fredag 20 december 2013

สนับสนุนการ "เลือกตั้ง" ๒ ก.พ.๕๗... ความจริงจากใจ"หนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง"ของประชาชนไทยจากหลากหลายสาขาอาชีพ คือแนวทางแก้ไขปัญหาประเทศ เพื่ออนาคตของประเทศชาติและเพื่อประชาชนไทยทุกคน....




ผมนี่แหละจะเป็นคนแรกที่ยอมรับว่าการเลือกตั้งไม่สามารถเยียวยาปัญหาการเมืองของประเทศไทยได้ทั้งหมด ประชาธิปไตยมิได้ลงท้ายด้วยการเลือกตั้ง แต่มันต้องเริ่มต้นด้วยเลือกตั้ง ไม่มีเลือกตั้งก็ไม่มีประชาธิปไตย ใครที่บอกว่าความชอบธรรมของรัฐบาลไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง คนพวกนั้นเป็นประชาธิปไตยนอกรีต

โดย สงกรานต์ กระจ่างเนตร 
ที่มา The Straits Times
แปล ระยิบ เผ่ามโน

หมายเหตุไทยอีนิวส์:นายสงกรานต์ กระจ่างเนตร นักธุรกิจชื่อดัง และสามีของคัทลียา แมคอินทอช ดาราชื่อดัง ได้เขียนบทความเรื่อง Elections are the best way to avoid tyranny (เลือกตั้งเป็นหนทางเลี่ยงทรราชย์ได้ดีที่สุด)ลงในหนังสือพิมพ์ The Straits Times เมื่อ 18 ธันวาคมที่ผ่านมานี้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

อดีต ส.ส. ฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์ สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้นำการรณรงค์ต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ตลอดหลายอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยใช้การชุมนุมขนาดยักษ์อย่างต่อเนื่อง มุ่งหมายโค่นระบอบทักษิณให้สิ้นซาก

ทว่าควรต้องมองสรรพสิ่งทั้งหลายให้ชัดเจน การประท้วงครั้งใหญ่ซึ่งผู้ชุมนุมพากันเดินขบวนไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในกรุงเทพฯ นครหลวงเมื่อเดือนที่แล้วโดยอ้างยอดจำนวนมากที่สุดได้สัก ๕ ล้าน แต่สำนักข่าวบางแห่งประเมินตัวเลขว่ามีแค่ ๒ แสน เพื่อไม่ให้ต้องเถียงกันมาก ถึงแม้จำนวนผู้ชุมนุมถึง ๕ ล้านคนก็ยังเป็นเพียง ๑๐ เปอร์เซ็นต์กว่าๆ ของประชากรไทยที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด ๔๗ ล้านคน

ลองมาว่ากันให้แจ่มแจ้งสักหน่อย มันเป็นการประท้วงชนิดประวัติการณ์ก็จริง แต่ไม่ใช่เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมของประชาชนไทยทั้งหมดอย่างแน่นอน

กลุ่มประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ (กปปส.) ซึ่งนำโดยนายสุเทพ หลังจากเลี่ยงที่จะให้รายละเอียดแล้วหลายครั้ง ในที่สุดก็เปิดเผยออกมาว่า สภาประชาชนที่เขาต้องการนั้นประกอบด้วยสมาชิก ๔๐๐ คน ๓๐๐ คนมาจากองค์กรตัวแทนสาขาอาชีพต่างๆ อีก ๑๐๐ คน กปปส. จะเป็นผู้แต่งตั้งเองโดยตรง

โดยนัยก็คือเป็นการเรียกร้องรัฐบาลให้มอบอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินแก่องค์กรที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้ง ไม่ต้องมีความรับผิดชอบใดๆ ในการกระทำของตน และเหนืออื่นใดไม่ได้เป็นตัวแทนของใครนอกเหนือจากผู้ทรงอิทธิพลที่กุมการจัดสรรอำนาจภายในประเทศไทยไว้ทั้งหมด นั่นคือกองทัพ

สภาประชาชนนั้นหากเกิดขึ้นได้จริงๆ ก็มีข้อบกพร่องมากมายในหลายๆ ด้าน แม้จะใช้วิจารณญานทางกฏหมายอย่างบรรเจิดเพียงไร จะหาไม่พบตัวบทใดเลยในรัฐธรรมนูญอำนวยให้จัดตั้งสภาเช่นนี้ขึ้นได้ กปปส. มักจะอ้างอย่างเขลาๆ อยู่เสมอถึงมาตรา ๗ ของรัฐธรรมนูญในความพยายามสร้างความชอบธรรมให้กับแนวความคิดที่ไม่ชอบธรรมของตนด้วยการตีความกฏหมายอย่างผิดๆ

มาตรา ๗ ระบุว่า ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

หลังจากที่มีการยุบสภาแล้วต้องมีรัฐบาลรักษาการทันทีดังที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้มีการเลือกตั้งในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ขึ้นแล้ว ตรงตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ชัดแจ้ง ไม่มีความจำเป็นใดๆ จะต้องใช้มาตรา ๗

การประกาศว่าสมาชิกสภาประชาชนจำนวน ๑๐๐ คนให้แต่งตั้งโดย กปปส. เป็นการตู่เอาลอยๆ ถึงจะเพ้อฝันกับการเป็นบุคคลยอดนิยมเพียงใดนายสุเทพก็ไม่มีแม้แต่เพียงริ้วของคุณสมบัติในเรื่องความรับผิดชอบต่อการกระทำ และคุณธรรมทางการบริหารปกครอง ประวัติด่างพร้อยของเขา และข้อหาบุกรุกที่ดินป่าสงวนในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีทำให้การอ้างตัวเป็นผู้นำต่อต้านความชั่วร้ายของเขาฟังไม่ขึ้น

ความปั่นป่วนทางการเมืองครั้งล่าสุดนี้เกิดขึ้นจากผลแห่งการที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พยายามลัดขั้นตอนกระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา ด้วยการสอดไส้เร่งรัดออกกฏหมายนิรโทษกรรมเหมาเข่ง จึงเหมาะสมแล้วที่มีคนไทยจำนวนมากออกมาประท้วงต่อการไม่แยแสหลักนิติธรรม โดยการกระทำของพรรคการเมืองที่พวกเขาเห็นว่ากระทำการเพื่อผลประโยชน์ของบุคคลเพียงคนเดียว คืออดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ผู้ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศ ผมนั้นสนับสนุนอย่างยิ่งต่อการออกมาใช้สิทธิต่อต้านรัฐบาลของผู้ประท้วงเหล่านี้ตราบเท่าที่อยู่ในขอบข่ายที่กฏหมายยอมรับ

อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าเสียใจว่าการประท้วงกลายเป็นความพยายามฉกชิงอำนาจไป กปปส. ได้แสดงธาตุแท้ของตนออกมาเมื่อปฏิเสธที่จะยุติการประท้วง แม้เมื่อได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร และประกาศเลือกตั้งใหม่ขึ้นแล้ว การปฏิเสธไม่ยอมให้มีการเลือกตั้ง และเรียกร้องให้มีการปฏิรูปโดยสภาประชาชนของตนก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง นั้นแสดงถึงความหวาดกลัวต่อการพ่ายแพ้เลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มชนชั้นนำในสังคม

ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์แพ้เลือกตั้งติดๆ กันมาแล้วถึงห้าครั้ง และแน่ๆ ว่าจะต้องแพ้อีกในครั้งใหม่นี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคได้เปลี่ยนโฉมพรรคการเมืองที่ครั้งหนึ่งเคยมีสง่าราศีให้กลับกลายเป็นแค่ชมรมคนเกลียดทักษิณไปเสียแล้ว

ผมนี่แหละจะเป็นคนแรกที่ยอมรับว่าการเลือกตั้งไม่สามารถเยียวยาปัญหาการเมืองของประเทศไทยได้ทั้งหมด ประชาธิปไตยมิได้ลงท้ายด้วยการเลือกตั้ง แต่มันต้องเริ่มต้นด้วยเลือกตั้ง ไม่มีเลือกตั้งก็ไม่มีประชาธิปไตย ใครที่บอกว่าความชอบธรรมของรัฐบาลไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง คนพวกนั้นเป็นประชาธิปไตยนอกรีต ระบบประชาธิปไตยโดยตัวแทนไม่ได้มีชนิดพิเศษแบบไทยๆ 

ประเทศไทยจะเป็นได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คือประชาธิปไตย หรือไม่เป็นประชาธิปไตย คนไทยควรที่จะหักหาญในการยืนหยัดเพื่อความก้าวหน้าของประชาธิปไตย พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ควรที่จะประกาศเป็นปฏิญญาไว้เลยว่าจะยึดมั่นแต่ประชาธิปไตย

ถ้าพรรคประชาธิปัตย์เชื่อว่าสภาประชาชนเป็นวิถีที่ตนจะยึดมั่นต่อไปข้างหน้า และแนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากประชาชนดังที่พวกตนอวดอ้างละก็ แน่นอนว่าประชาชนจะต้องออกเสียงสนับสนุน 

ประชาธิปไตยอาจจะงุ่มง่ามในบางครั้ง แต่มันเป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในขณะนี้ ถ้าปราศจากมันเราจะต้องเจอกับทรราชย์ นั่นสิที่ประเทศไทยควรหลีกลี้เหมือนกับหนีโรคห่า

ผู้เขียนเป็นนักธุรกิจชาวไทย และเป็นนักเขียนรับเชิญของ น.ส.พ. บางกอกโพสต์

 Day O, Day-Aa-O, Day Light Come and We Want to Go Vote

We Vote 2014 Jarueanpura

กลุ่มสนับสนุนการเลือกตั้ง 2 ก.พ. 2557 ได้จัดทำเฟซบุ๊ก 
เพื่อรณรงค์สนับสนุนการเลือกตั้งทั่วไป 2 ก.พ. 2557 
แสดงพลังหนุนกระบวนการปฏิรูปการเมืองอย่างเป็นรูปธรรม บนหลักประชาธิปไตย 
นอกจากนั้น ยังเผยแพร่คลิปคนมีชื่อเสียงในแวดวงต่างๆ 
มากล่าวถึงความสำคัญของการเลือกตั้ง อาทิ 
ทราย เจริญปุระ นักแสดง/นักเขียน 
ปราบดา หยุ่น นักเขียนซีไรต์ 
และเชฟหมี เชฟคนดังในโลกไซเบอร์จากรายการครัวกากๆ


Expresseo, Today at 3:28 AM 
   
[​IMG]

[​IMG]

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อาจารย์รัฐศาสตร์จุฬาฯ ย้ำชัด! "การเลือกตั้งนั้นไม่สามารถเลื่อนได้ ต้องเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกายุบสภากำหนดไว้"


อาจารย์ พรสันต์ เลี้ยงบุญเชิดชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เขียนเฟสบุ้คส่วนตัว ยืนยันหลักวิชาการเกี่ยวกับการเลื่อนการเลือกตั้ง ที่มีหลายฝ่ายรวมทั้ง กกต. พยายามหาเหตุผล เลื่อนการเลือกตั้ง”  โดยอาจารย์ได้เขียนอธิบายดังนี้
“ผมขออธิบายสั้นๆ ให้ทุกท่านเข้าใจได้โดยง่ายแบบนี้นะครับว่า การเลือกตั้งนั้นไม่สามารถที่จะเลื่อนได้ ต้องเป็นไปตามที่พระราชกฤษฎีกายุบสภากำหนดไว้ก็คือ วันที่ 2 ก.พ. แต่ที่มีบางท่านพยายามหยิบยกถึงเหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดจลาจล ฯลฯ อันจะส่งผลให้มีการเลื่อนการเลือกตั้งได้โดยอ้างอิงกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งนั้นเป็นกรณีที่ขัดแย้งกับบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างชัดเจน
กล่าวคือ โดยบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของกฎหมายการเลือกตั้งนั้นต้องการให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นอย่างราบรื่น จะมีก็แต่เพียง "เหตุสุดวิสัย" (Force Majeur) อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอันมิอาจคาดหมายได้เท่านั้นที่จะนำไปสู่การเลื่อนการเลือกตั้งได้ แต่ไม่ใช่การ "จงใจสร้างสถานการณ์" อย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อนำไปสู่การเลื่อนการเลือกตั้ง กรณีนี้ในเชิงหลักการไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย หากแต่เรียกว่าเป็นการขัดขวางมิให้มีการเลือกตั้งอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายครับ”

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar