matichononline
การทรงเจ้าเข้าผีไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทย ยิ่งสังคมวิกฤต ยิ่งพบมาก ยิ่งนับจากรัฐประหาร 2557 ร่างทรงยิ่งเพิ่มในอัตราสูง แถมหลากหลายพิศดารไปต่างๆ เช่น ทรงโดราเอมอน ทรงผีอีแพง พร้อมไปกับทรงเทพชั้นสูง เช่น พระคเณศ เป็นต้น
อาจารย์พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ จากคณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เขียนเรื่อง "รัฐประหาร ร่างทรง ถึงวีรบุรุษในประวัติศาสตร์ไทย" ไว้น่าสนใจยิ่ง ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม รายเดือนฉบับธันวาคมที่กำลังวางแผง ย่อยมาสั้นๆได้ดังนี้
ร่างทรงปัจจุบันมีการประทับเทพจากศาสนาฮินดูมากขึ้นแต่ที่น่าสนใจคือการประทับที่คนไทยบูชากันนี้ไม่มีปฏิบัติกันในอินเดีย
อาจารย์มหาวิทยาลัยผู้หนึ่งซึ่งยืนยันเรื่องนี้กับผู้เขียนใช้ชีวิตอยู่ในอินเดียนานหลายปี อธิบายสาเหตุว่าเพราะปรัชญาฮินดูถือว่าพระเจ้าสถิตอยู่ทุกที่ แม้แต่ในชีวะของเราเอง จึงเป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าองค์ใดจะมาเข้าทรงได้อีก
ในอินเดียไม่มีการเปิดสำนักทรง แต่มีพิธีกรรมคล้ายๆการเข้าทรงในเทศกาลกินเจที่ภูเก็ต หรือเข้าทรงเจ้าแม่อุมาเทวี วัดแขก สีลมอยู่บ้าง ในอินเดียใต้ซึ่งไม่แพร่หลายนัก ที่มีเข้าทรงและแสดงฤทธิ์ด้วยการทรมานร่างกายในรัฐทมิฬนาฑูเรียกว่า เทศกาลธัยปุสัม
อาจารย์สำทับว่า ร่างทรงเหล่านั้นอาจไม่เข้าใจปรัชญาและความรู้เกี่ยวกับเทพเจ้าอินเดียอย่างแท้จริง เหมือนตาบอดจูงคนตาบอด จะพากันหลงไปเปล่าๆ
น่าหาทางสร้างสรรค์พัฒนาพวกเขา เพราะพวกเขาเข้าถึงจิตใจคนได้ แก้ทุกข์ชั่วคราวได้ ให้ความหวัง เป็นที่พึ่งทางใจได้ ถ้ามีความรู้ทางปรัชญาและดีได้ จะนำคนไปถูกทาง
กระทั่งก่อนหน้าปฏิรูปศาสนาพุทธในสมัยรัชกาลที่ 4 พุทธเองก็มีลักษณะเป็นลัทธิพิธี(cult) จากอิทธิพลของพราหมณ์ เช่น ที่เกี่ยวกับพระธาตุ เกี่ยวกับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น
ดังนั้น การเรียกร้องให้แยกลัทธิพิธีที่เป็นเปลือกออกจากศาสนาในระดับปรัชญาหรือแก่น จึงเกิดขึ้นได้ยากในศาสนาพุทธของไทย
จากนั้นจึงเล่าถึงการทรง ร่างทรง โดยเริ่มมาจากผีในคติความคิดของคนภูมิภาคนี้ แบ่งเป็นผีฟ้ากับผีดิน ซึ่งมีทั้งผีดี ผีร้าย วิธีการติดต่อกับผี ซึ่งจะมีองค์ประกอบการติดต่อที่สำคัญคือเสียงดนตรี ส่วนร่างทรงนั้นเป็นผู้เชื่อมโลกมีชีวิตกับโลกวิญญาณ มีหลายระดับ เช่น ผ่านจิตโดยได้ยินเสียง หรือผ่านกายคือการทรง ที่มิใช่ใบ้หวยแต่รักษาคนป่วยไข้ ไล่ผี ไล่คุณไสย ทำนายคนหายทำนายของหาย หรือบอกฤกษ์งามยามดีและจำแนกให้เห็นว่าการเป็นร่างทรง กับการถูกผีเข้า ไม่เหมือนกัน
ดังนั้น การเรียกร้องให้แยกลัทธิพิธีที่เป็นเปลือกออกจากศาสนาในระดับปรัชญาหรือแก่น จึงเกิดขึ้นได้ยากในศาสนาพุทธของไทย
จากนั้นจึงเล่าถึงการทรง ร่างทรง โดยเริ่มมาจากผีในคติความคิดของคนภูมิภาคนี้ แบ่งเป็นผีฟ้ากับผีดิน ซึ่งมีทั้งผีดี ผีร้าย วิธีการติดต่อกับผี ซึ่งจะมีองค์ประกอบการติดต่อที่สำคัญคือเสียงดนตรี ส่วนร่างทรงนั้นเป็นผู้เชื่อมโลกมีชีวิตกับโลกวิญญาณ มีหลายระดับ เช่น ผ่านจิตโดยได้ยินเสียง หรือผ่านกายคือการทรง ที่มิใช่ใบ้หวยแต่รักษาคนป่วยไข้ ไล่ผี ไล่คุณไสย ทำนายคนหายทำนายของหาย หรือบอกฤกษ์งามยามดีและจำแนกให้เห็นว่าการเป็นร่างทรง กับการถูกผีเข้า ไม่เหมือนกัน
(ชายร่างใหญ่แต่งองค์ทรงเครื่องเป็นร่างทรงพระคเณศ และยืนเหยียบบนหนูซึ่งเป็นสัตว์พาหนะของพระคเณศ ภาพจาก httpnews.mthai.com)
จากนั้นจึงอธิบายว่าเมื่ออินเดียไม่มีทำไมถึงเกิดมีขึ้นในไทยเป็นเพราะการเลือกรับและปรับเปลี่ยนหรือแปลงความหมายใหม่เมื่อรับพุทธกับพราหมณ์มาแล้วนั่นเอง
ทำให้การปะปนหรือผสมกันระหว่างพุทธพราหมณ์และผีมีร่างทรงที่ทรงได้ทั้งเทพฮินดูและเทพพุทธเช่นการสัมภาษณ์ร่างทรงเจ้าแม่อุไรทองเมื่อปี2532อายุ69ปี ซึ่งเป็นร่างทรงมาแล้ว 40 ปี พบว่ามีเจ้ามาจับร่างมากเกือบ 30 องค์ เช่น เจ้าแม่อุไรทอง เจ้าแม่ตะเคียนทอง พระนางเรือล่ม เจ้าแม่กวนอิม พระนารายณ์ พระนเรศวร ฤาษีลิงดำ องค์จุก เจ้าพ่อหนูแดง เป็นต้น
ด้วยภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทย แต่บางคราวพูดจีนด้วย
เรื่องนี้อาจมองได้ว่าปกติ เพราะเมื่อถือร่างทรงเป็นเพียงสื่อกลาง กระบวนการทำให้กลายเป็นท้องถิ่น(localization)ย่อมตอบสนองต่อผู้คนที่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ตนต้องการ
การคิดไปเองของผู้ไม่ได้ศึกษาศาสนาอย่างพินิจพิเคราะห์ว่าพุทธแท้ไม่มีผีพุทธแท้ไม่มีพราหมณ์จึงควรต้องทำความเข้าใจกับรากเหง้าความเชื่อที่มาของคติเหล่านี้ใหม่
ผู้เขียนยังพูดต่อไปถึงชาวจีนและตำหนักทรงกล่าวถึงโลกทรรศน์ของชนชั้นนำสยามตั้งแต่สมัยรัชกาลที่3ที่ใช้อำนาจรัฐช่วยให้ประชาชนพ้นจากความงมงายขณะนั้นแต่ก็ต้องเข้าใจว่าสมัยนั้นจนรัชกาลที่ 5 ทรงสามารถจัดการปัญหาได้เพราะเงื่อนไขอย่างไรอันเป็นเงื่อนไขซึ่งหาไม่ได้แล้วในปัจจุบัน
และเมื่อมาถึงเรื่องผีวีรบุรุษทางวัฒนธรรมสู่วีรบุรุษของชาติว่าเหตุใดบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์จึงกลายเป็นเจ้าเข้าทรงได้ต้องเข้าใจเส้นทางและการคลี่คลายของความเคลื่อนไหวสังคมรายละเอียดน่าตื่นเต้นสนใจช่วงนี้อ้างตัวอย่างที่เกิดขึ้นนานาประการจากการสังเคราะห์ของนักวิชาการมีชื่อเช่นอาจารย์นิธิเอียวศรีวงศ์เป็นต้นนอกเหนืองานวิจัยจากวิทยานิพนธ์ที่สำคัญ ล้วนเป็นรายละเอียดซึ่งข้ามไปไม่ได้
ไปอย่างไรมาอย่างไร บรรดาวีรบุรุษในประวัติศาสตร์จึงยังผ่านร่างทรงมาติดต่อกับโลกปัจจุบันอยู่
ส่วนตัวร่างทรงทั้งหลายเองผู้เขียนก็ให้ข้อเท็จจริงที่น่าตะลึงชวนใคร่ครวญไว้ด้วยว่าร่างทรงก็คือคนที่มีปัญหาชีวิตจะเกิดขึ้นอย่างไรนั้นดีที่สุดคือหาอ่านจากนิตยสารต้นเรื่องด้วยตนเอง
เช่นเดียวกับปรากฏการณ์ภายหลังปี2540และ2549 ซึ่งทำให้เห็นได้เด่นชัดว่าเมื่อสังคมวิกฤต อะไรบ้างที่จะเกิดตามมาในหมู่ผู้คน เหมือนภายหลังรัฐประหาร 2557 ที่สังคมรู้สึกทั้งมั่นคงและไม่มั่นคงพร้อมกันไปอย่างไร คำตอบซึ่งต้องหาจากที่พึ่งทางใจใหม่ๆ จะพบได้ที่ไหน เราทั้งหลายย่อมเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบด้วยเช่นกัน
เร่งหาอ่านดูเพื่อเข้าใจสภาพสังคม เข้าใจชีวิตแวดล้อม และเข้าใจตัวเอง.
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar