไม่นานผินก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกกรมการเมืองและย้ายลง มารับผิดชอบเขตงานภาคกลางแทนนายรวม ฯ ผินเป็นคนดีเด่นมีความคิดเป็นตัวของตัวเองสูงในระยะหลังๆจึงมักขัดแย้งกับ " สายจีน " บางสายโดยเฉพาะสายของประเสริฐ เอี้ยวฉาย ที่คุมอยู่ในกรุงเทพฯ
ในปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ ผินถูกจับพร้อมกับ ธง แจ่มศรี และผู้นำคนสำคัญอื่นๆเช่น ดร. เลิศ ชูโต นายประสิทธิ ศรีสุภรณ์ นายชิด  เพชรรูจี และบุคคลอื่นๆอีก ๗ คน  ซึ่งมีข่าวการ " ขาย " กันเองจากภายในด้วย ผินพ้นจากตำแหน่งกรมการเมืองในปี ๒๕๑๑
เมื่อผินถูกปล่อยตัวในเวลาต่อมาทางพรรค เรียกกลับเข้าป่าแต่ผินปฏิเสธเพราะกลัวไม่ได้รับความยุติธรรม ต่อมาผินถูกปลดออกจากพรรคและร่วมมือกับ กอรมน. โดยเป็นที่ปรึกษาให้แก่ กอรมน.และทหารของฝ่ายรัฐบาลรวมทั้งทางตำรวจด้วย ผินมีบทบาทสำคัญมากในการแยกสลาย พคท.ในช่วงเวลา ๑๐ ปีให้หลัง
นายดำริ เรืองสุวรรน  เกิดจากครอบครัวพ่อค้าในกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ ๒๔๖๖ ชื่ออื่นๆที่ใช้คือ หวั่งอู๋  ส.ดั่ง ส. ประดิษฐ์  ส. นู และ ส. วงศ์  เขัาร่วม พคจ. สาขาประเทศไทย  และ พคท. รับผิดชอบงานเคลื่อนไหวจัดตั้งกรรมกร เคยเป็นกรรมการสหะอาชีวะกรรมกรเมื่อพศ. ๒๔๘๙ เดินทางไปศึกษาลัทธิมาร์กช์ที่กรุงปักกิ่งราวๆปี พศ.๒๔๙๒ ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการกลางในสมัชชา ๒ ( ๒๔๙๕ ) รับผิดชอบงานชนชาติส่วนน้อยทางภาคเหนือเป็นเวลา ๒ ปี แล้วกลับมารับผิดชอบงานเคลื่อนใหวกรรมกรและงานเยาวชนในกรุงเทพฯ
ได้รับเลือกเป็นกรรมการกลางอีกในสมัชชา ๓ ( ๒๕๐๔ ) และได้เลื่อนขึ้นเป็นสมาชิกกรมการเมือง เมื่อ ๒๕๑๔ แทนนาย สัมผัส พึ่งประดิษฐ์ ซึ่งเคยได้รับแต่งตั้งแทน นายผิน บัวอ่อนเมื่อปี ๒๕๑๒ นั้นอีกต่อหนึ่ง  นายดำริ มีความใกล้ชิดเป็นพิเศษกับนาย เติ้ง เสี่ยว ผิง
นายดำริถูกย้ายไปทำหน้าที่ในจีนชั่วระยะ เวลาหนึ่งแล้วก็กลับมารับผิดชอบงานในเขตรอยต่อ พิษนุโลก เลย เพชรบูรณ์  หลังจากนั้นได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯเพื่อหาทางติดต่อทำแนวร่วมกับรัฐบาล และไปเตรียมการประชุมสมัชชา ๔ ทางภาคใต้ แล้วถูกจับที่บ้านข้องข้าง ต. พรุพี อ. บ้านนาสาร จ. สุราษฏร์ธานี เมื่อวันที่ ๑๘ เมษา ๒๕๒๔

นายอุดม สีสุวรรณ ชื่ออื่นๆที่ใช้คือ ส. สู้ ส.สหะ ส เกรียง ส. อรรถ ส. นิตยา และ ส. สม นามปากกาที่ใช้คือ " อรัญพรหมชมพู "  " บรรจง บรรเจิดศิลป์ " " ขุนแดง " " พ เมืองชมพู " และ " ผู้แทนเศรษฐสาร " 
นายอุดม สีสุวรรณ เป็นคนไทยเชื้อสายจีนเกิดที่จังหวัดลำปาง  จบการศึกษา ม. ๔ จากโรงเรียนเคนเนค แมคเคนชี่ จ. ลำปาง เรียนภาษาอังกฤษต่อที่ British Council และไปศึกษาต่อที่ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ได้เคยเดินทางไปประเทศจีนสมัยก่อนการปลดปล่อยและเคยทำงานอยู่กับ พคจ. ที่เมืองเยนอานและที่อื่นๆเป็นเวลา ๕ ปีแล้วจึงกลับเมืองไทยเข้าร่วมกับ พคท. ในปี พศ. ๒๔๘๘ รับผิดชอบงานทางด้านหนังสือพิมพ์ ถูกจับร่วมกับคนอื่นๆเช่น เปลื้อง วรรณศรี ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร อดุล ภมรานนท์ ประวุฒิ ศรีมันตระ  จิตร ภูมิศักดิ์ ฯลฯ และถูกขังอยู่หลายปี
นายอุดมได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการกลางและ สมาชิกกรมการเมืองในสมัยสมัชชาที่ ๒ และได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการกลางในสมัชชา ๓ ย้ายไปรับผิดชอบเขตงานภูพานในปี ๒๕๐๘ ต่อมาในปี ๒๕๑๗ ได้เดินทางไปรับผิดชอบเขตงานทางภาคเหนือ เมื่อนาย พายัพ อังคสิงห์เสียชีวิตลงในปี ๒๕๑๙ นายอุดม สีสุวรรณได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกกรมการเมืองแทนต่อมา
เมื่อมีการก่อตั้งคณะกรรมการประสานงาน กำลังรักชาติรักประชาธิปไตยขึ้น เมื่อวันที่ ๒๘ กันยา ๒๕๒๐ นายอุดม สีสุวรรณได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการ ฯ
นายอุดม เคยเดินทางไปเยือนสหภาพโซเวียตในนามคณะนักเรียนไทยเมื่อเดือน พค. ๒๕๐๑ โดยมีนายอุทธรณ์ พลกุลเป็นหัวหน้าคณะเมื่อกลับถึงเมืองไทยก็ถูกจับดังกล่าวมาแล้วนายอุดมได้ เขียนหนังสือหลายเล่ม เช่น " ไทยกึ่งเมืองขึ้น " ( อรัญ พรหมชมพู ) " สู่สมรภูมิพูพาน "  ( พ. เมืองชมพู ) " ชีวิตกับความใฝ่ฝัน "  ( บรรจง บรรเจิดศิลป์ )
ในระยะหลังๆนายอุดมได้เกิดความขัดแย้งกับ กลุ่มอิทธิพลที่ครอบงำพรรคมากขึ้น ภายหลังสมัชชาที่ ๔ จึงได้แยกตัวออกจากพรรคและได้รายงานตัวต่อ กอรมน. เมื่อวันที่ ๖ กย. ๒๕๒๕ ในปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
นายอัศนี พลจันทร์ มีชื่ออึ่นๆอีก เช่น ส ไฟ ส บัวไล และมีนามปากกาที่รู้จักแพร่หลายว่า  " นายผี "  ซึ่งแปลความหมายจากคำว่า " ปีศาจบดี " คือผู้เป็นใหญ่ในหมู่ผีซึ่งหมายถึงพระอิศวรนั้นเอง นอกจากนี้ยังมีนามปากกาอื่นๆเช่น " อินทรายุทธ " " อุทิศประสานสภา " เป็นต้น
นายอัศนี เป็นคนไทยเชื้อสายขุนนางเก่าแต่เป็นคนหัวก้าวหน้าสำเร็จการศึกษาธรรมศาสตร์ บัณฑิต  จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองเคยรับราชการเป็นอัยการหลายจังหวัด เข้าร่วม พคท.เมื่อใดไม่แจ้งชัดแต่มีรายงานว่าเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะ กรรมการกลางในสมัยสมัชชามี่ ๓  ( ๒๕๐๔ ) และเป็นสมาชิกประจำในคณะเลขาของพรรคด้วย เคยศึกษาทางทฤษฎีในปักกิ่งมีความรู้ภาษาจีนกลางพอสมควรเคยเป็นตัวแทนที่มี อำนาจเต็มของ พคท. ในต่างประเทศซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ปักกิ่ง  เคยรับผิดชอบงานทางด้านโฆษณาวิทยุกระจายเสียง และงานค้นคว้าทางด้านทฤษฎีเป็นคนหัวแข็งจึงมีความขัดแย้งกับผู้นำคนอื่นๆไม่ น้อย เมื่อมีกระแส " คนป่าคืนเมือง " แต่สหายไฟยังคงยืนหยัดการต่อสู้ต่อไป ซึ่งในระยะหลังทราบว่าสุขภาพทรุดโทรมมาก

สำหรับผู้นำคนอื่นๆ และ สมาชิกรองลงมาที่เป็น " ลูกหาบงัวงาน " ให้แก่ พคท. เราจะนำมาเสนอในตอนต่อไป...
                              
                                             ตอนที่ ๒

ในตอนต้นหรือตอนที่แล้วมาเราได้นำเสนอกลุ่มบุคคลระดับผู้นำของพรรคและคณะผู้บริหารพรรคที่เรียกว่า " คณะกรมการเมือง
หรือ " คณะกรรมการบริหารพรรค " หรือกลุ่มผู้นำระดับสูงสุดที่กุมนโยบายของพรรคในการกำหนดนโยบายและทิศทางของ การต่อสู้ทั้งทางด้านทฤษฎืและการดำเนินงานของพรรคทั้งด้านกว้างและด้านลึกไป จนถึงระดับรากหญ้า  ในบรรดาสมาชิกที่เป็น " ลูกหาบงัวงาน " ให้แก่ พคท.ที่ทำให้ พคท.เติบโตขึ้นมาได้ มีรายชื่อเท่าที่เปิดเผยแล้วเราจึงขอเสนอรายชื่อบางส่วนของบรรดาสมาชิกเหล่า นั้นมา ณ ที่นี้...

๑ นายใช้  ( ไม่ทราบนามสกุล ) ( ส. จิงโจ้ ) เจ้าของฟาร์มไก่แห่งหนึ่งที่ จ. ศรีสะเกษ เป็นสมาชิกกรมการเมืองคนหนึ่งสมัยสมัชา ๓ ถูกจับเมื่อ พศ. ๒๕๑๐ พร้อมกับนาย ธง แจ่มศรี แล้วไม่มีข่าวอีก
๒ นางสาวนิตย์ พงษ์ดาบเพชร ( ส. สุรีย์ ) ปัจจุบันอยู่ที่ปักกิ่ง สปจ.
๓ นาย วิโรจน์ อำไพ
๔  นายศักดิ์ สุภาเกษม ( ส. เกษม ส. มิง )
๕  ร.ต.  วาส สุนทรจามร
๖  นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร  ถูกปลดออกจากพรรคทำการเคลื่อนไหวทางการเมืองใกล้ชิดกับ กอรมน. สายของ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
๗  นาย มาโนช เมธางกูล ( ส. ประโยชน์ ) ถูกจับเมื่อ ๓ กค. ๒๕๒๗
๘  พท. พโยม จุลานนท์ ( ส. คำตัน ) เสียชีวิตแล้ว พ่อของ พลเอก สุรยุทธ จุลานนท์ 
๙  นายเปลื้อง วรรณศรี ( ส. จำรัส ) อดืต สส. สุรินทร์  ปัจจุบัน อยู่ที่คุนหมิง ยุนนาน สปจ.
๑๐ นายเชาวน์ พงษ์สุนทรสถิศย์  หรือ ชาญ กรัสนับปุระ หรือ พล รน ศูทรวรรณ หรือ " หลิว ซื่อ " เป็นนักทฤษฎีคนสำคัญของ พคท. ปัจจุบันอยู่ใน สปจ.
๑๑  นายเริง เมฆไพบูลย์ หรือ เริง ฮุนตระกูล หรือ รังสรรค์ รังสฤษดิ์ ( ส. โขน )เป็นนักทฤษฎีคนสำคีญคู่กับ ส. นิล อยู่ใน สปจ.
๑๒ นายอุทัย เทียมบุญเลิศ ( ส. สงบ )
๑๓ นายหลีเกิ้ง ( ส. พูน ) รับผิดชอบสถานีวิทยุ ปัจจุบัน อยู่ที่ คุนหมิง ยุนนาน สปจ.
๑๔ นายวิบูลย์ เจนไชยวัฒน์ ( ส. ทุ่ง ส. เทียม )
๑๕ นายเลี้ยง ภิรมน์นาม( ส.เจริญ )เข้ารายตัวต่อทางการแล้ว
๑๖ นายมงคล ณ นคร  ( ส. เทียน)              "
๑๗ นายปั้น แก้วมาตร ( ส. เติบ )               "
๑๘ นายสุวิทย์ เนียมสา (  ส. ดาว ส ยุทธ )    "
๑๙ นายประวุฒิ ศรีมันตระ ส. สันธาน         "         ลาออก
๒๐ นายสมพงษ์ อยู่นรงค์
๒๑ นายพิรุณ ฉัตรวนิชกุล ส. ขวาน  ถูกจับ ๓ กค. ๒๕๒๗
๒๒นายวงศ์จันทร์ พุทธเกื้อกูล ส.ไหม  อยู่ที่คุนหมิง สปจ.
๒๓นางเดือน ขำชัยภูมิ หรือ นางอนงค์ ภรรยาของ มิตร สมานันท์  อยู่ที่คุนหมิง ยุนนาน สปจ.
๒๔นางสุรีย์ ( จิตรปทุม ) สีสุวรรณ ภรรยาคนแรกของนายอุดม สีสุวรรณ เสียชีวิตแล้วในปี พศ. ๒๕๐๗
๒๕นายโกหร่าน หรือ เลื่อยเอี่ยมสกุล ( ส.ประชุม )
๒๖นายสนอง มงคล ( ส. ฝน ) เสียชีวิตจากการต่อสู้
๒๗ นายสมพงษ์ พึ่งประดิษฐ์ ( ส. คง ส. ฟอง ) เคยรับราชการเป็นพนักงานทูตที่กรุงบอนน์เยอรมันตะวันตกหลบหนีเข้าร่วม พคท.  เสียชีวิตในการต่อสู้ในเขตภูพาน
๒๘นายจิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชน นักเขียน กวี เป็นนักปฏิวัติที่ได้รับความนิยมมากในหมู่คนหนุ่มสาวในเวลานี้ เสียชีวิตจากการต่อสู้ในเขตภูพาน
๒๙ นายชวสิต ทับขวา ( ส. วัฒนา ) มอบตัวกับทางการ
๓๐ นายยอด คิสวัสดิ์  ( ส.คม )       มอบตัวกับทางการ
๓๑ นายแพทย์ เหวง โตจิราการ ( ส.เข้ม ) มอบตัวแล้ว
๓๒ นางธิดา ( ถาวรเศรษฐ ) (ส.ปูน )ภรรยานายเหวง  มอบตัวแล้ว
๓๓ นายบัว นิยมสัตย์  ( ส.เผด็จ ) มอบตัวแล้ว
๓๔ นายสุรชัย แซ่ด่าน ถูกจับและถูกคำพิพากษาประหารชีวิต ได้รับการอภัยโทษ
๓๕ นายนุช อาภาภิรมย์  มอบตัวแล้ว
๓๖ นายวิทิด จันดาวงค์ ( ส. ปาน )
๓๗ นายสุกิจ มีเสือ มอบตัวแล้ว เคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
๓๘ นายประสิทธ์ ไชโย ( ส. ขู่ ) ผู้นำกรรมกร มอบตัวแล้ว
๓๙ ดร. เลิศ ชูโต ถูกจับ พศ. ๒๕๑๐
๔๐ นายสัมผัส พึ่งประดิษฐ์ แยกตัวออกจากพรรค
๔๑ นายพิชิต ใจดีถูกจับในกัมพูชาเมื่อรัฐบาลพอลพตแตก
                                          ฯ ล ฯ

บรรดาสมาชิกเหล่านี้คือ " ลูกหาบงัวงาน " ของ พคท. ที่ทำให้ พคท. เติบใหญ่ขึ้นมาได้จนถึงวันล่มสลาย เพราะความผิดพลาดในทางนโยบายและเป้าหมายของการต่อสู้ ซึ่งความจริงแล้ว พคท.ก็เป็นเพียงสาขาหนึ่งของ พคจ.ในประเทศไทยที่มีแนวนโยบายและเป้าหมายตาม พคจ.ทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ของ สาธารณะรัฐประชาชนจีน (สปจ.)
ซึ่งในเวลาปัจจุบันนี้ พคท.ไม่มีความจำเป็นอีกแล้วสำหรับประเทศจีน  เพราะจีนได้หัวหน้ารับใช้ ตัวใหม่ คือ ครอบครัวกษัตริย์ภูมิพล พร้อมทั้งสมุนเครือข่าย และ อดีต พคท.พวก " ลูกหาบงัวงาน "  บางคนที่ยังทำตัวยอมเป็นทาสรับใช้จีนจนถึงเวลานี้.
 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar