อำนาจนอกระบบ : เครื่องมือสำคัญ*
บท: ดารณี รวีโชติอำนาจนอกระบบที่มีทั้งองค์กรมวลชน, ทหาร, ข้าราชการเกาะกลุ่มกันเป็นเครือข่าย โดยตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบรัฐสภา ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของราชสำนักในการทำลายรัฐบาลที่ราชสำนักไม่พึงพอ ใจจนกลายเป็นเส้นทางใหม่
นับแต่การสิ้นชีวิตของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์, จอมพลถนอม กิติขจร ก็ก้าวขึ้นสู่อำนาจอย่างสมบูรณ์แบบแทน แต่การมีอำนาจของจอมพลถนอมมีลักษณะเป็นเครือข่ายทางทหารที่เข้มแข็งโดยมีจอม พลประภาส จารุเสถียร ก้าวเคียงคู่มาด้วย
ขุนศึกทั้งสองมีลักษณะเป็นตัวของตัวเอง และผูกติดเป็นเครือญาติกันโดยถือเป็นขุนศึกยุคสุดท้ายที่ได้ผงาดขึ้นอย่าง เข้มแข็ง ในขณะเดียวกันอำนาจของฝ่ายเจ้าก็เริ่มตั้งมั่นเข้มแข็งแล้วเช่นกันในช่วง ระยะเวลาสิบกว่าปีนับแต่ปี 2490 ฝ่ายเจ้าได้สร้างเครือข่ายอำนาจของตนขึ้นครอบงำสังคมไทย
โดยรวบรวมนักวิชาการในมหาวิทยาลัย และตามกระทรวง ทบวง กรม รวมตลอดทั้งทหาร ตำรวจ สื่อสารมวลชน ที่มีแนวคิดจารีตนิยมกลุ่มหนึ่งขึ้นแล้ว โดยมีองคมนตรีเป็นกลไกอำนาจสูงสุดในการเชื่อมโยงโครงข่าย และกลายเป็นอำนาจนอกระบบที่เข้มแข็งขึ้นตรงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
การล้มรัฐบาลของจอมพลถนอมจึงเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีผลเท่ากับ เป็นการทดลองการใช้
เครื่องมือใหม่ที่ฝ่ายเจ้าได้ประดิษฐ์คิดสร้างขึ้นคือ “อำนาจนอกระบบ” โดยใช้ทหารที่เปลี่ยนปรัชญามาเป็นทหารของพระราชา แล้วเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนโดยประสานกับผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญใน
ขณะนั้นคือม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่เป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนนักศึกษาปัญญาชน แล้วทุกอย่างก็สำเร็จตามประสงค์อำนาจนอกระบบที่ควบคุมโดยราชสำนักจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญทางการเมือง ดังนั้นตลอดระยะเวลา 5 ทศวรรษที่ผ่านมานับแต่ปี 2500
อำนาจนอกระบบนี้ก็ได้แสดงบทบาทอย่างเข้มแข็งโดยบดขยี้ทุกอำนาจในระบอบรัฐสภา และอำนาจเผด็จการทหารแปลกปลอม ที่ไม่ยอมขึ้นต่ออำนาจฝ่ายเจ้า หรือมีทีท่าว่าจะเข้มแข็ง มาตีเสมอและทัดเทียมฝ่ายเจ้า อำนาจการเมืองนั้นก็จะถูกบดขยี้อย่างแนบเนียนเสมือนหนึ่งว่าการพังทลายของ
อำนาจนั้นเกิดขึ้นเพราะความเลวร้ายของผู้ถืออำนาจนั้นเองนับตั้งแต่รัฐบาล ของจอมพลถนอม-ประภาส เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน แต่เหยื่อรายล่าสุดคือรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดูเหมือนว่าเครื่องมือสำคัญคือ “อำนาจนอกระบบ” นี้จะล้าสมัยไปเสียแล้ว
เนื่องจากยุคสมัยของเทคโนโลยีทางข่าวสารได้เปลี่ยนไปในทางที่ก้าวหน้ามาก ประกอบกับเป็นรัฐบาลที่มีผลงานและนโยบายที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน ระดับล่างได้อย่างเป็นรูปธรรม และที่สำคัญที่สุดก็คือเป็นรัฐบาลที่มาจากระบอบประชาธิปไตยอย่างชัดเจนและ
สมบูรณ์แบบในยุคโลกาภิวัฒน์ ประกอบกับเป็นช่วงปลายของรัชกาลปัจจุบันที่วังเองก็เกิดความขัดแย้งกันภายใน รุนแรง จึงเกิดสภาวะการเปิดโปงตัวเองทางประวัติศาสตร์ กลายเป็นบทศึกษาทางการเมืองให้แก่ประชาชนได้เห็นระบอบการปกครองปัจจุบันที่ แท้จริงว่า“ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย”
คลิกอ่าน*การยึดอำนาจของวังมีสูตรมาตรฐาน*
บท: ดารณี รวีโชติ ากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทยในเหตุการณ์การยึดอำนาจของฝ่ายทหารตามที่คน ไทยเข้าใจมาโดยตลอดนั้น หากจะพิจารณาจากรูปแบบการจัดการแล้วจะเห็นว่าการยึดอำนาจนับตั้งแต่ปี 2500 จนถึงปัจจุบัน หากครั้งใดที่มีข่าวลือว่าเป็นพระราชประสงค์แล้ว
บท: ดารณี รวีโชติ เมื่ออำนาจของราชสำนักได้เริ่มตั้งมั่นในยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แล้วราชสำนักก็ได้เปลี่ยนฐานะจากฝ่ายรับเป็นฝ่ายรุกในทางการเมือง หรือเปลี่ยนจากด้านรองกลายเป็นด้านหลักของคู่ขัดแย้งทางการเมือง และนับแต่นั้นมาบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย
อำนาจนอกระบบคือปัจจัยหลักทำลายประชาธิปไตย
บท: ดารณี รวีโชติมีการบิดเบือนข้อเท็จจริงจากนักวิชาการในมหาวิทยาลัย จากสื่อมวลชน และผู้นำทางความคิดของสังคมที่มีแนวคิด “ศักดินาสวามิภักดิ์” โดยได้ประสานเสียงโฆษณามอมเมาประชาชนว่า “ระบอบประชาธิปไตยของไทยที่ไม่อาจจะดำเนินไปได้เหมือนต่างประเทศนั้น
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar