onsdag 18 december 2013

เรียกร้องประชาธิปไตย? บรรยายจากภาพ อะไร?คือประชาธิปประไตยสำหรับผู้มาร่วมม็อบ ภาพนี้ชี้ให้เห็นว่าคนที่มาร่วมประท้วงขับไล่ล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย พวกเขาเข้าใจผิดคิดว่าความจงรักภักดีต่อสถาบันคือระบอบประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่มันคนละเรื่องกันความจงรักภักดีเป็นเรื่องความศรัทธาจากใจภายใต้จิตสำนึกของแต่ละคนบังคับกันไม่ได้และไม่ใช่ระบอบที่จะนำมาใช้ปกครองประเทศ ซึ่งต่างกับระบอบประชาธิปไตยที่รัฐบาลปัจจุบันใช้ในบริหารพัฒนาประเทศเปิดโอกาสรับฟังปัญหาแก้ไขความเเดือดร้อนของประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ นอกจากนี้ยังรับฟังปัญหาความคิดเห็นและให้การช่วยเหลือจากทุกสาขาอาชีพ ซึ่งตลอดระยะเวลาสองปีที่ผ่านมารัฐบาลได้ลงมือแก้ไขปัญหาเหล่านั้นตลอดเวลาและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศก็พอใจผลงานของรัฐบาล ประชาชนต้องการรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งของประชาชนเท่านั้น ไม่ต้องการระบอบเผด็จการราชาธิปไตยที่พวกอำมาตย์กดหัวประชาชนติดดินถูกปล้นค่าของความเป็นคนมาตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อประชาชนรู้ว่าประชาธิปไตยมีจริงจับต้องได้ทำให้พวกเขามีอยู่มีกินได้และประชาชนรู้ว่าในระบอบประชาธิปไทยทุกชนชั้นอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติโดยการเคารพสิทธิเสรีภาพซึ่งกันและกัน ฉนั้นจึงต้องหวงแหนปกป้องระบอบประชาธิปไตยไม่ให้ใครมาทำลายล้มล้างอีกต่อไป....


Voice TV: 'นิวยอร์กไทมส์' ชี้ ม็อบ 'สุเทพ' ฉุดประชาธิปไตยถดถอย
Adam Ferguson for The New York Times
 
At Bangkok’s Democracy Monument, the center of antidemocracy fervor, a poster of King Bhumibol Adulyadej was shown at a ceremony on the king’s birthday.

ที่มา Voice TV
17 ธันวาคม 2556 เวลา 11:31 น.

หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ เผยบทวิเคราะห์ใหม่เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทย โดยระบุว่า กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลต้องการฉุดประชาธิปไตยให้ถอยหลังลงคลอง ถึงแม้ไทยจะเป็นชาติต้นๆ ในเอเชียที่มีประชาธิปไตย และให้สิทธิ์เลือกตั้งหญิง-ชายเท่าเทียมกัน ก่อนหน้าประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา

เว็บไซต์หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ซึ่งเป็นสื่อกระแสหลักที่ได้รับความนิยมสูงสุดในสหรัฐฯ เผยแพร่บทวิเคราะห์ชิ้นใหม่เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า "In Thailand, Standing Up for Less Democracy" หรือ "การลุกขึ้นเพื่อความเป็นประชาธิปไตยที่น้อยลงในประเทศไทย"

บทวิเคราะห์นี้เขียนโดยโทมัส ฟุลเลอร์ ผู้สื่อข่าวที่ปักหลักติดตามการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาโดยตลอด โดยบทความเริ่มต้นด้วยการเปรียบเทียบการประท้วงในไทยว่ามีความแตกต่างจากปรากฏการณ์ลุกฮือเรียกร้องประชาธิปไตยในพื้นที่อื่นๆทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น"อาหรับสปริง" รวมถึงการประท้วงต่อต้านอำนาจเผด็จการในเมียนมาร์ เนื่องจากกลุ่มผู้ประท้วงในไทย กลับเรียกร้องขอความเป็นประชาธิปไตยที่น้อยลง

 นิวยอร์กไทมส์ระบุว่า กลุ่มผู้ชุมนุมที่นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ได้เรียกร้องให้มีการจัดตั้งสภาประชาชน ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และปฏิเสธยอมรับการเลือกตั้งรอบใหม่ แม้รัฐบาลจะประกาศยุบสภา และคืนอำนาจให้กับประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจแล้วก็ตาม

 หนังสือพิมพ์ชื่อดังของสหรัฐฯรายงานต่อไปว่า ในสังคมไทยที่มีความแตกแยกทุกวันนี้ คนส่วนใหญ่ของประเทศที่ต้องการความเป็นประชาธิปไตยเพิ่มขึ้น กลับถูกคุกคามจากคนส่วนน้อย ซึ่งรวมถึงกลุ่มผู้มีอำนาจ และผู้มีฐานะมั่งคั่งหลายคน

 นอกจากนี้ เนื่องจากบรรดาแกนนำการประท้วงของไทยมาจากตระกูลผู้มั่งคั่งและมีชื่อเสียง ทำให้บางคนเปรียบเทียบการประท้วงของไทยว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ย้อนแย้งกับขบวนการ Occupy Wall Street ในสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นการก่อกบฏโดยคนเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ เพื่อต่อต้านคนอีก 99 เปอร์เซ็นต์ ต่างจากกลุ่ม Occupy Wall Street ที่เป็นการลุกฮือของชาวอเมริกัน 99 เปอร์เซ็นต์ ที่ต่อต้านเศรษฐีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ ในสหรัฐฯ
 นิวยอร์กไทมส์ย้ำว่า การลุกฮือขึ้นก่อความวุ่นวายในไทย โดยขบวนการต่อต้านประชาธิปไตย ถือเป็นเรื่องที่แปลกประหลาด เนื่องจากดินแดนนี้ ถือเป็นหนึ่งในประเทศยุคแรกเริ่มของเอเชีย ที่หันมาใช้ระบอบประชาธิปไตย และเปิดโอกาสให้ชาย-หญิง มีสิทธิ์เลือกตั้งอย่างเท่าเทียมกัน ตั้งแต่การทดลองเลือกตั้งท้องถิ่นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2440 หรือกว่า 20 ปี ก่อนที่สหรัฐฯจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้หญิงมีสิทธิ์เลือกตั้งได้เท่ากับผู้ชายเสียด้วยซ้ำ

 สำหรับชาวต่างชาติ และคนไทยหลายคน นิวยอร์กไทมส์ระบุว่า วาทกรรมบางข้อของกลุ่มผู้ประท้วง ดูเหมือนจะเป็นวาทกรรมหลงยุค โดยเฉพาะข้อถกเถียงเรื่องสิทธิการเลือกตั้ง ที่ผู้ประท้วงบางคนเสนอให้มีการจำกัดให้คนไทยได้รับอย่างไม่เท่ากัน โดยสื่อสหรัฐฯระบุว่า แนวความคิดต่อต้านประชาธิปไตยเช่นนี้ ดูขัดแย้งกับภาพลักษณ์ของไทย ที่เป็นประเทศสมัยใหม่ และเปิดกว้างต่อโลกภายนอก

 ขณะเดียวกัน นิวยอร์กไทมส์ยังยกคำพูดของผู้ขึ้นปราศรัยบนเวทีผู้ชุมนุมบางคนเพื่อปิดท้ายการวิเคราะห์ โดยชี้ว่า ผู้ชุมนุมบางคนได้แสดงเจตจำนงอย่างชัดเจนว่า พวกเขาไม่พอใจกับระบอบประชาธิปไตย ถึงขั้นที่ต้องการให้ประเทศย้อนกลับไปสู่ยุคของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ดังเช่นในอดีตเมื่อเกือบร้อยปีก่อนเลยทีเดียว


ที่มาภาพ New York Times : เป็นภาพรถบดดินขับโดยกลุ่มผู้ประท้วง กำลังบดขยี้บ้านเรือนมีป้ายชื่อว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยขับขี่ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับ "ประชาธิปไตยของไทย" ซึ่งหมายความว่ากลุ่มกบฏ กปปส. และพรรคการเมืองที่สนับสนุนอันได้แก่พรรคประชาธิปัตย์ นั้นกำลังทำร้ายประเทศ และนำประเทศไปในทิศทางตรงกันข้ามกับประชาธิปไตย

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar