บทเรียนจากกบฏสีเขียวในตุรกี ตอนที่ 3-จบ (18 ก.ค. 2559)
"เราจะกวาดล้างเชื้อไวรัสให้สิ้นซาก"
นี่คือคำประกาศกร้าวครั้งแล้วครั้งเล่าจากปากของ ไทยิป เออร์โดกัน
ประธานาธิบดีตุรกี
ผู้นำแนวร่วมมวลชนจนเอาชนะทหารกบฏที่ก่อการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลเลือกตั้ง
ได้สำเร็จ "ไวรัส" ที่เขาเอ่ยถึง
ในขณะนี้ถูกจับกุมคุมขังเป็นจำนวนถึงกว่าหกพันแล้ว
ในจำนวนนึ้เป็นทหารอย่างเดียวถึงราวสามพันคนและเป็นนายทหารชั้นนายพลถึง
ประมาณ 100 คน ตำแหน่งอย่างที่ในเมืองไทยเราเรียกว่า
ห้าเสือกองทัพบ้างอะไรบ้าง
รวมทั้งแม่ทัพภาคและผู้บัญชาการกองพลระดับเมืองหรือจังหวัดล้วนตกอยู่ในสภาพ
ผู้ต้องขังไปหมดแล้วทั้งสิ้น
ผมติดตามเหตุการณ์ในตุรกีไปพร้อมกับเหตุการณ์ก่อการร้ายอันทารุณยิ่งที่
เมืองนีซของฝรั่งเศส เหตุฆ่าตำรวจในสหรัฐฯ
ทั้งที่ดัลลัสและล่าสุดที่บาตองรูชในหลุยส์เซียน่า
ตลอดจนการประชุมใหญ่พรรครีพับลิกันที่คลีฟแลนด์เพื่อเลือก โดนัลด์ ทรัมพ์
เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคนั้นในตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ
แต่เรื่องของกบฏตุรกีขณะนี้มีประโยชน์ต่ออนาคตของเรามากที่สุด
และผมก็ได้เขียนเรื่องนี้มาแล้ว 2 ครั้งใน 2 วันที่ผ่านมา
วันนี้ขอเขียนเป็นตอนจบ เพื่อสรุปบทเรียนเอาไว้ใช้
ซึ่งผมเชื่อว่าคงจะได้ใช้ไม่นานนักนี้
ขอว่าไปเป็นข้อๆ เหมือนเดิมนะครับ จะได้โปร่งตาอ่านง่ายหน่อย
1. ท่านจะได้ยินผู้มีอำนาจในไทยทยอยกันออกมาพูดว่า
อย่าเอาไทยไปเปรียบกับตุรกี เพราะไทยไม่เหมือนใคร
คำพูดนี้ออกจากจากหัวใจท่ีกำลังกลัวอย่างหนักของคนที่รู้ว่าแพกำลังจะแตก
เป็นการพูดปลอบใจตัวเองและพรรคพวกเท่านั้นเอง
เหตุการณ์ในตุรกีครั้งนี้นำมาเปรียบเทียบกับสถานการณ์ไทยได้โดยตรง
และเปรียบเทียบได้ในหลายมิติ
มวลชนฝ่ายประชาธิปไตยสามารถนำบทเรียนตุรกีมาใช้ได้อย่างค่อนข้างตรง
โดยผมจะยกตัวอย่างสั้นๆ ดังนี้:
-
เมื่อทหารหรือฝ่ายความมั่นคงก่อกบฏ
ประชาชนมีสิทธิที่จะจ้องเอาอำนาจนั้นคืนเมื่อได้จังหวะดี และกระทำการ
"มวลชนจับกุม" หรือ citizen's arrests ได้ในทันทีที่มีโอกาส
-
ทหารไม่มีสิทธิก่อรัฐประหาร สิ่งเดียวที่ทำให้เกิดขึ้นได้คือ 1)
อาวุธยุทโธปกรณ์และวิธีทหาร 2)
การตอกย้ำเรื่องวินัยทหารจนผู้ใต้บังคับบัญชาไม่กล้าแม้แต่จะคิดต่าง
หลักการนี้นำไปสู่ข้อแรก เมื่อผู้คนเหล่านี้ไม่มีสิทธิเหนือเรา
เราก็มีสิทธิดำเนินการกับคนเหล่านี้ได้ แต่ต้องกระทำการอย่างไม่บ้าบิ่น
- เครือข่ายรัฐประหารในตุรกีไม่ใช่มีเฉพาะทหาร ทหารเป็นเพียง กำลังหลัก
และ ใบหน้า (public face) ที่ปรากฎขึ้นเท่านั้น
ผู้คนเหล่านึ้ยังประกอบด้วยนักกฎหมายในตำแหน่งต่างๆ เช่น ผู้พิพากษา อัยการ
กฤษฎีกา องค์กรอิสระ เป็นต้น
เราจึงเห็นการจับกุมที่กว้างขวางไปในวงการต่างๆ ทั่วสังคมตุรกี
แม้แต่ดารานักแสดงบางคนก็ถูกจับกุมแล้วในขณะนี้
-
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มวลชนตุรกีกลับมาชนะทหารคือ
เขาไม่กลัวคำประกาศห้ามออกนอกเคหสถานหรือ curfew
และออกมาส่งเสียงโห่ร้องเกลื่อนถนนทั้งในนครหลวงแองการ่า
เมืองใหญ่อย่างอิสตันบุล และเมืองอื่นๆ ทั่วประเทศตุรกี
ความไม่กลัวนี้เองที่ทำให้ทหารในท้องถนนเกิดความรวนเร
บางคนถึงกับทิ้งอาวุธวิ่งหนีเอาดื้อๆ
-
ผู้นำและแกนนำตุรกีไม่มีความลังเลใจใดๆ เลยในการรวมพลขึ้นสู้
เขาชัดเจนเด็ดขาดตั้งแต่นาทีแรกว่าจะไม่ยอมรับการก่อรัฐประหารและเรียกร้อง
ให้ประชาชนลุกขึ้นสู้ ความสำเร็จจึงเป็นของเขาในที่สุด
ความชัดเจนอย่างนี้เป็นเงื่อนไขที่สำคัญ
2.
ในประเด็นว่าการรัฐประหารมีผู้อยู่เบื้องหลังนั้น ตุรกีใช้วิธีการ
"จับก่อน-ผ่อนทีหลัง" และปิดน่านฟ้าของประเทศอย่างไม่มีกำหนด
นี่คือที่มาของการยิงเฮลิคอปเตอร์ของฝ่ายกบฏร่วงลำหนึ่งเมื่อวานนี้
(ข่าวว่าในซากเครื่อง มีซากศพของแม่ทัพภาคที่ 1 ผู้บังคับการกองพลที่ 3
และทีมงานอีก 3 คน) วิธีกวาดจับหรือแบบปูพรม (carpet or sweeping arrests)
ส่งผลให้องค์กรนำของฝ่ายกบฏสลายลงอย่างรวดเร็ว
ไม่สามารถปรับยุทธวิธีเพื่อการต่อสู้ในยกต่อไปได้
เราควรสังเกตการแบ่งงานของฝ่ายประชาธิปไตยในการรับมือกับกบฏกองทัพ
เขารู้ดีว่ากองทัพคือองค์กรจัดตั้งที่สมบูรณ์แบบและมีประสิทธิภาพที่สุด
องค์กรหนึ่งของประเทศ
การรับมือกับกบฏลักษณะนึ้จึงต้องใช้การโต้กลับที่หลากหลายมิติ
จะทำแบบมวยวัดไม่ได้เป็นอันขาด ความจริงยังมีข้อมูลที่ลึกกว่านี้อีกมาก
แต่ผมขออนุญาตเล่าตรงนี้เพียงเท่านี้
และนำข้อมูลที่เหนือกว่านี้ไปมอบให้กับผู้ที่มีหน้าที่โดยตรงจะเหมาะสมกว่า
การจับก่อน-ผ่อนทีหลัง จะทำให้ฝ่ายประชาธิปไตยสามารถกุมสภาพได้
ยิ่งในเมืองไทยที่มีทั้ง เจ้าของหมา เนติโสเภณี ข้าราชการทาส ดาราโง่เง่า
ฯลฯ ก็ยิ่งต้องขยายขอบเขตเรดาร์ให้กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม
เรื่องนี้ตุรกีให้บทเรียนที่ชัดเจนมากครับ
จักรภพ เพ็ญแข
18 ก.ค. 2559
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar