måndag 16 december 2013

กลุ่มนักวิชาการตั้ง 'สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย' เห็นต่างข้อเสนอ กปปส.-ทปอ. (แถลงการณ์เต็ม)

ตั้ง ‘สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย’ ประกาศจุดร่วมไม่เห็นด้วยกับการนำสถาบันกษัตริย์มาเกี่ยวการเมือง ให้ทหารแทรกแซงการเมือง ต้องการรักษาและขยายพื้นที่สิทธิเสรีภาพ-พื้นที่ประชาธิปไตย
10 ธ.ค.2556 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เกษียร เตชะพีระ พวงทอง ภวัครพันธุ์ ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ปิยบุตร แสงกนกกุล และประจักษ์ ก้องกีรติ เป็นตัวแทน สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) ก่อ ตั้งโดยเครือข่ายนักวิชาการ กว่า 150 คน อ่านแถลงการณ์ โดยมีจุดร่วมเบื้องต้นคือ ไม่เห็นด้วยกับการนำสถาบันกษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการเมือง ไม่เห็นด้วยกับการที่ทหารแทรกแซงการเมือง รักษาและขยายพื้นที่สิทธิเสรีภาพ รักษาและขยายพื้นที่ประชาธิปไตย ทั้งนี้ สปป.แจ้งว่า ประชาชนที่สนใจและเห็นด้วยสามารถร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ได้ที่แฟนเพจ สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) 
รายละเอียดมีดังนี้ 

แถลงการณ์สมัชชาปกป้องประชาธิปไตยฉบับที่ 1
“สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย” ซึ่งเป็นการรวมตัวของนักวิชาการ และประชาชนหลากหลายอาชีพ ขอแถลงโต้แย้งประเด็นที่ กปปส. ที่ประชุมอธิการบดี (ทปอ.) และ นักวิชาการจำนวนหนึ่งที่นำเสนอความเห็นไปในทิศทางที่ขัดกับกติกาประชาธิปไตย ในภาวะวิกฤติของบ้านเมือง ดังนี้
1. การก่อตั้งสภาประชาชน: ความเคลื่อนไหวที่นำมาสู่การจัดตั้งสภาประชาชน มีที่มาจากการข้อกล่าวหาที่ว่ารัฐบาลและรัฐสภาไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้นรัฐบาลและรัฐสภาจึงหมดความชอบธรรม และจำต้องจัดตั้งสภาประชาชนด้วยการอ้างอิงมาตราที่ 3 ของรัฐธรรมนูญ 2550 โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ สมัชชาฯ ขอแถลงว่า กระบวนที่นำมาซึ่งการก่อตั้งสภาประชาชนโดยไม่เข้าสู่กระบวนการแก้ไขเพิ่ม เติมรัฐธรรมนูญโดยวิถีทางปรกติ ถือว่าไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย หลักนิติธรรม และถือว่าเป็นการทำรัฐประหาร ทั้งนี้จำต้องชี้แจงว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ เป็นการขยายอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่มีฐานอำนาจตามรัฐธรรมนูญรองรับ จึงไม่มีผลทางกฏหมาย นอกจากนี้ การอ้างอิงมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญเพื่อจัดตั้งสภาประชาชนนั้น ไม่สามารถทำได้เพราะไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เว้นแต่จะต้องเข้าสู่กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียก่อน ประการสำคัญ การนำเสนอเรื่องของสภาประชาชนไม่มีความชัดเจนถึงความยืดโยงกับความเป็นตัว แทนของประชาชนไม่คำนึงถึงความเท่าเทียม และความหลากหลายทางความคิด โดยเฉพาะต่อประชาชนที่ไม่ได้เข้าร่วมกับ กปปส.
2. ข้อเสนอให้มีนายกรัฐมนตรีคนกลางหลังการยุบสภา เป็นที่มาจากการตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ หรืออาจเรียกง่ายๆว่า “นายกฯคนกลางพระราชทาน” เป็นการพยายามตีความรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นไปตามครรลองของหลักการประชาธิปไตย และละเมิดบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่านายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีภายหลังจากการยุบสภาจะต้องปฏิบัติ หน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่มารับหน้าที่เมื่อการเลือกตั้ง เสร็จสิ้นลง อีกทั้งกระบวนการใดๆ ที่ขัดขวางกระบวนการเลือกตั้ง เหนี่ยวรั้งให้การเลือกตั้งล่าช้า หรือสร้างสูญญากาศทางการเมืองถือเป็นการทำลายหลักการประชาธิปไตยและรัฐ ธรรมนูญเสียเอง นอกจากไม่เป็นคุณต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมที่ต้องเคารพในสิทธิมนุษยชน เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ความเท่าเทียม สันติภาพ และอาจนำไปสู่วิกฤติความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้นด้วย
3. การแก้ไขรัฐธรรมนูญ สมัชชาปกป้องประชาธิปไตยขอยืนยันว่ารัฐธรรมนูญเป็นกติกาประชาธิปไตยที่ทุก ฝ่ายต้องให้ความเคารพ แต่รัฐธรรมนูญนั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยเจตจำนงของประชาชนและต้องคำนึงถึงทั้ง หลักประชาธิปไตยและหลักการที่ไม่ทำลายสังคมประชาธิปไตยเสียเอง ทั้งนี้หากมีความไม่เห็นพ้องต้องกันถึงกติกาประชาธิปไตยฉบับนี้ ก็สมควรจะร่วมกันหาทางออกที่ได้รับการยอมรับกันทุกฝ่าย สมัชชาฯขอเสนอว่าการร่วมกันออกแบบการทำประชามติในการแก้ไขหรือยืนยันการใช้ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ควรเป็นทางออกของสังคม
วันที่ 10 ธันวาคม 2556

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar